ผู้เขียน หัวข้อ: *รวม * คติธรรม - พระอาจารย์ไพศาล วิสาโล  (อ่าน 311507 ครั้ง)

ยาใจ

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 14208
    • ดูรายละเอียด




  ✿  ความรู้สึกตัว ไม่ต้องใช้ความคิดเลย
ใช้แค่ใจล้วนๆ ใช้ใจอย่างเดียว
แต่พอบอกว่าไม่ใช้ความคิด
หลายคนก็จะงงเพราะเข้าใจว่า
จะรู้อะไรก็ต้องใช้ความคิด ทั้งหมด

แต่ที่จริงมันไม่ใช่เลย

  ✿  ประสบการณ์ในชีวิตของเราแต่ละวันๆ
เรารู้โดยไม่ต้องใช้ความคิดก็มากมาย
เช่น รู้ว่าน้ำตาลนี่หวาน รู้ว่าพริกนี่เผ็ด
หรือว่าก๋วยเตี๋ยวนี่เค็ม รสชาตินี่
เรารู้ได้ โดยไม่ต้องใช้ความคิดเลย
มันรู้เอง มันใช้ใจรู้

  ✿  ความรู้ตัว ความรู้สึกตัวก็เหมือนกัน
ไม่ต้องใช้ความคิด ไม่ต้องผ่านความคิด


  ✿  บางคนก็สงสัย แล้วจะรู้จักความรู้ตัว
หรือเราจะสัมผัสความรู้สึกตัวได้อย่างไร
หลายคนมาปฏิบัติ
ครูบาอาจารย์ก็บอกว่า มันต้องรู้สึกตัวๆ
บางทีก็งง ความรู้ตัว ความรู้สึกตัว
เป็นอย่างไร บางคนพยายามควานหา

แต่ยิ่งควานหา ยิ่งไม่เจอ
ทั้งๆ ที่มันอยู่กับเราอยู่แล้ว
เกิดขึ้นกับเราอยู่เนืองๆ
เวลาเราใจลอย คิดโน่นคิดนี่
แล้วมีคนเรียกเรา พอมีคนเรียกเรา
เราจะสังเกต มันเกิดอะไรขึ้นตามมา

  ✿  ถ้าเราสังเกต
ความคิดที่มันพาเราล่องลอย
มันก็จะชะงักเลย แล้วเราก็เกิดได้สติขึ้นมา

  ✿  ภาวะตรงนี้ที่เราเรียกว่าความรู้สึกตัว
...

ถ้ามีคนเรียกเรา แล้วเราเกิดได้สติขึ้นมา
สิ่งที่เกิดขึ้นตามมาหรือเกิดขึ้นในภาวะนั้น
มันคือความรู้สึกตัว

จดจำสภาวะนั้นเอาไว้

  ✿  แล้วมันก็เกิดขึ้นกับเราบ่อยๆ
ในขณะที่เราเดินจงกรม สร้างจังหวะ

ใจลอย ลอยไปสักระยะหนึ่ง

  ✿  จู่ๆ ก็นึกขึ้นมาได้ว่า
เรากำลังทำอะไรอยู่
กำลังเดินจงกรมอยู่
กำลังสร้างจังหวะอยู่
ตรงนั้นแหละคือความรู้สึกตัว
ตรงนั้นแหละที่เราเกิดความรู้ตัวขึ้นมา
รู้เนื้อรู้ตัว เพราะตอนนั้นใจที่มันลอย
มันกลับมาอยู่กับเนื้อกับตัว
............

  ✿  รู้สึกตัวด้วยใจที่สบาย   ✿ 
  ✿  พระอาจารย์ไพศาล วิสาโล วัดป่าสุคะโต
  ✿  แสดงธรรมเย็นวันที่ ๑๕ กรกฎาคม ๒๕๖๕






ขอบคุณข้อมูลจาก Facebook Kanlayanatam
https://web.facebook.com/Kanlayanatam-174670492571704
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 07, 2023, 02:48:51 pm โดย ยาใจ »

ยาใจ

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 14208
    • ดูรายละเอียด



เริ่มต้นชีวิตใหม่ ....เริ่มที่ใจของเรา

ชีวิตใหม่ไม่ได้หมายถึงการมีอาชีพใหม่ คู่รักคนใหม่ หรือมีบ้านหลังใหม่ รถคันใหม่ ตำแหน่งใหม่เสมอไป สิ่งสำคัญอยู่ที่การมีทัศนคติใหม่และมีความสัมพันธ์อย่างใหม่กับสิ่งเดิมๆ มากกว่า กล่าวอีกอย่างหนึ่งคือทำตัวเองให้ใหม่ โดยไม่หวังพึ่งความใหม่จากภายนอก

ชีวิตใหม่จึงมิใช่เรื่องไกลตัวหรือต้องคอยหาโอกาส หากสามารถทำได้เลยนับแต่วันนี้ ชีวิตใหม่สามารถมาพร้อมกับวันใหม่ได้ทันที หากเราเปลี่ยนมุมมองเสียใหม่ และให้คุณค่าใหม่กับสิ่งที่เรามีอยู่แล้วกับตัว

พระไพศาล วิสาโล




-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ขอขอบคุณข้อมูลและรูปภาพจาก : Facebook วัดป่าสุคะโต ธรรมชาติที่พักใจ
https://www.facebook.com/Zensukato/
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 21, 2022, 09:27:41 pm โดย ยาใจ »

ยาใจ

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 14208
    • ดูรายละเอียด



❁  ธรรมะจากการเลี้ยงแมว  ❁

ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา มีแมวตัวหนึ่งที่น่าทึ่งมาก แล้วก็มีความสามารถพิเศษ แมวตัวนี้เป็นตัวผู้ชื่อ ออสการ์ มันอยู่ที่บ้านพักคนชรา และแมวตัวนี้มีความสามารถพิเศษ ตรงที่มันรู้ว่าผู้ป่วยคนไหนกำลังจะตาย เวลาใครกำลังจะตาย ภายใน 24 ชั่วโมง หรือว่าไม่กี่ชั่วโมง มันจะเข้าไปในห้องคนนั้น แล้วก็ขึ้นไปบนเตียง คล้าย ๆ กับว่าไปนอนเล่นเป็นเพื่อนคนที่ใกล้ตาย ที่แปลกก็คือว่ารู้ดี รู้ดีกว่าหมอและพยาบาลด้วย บางคน หมอคิดว่ายังอยู่ได้อีกหลายวัน แต่ออสการ์ก็ขึ้นไปบนเตียงเขา ไม่กี่ชั่วโมง คนนั้นก็หมดลม หมอ พยาบาลก็แปลกใจว่า รู้ดีกว่าเขาได้อย่างไร

มีคราวหนึ่ง มีคนป่วยระยะสุดท้าย ใกล้จะตายสองคน มีคนหนึ่งอาการหนักกว่า แต่ออสการ์ก็ขึ้นไปบนเตียงของคนที่อาการดูจะเบากว่า พยาบาลก็คิดว่า เอ๊ะ ออสการ์ คราวนี้คงผิดแล้วล่ะ แต่ว่าไม่อยากให้เสียชื่อ ออสการ์ ว่าผิดพลาด เพราะตอนนั้น เขาเริ่มมีชื่อเสียงแล้วว่าถ้าไปขึ้นเตียงไหน แสดงว่าเตียงนั้นกำลังจะตาย พยาบาลปรารถนาดีกับออสการ์ กลัวออสการ์จะเสียชื่อเพราะว่าผิดพลาดในกรณีนี้ ก็เลยอุ้มออสการ์ไปวางไว้อยู่บนเตียงคนที่อาการหนักพะงาบ ๆ ออสการ์ไม่พอใจ ออสการ์ลงจากเตียง แล้วก็ขึ้นไปบนเตียงของคนที่อาการดูจะอยู่ได้อีกหลายวัน แต่ปรากฏว่า คืนนั้นคนไข้ที่ออสการ์ไปนอนด้วยก็ตาย ส่วนคนไข้ที่อาการหนัก ที่คิดว่าจะตายวันนั้น อยู่ได้อีก 2-3 วัน คนก็ยิ่งทึ่งเข้าไปใหญ่ว่า ออสการ์รู้ ก็เป็นเรื่องแปลก

ตอนหลังก็มีคนเขียนเรื่อง ออสการ์ ลงในบทความ เป็นบทความวิชาการเลยว่ามันรู้ได้อย่างไร ชื่อเสียง ออสการ์ ก็เลยแพร่กระจาย แล้วตอนนี้ก็มีคนแปลหนังสือนี้มาเป็นภาษาไทย ชื่อ ออสการ์แมวธรรมดากับพรสวรรค์ที่ไม่ธรรมดา อ่านแล้วไม่ใช่ได้ความรู้เกี่ยวกับออสการ์ แต่ว่าได้ความรู้เกี่ยวกับ เรื่อง ผู้ป่วยระยะสุดท้าย รวมทั้งผู้ป่วยที่เป็นโรคสมองเสื่อมอย่างหนัก

ออสการ์ เป็นตัวอย่างหนึ่งที่เหมือนแมวทั่วไปก็ คือ เป็นตัวของตัวเอง ใครจะสั่งอะไรก็ไม่ทำตาม ถ้าเขาไม่พอใจเขาก็ไม่ทำ การที่ไปนอนบนเตียงก็ไม่มีใครสั่ง ในตอนแรกพยาบาลก็ไม่ค่อยชอบ เพราะโรงพยาบาลหรือบ้านพักคนชรา เขาจะไม่ค่อยให้สัตว์เลี้ยงเข้ามา แต่ตอนหลังก็ยอม ยอมแพ้ เพราะว่ามีแมวตัวหนึ่งเป็นแมวจรจัดหลงเข้ามาแล้วก็ไม่ยอมออก แล้วพอมาอยู่ คนป่วยก็ชอบ ญาติก็ชอบ ตอนหลังก็เลยมีแมวตัวอื่นมาอยู่ด้วย เช่น ออสการ์ ออสการ์ แปลกที่ว่าคนไข้ก็ชอบ ถึงแม้คนไข้จะเป็นอัลไซเมอร์ แต่ถ้าเจอออสการ์แล้วก็รู้สึกเป็นมิตรด้วย ญาติก็ชอบ โดยเฉพาะเวลาคนใกล้ตายแล้วมีแมวมีสัตว์มาอยู่ข้าง ๆ มาเป็นเพื่อนยามที่จะจากไป

แมวยังมีลักษณะพิเศษ ฝรั่งคนหนึ่งพูดไว้ดี เขาเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่าง หมากับแมว ถ้าเราเลี้ยงหมา ให้อาหารมัน มันจะคิดว่าเราเป็นพระเจ้า แต่ถ้าเราให้อาหารแมว แมวมันคิดว่า มันเป็นพระเจ้า เวลาเราให้อาหารหมา หมามันจะภักดีกับเรามาก เห็นเราเป็นพระเจ้า มันจะซื่อสัตย์ ภักดีกับเรา เราไปไหนมันก็ไปตาม เราเรียกมัน มันก็มาหา แต่เราเลี้ยงแมว แม้จะเลี้ยงทุกวัน ๆ มันก็ไม่ได้ภักดีอะไรกับเราเลย มันกลับรู้สึกว่าเรามีหน้าที่ที่ต้องเลี้ยง ให้อาหารมัน เพราะฉะนั้น ทุกวันนี้ถ้าเราไม่ให้อาหาร มันก็จะร้อง แล้วก็จะมากวน เหมือนจะมาบอกเราว่า เฮ้ย ได้เวลาให้อาหารแล้ว

มีบางคนบอกว่า หมานี้ถ้าเราเลี้ยง เราเป็นเจ้าของมัน แต่แมวนี้ เราไม่สามารถเป็นเจ้าของมันได้ เราเป็นแค่ หุ้นส่วน ถ้าพูดอย่างนี้ถือว่าเบาไป เพราะว่าที่จริงแล้วถ้าเราให้อาหารมันนี้ เราเป็นทาสมันเลย ส่วนมันคือ พระเจ้า แล้วมีคนไทยคนหนึ่งทำเว็บไซต์ เกี่ยวกับเรื่อง แมว ในบ้านของเขาโดยตรงเลย เป็นเฟซบุ๊ก ตั้งชื่อเพจว่า “ทูนหัวของบ่าว” ทูนหัวของบ่าวคือ ตัวเจ้าของนี้รู้สึกว่าตัวเองเป็นบ่าวของแมว

เวลาเราให้อาหารแมว แมวไม่ได้จงรักภักดีอะไรกับเราเลย ไม่ได้รู้สึกว่า แมวจะต้องชื่นชม จะต้องติดตามเรา ต้องตอบแทนบุญคุณของเรา จะว่าไปมันก็ดี เป็นการฝึกใจของเรา เวลาเราช่วยใคร เช่น ให้เงินเขา สงเคราะห์เขา ถ้าเราคิดว่า เราช่วยเขาเหมือนกับเราช่วยแมวก็ดี เวลาเราให้อาหารแมว เราก็ไม่ได้เรียกร้องว่าแมวจะต้องมาอี๋อ๋ออะไรกับเรา แมวก็จะเป็นตัวของตัวเอง เรียกแล้วไม่มา เราก็เฉย เราไม่รู้สึกทุกข์ร้อนเลย ไม่รู้สึกโกรธเคือง เวลาแมวมันไม่เชื่อฟังเรา ไม่ทำตามคำสั่งของเรา ไม่มาภักดีกับเรา หรือว่าไม่สำนึกบุญคุณของเรา การที่แมวมีพฤติกรรมแบบนี้ก็ฝึกเรา ให้เราช่วยเหลือคนโดยไม่หวังผลตอบแทน หรือว่าไม่หวังการภักดีจากคนที่เราช่วย

คนส่วนใหญ่เป็นทุกข์ เวลาช่วยใครแล้วเขาไม่เห็นหรือไม่สำนึกในบุญคุณของเรา บางทีเราต้องไปทวงบุญคุณด้วย หลายคนเป็นทุกข์มาก ช่วยเขาแล้วเขาไม่สนใจเรา เขาไม่สำนึกบุญคุณเรา บางทีก็โกรธแค้นเขา ความจริงลองคิดเสียว่า ช่วยเขานี่เหมือนกับเราเลี้ยงแมว ก็แล้วกัน เวลาเราเลี้ยงแมวเราก็ไม่ได้เรียกร้องให้หรือปรารถนาให้แมวมาสำนึกบุญคุณของเรา เวลาช่วยใคร ก็ถือว่าช่วยเลี้ยงแมวก็แล้วกัน เหมือนกับเลี้ยงแมว เขาจะจำเราได้หรือไม่ได้ก็เป็นเรื่องของเขา จะสำนึกบุญคุณของเราหรือไม่ ก็เป็นเรื่องของเขา แต่หน้าที่ของเราคือ เมื่อใครตกทุกข์ได้ยาก เราก็ช่วย เวลาที่เป็นเรื่องของคนอื่น อย่าเอามาเป็นปัญหาของเรา ใครไม่ทำหน้าที่ของเขาก็เป็นเรื่องของเขา เช่น เราช่วยเขาแล้ว เขาไม่สำนึกบุญคุณของเรา อันนั้นเป็นปัญหาของเขา ไม่ใช่ปัญหาของเรา หน้าที่ของเราคือ ช่วยเขาไป ใครเดือดร้อนก็ช่วยไป ให้ถือว่าเราช่วยเขาเหมือนกับเราเลี้ยงแมวก็แล้วกัน

คนเลี้ยงแมวนี้ ถ้าหากว่าได้ความคิดแบบนี้ อาตมาว่าได้ประโยชน์ เวลาเลี้ยงแมว ก็ถือว่าฝึกให้เราไม่ไปหวังผล คาดหวัง กับการช่วยของเรา มีคนพูดว่าคนที่เลี้ยงแมวเป็นคนที่ใจกว้างมาก ก็คงเพราะเหตุนี้ พอเลี้ยงแมวแล้วแมวมันก็ไม่ได้สนใจว่าเราช่วยเหลือเขา เขาก็เป็นตัวของเขาเอง ถ้าคนที่สามารถจะอยู่กับแมวแบบนี้ได้ก็แสดงว่าเป็นคนใจกว้าง ไม่เรียกร้อง คาดหวังจากแมว ว่าจะต้องมาอี๋อ๋อฉัน ว่าจะต้องเชื่อฟังฉัน ภักดีกับฉัน เรียกว่ามีแต่ให้ล้วน ๆ ไม่มีความคาดหวัง คนเราถ้ามีจิตใจแบบนี้กับมนุษย์ด้วยกันก็จะมีความสุข ช่วยเหลือใครก็ไม่คาดหวังว่าเขาต้องมาขอบคุณ เขาต้องมาสำนึก ก็จะมีความสุขกับการช่วยคน

คนจำนวนมาก มักจะมีความเจ็บแค้น พยาบาท ฝังใจ ไม่ใช่เพราะอะไรเลย เป็นเพราะว่าเคยช่วยใครบางคน ช่วยแล้วเขาก็ไม่สำนึกบุญคุณ พอเขาได้ดี เขาก็ไม่สนใจ หรือบางทีก็ไปคิดว่าเขาเนรคุณ อันนี้เป็นทุกข์ของคนดี คนที่ชอบช่วยเหลือคนแต่วางใจไม่ถูก ไตอนที่เห็นเขาทุกข์แล้วช่วยเหลือนี้ดี แต่ว่าถ้าเกิดว่าเขาจะไม่สนใจ ไม่สำนึกในบุญคุณของเราก็อย่าไปเก็บเอามาคิด ถ้าทุกข์เมื่อไร แสดงว่าเรามีความคาดหวัง เรามีความคาดหวังว่าช่วยเขาแล้วเขาต้องสำนึกในบุญคุณของเรา เขาจะต้องรู้สึกเป็นหนี้บุญคุณเรา ใครที่คิดแบบนี้ เตรียมใจทุกข์ไว้ได้เลย เพราะว่ามันอาจจะไม่เป็นไปตามอย่างที่เราคิด เป็นการตั้งความหวังหรือการตั้งการวางใจที่ผิดด้วย

ช่วยใครก็เหมือนกับว่าลืมไปเลย เวลาช่วยใครให้เราลืมไปเลยว่าเราเคยช่วยเขามันจะสบายใจ ไม่อย่างนั้นเห็นหน้าเขา ก็จะคอยคาดหวังว่าเขาจะต้องทำดีกับเราเป็นพิเศษ เขาจะต้องมาโอ๋มาพูดกับเราดี ๆ จะมีความรู้สึกแบบนี้อยู่ลึก ๆ เวลาที่เราเจอหน้าคนที่เราเคยช่วยเขา อันนี้เพราะยังจำได้ ยังจดจำว่าฉันช่วยแก ฉันช่วยแก เพราะฉะนั้นแกต้องมาสำนึกบุญคุณของฉัน แต่พอคาดหวังแบบนี้ เรียกร้องแบบนี้ก็จะมีการแสดงออกทางสีหน้าท่าทาง แล้วคนที่เคยได้รับความช่วยเหลือจากเรา เขาจะรู้สึกถูกกดดัน รู้สึกถูกเรียกร้อง หรือว่าถูกปฏิบัติอย่างไม่เท่าเทียมกัน คนเราก็ต้องการการปฏิบัติอย่างเท่าเทียม แต่พอเจอคนที่เคยช่วยแล้วเขาเรียกร้องให้เรามาซูฮกเขา มาอ่อนน้อมต่อเขา เพราะว่าเขาเคยช่วยเรา คนที่เคยได้รับความช่วยเหลือหลายคนจะรู้สึกแบบนี้ ก็ทำให้เกิดอาการตึงเครียด แล้วก็พาลไม่ชอบ ความสัมพันธ์ก็ร้าวฉาน

ถ้าจะให้ดีเวลาเราช่วย เราก็ลืมไปเลยว่าเราเคยช่วย เวลาเจอหน้าจะได้ไม่ไปคาดหวังว่าเขาจะต้องมากราบกราน ต้องมาพูดกับเราดี ๆ เราก็สบายใจถ้าหากว่าเขาจะปฏิบัติแบบของเขา ส่วนเขาก็สบายใจ เพราะเขาไม่รู้สึกถูกกดดัน ก็กลายเป็นว่าอยู่ด้วยกันได้ เป็นมิตรต่อกันได้ ความสัมพันธ์ไม่ร้าวฉาน แล้วเวลาเราเกิดมีปัญหากับคนที่เราเคยช่วย อย่าเพิ่งไปโทษว่า เขาไม่สำนึกในบุญคุณของเรา เราต้องกลับมาดูใจว่า เราไปคาดหวัง เรียกร้อง กดดันเขาหรือเปล่า บางทีเราทำโดยไม่รู้ตัว ปัญหาจะอยู่ที่เราเอง ไม่ได้อยู่ที่เขาก็เป็นได้

พระไพศาล วิสาโล






--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ขอขอบคุณข้อมูลและรูปภาพจาก : Facebook วัดป่าสุคะโต ธรรมชาติที่พักใจ
https://www.facebook.com/Zensukato/
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 21, 2022, 09:27:55 pm โดย ยาใจ »

ยาใจ

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 14208
    • ดูรายละเอียด



ลดความคาดหวังลงบ้าง ✧

“คนที่เลี้ยงแมว ถ้าเลี้ยงแมวด้วยความคาดหวังจะทุกข์มากเลย เพราะว่าแมวนี้ไม่เป็นไปตามความคาดหวังของเรา แต่คนส่วนใหญ่เลี้ยงแมวแล้วไม่มีความทุกข์ เพราะว่าไม่ได้คาดหวังอะไรจากแมว เรียกแล้วมันไม่มาก็ไม่ได้เสียใจ ไม่ได้โมโห เลี้ยงเขาดีแต่เขาไม่พะเน้าพนอก็ไม่ทุกข์ เพราะว่าไม่ได้คาดหวังอะไรจากเขา

ในทางตรงข้าม ถ้าเราไปคาดหวังกับคนนะ เราจะทุกข์เลย เราจะทุกข์ที่เขาไม่เป็นไปดั่งใจเรา ความทุกข์นี่เหตุของมันไม่ใช่สิ่งที่เกิดขึ้นกับเรา แต่คือความคาดหวังของเรา ความอยากของเราที่ปรารถนาจะให้สิ่งต่างๆ เป็นไปตามใจเรา”

พระไพศาล วิสาโล





☆*: .。.  .。.:*☆☆*: .。.  .。.:*☆☆*: .。.  .。.:*☆☆*: .。.  .。.:*☆☆*: .。.  .。.:*☆☆*: .。.  .。.:*☆☆*: .。.  .。.:*☆

ขอขอบคุณข้อมูลและรูปภาพจาก : Facebook วัดป่าสุคะโต ธรรมชาติที่พักใจ
https://www.facebook.com/Zensukato/
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 21, 2022, 09:28:11 pm โดย ยาใจ »

ยาใจ

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 14208
    • ดูรายละเอียด



วันนี้คือวันดีของชีวิต

ชีวิตของคนเราเปรียบเหมือนเส้นทางที่ทอดยาว เป็นธรรมดาที่เราทุกคนย่อมปรารถนาให้ทางเส้นนี้ราบเรียบไปตลอด แต่ในความเป็นจริงเส้นทางชีวิตของใครก็ตามย่อมมีบางช่วงที่ขรุขระ เป็นหลุมเป็นบ่อ อีกทั้งคดเคี้ยว ไม่สม่ำเสมอ แต่นั่นก็ไม่ได้หมายความว่าทางเส้นนี้จะไม่น่าเดิน หรือไม่น่าอภิรมย์เสมอไป

ในชีวิตของคนเราบางวันก็ผ่านไปอย่างราบรื่น แต่บางวันก็มีปัญหาต่าง ๆ รุมเร้า เพราะเราไม่สามารถควบคุมบงการให้มีแต่สิ่ง ๆ ดีเกิดขึ้นกับเรา เหตุการณ์ที่ย่ำแย่เลวร้ายบางครั้งก็เป็นสิ่งหลีกเลี่ยงไม่ได้ แม้กระนั้นก็ไม่ได้หมายความว่าเมื่อมันเกิดขึ้นแล้ว จิตใจเราจะต้องตกต่ำย่ำแย่จนเสียศูนย์เสมอไป สิ่งเลวร้ายนั้นในที่สุดก็ต้องมีวันสิ้นสุด แต่ขณะที่มันยังไม่ผ่านไป เราก็สามารถอยู่กับมันได้ด้วยใจที่ไม่ทุกข์

วันแต่ละวันไม่เคยซ้ำเดิม ราบรื่นบ้าง ขลุกขลักบ้าง แต่เราสามารถทำให้แต่ละวันเป็นวันที่มีคุณค่า มีความหมาย และยังความสดชื่นเบิกบานให้แก่เราได้ ไม่ใช่เพราะมีสิ่งดี ๆ เกิดขึ้นกับเราทุกวัน แต่เป็นเพราะเรารู้จักวางใจ รวมทั้งทำสิ่งที่มีคุณค่าทั้งต่อตนเองและผู้อื่น เราไม่อาจเลือกเหตุการณ์ที่ผ่านเข้ามาในชีวิตของเรา แต่เราเลือกได้ว่าจะมองเหตุการณ์เหล่านั้นอย่างไร รวมทั้งเลือกได้ว่าจะทำอย่างไรกับชีวิตของเรา ทั้งสองประการเป็นสิ่งสำคัญที่สุดที่จะทำให้วันนี้เป็นวันดีของชีวิต

พระไพศาล วิสาโล




----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ขอขอบคุณข้อมูลและรูปภาพจาก : Facebook วัดป่าสุคะโต ธรรมชาติที่พักใจ
https://www.facebook.com/Zensukato/
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 21, 2022, 09:28:24 pm โดย ยาใจ »

ยาใจ

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 14208
    • ดูรายละเอียด
*รวม * คติธรรม - พระอาจารย์ไพศาล วิสาโล
« ตอบ #815 เมื่อ: สิงหาคม 29, 2022, 05:18:16 pm »



เมื่อ 10 ปีก่อนมีน้ำท่วมใหญ่ ผู้คนสูญเสียทรัพย์สินมากมาย มากบ้างน้อยบ้าง เป็นล้านๆคน มีผู้หญิงคนหนึ่งก็เสียทรัพย์สินไปเยอะจากน้ำท่วม ทีแรกก็เสียใจไม่ต่างจากคนอื่น

บางคนไม่เสียใจอย่างเดียวเสียจริตไปด้วย หรือเสียชีวิตเพราะทำใจไม่ได้กับการสูญเสียจึงฆ่าตัวตาย

แต่ผู้หญิงคนนี้ก็แค่เสียใจแล้วเธอก็คิดขึ้นมาได้ว่า น้ำท่วมมาสอนเราว่า ไม่มีอะไรที่เป็นของเราเลย ทุกอย่างที่เรามี มันเป็นของเราแค่ชั่วคราว สักวันหนึ่งมันก็ต้องสูญหาย ถ้าน้ำไม่ท่วม ไฟไม่ไหม้ ก็มีคนเอาไป มันก็ไม่ได้เป็นของเราเลยแม้แต่น้อย มันเป็นอยู่กับเราแค่ชั่วคราว

พอเธอคิดได้เช่นนี้เธอก็ไม่ทุกข์
เธอเสียทรัพย์
แต่เธอได้สิ่งที่มีค่ามากกว่าทรัพย์ก็คือปัญญา

เพราะเห็นความจริงว่า ไม่มีอะไรเป็นของเราเลย ทรัพย์เสียไปก็หาใหม่ได้ แต่ว่าถ้ามีปัญญาเห็นว่าไม่มีอะไรที่เป็นของเรา แม้จะเสียทรัพย์ในวันข้างหน้า มันก็จะไม่ทุกข์

ปัญญาแบบนี้มีเท่าไหร่ก็หาซื้อไม่ได้
แต่มันเกิดจากการที่เรา
ได้เรียนรู้จากความทุกข์

มองในแง่นี้ความทุกข์หรือวิกฤตก็เป็นข้อดีข้อหนึ่งมันช่วยทำให้เราได้เห็นสัจธรรมความจริงว่า ไม่มีอะไรที่เที่ยงหรือจีรังเลย ไม่มีอะไรที่เราจะยึดมั่นถือมั่นเป็นเราเป็นของเราได้เลย

ถ้าเราทำใจแบบนี้ได้แสดงว่าเราคุ้มแล้ว เราได้เรียนรู้จากวิกฤต เราได้ปัญญาจากวิกฤต

วิกฤตมันไม่ได้โบยตีย่ำยีเราอย่างเดียว แต่มันสามารถที่จะเป็นอาจารย์สอนธรรมะให้กับเราได้ หรือสามารถที่จะมอบสิ่งดีๆให้กับเราได้

มีผู้หญิงคนหนึ่ง เป็นโรคซึมเศร้าอย่างหนัก แล้ววันหนึ่งเธอก็พบว่าเธอเป็นมะเร็งเหมือนเคราะห์ซ้ำกรรมซัด แต่เธอกลับบอกว่าขอบคุณมะเร็ง เพราะมะเร็งทำให้เธอเข้าใจตัวเอง และรับมือกับโรคได้ดีขึ้นทำให้เธอมีความสุขขึ้น เธอบอกว่าถ้าเธอไม่เป็นมะเร็ง เธอก็คงจะตายไปแล้วเพราะเป็นโรคซึมเศร้าเพราะโรคซึมเศร้าทำให้เธอตายไม่รู้ตัว

ที่จริงเธอพยายามฆ่าตัวตายมา 3 รอบ แต่พอเป็นมะเร็ง ชีวิตเธอเปลี่ยนเลย ขนาดจิตแพทย์ที่รักษาเธอมา ยังออกปากเลยว่าเธอมีทัศนะการมองชีวิตและโลกเปลี่ยนไปตั้งแต่เธอเป็นมะเร็ง

มองในแง่นี้มะเร็งช่วยทำให้เธอ มีประโยชน์กับเธอ เพราะทำให้เธอเข้าใจตัวเอง ทำให้เธอรับมือกับโรคได้ดีขึ้น

เพราะฉะนั้นวิกฤตไม่ได้เป็นสิ่งที่เลวร้ายเสมอไป มันเป็นสิ่งที่ดีให้กับเรา โดยเฉพาะทำให้เรา เข้าใจโลก ได้ดีขึ้น

และถ้ามันทำให้เรารู้จัก ปล่อยวางเพราะเห็นความจริง ว่าไม่มีอะไรที่เป็นตัวเราของเราเลยแม้แต่น้อย ถึงตอนนี้เราก็ยกจิตเหนือวิกฤตได้ ความสูญเสียจะไม่ได้ทำร้ายเราอีกต่อไป

ที่จริงความสูญเสียไม่ได้ทำร้ายเรา เช่นเดียวกับความไม่เที่ยงไม่ได้ทำร้ายเรา แต่สิ่งที่ทำร้ายเราคือ ความไปยึดติด สิ่งต่างๆว่าเที่ยง ว่าเป็นของเรา

ยึดติดในทรัพย์
ยึดติดในงานการ
ยึดติดในร่างกาย
ยึดติดในผู้คน

เพราะความยึดติดและความหลงว่ามันเที่ยงเป็นสุข เป็นของเรา พอมันไม่ได้เป็นอย่างที่เราคิดเราจึงทุกข์

เราไม่ได้ทุกข์เพราะความไม่เที่ยง
แต่เราทุกข์เพราะความไม่รู้ความจริง
จนหลงยึดติด
ซึ่งไม่ว่าจะมีมากเพียงใด
มันก็ไม่มีความสุขเลย

เราสังเกตไหม เรือโยงที่มันแล่นผ่านเราไป มันมีเรือโยงหลายลำ ที่มันลากเอาเรือขนทราย 5 ลำ 10 ลำ สวนกระแสน้ำ เห็นแล้วก็เหนื่อย

ชีวิตของหลายคนก็เหมือนกับเรือโยงนั้น แม้จะมีทรัพย์เยอะแต่ว่ามันทุกข์มากเลยกับการลาก แล้วก็เป็นการลากที่ทวนกระแสน้ำหรือจะทวนกระแสความจริงว่า ไม่มีอะไรเที่ยง

หลายคนที่มีทรัพย์มาก เขาไม่มีความสุขเลยเพราะเขาเหนื่อยกับการแบกกับการยึดทรัพย์เหล่านั้น การยึดการแบกชนิดที่สวนทางกับกระแสความจริงคืออนิจจัง ทุกขัง อนัตตา

แต่เราลองสังเกตเรือโยงบางลำ มันแล่นไปตามน้ำ แล้วมันก็ไม่ได้แบกมันไม่ได้ลากอะไรเลย มันแล่นอย่างอิสระเสรีมาก

สังเกตเรือ 2 ชนิดนี้ไหม เรือชนิดหนึ่งคือลากแบกสมบัติคือเรือขนทราย ทวนกระแสน้ำ ดูแล้วเหนื่อย ดูแล้วล้า เฉื่อยช้า แต่เรืออีกลำหนึ่งแล่นฉิวเลย ทั้งๆที่เป็นเรือโยงเหมือนกัน แต่มันไม่ได้ลาก มันไม่ได้โยงอะไร เพราะมันปล่อยวางทุกอย่างเป็นอิสระ

เราอยากจะเป็นเรือแบบไหน ยึดในทรัพย์ แล้วก็ลากมันไป สวนทางกับความจริง หรือว่าเรือที่เป็นอิสระที่ไม่ต้องแบกไม่ต้องยึดอะไร แม้จะมีทรัพย์แต่ก็ไม่ได้ยึดในทรัพย์

อันนี้คือวิธีที่ทำให้เราสามารถที่จะผ่านพ้นวิกฤตไปได้ หรือไม่เจอวิกฤตด้วยซ้ำ

แต่อย่างไรก็ตามปุถุชนอย่างเราก็ต้องมีความยึดความอยาก เพราะฉะนั้นก็ต้องเจอวิกฤตไปเรื่อยๆ แต่ถ้าเรารู้วิธีในการรักษาใจเราก็สามารถที่จะอยู่กับวิกฤตจนกระทั่งวิกฤตผ่านพ้นไปได้

ข้อธรรม คำสอน พระไพศาล วิสาโล







  ขอขอบคุณข้อมูลและรูปภาพจาก : Facebook ข้อธรรม คำสอน พระไพศาล วิสาโล
https://www.facebook.com/visalo/
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 29, 2022, 05:21:09 pm โดย ยาใจ »

ยาใจ

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 14208
    • ดูรายละเอียด
❁ ถูกต้องดีกว่าถูกใจ - พระอาจารย์ไพศาล วิสาโล
« ตอบ #816 เมื่อ: กันยายน 07, 2022, 06:31:41 am »



ถูกต้องดีกว่าถูกใจ


  มีคำหนึ่งในพุทธศาสนาที่เราอาจจะคุ้นหู แต่ว่าความเข้าใจอาจจะไม่ตรงกับความหมายในพุทธศาสนา นั่นคือคำว่า อธิปไตย

เวลาเรานึกถึงอธิปไตย ก็นึกไปถึงเรื่องของการเมือง ระบอบการปกครอง เช่น ประชาธิปไตย แต่อธิปไตยในพุทธศาสนาไม่ใช่เป็นเรื่องของระบอบการปกครอง แต่เป็นเรื่องของการให้คุณค่าให้ความสำคัญ

อธิปไตยก็แปลว่าการถือเอาเป็นใหญ่ เอาอะไรเป็นใหญ่ ก็มี 3 ประการใหญ่ ๆ อันแรกคือธรรมาธิปไตย คือการเอาธรรมะเป็นใหญ่ อันที่ 2 คืออัตตาธิปไตย การถือเอาตัวเองหรืออัตตาเป็นใหญ่ และ 3 โลกาธิปไตย ถือเอาคนหมู่มากเป็นใหญ่ ความหมายนี้ก็คือว่าไม่ได้มีความเห็นเป็นของตัวเอง แต่ว่าทำไปตามความเห็นของคนส่วนใหญ่ ที่เรียกว่าโลก เป็นต้น

แต่ว่าหลัก ๆ ก็มีอยู่ 2 อย่าง ที่เราควรจะใส่ใจและก็ทำความเข้าใจให้ถูกต้อง นั่นคือ ธรรมาธิปไตยกับอัตตาธิปไตย

การถือธรรมเป็นใหญ่ ความหมายคือเอาความถูกต้องเป็นใหญ่ เวลาเราทำงานทำการหรือเราใช้ชีวิต ถ้าเราถือธรรมเป็นใหญ่หรือธรรมาธิปไตย เราก็จะตั้งตัวอยู่ในศีลในธรรม ไม่เบียดเบียนผู้อื่น เพราะเห็นแก่ความถูกต้อง

แต่ถ้าเราเอาตัวเองเป็นใหญ่หรืออัตตาธิปไตย มันก็คือการเอาประโยชน์ของตัวเองเป็นใหญ่ ไม่สนใจว่าความถูกต้องหรือระเบียบกฎเกณฑ์จะเป็นอย่างไร ถ้าเราถือตัวเองเป็นใหญ่ การที่เราจะอยู่ในศีลธรรมก็ยาก เพราะว่าเอาความต้องการของตัวเองเป็นหลัก ซึ่งส่วนใหญ่ก็เป็นเรื่องของกิเลสนั่นแหละ หรือความเห็นแก่ตัว

อัตตาธิปไตยในความหมายที่แย่คือการเห็นแก่ตัว ส่วนธรรมาธิปไตยเห็นแก่ธรรมะ เห็นแก่ความถูกต้อง หรือถ้าพูดง่าย ๆ คือว่าธรรมาธิปไตยคือการเอาถูกความเป็นใหญ่ ส่วนอัตตาธิปไตยคือเอาความถูกใจเป็นใหญ่

อันนี้เราก็มาพิจารณาดูง่าย ๆ ในการดำเนินชีวิตของคนเรา ในแต่ละวันเราเอาอะไรเป็นใหญ่ อย่างเช่นเวลากินอาหาร ถ้าเราเอาความถูกต้องเป็นใหญ่ หรือธรรมาธิปไตย เราก็จะกินอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพ เพื่อทำให้ร่างกายแข็งแรง มีกำลังวังชา เพื่อที่จะได้ทำกิจการงานต่าง ๆ ได้

แต่ถ้าเอาความถูกใจเป็นใหญ่ เราก็จะกินเพราะว่ามันอร่อย เอารสชาติเป็นใหญ่ ถึงแม้ว่ามันจะไม่เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพ แต่มันอร่อย มันหวาน มันเปรี้ยว มันเผ็ด มันเค็ม หรือว่ามันสีสวยน่ากิน ทั้ง ๆ ที่มันอาจจะเจือไปด้วยสารพิษที่เป็นอันตราย

หลายคนก็รู้ว่ากินอาหารที่มันเต็มไปด้วยไขมัน อุดมไปด้วยน้ำตาล เป็นโทษต่อสุขภาพ แต่ก็ห้ามใจไม่ได้ กินมาก ๆ เข้า สุดท้ายก็เป็นโรคหัวใจ โรคเบาหวาน ไตวาย หรือบางทีถ้ากินอาหารประเภทที่มันเป็นของดิบ เช่น ปลาดิบ มีพยาธิใบไม้ในตับ ก็เกิดเป็นมะเร็งในตับ หลายคนก็รู้ว่ากินอาหารแบบนี้ ทำให้เกิดโรคเป็นมะเร็งในตับ รู้ว่ามันไม่ถูกต้องแต่ก็กิน เพราะมันถูกใจ

หรือเวลาเราเรียนหนังสือ ถ้าความถูกต้อง เราก็ต้องเรียนด้วยความขยันหมั่นเพียร ต้องมีความซื่อสัตย์สุจริต เวลาทำการบ้าน หรือเวลาเข้าห้องสอบ แต่ถ้าเราเอาความถูกใจเป็นใหญ่ เรียนบ้างไม่เรียนบ้าง บางวิชาฉันไม่ชอบฉันก็ไม่เรียน เวลาทำการบ้านก็ไปลอกจากเพื่อน หรือว่าไปตัดแปะมาจากกูเกิ้ลหรือวิกิพีเดีย เวลาสอบก็ทุจริต แม้รู้ว่าไม่ถูกต้อง แต่มันถูกใจ คือมันสะดวก ง่าย สบาย

เวลาทำงานถ้าเราเอาความถูกต้องเป็นใหญ่ เราก็จะทำงานด้วยความรับผิดชอบ แม้ว่าเป็นงานที่เราไม่ชอบ แต่เมื่อเรามีหน้าที่ เราก็ต้องพยายามทำให้ดีที่สุด เพราะเป็นความรับผิดชอบของเรา แต่ถ้าเอาความถูกใจ งานนี้ฉันไม่ชอบ ฉันก็ไม่ทำ ต่อเมื่อเป็นงานที่ฉันชอบ ฉันจึงจะทำ

หรือถ้าเป็นงานที่ฉันไม่ได้อะไร ฉันไม่ทำ จะทำก็ต่อเมื่อเป็นงานที่ได้ผลประโยชน์ เวลาจะทำอะไรก็จะถามว่าทำแล้วฉันจะได้อะไร อันนี้ก็คือเอาความถูกใจเป็นหลัก หรือเอาความถูกใจเป็นใหญ่ในเวลาทำงาน

เวลาใช้ข้าวของ เช่นโทรศัพท์มือถือ ถามตัวเราเองว่าเราใช้ความถูกต้องหรือความถูกใจ ถ้าใช้ความถูกต้องเป็นใหญ่ ก็จะใช้โทรศัพท์เพื่อติดต่องานการ ทำกิจธุระ หาความรู้ เช็คข้อมูล

อาจจะดูหนังฟังเพลงบ้าง ก็ให้เวลากับมันพอสมควร ไม่ใช่หมกมุ่นอยู่กับมัน โดยไม่เป็นอันทำอะไร งานการก็ไม่สนใจ ก้มหน้าดูแต่โทรศัพท์ ใช้ดูหนังฟังเพลง หรือบางทีหนักกว่านั้น ใช้เพื่อเล่นพนันออนไลน์ หรือเล่นเกมออนไลน์ วันหนึ่งหลายชั่วโมง การใช้โทรศัพท์มือถือแบบนี้ ก็เรียกว่าไม่ได้เอาความถูกต้องเป็นใหญ่ แต่เอาความถูกใจเป็นใหญ่

ฉะนั้นลองพิจารณาดูเรื่องการใช้ชีวิตของคนเรา รวมทั้งความสัมพันธ์กับผู้คน เราใช้อะไรเป็นใหญ่ เอาความถูกต้องเป็นใหญ่ หรือเอาความถูกใจเป็นใหญ่ เวลาคบเพื่อน เวลามีเรื่องที่ต้องเกี่ยวข้องกับผู้คน ถ้าเราเอาความถูกต้องเป็นใหญ่ เราก็จะคำนึงถึงความรู้สึกของอีกฝ่ายหนึ่ง เราจะไม่คิดถึงแต่จะเบียดเบียน เอาเปรียบ ต้องมีความเสียสละ แล้วก็รู้จักอดกลั้น ไม่ทำตามอารมณ์

แต่ถ้าเอาความถูกใจเป็นใหญ่ ก็เรียกว่าไม่สนใจว่าคนอื่น เขาจะรู้สึกอย่างไร เอาเปรียบได้ก็เอาเปรียบ ไม่พอใจอะไรก็โวยวาย เรียกว่าขาดน้ำใจ แล้วก็ขาดความรับผิดชอบ มันเป็นเส้นแบ่งได้เลยในเรื่องคน ในเรื่องของพฤติกรรม ในเรื่องของการกระทำ ว่าเราใช้ความถูกต้องหรือความถูกใจ

ถ้าเราเอาความถูกต้องเป็นใหญ่ ชีวิตก็มีโอกาสที่จะเจริญก้าวหน้า อยู่ในศีลในธรรม ตั้งมั่นในความดี แต่ถ้าเราเอาความถูกใจเป็นใหญ่ ก็มีโอกาสที่จะตกต่ำย่ำแย่ เพราะสุดท้ายก็กลายเป็นคนเห็นแก่ตัว หรือว่าตกเป็นทาสของกิเลส อยากกินอะไรก็กิน อยากทำอะไรก็ทำ ไม่ได้สนใจส่วนรวม

เวลามาอยู่วัดก็เหมือนกัน ถ้าเอาความถูกต้องเป็นใหญ่ เราก็จะปฏิบัติตามกฎระเบียบ แม้บางอย่างเราอาจจะต้องฝืนใจทำ เพราะว่าเราเป็นคนตื่นสาย แต่ว่าเราจำเป็นต้องตื่นเช้ามาทำวัตร เพราะว่ามันเป็นระเบียบ มันเป็นข้อวัตร เป็นกติกา เวลามีการทำกิจส่วนรวมก็ไปร่วมช่วยทำ

แต่ถ้าเราเอาความถูกใจเป็นใหญ่ มาบ้างไม่มาบ้าง ทำวัตร เอาความอยากของตัวเองเป็นหลัก ไม่อยากมาก็ไม่มา หรือว่าไม่อยากตื่นก็ไม่ตื่น งานที่เป็นของส่วนรวม ฉันไม่อยากทำฉันก็ไม่ทำ อันนี้ก็ทำให้ชีวิตเราย่ำแย่ไป

แต่ที่จริงแล้วถ้าเราแยกแยะความถูกต้อง ความถูกใจเป็น ก็จะทำให้เราสามารถที่จะใช้ชีวิตไปในทางที่ถูกต้องได้ แต่บางครั้งมันก็ไม่ง่ายที่เราจะแยกแยะได้ชัดเจน ระหว่างความถูกต้องกับความถูกใจ เพราะบางครั้งกิเลสมันก็ฉลาด มันจะอ้างความถูกต้องเฉพาะเวลาที่ถูกใจ แต่ถ้าหากว่าความถูกต้องยามใดไม่ถูกใจฉัน ฉันก็ไม่สนใจ

อย่างเช่นเวลาทำงาน สิ้นปีก็มีโบนัส ถ้าหากว่าฉันได้โบนัส แต่ถ้ารู้ว่าคนอื่นได้โบนัสมากกว่าฉัน เช่นฉันได้ 50,000 แต่อีกคนได้ 70,000 หรือแสนหนึ่ง ก็จะไม่พอใจ ก็จะอ้างว่าไม่ถูกต้อง ไม่เป็นธรรม ความเป็นธรรมคืออะไร ความถูกต้องคืออะไร ก็คือต้องได้เท่ากัน ก็อาจจะเรียกร้อง อาจจะประท้วง อาจจะโวยวายว่ามันต้องเป็นธรรม คือต้องได้เท่ากัน ถึงจะถูกต้อง

แต่ถ้าหากว่าตัวเองได้มากกว่า ตัวเองได้แสน แต่ว่าคนอื่นเขาได้ 50,000, 70,000 เงียบเลย ไม่พูดสักคำเลยว่ามันไม่ถูกต้อง มันไม่เป็นธรรม เพราะอะไร เพราะว่าฉันได้มากกว่า คราวนี้ฉันได้มากกว่า ก็ถือว่าเป็นเรื่องที่ถูกใจฉันแล้ว ถึงตอนนี้ก็ทิ้งเรื่องความถูกต้องไป แต่ถ้าเราเอาความถูกต้องเป็นใหญ่ แม้ว่าจะมีเงินหรือได้เงินมากกว่าคนอื่น มันก็ไม่ถูกต้องอยู่นั่นเอง ก็ต้องทำให้เกิดความถูกต้องขึ้นมา คือว่าต้องได้เท่าคนอื่น

หลายคนเรียกร้องความถูกต้อง เรียกร้องความเป็นธรรม บ่อยครั้งเลยเพราะว่าตัวเองสูญเสียผลประโยชน์ หรือว่าไม่ได้ประโยชน์เท่ากับคนอื่น ถ้าหากว่าตัวเองได้เกิดน้อยกว่าคนอื่น จะเรียกร้องความเป็นธรรม เรียกร้องความถูกต้อง แต่ถ้าหากว่าตัวเองได้มากกว่าคนอื่น ความถูกต้องก็ลืมไปเลย อันนี้แหละนะเรียกว่าอ้างความถูกต้องต่อเมื่อมันถูกใจฉัน

ทั้งที่ถ้าถูกต้องแล้วฉันได้เท่าคนอื่น แต่กลับดีหากว่าฉันได้มากกว่าคนอื่น แล้วหากความถูกต้องหมายถึงว่าฉันต้องได้น้อยลง ลดลงมาจากแสนให้เหลือ 70,000 เท่ากับคนอื่น ฉันไม่เอาแล้ว

อันนี้ก็เป็นสิ่งที่เราพบอยู่บ่อย ๆ อ้างความถูกต้องต่อเมื่อมันถูกใจ แต่ถ้ามันไม่ถูกใจฉันเมื่อไหร่ ก็ไม่อ้างความถูกต้องแล้ว ลืมไปเลย อันนี้ก็ต้องระมัดระวัง เพราะบางครั้งกิเลสมันก็ฉลาด มันก็อ้างความถูกต้อง เพื่อสนองผลประโยชน์ของมัน และบางทีเราก็นิยามความถูกต้องแปรผันไป ขึ้นอยู่กับความถูกใจ

ความถูกต้องหรือความเป็นธรรม มันก็มองได้หลายแง่ และตรงนี้แหละ เป็นโอกาสที่จะทำให้ตัวกิเลสมันมาเป็นตัวกำหนด ว่าอย่างไหนเรียกว่าเป็นความถูกต้อง

อย่างเช่นหมู่บ้านหนึ่ง เมื่อสัก 30-40 ปีก่อน สมัยที่ยังไม่มีอบต. ในหมู่บ้านนั้นมีปั๊มน้ำ ที่ใช้แบบคันโยก เป็นปั๊มน้ำของหมู่บ้าน มันเกิดเสียขึ้นมา นักศึกษาที่เป็นพัฒนากรประจำหมู่บ้าน เขาก็เสนอว่าควรจะเก็บเงินทุกหลังคาเลยหลังคาละ 10 บาท เพื่อเป็นค่าซ่อมปั๊ม

ปรากฏว่าชาวบ้านหลายคนไม่ยอม บอกว่าบ้านฉันอยู่ไกลจากปั๊มน้ำ ฉันไม่ค่อยได้ใช้หรอก บ้านไหนที่ใช้ปั๊มมากกว่า เพราะอยู่ใกล้ปั๊ม ควรจะเสียมากกว่า ส่วนบ้านไหนที่อยู่ไกลใช้น้อย ก็ควรจะเสียน้อย แทนที่จะเสีย 10 บาท ก็เสีย 5 บาท เสียเท่ากันนี่ถือว่าไม่เป็นธรรม ตกลงก็เป็นอันว่าต้องเสียไม่เท่ากัน

แต่หนึ่งเดือนต่อมาในหมู่บ้าน มีคนเอาผ้าห่มมาแจก เพราะว่ามันใกล้ฤดูหนาว เอามาถวายวัด หลวงพ่อเจ้าอาวาสท่านก็ปรึกษามัคทายก เพราะว่าผ้าห่มมันไม่พอที่จะแจกให้ชาวบ้านทุกครัวเรือนเท่ากัน มัคทายกก็เสนอว่าบ้านไหนที่ช่วยส่วนรวมได้ 2 ผืน บ้านไหนที่ไม่ค่อยช่วยส่วนรวมได้ 1 ผืน

พอประกาศอย่างนี้เข้า ชาวบ้านไม่พอใจ บอกว่าไม่เป็นธรรม เป็นธรรมคืออะไร เป็นธรรมคือต้องได้เท่ากัน ก็แปลกนะ เวลาจ่ายเงิน ต้องจ่ายไม่เท่ากัน ถึงจะเป็นธรรม แต่เวลาพอได้ผ้าห่มหรือแจกผ้าห่ม ต้องได้เท่ากันถึงจะเป็นธรรม

อันนี้แปลว่าอะไร แปลว่าความเป็นธรรมหรือความถูกต้องนี่มันไม่แน่นอน มันแปรผันขึ้นอยู่กับความถูกใจ จ่ายเท่ากัน หลายคนไม่ถูกใจ ควรจะจ่ายน้อยกว่า จ่ายไม่เท่ากันจึงจะเรียกว่าเป็นธรรม แต่ถึงเวลาได้ ต้องได้เท่ากันจึงจะเป็นธรรม

ถ้าเราพิจารณาดูก็จะพบว่า นี่มันเป็นการนิยามคำว่าเป็นธรรม หรือความถูกต้องโดยอาศัยความถูกใจ ถึงเวลาได้ ต้องได้เท่ากันจึงจะถูกใจ ถ้าได้ไม่เท่ากัน ไม่ถูกใจ ก็ถือว่าไม่เป็นธรรม แต่เวลาจ่าย ต้องจ่ายไม่เท่ากันจึงจะถูกต้อง ฉันต้องจ่ายน้อยกว่า เพราะบ้านฉันอยู่ไกล อย่างนี้เรียกว่าเป็นธรรม

ฉะนั้นความเป็นธรรม ถ้าเราไม่ระวัง มันก็เป็นข้ออ้างเพื่อสนองกิเลส เพื่อสนองความถูกใจ ถ้าเราดูให้ดี ๆ ความถูกต้อง ความถูกใจ แม้ว่าความหมายจะต่างกัน แต่ถ้าไม่ระวัง มันก็กลายเป็นเรื่องเดียวกันได้ ก็คือว่าอันไหนถูกใจจึงเรียกว่าถูกต้อง อันไหนไม่ถูกใจก็เรียกว่าไม่ถูกต้อง

และอีกอย่างหนึ่งคือแม้เราจะมีความชัดเจนว่าอย่างนี้คือความถูกต้อง แต่ก็ต้องระวัง อย่าไปยึดมั่นถือมั่นกับมันมาก เพราะถ้าเราไปยึดมั่นถือมั่นกับความถูกต้องเมื่อไหร่ พอเจอใครทำอะไรไม่ถูกต้อง กลายเป็นไม่ถูกใจไปเลย

อย่างที่เคยเล่า ศีลจาริณี บวชใหม่ ไม่รู้ธรรมเนียม ยืนกินน้ำ แม่ชีเดินผ่านมาเห็นคาตาเลย อย่างนี้ไม่ถูกต้อง แต่ว่าไปยึดกับความถูกต้องมากไป พอเจอความไม่ถูกต้องขึ้นมา โกรธนะ ทุบหลังศีลจาริณีเลย อันนี้เรียกว่าเป็นเพราะยึดมั่นความถูกต้องมาก ยึดมั่นกับระเบียบมาก พอยึดมั่นกับระเบียบหรือความถูกต้อง พอเจอความไม่ถูกต้อง หรือใครทำอะไรไม่ถูกต้อง ก็จะโกรธ

หรือว่าที่วัดก็มีระเบียบ เวลาฟังธรรมต้องปิดโทรศัพท์มือถือ อันนี้คือความถูกต้องที่ควรปฏิบัติร่วมกัน แต่เกิดมีโยมคนหนึ่งลืมปิดโทรศัพท์มือถือ แล้วบังเอิญมีคนโทรเข้ามา เสียงก็ดังกลางศาลาเลย ขณะที่เจ้าอาวาสกำลังเทศน์อยู่ นี่เป็นความไม่ถูกต้องแท้ ๆ เลย ถ้ายึดมั่นกับความถูกต้องมาก เวลาเจอความไม่ถูกต้องแบบนี้ก็โกรธ

โกรธแล้วเป็นอย่างไร ก็ตะโกนด่าเลย เจ้าอาวาสก็ตะโกนด่าเลย กำลังเทศน์อยู่ดีๆ เปลี่ยนโหมดเลยนะ เป็นการด่าแทน ด่าเจ้าของโทรศัพท์ที่ลืมปิดโทรศัพท์ อันนี้เรียกว่าพอเจอความไม่ถูกต้องนี่ มันเกิดไม่ถูกใจขึ้นมา พอไม่ถูกใจแล้วกิเลสมันก็พร้อมที่จะเล่นงาน พร้อมที่จะโวยวาย พร้อมที่จะพูด หรือพร้อมที่จะกระทำอะไรก็ตามด้วยอำนาจของโทสะ ด้วยอำนาจของกิเลส ซึ่งเป็นเรื่องของอัตตาธิปไตย

ฉะนั้นเราต้องระวัง ขณะที่เรายึดมั่นในความถูกต้อง ถ้าเรายึดมั่นมากไป พอเจอใครทำอะไรไม่ถูกต้องขึ้นมา ความไม่ถูกต้องจะกลายเป็นความไม่ถูกใจทันทีเลย ทั้งๆ ที่ดูเผินๆ ไม่ถูกต้องกับไม่ถูกใจนี่มันห่างกันนะ มันไกลกันมาก

เช่นเดียวกับความถูกต้อง ความถูกใจ บางทีมันก็ไกลกันมาก แต่ในบางครั้งบางคราว ถ้าไม่รู้ทันมัน มันกลายเป็นเรื่องเดียวกันไปเลย คือถ้าไม่ถูกต้องเมื่อไหร่ ก็ไม่ถูกใจเมื่อนั้น หรือจะเป็นสิ่งที่ถูกต้อง ก็ต่อเมื่อมันถูกใจ ถ้าอันไหนไม่ถูกใจ ก็ไม่ถูกต้องไป

อันนี้มันต้องใช้สติพิจารณา การที่เรารู้ว่าอะไรถูก อะไรผิด เป็นสิ่งที่ดี และการที่เราปฏิบัติตามความถูกต้อง ก็เป็นสิ่งที่ดี เรียกว่ามีธรรมาธิปไตย แต่ถ้าเรายึดมั่นในความถูกต้องมากไป มันก็ง่ายมากเลยนะ ที่เวลาเจอใครทำอะไรไม่ถูกต้อง ความไม่ถูกต้องก็กลายเป็นความไม่ถูกใจ หรือกระตุ้นให้เกิดความไม่ถูกใจทันที

แล้วบางทีก็ไม่รู้ตัวนะ ก็ยังคิดว่าฉันทำสิ่งที่ถูกต้อง แต่ที่จริงแล้วสิ่งที่ทำไปมันถูกใจต่างหาก แล้วมันก็เกินเลยความถูกต้องไป เพราะว่าไปทุบหลังคนอื่นนี่มันจะถูกต้องได้อย่างไร หรือว่าไปตะโกนด่ากลางศาลาในขณะที่ขาดสติ หรือทำไปด้วยความโกรธ จะเป็นความถูกต้องได้อย่างไร มันก็เป็นเรื่องละเอียดอ่อน ความถูกต้องไม่ใช่ว่ามันจะกลายเป็นสิ่งตรงข้ามกับความถูกใจ

ถ้าเราไม่ระวัง ความยึดมั่นถือมั่น มันก็จะทำให้ความถูกต้องกับความถูกใจ กลายเป็นอันเดียวกัน แล้วก็ทำให้เกิดความผิดพลาด หรือเกิดความเสียหายขึ้น

หลายคนก็ทำสิ่งที่ไม่ถูกต้องเพื่อพิทักษ์ความถูกต้อง อันนี้มีเยอะเลย ที่เป็นข่าวก็คือว่าไปฆ่าคนนั้นคนนี้เพื่อรักษาความถูกต้อง ไม่ว่าเป็นความถูกต้องทางการเมือง ความถูกต้องทางศาสนา

อย่างพวกที่เป็นพวกก่อการร้าย หลายคนเขาก็คิดว่าเขาทำเพื่อพระเจ้า เขาทำเพื่อพิทักษ์ความถูกต้องทางศาสนา แต่ว่าสิ่งที่เขาทำ มันกลายเป็นความไม่ถูกต้องไปเสียแล้ว ทำไปด้วยอำนาจของกิเลส ตัวเองเป็นคนตัดสินว่าใครจะอยู่ใครจะไป ใครที่คิดไม่เหมือนฉัน ก็ต้องถูกกำจัดออกไปจากโลกนี้ เพราะมันเป็นคนที่คิดไม่ถูกต้อง ปฏิบัติไม่ถูกต้อง

ที่จริงก็เป็นเพียงแค่เห็นต่างจากตัวเองเท่านั้น แต่พอเจอคนที่เห็นต่าง ก็เปลี่ยนจากความไม่ถูกใจ กลายเป็นข้ออ้างว่าเขาทำสิ่งที่ไม่ถูกต้อง เพราะฉะนั้นก็สมควรกำจัดออกไปจากโลกนี้

อันนี้เป็นสิ่งที่เราเห็นมากขึ้นเรื่อยๆ ที่เป็นข่าว แล้วมันไม่ใช่เพราะเรื่องศาสนาอย่างเดียว เรื่องการเมือง เรื่องวัฒนธรรม ก็มีความถูกต้องของมัน แต่ถ้าไปยึดความถูกต้องมากไป ใครที่ปฏิบัติไม่ถูกต้องในสายตาของเรา มันก็กลายเป็นสิ่งที่กระตุ้นความไม่ถูกใจ ทำให้เกิดความโกรธ ทำให้เกิดข้ออ้างในการที่จะจัดการ ทำร้าย หรือว่าสังหาร

ฉะนั้นต้องระวังมากทีเดียว การทำความไม่ถูกต้อง ในนามของความถูกต้อง ก็กลายเป็นว่าทำไปด้วยอำนาจของกิเลส แทนที่จะเป็นธรรมาธิปไตย ก็กลายเป็นอัตตาธิปไตยไป.

พระไพศาล วิสาโล
วัดป่าสุคะโต
4 กันยายน 2565



คลิกชม VDOได้ที่ ===> https://youtu.be/nvGHQUvjvOE



----------------------------------------------------------------

ขอขอบคุณ Nonglak Trongselsat
และ Fackbook Kanlayanatam
https://web.facebook.com/Kanlayanatam-174670492571704

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กันยายน 07, 2022, 07:12:02 am โดย ยาใจ »

ยาใจ

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 14208
    • ดูรายละเอียด


  ❁  ❁  ❁  ☆*: .。.   เติมเต็มชีวิตด้วยธรรม    .。.:*☆  ❁  ❁  ❁


สิ่งที่ดีกว่า คือการเติมเต็ม
ด้วยปัญญาและความดี
แสงสว่างก็เหมือนกับปัญญา
กลิ่นธูปที่อบอวลก็หมายถึงความดี



แสดงธรรมยามเย็น โดย
พระอาจารย์ไพศาล วิสาโล
วันเสาร์ที่ 3 กันยายน 2565
ณ วัดป่าสุคะโต จ. ชัยภูมิ
______________

การที่คนเราจะสนใจธรรมะจริงจังนี่ มันไม่ใช่เรื่องง่ายเลยนะ เพราะว่ามันมีสิ่งดึงดูดใจ ให้คนเราหันเหไปทางอื่นเยอะ เช่น ความสนุกสนาน หรือความสุขจากการเสพ การมีการได้ เราเรียกว่าความสุขทางโลก หรือจะเรียกว่าเป็นวิถีทางโลกก็ได้ และคนส่วนใหญ่ก็หันเหไปทางนั้นเสียเยอะ

ถ้าไม่สนุกสนานเพลิดเพลินในการหาความสำเริงสำราญ ก็หมกมุ่นกับการหาเงินหาทอง ซึ่งบางทีมันก็ไม่ใช่เพียงแค่หาอยู่หากิน หรือว่าเพื่อความอยู่รอด แต่ว่าเพื่อความมั่งคั่ง เพื่อความอยู่ดีกินดี

แต่ก็มีคนจำนวนไม่น้อยที่หันมาสนใจธรรมะ ส่วนหนึ่งก็เกิดจากการได้ฟังธรรม อาจจะเป็นเพราะมีคนชวน หรือว่าบังเอิญได้ยินได้ฟัง อาจจะเริ่มจากการเห็นข้อความบางข้อความที่สะดุดใจ หรือได้เห็นได้ฟังคลิปวีดีโอที่ทำให้เกิดความฉุกคิดขึ้นมา ถ้าหมายถึงสมัยนี้นะ

สมัยก่อนก็อาจจะเป็นเพราะว่ามีคนชักชวน หรือว่าได้เจอครูบาอาจารย์ที่พูดกระทบใจ เลยทำให้สะดุดใจขึ้นมา ก็เลยเริ่มติดตาม จากการฟังธรรมก็เป็นการปฏิบัติธรรม อันนี้ก็เรียกว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงทีละเล็กทีละน้อย หรือว่าเข้าหาธรรมแบบค่อย ๆ เป็นค่อย ๆ ไป

แต่ก็มีหลายคนที่การเข้าหาธรรมนี่ เหมือนกับเป็นการหักเหเลย มีจุดหักเหของชีวิตที่ทำให้หันมาสนใจธรรมะ จุดหักเหที่สำคัญก็มักจะได้แก่ความทุกข์ เช่น สูญเสียคนรัก อาจจะเป็นพ่อแม่ สามีภรรยาหรือลูก หรือบางทีก็สูญเสียของรัก เช่น ทรัพย์สินถึงขั้นล้มละลาย เป็นหนี้เป็นสิน หรือว่าเจ็บป่วย เจ็บป่วยด้วยโรคที่รักษาไม่หาย รักษาได้ยาก ทั้งทางกายทางใจ ก็ทำให้หันมาสนใจธรรมะ

ในสมัยพุทธกาลมีตัวอย่างแบบนี้เยอะเลย ที่เคยเล่าอยู่หลายครั้งก็เช่น นางกีสาโคตมี นางปฏาจารา สูญเสียลูก สูญเสียทั้งสามี ทั้งพ่อแม่ ลูกก็ไม่ใช่แค่ลูกคนเดียวที่เสีย เรียกว่าเสียทั้งสองคน หมดเนื้อหมดตัวไปเลย จนกลายเป็นเสียสติหรือคุ้มคลั่งไป หรือค่อน ๆ ปริ่ม ๆ วิกลจริต หรือบางคนก็สูญเสียคนรัก อย่างสันตติอำมาตย์ ทั้ง 3 ท่านที่พูดมานี่ตอนหลังก็ได้เป็นพระอรหันต์

ชีวิตเปลี่ยนเพราะความสูญเสีย เกิดความโศก ความคร่ำครวญ จนถึงทุกวันนี้หลายคนชีวิตหักเหได้ก็เพราะการสูญเสีย บางทีคนรักอาจจะไม่ได้ตายจากไปแต่ว่าเขาเลิกทาง ก็เหมือนกับจากเป็น ก็ทำให้เสียศูนย์ไปเลย แล้วก็ได้หันมาสนใจธรรมะ ทีแรกก็เป็นเครื่องปลอบประโลมใจ แต่ตอนหลังก็ทำให้เกิดสติเกิดปัญญาขึ้นมา

และที่เป็นกันมากคือความเจ็บป่วย เจ็บป่วยด้วยโรคมะเร็ง ก็ทำให้ชีวิตหักเหหันมาสนใจธรรมะ เพราะรู้ว่าเงินทองที่มี สมบัติที่สะสมมา มันไม่ได้ช่วยเลย ไม่ใช่แค่ไม่ช่วยความทุกข์ทางกายคือโรคภัยไข้เจ็บเท่านั้น แต่ว่ายังไม่สามารถจะช่วยความทุกข์ทางใจได้ อันนี้เรียกว่าหันมาสนใจธรรมะ เพราะเจอทุกข์ที่มันบีบคั้นใจ

แต่ก็มีจำนวนไม่น้อยที่หันมาสนใจธรรมะ เพราะว่าไม่ได้เจอทุกข์เลย จะว่าไปแล้วสิ่งที่อยากมีก็ได้มี เรียกว่ามีความพรั่งพร้อม แต่ว่าพบว่าแม้มีเท่าไหร่ ก็ยังไม่สามารถจะเติมเต็มความรู้สึกพร่องในใจได้ คือเกิดความรู้สึกเบื่อหน่ายขึ้นมา เพราะรู้สึกว่าสิ่งที่มี แม้จะมีสมอยาก แต่มันก็ไม่ได้ช่วยทำให้มีความสุขอย่างแท้จริง

อย่างในสมัยพุทธกาล มานพ 2 คน อุปติสสะ โกลิตะ ซึ่งภายหลังก็คือพระสารีบุตร พระโมคคัลลานะ เรียกว่าชีวิตนี่ราบเรียบราบรื่น ครอบครัวดี มีบริษัทบริวารเยอะ ใช้ชีวิตอย่างสำเริงสำราญ ใช้เวลากับการเสพมหรสพ หาความบันเทิงตามประสาคนหนุ่ม

แต่พอมาถึงจุดหนึ่งก็พบว่ามันก็เท่านั้นแหละ มีวันหนึ่งไปชมมหรสพมา แต่ก่อนนี้เคยสนุกสนาน แต่คราวนี้รู้สึกเบื่อ มันดูเหมือนจืดชืด เกิดความรู้สึกว่ามันก็เท่านั้นแหละ แล้วก็เลยหันมาสนใจวิถีทางอื่น เริ่มหันมาสนใจเรื่องการดับทุกข์ทางใจ หาความสุขทางใจ ที่เรียกว่าโมกขธรรม แล้วก็เลยเริ่มออกบวช

ทีแรกก็ไปบวชกับสัญชัยปริพาชก แต่ว่าก็ยังไม่พบคำตอบ จนกระทั่งอุปติสสะไปพบพระอัสสชิเข้า แล้วก็เลยได้รู้ถึงคำสอนของพระพุทธเจ้า เพียงแค่คำพูดสั้น ๆ ของพระอัสสชิว่า สิ่งใดเกิดแต่เหตุ พระตถาคตกล่าวถึงเหตุแห่งธรรม และความดับแห่งธรรมนั้น นี่เป็นคำสอนของพระมหาสมณะ ก็คือพระพุทธเจ้า เกิดปัญญาเลยนะ บรรลุธรรมเป็นพระโสดาบันเลย

เช่นเดียวกับพระโกลิตะ พอได้ฟังธรรมประโยคเดียวกันนี่ ก็บรรลุธรรมเลย อันนี้ท่านไม่ได้มีความทุกข์อะไรเลยนะ ไม่ได้มีความทุกข์ในความหมายที่ว่าสูญเสียพลัดพรากจากคนรัก เพียงแต่ว่าสิ่งที่มีสิ่งที่ได้รับ หรือความพรั่งพร้อมบริบูรณ์ มันไม่ได้ช่วยทำให้ความรู้สึกพร่องในจิตใจมันหายไป

ความเบื่อจากการใช้ชีวิตที่สนุกสนาน จากการมีการได้ มันทำให้หลายคนหันเหเข้าหาธรรมะ เพราะรู้สึกว่าจิตใจยังไม่ได้รับการเติมเต็ม แม้จะมีมากแต่ข้างในก็พร่อง ก็เหมือนกับยสะกุลบุตร ยสะกุลบุตรนี่ก็เรียกว่าพรั่งพร้อมบริบูรณ์ด้วยวัตถุ เจ้าชายสิทธัตถะมีประสาท 3 หลังอย่างไร ยสะก็มีอย่างนั้นเหมือนกัน

ก็อยู่กับความสำเริงสำราญ ไม่ต้องทำงาน วัน ๆ ก็มีกินมีใช้ มีความบันเทิงเริงรมย์ให้เสพ ก็ดูเหมือนว่าจะมีชีวิตที่ผาสุก แต่ว่าวันหนึ่งกลางดึกตื่นขึ้นมา เห็นนางฟ้อนนางรำนอนหลับไหล ก่ายกองกัน บ้างก็น้ำลายยืด บ้างก็ผ้าผ่อนหลุดลุ่ย สิ่งที่เห็นเหมือนกับว่าเป็นซากศพที่นอนกองอยู่ ก็เลยเกิดความเบื่อหน่ายขึ้นมา

ที่จริงแม้จะไม่เห็นภาพนั้น แต่คิดว่าก็คงจะมีความเบื่อมาสะสมมานานทีเดียว ทั้ง ๆ ที่มีสิ่งเสพมากมาย แต่ก็เหมือนกับว่าบางอย่างขาดหายไปจากชีวิต อันนี้เขาเรียกว่ามีความพร่อง มีความว่างเปล่าบางอย่างเกิดขึ้นในใจ และพบว่าวัตถุสิ่งเสพมันไม่ได้เติมเต็มจิตใจ จนเกิดความรู้สึกเต็มอิ่มหรือพอใจเลย

ก็เลยรู้สึกว่านี่ไม่ใช่แล้ว จึงเดินออกจากปราสาทอย่างไร้จุดหมาย แล้วก็พูดว่า ที่นี่วุ่นวายหนอ ที่นี่ขัดข้องหนอ ที่นี่ไม่ใช่สถานที่นะ เป็นใจมากกว่า จนกระทั่งเดินไปถึงป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ไกลทีเดียวจากกรุงพาราณสี เดินเรื่อยเปื่อยไป ด้วยความเบื่อหน่าย สุดท้ายก็ได้พบพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าตรัสว่าที่นี่ไม่วุ่นวาย ที่นี่ไม่ขัดข้อง

สะดุดใจขึ้นมา ก็เลยหันมาสนทนาพูดคุย แล้วก็ได้โอกาสฟังธรรมจากพระพุทธเจ้า และสุดท้ายก็บรรลุธรรมเป็นพระโสดาบัน พอบวชก็ได้เป็นพระอรหันต์ ที่จริงไม่ทันได้บวชด้วยซ้ำก็ได้เป็นพระอรหันต์แล้ว อันนี้ก็เป็นตัวอย่างของบุคคล จำนวนไม่น้อยเลย ที่เข้าหาธรรมทั้ง ๆ ที่ชีวิตไม่ได้มีความทุกข์ประเภทพลัดพรากสูญเสีย จนกระทั่งเกิดความโศก ความคร่ำครวญ หรือว่าเกิดความตื่นตระหนกตกใจ เกิดความท้อแท้ในชีวิต

แต่มันเป็นความเบื่อ เป็นความเบื่อจากการที่มีสิ่งเสพ สมอยากด้วยนะไม่ใช่ไม่สมอยาก ที่บอกว่า ปรารถนาสิ่งใด ไม่ได้สิ่งนั้นก็เป็นทุกข์ แต่ทั้งอุปติสสะ โกลิตะ หรือว่ายสะปรารถนาอะไรก็ได้ แต่ว่ามันก็ยังรู้สึกว่ามีบางอย่างขาดหายไปในชีวิต และพบว่าอันนี้ไม่ใช่ อันนี้เรียกว่า รู้สึกเกิดความพร่องขึ้นมา

ไม่ได้ถูกความบีบคั้นเพราะความโศก ความเศร้า แต่เป็นความพร่อง ก็เลยต้องหันมาหาหนทางอื่นที่จะมาช่วยเติมเต็มสิ่งนั้น อาจจะเรียกว่าความสงบใจก็ได้ มันก็มีผู้คนจำนวนมากที่หันมาสนใจธรรมะในยุคนี้ก็เพราะมีความรู้สึกเบื่อหน่ายกับสิ่งที่มี เบื่อหน่ายกับชีวิตที่เป็นอยู่ ซึ่งก็ล้วนแต่เป็นความสำเร็จ เป็นความพรั่งพร้อม แต่ว่ามันไม่สามารถจะเติมเต็มบางอย่างในจิตใจได้

เมื่อสัก 20 ปีก่อนมีนักธุรกิจหนุ่มคนหนึ่งในไทย ชีวิตแกน่าสนใจ มีช่วงหนึ่งชีวิตตกต่ำย่ำแย่มาก เพราะว่าธุรกิจของครอบครัวเป็นหนี้ถึง 7 พันล้านในช่วงเศรษฐกิจตกต่ำ เพราะว่าไปกู้เงินจากต่างประเทศมาเป็นเงินดอลล่าร์ แล้วค่าเงินบาทมันตก หนี้เพิ่มขึ้นเท่าตัวเลย 7 พันล้านเมื่อ 20 ปีก่อนก็อาจจะประมาณ 1000-2000 ล้านในปัจจุบัน

พ่อเรียกลูกคือนักธุรกิจคนนี้มาช่วยฟื้นกิจการ แกเก่งนะ 3 ปีก็สามารถจะปลดหนี้ได้เป็นธุรกิจก่อสร้างระดับประเทศเลย อีก 3 ปี ก็สามารถที่จะสร้างกำไรเพิ่มสินทรัพย์ จนกระทั่งเป็นบริษัทที่มีสินทรัพย์ 20,000 ล้าน กลายเป็นเศรษฐีหมื่นล้านภายในเวลาไม่กี่ปี ก็น่าจะเป็นคนที่มีความสุขนะ

แต่ว่าวันหนึ่งเกิดเบื่อหน่ายกับชีวิตนักธุรกิจ แกบอกว่าชีวิตผมหมดค่าทางธุรกิจแล้ว ไม่ใช่เพราะไม่มีที่ไปนะ แต่มันเกิดความเบื่อหน่าย ชีวิตของผมนี่ไม่มีความหมายเลย มันก็แค่เศรษฐีหมื่นล้านคนหนึ่ง คือเขาพบว่าการเป็นนักธุรกิจหรือการที่มีความสำเร็จทางธุรกิจมันไม่ได้ช่วยเติมเต็มอะไรบางอย่างในชีวิตให้ได้เลย

แต่ก็แปลกนะ น่าสนใจตรงที่ว่า แทนที่เขาจะหันเข้าหาธรรมะอย่างที่อุปติสสะ โกลิตะ หรือยสะ หรือแม้แต่เจ้าชายสิทธัตถะ ที่รู้สึกว่าชีวิตที่เป็นอยู่ มันไม่ใช่ แต่แทนที่จะเข้าหาธรรม กลับไปคิดว่ามันมีทางอื่นที่จะมาช่วยเติมเต็มชีวิตได้มากกว่า ในเมื่อลาภหรือเงินทองไม่ได้ช่วยเติมเต็มให้เกิดความพอใจได้ บางทียศหรืออำนาจ จะช่วยสร้างความเต็มอิ่มให้กับจิตใจได้มากกว่า

ก็เลยหันไปเป็นนักการเมือง แล้วก็ไปเป็นรัฐมนตรี และชีวิตก็เข้าสู่การเมืองอย่างเรียกว่าเต็มตัวเลย อันนี้ก็เหมือนกับว่าเป็นหนทางที่เขาคิดว่ามันจะช่วยเติมเต็มจิตใจเขาได้ ก็น่าเสียดายนะถ้าหากว่าเขาได้ใคร่ครวญสักหน่อยว่าไม่ว่าจะเป็นลาภหรือยศ มันไม่สามารถจะทำให้เกิดความเต็มอิ่มให้กับชีวิตได้

แต่คนจำนวนไม่น้อยก็คิดแบบนี้ ในเมื่อชีวิตที่เป็นอยู่ยังไม่ทำให้ฉันเติมเต็ม ก็คิดว่า ถ้าฉันรวยมากกว่านี้ ฉันมีรถมากกว่านี้ มีบ้านมากกว่านี้ มีที่ดินมากกว่านี้ มันจะช่วยเติมเต็มข้างในของฉันได้ แบบนี้ก็มีเยอะคือรู้ว่าเกิดความเบื่อหน่ายขึ้นมา แต่คิดว่าถ้ามีมากกว่านี้หรือว่าไปเส้นทางนี้ อีกหน่อยเดี๋ยวมันก็จะเต็ม

แต่ว่านักธุรกิจคนนี้แกคิดว่าเป็นนักธุรกิจก็อย่างนั้น ๆ เป็นเศรษฐีหมื่นล้านก็อย่างนั้น ๆ ไปเป็นนักการเมืองดีกว่า มีอำนาจ มียศ มันจะช่วยเติมเต็มได้ อันนี้ก็เรียกว่าไปคิดว่าลาภ ยศ สรรเสริญมันจะช่วยทำให้เกิดความเต็มอิ่ม

พูดถึงเรื่องการเติมเต็ม มีนิทานไม่ใช่นิทานมีเรื่องหนึ่งซึ่งให้ข้อคิดที่ดี อันนี้เกิดขึ้นในอินเดีย อาจารย์คนหนึ่ง แกก็มีลูกศิษย์อยู่หลายคน แต่ว่าที่โดดเด่นมี 2 คน คนหนึ่งชื่อว่าจิต อีกคนหนึ่งชื่อไชยา สองคนนี้ดูเหมือนว่าเด่นทั้งคู่ แล้วก็อาจจะมีความชิงดีชิงเด่นกัน จิตคงจะไม่พอใจไชยา ที่ได้รับการโปรดปรานมากกว่าจากอาจารย์

อาจารย์ก็เลยทดสอบภูมิปัญญา วันหนึ่งก็พา 2 คนไปที่ห้องคล้ายเป็นกุฏิเปล่า ๆ อยู่ 2 หลัง อยู่ห่างกันประมาณสัก 20-30 เมตร แล้วก็ให้เงินทั้งสองคน ๆ ละ 1 รูปี (50 กว่าปีก่อน 1 รูปีหนึ่งก็ 2 บาท) บอกว่าใช้เงิน 1 รูปีนี้ ทำอย่างไรก็ได้ ไปซื้ออะไรมาก็ได้ เพื่อให้ห้องนี้มันเต็ม

คนแรกคือจิตพอได้ 1 รูปี มาทำการบ้าน ก็รีบตรงไปที่ตลาดเลย แต่ว่า 1 รูปีนี่มันซื้ออะไรไม่ค่อยได้หรอก คิดไม่ออกว่าจะทำอย่างไร ก็นึกขึ้นมาได้ เลยไปหาคนขนขยะ แล้วก็ไปซื้อขยะมา 1 รูปีนี่ คนขนขยะแฮปปี้เลย จิตก็เอาขยะมาใส่ไว้ในห้องของตัวจนเต็มเลยเสร็จก่อนค่ำ ดีใจที่งานสำเร็จ

ส่วนไชยานี่ พอได้รับมอบหมายการบ้านจากอาจารย์แล้ว นั่งทำสมาธิสักครู่ เสร็จแล้วก็เดินไปที่ตลาดเหมือนกัน แต่ว่าไม่ได้ซื้ออะไร นอกจากไม้ขีดไฟ ประทีป ธูปหอม เสร็จแล้วก็เดินกลับไปที่ห้อง พอตกเย็นแกก็จุดประทีป แล้วก็จุดธูป ห้องนี้ก็เลยอบอวลไปด้วยกลิ่นธูป แล้วก็เต็มไปด้วยแสงสว่าง

พอตกค่ำ อาจารย์ก็มาตรวจผลงาน ไปที่ห้องของจิตก่อน พอเปิดประตูห้องขึ้นมา ก็ผงะเลย เพราะกลิ่นขยะมันโชยใส่จมูก เพราะขยะมันเต็มห้องเลย แต่พอเดินไปที่ห้องของไชยา พอเปิดห้องก็เห็นแสงสว่าง แล้วก็มีกลิ่นธูปหอมอบอวล อาจารย์ก็ยิ้มเลย การยิ้มของอาจารย์ก็เป็นเครื่องหมายว่าอาจารย์พอใจในผลงานของใครมากกว่ากัน

นิทานเรื่องนี้แสดงให้เห็นว่า มันมีวิธีการที่จะเติมเต็มห้องอยู่ 2 แบบ อันแรกคือเติมเต็มด้วยวัตถุ ซึ่งสุดท้ายมันก็ลงเอยด้วยการเอาขยะมาใส่ห้อง อีกวิธีหนึ่งคือการเติมเต็มด้วยกลิ่นหอมและแสงสว่าง อันนี้ก็เป็นอุปมาอุปไมยว่า การเติมเต็มชีวิตหรือจิตใจ ถ้าเราเติมเต็มด้วยวัตถุ สุดท้ายสิ่งที่ได้มาก็คือขยะ สิ่งที่ดีกว่าคือการเติมเต็มด้วยปัญญาและความดี แสงสว่างก็เหมือนกับปัญญา กลิ่นธูปที่อบอวลก็หมายถึงความดี

อันนี้ก็เป็นสอนใจว่า คนเราจะเลือกเติมเต็มชีวิตของเราอย่างไร หลายคนก็เติมเต็มชีวิตด้วยวัตถุ ด้วยการหาเงินหาทอง แต่สุดท้ายมันก็สู้การเติมเต็มชีวิตหรือจิตใจด้วยปัญญาและคุณธรรมไม่ได้

ถ้าหากว่าเมื่อไหร่ก็ตามที่เรารู้สึกว่างเปล่า หรือว่าเกิดความพร่องในจิตใจทั้งที่มีวัตถุสิ่งเสพมาก มันเป็นเพราะเรายังเติมเต็มชีวิตด้วยสิ่งที่มันไม่ใช่คำตอบอย่างแท้จริง ถ้าหันไปหาธรรมะ หาความสงบใจ ซึ่งเกิดขึ้นจากปัญญาและคุณธรรม มันจะเป็นคำตอบที่ชีวิตจิตใจต้องการมากกว่า

และนี่คือสิ่งที่อุปติสะ โกลิตะ หรือว่ายสะได้พบ เมื่อเข้าหาธรรมะ และชีวิตจิตใจได้รับการเติมเต็ม แต่ถ้าหากว่าหันไปหาเงินหาทองมากขึ้น เพราะคิดว่าถ้ามีมากความพอใจจะเกิดขึ้น หรือว่าไม่ใช่เงินไม่ใช่ทองแต่ไปหาสิ่งอื่นมาแทนที่เป็นเรื่องทางโลกเช่นอำนาจสุดท้ายมันก็พบว่านั่นคือทางตัน ไม่ใช่คำตอบ

แต่บางคนกว่าจะรู้ตัว ก็สายไปแล้ว เหมือนกับที่นักปราชญ์คนหนึ่งชาวอเมริกัน แกพูดว่าโศกนาฏกรรมของชีวิตก็คือว่า การที่หาปลามาทั้งชีวิต แล้วพบว่ามันไม่ใช่ปลาที่ต้องการ กว่าจะรู้ตัวก็สายไปแล้ว เพราะไม่มีเวลาเหลือแล้ว

เมื่อไหร่ก็ตามที่เรารู้สึกพร่องขึ้นมา ทั้งที่เรามีสิ่งต่างๆพรั่งพร้อม ให้รู้เถอะว่า มันเป็นเพราะว่า สิ่งที่เรามี มันไม่ใช่ ต้องหันไปหาสิ่งที่ใช่มากกว่า และสิ่งที่ใช่ มันก็ไม่ใช่เป็นเรื่องของทางโลก แต่เป็นสิ่งที่ตอบสนองความสุข ความสงบในจิตใจ ไม่ใช่พอพบว่า เงินไม่ใช่คำตอบ ก็ไปหาอำนาจมาแทน สุดท้ายก็จะพบว่ามันก็ไม่ใช่เหมือนกัน.


  คลิกชม VDO ได้ที่ ===> https://youtu.be/05_fbP8Dg4w





----------------------------------------------------------------

ขอขอบคุณ Nonglak Trongselsat
และ Fackbook Kanlayanatam
https://web.facebook.com/Kanlayanatam-174670492571704

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กันยายน 08, 2022, 07:54:02 am โดย ยาใจ »

ยาใจ

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 14208
    • ดูรายละเอียด
☆ ธรรมบำบัดทุกข์ ☆ - พระอาจารย์ไพศาล วิสาโล
« ตอบ #818 เมื่อ: กันยายน 08, 2022, 07:28:23 am »



                                    ธรรมบำบัดทุกข์       

โดย พระไพศาล วิสาโล


ความทุกข์ทั้งปวงของคนเรา ตั้งแต่เกิดจนตาย ไม่ว่าจะเป็นคนชาติใด ภาษาใด วัยใด ถ้าจะสรุปด้วยคำของพระพุทธเจ้าที่เราเพิ่งสาธยายไป และทุกเช้าเราก็สาธยายข้อความนี้ “การพลัดพรากจากสิ่งเป็นที่รักที่พอใจก็เป็นทุกข์ การประสบกับสิ่งที่ไม่รักไม่พอใจก็เป็นทุกข์”

ความทุกข์ของคนเราโดยส่วนใหญ่ก็วนเวียนอยู่กับการพลัดพรากของรักคนรัก  หรือการประสบกับสิ่งที่ไม่รัก คนเราเมื่อสูญเสียของรักคนรักก็ย่อมเกิดความเศร้าโศกคร่ำครวญ หรือเวลาเจอสิ่งที่ไม่พึงพอใจ เช่น ความเจ็บป่วย ก็มีความเศร้า มีความเครียด มีความวิตกกังวล หรือบางทีมีความคับแค้น เรียกรวม ๆ ว่า “ทุกข์”

และก็เป็นธรรมดาที่คนเรามักจะมองว่า ที่ทุกข์ที่เศร้าโศกก็เพราะสูญเสียคนรัก หรือสูญเสียของรัก แต่ที่จริงแล้ว ถ้าพิจารณาดูให้ดี ความเศร้าโศกหรือความทุกข์ของคนเรานี้ ไม่ได้เกิดจากหรือไม่ได้เกิดเพราะความสูญเสียคนรักหรือของรัก แต่เกิดขึ้นเพราะความยึดมั่นถือมั่นกับของสิ่งนั้นหรือคน ๆ นั้นมากกว่า 

ในสมัยพุทธกาล เมื่อนางกีสาโคตมีเสียลูกน้อย นางเศร้าโศกมาก และยอมรับความจริงไม่ได้ว่าลูกของตัวเองตาย นางอุ้มร่างของลูกที่เสียชีวิตไปเพื่อให้ใครต่อใครช่วยให้ฟื้นขึ้นมา จนกระทั่งได้พบกับพระพุทธเจ้า และตอนหลังพระพุทธเจ้าก็แสดงธรรมโปรดนางกีสาโคตมี หลังจากที่นางเริ่มคลายความเศร้าโศกและยอมรับความตายของลูกได้

มีประโยคหนึ่งที่พระพุทธเจ้าตรัสว่า “มัจจุราชหรือมฤตยู ย่อมพัดพาผู้ที่หลงใหลในรูปและทรัพย์ เฉกเช่นเดียวกับน้ำป่าย่อมพัดพาผู้ที่หลับใหลไปฉันนั้น” หมายความว่า ความตายย่อมทำให้ผู้ที่หลงใหลในรูปในทรัพย์ ต้องพบกับความทุกข์แสนสาหัส แต่ถ้าเราพิจารณาประโยคนี้ให้ดีๆ ก็จะพบว่า ถ้าหากไม่หลงใหลหรือยึดติดถือมั่นในรูปในทรัพย์ แม้มีความตายเกิดขึ้น ก็ไม่ทำให้ผู้นั้นไหลไปสู่ความทุกข์หรือประสบกับความทุกข์ได้

พูดอีกอย่างหนึ่งก็คือ ที่ทุกข์นี้ก็เพราะมีความหลงใหล หรือมีความยึดติดในรูปในทรัพย์ ไม่ใช่เพราะความตาย ตรงนี้แหละที่นางกีสาโคตมีเข้าใจ พอเข้าใจแล้ว ปัญญาเกิดเลย ไม่เพียงหายเศร้าโศก แต่ถึงกับบรรลุธรรมเป็นพระโสดาบันเลย เพราะเห็นชัดเลยว่าที่ทุกข์เพราะความยึดติดในรูปในทรัพย์ และเมื่อจิตคลายความยึด คลายความถือมั่นในลูก ก็หายทุกข์เลย แล้วจิตก็สว่าง โล่ง

เช่นเดียวกัน เมื่อสันตติมหาอำมาตย์ซึ่งกำลังสำเริงสำราญ เพราะว่ามีหญิงฟ้อนรำมาสร้างความบันเทิงให้กับตนเอง แต่ต่อมาหญิงฟ้อนรำคนนั้นซึ่งเป็นคนโปรดของสันตติมหาอำมาตย์ขาดใจตาย เพราะว่าฟ้อนรำมาเจ็ดวันเจ็ดคืนแล้ว ไม่ได้พักเลย จึงขาดใจตาย

สันตติมหาอำมาตย์ซึ่งกำลังเมามายอยู่ เจอเหตุการณ์นี้ถึงกับสร่างเมาเลย แต่ว่าสิ่งที่ตามมาคือความเศร้าโศก พอเศร้าโศกก็นึกถึงพระพุทธเจ้า ซึ่งบังเอิญได้พบตอนเช้า ร้อยวันพันปีไม่เคยนึกถึงพระพุทธเจ้าเลย แต่พอเศร้าโศกมาก ๆ พอสูญเสียคนรักก็เรียกว่าซมซานก็ได้ ไปหาพระพุทธเจ้า

พระองค์ก็แสดงธรรม และมีตอนหนึ่งบอกว่า “กิเลสเครื่องเศร้าหมองที่เกิดขึ้นกับเธอในกาลก่อน ก็ขอให้กำจัดให้หมดสิ้นไป และอย่าให้กิเลสนั้นได้เกิดขึ้นอีกในกาลภายหน้า” แล้วพระองค์ก็ตบท้ายด้วยประโยคสุดท้ายว่า “ถ้าเธอไม่ยึดติดในขันธ์ห้าก็จะเป็นผู้สงบ”

สงบก็คือหายทุกข์หายเศร้าโศก ปรากฏว่าสันตติมหาอำมาตย์เข้าใจชัดเลย เข้าใจชัดว่าอะไร เข้าใจชัดว่าที่ตัวเองทุกข์นี้ ไม่ใช่เพราะสูญเสียหญิงอันเป็นที่รัก แต่เพราะไปยึดมั่นถือมั่นในผู้หญิงคนนั้น หรือเรียกรวม ๆ ว่า ยึดมั่นในขันธ์ห้า ซึ่งครอบคลุมไปถึงสิ่งอื่นๆ ด้วย ปัญญาเกิด จิตก็หลุดพ้นจากอาสวะกิเลส กลายเป็นพระอรหันต์ ทั้ง ๆ ที่ยังไม่ได้บวช

ทั้งสองตัวอย่างนี้ พระพุทธเจ้าทรงชี้ให้เห็นว่า ที่เธอทุกข์นี้ไม่ใช่เพราะความสูญเสียคนรัก แต่เป็นเพราะไปยึดมั่นในคนเหล่านั้นหรือในคน ๆ นั้น ซึ่งเมื่อคลายความยึดมั่นเมื่อไรก็จะไม่ทุกข์


ที่จริงในชีวิตประจำวันของเรา หรือในประสบการณ์ชีวิตของเราก็คงจะสังเกตได้ เวลาคนที่เรารู้จักเสียชีวิต เมื่อเราได้ข่าว ถ้าเราไม่ได้สนิทสนมหรือไม่ได้ยึดมั่นถือมั่นกับคน ๆ นั้นมาก เราก็ไม่ค่อยเสียใจมาก ถ้าเป็นคนไกล เป็นคนที่เราไม่ได้สนิทสนมคุ้นเคย หรือ ถ้าพูดภาษาธรรมะคือไม่ได้ยึดมั่นถือมั่นมาก เราก็ไม่ค่อยได้เสียใจเท่าไร แต่จะเสียใจก็ต่อเมื่อคน ๆ นั้นเป็นคนที่เรารัก เป็นคนที่เราผูกพัน หรืออาจมีความสนิทเสน่หา ซึ่งเรียกรวม ๆ ว่ามีความยึดมั่นถือมั่น

ดังนั้น ระดับของความเศร้าก็ขึ้นอยู่กับว่าเรามีความยึดมั่นถือมั่นมากแค่ไหน ตรงนี้ต่างหากที่เป็นสาเหตุของความทุกข์ ไม่ใช่ความสูญเสีย ความสูญเสียไม่ได้เป็นสาเหตุแห่งทุกข์ มากเท่ากับความยึดมั่นถือมั่นในคนนั้นหรือในของสิ่งนั้น ตรงนี้ต้องเข้าใจให้ชัด เพราะถ้าเราคิดว่าที่ทุกข์เพราะความสูญเสีย เราจะไม่มีวันออกจากทุกข์ได้เลย เพราะชีวิตนี้จะต้องเจอกับความสูญเสียอยู่ร่ำไป ไม่ว่าจะเป็นคนรักของรัก

แต่ถ้าหากเราตระหนักชัด หรือเชื่อว่าความทุกข์ใจเกิดขึ้นเพราะความยึดมั่นถือมั่น ก็มีโอกาสที่จะออกจากทุกข์ได้ หรือทุกข์เบาบาง ด้วยการลดความยึดมั่นถือมั่น หรือสลัดความยึดมั่นถือมั่นทิ้งไป หนทางแห่งความพ้นทุกข์ก็เปิดกว้างแก่เราได้ แต่ถ้าเราคิดว่าความสูญเสียทำให้เราทุกข์ ความสูญเสียคือเหตุแห่งทุกข์ ชีวิตนี้ก็คงจะไม่มีโอกาสที่จะพ้นทุกข์ได้เลย เพราะต้องสูญเสียอยู่เรื่อยไป ไม่ว่าจะเป็นทรัพย์สมบัติหรือคนรัก จนกว่าจะหมดลม

ความเจ็บป่วยก็เช่นเดียวกัน หลายคนทุกข์เมื่อมีความเจ็บป่วย แล้วก็ไปคิดว่าความเจ็บป่วยคือเหตุแห่งทุกข์ ที่จริงไม่ใช่ เหตุแห่งทุกข์ โดยเฉพาะความทุกข์ใจ ก็คือความยึดมั่นถือมั่น ยึดมั่นถือมั่นกับอะไร ยึดมั่นถือมั่นในร่างกาย ยึดมั่นถือมั่นว่านี่เป็นร่างกายของเรา ยึดมั่นถือมั่นว่าร่างกายนี้ต้องเที่ยง ยึดมั่นถือมั่นว่าร่างกายนี้ต้องเป็นสุข หรือจะอำนวยความสุขให้กับเรา

แต่ว่าร่างกายไม่ใช่ของเรา และไม่เที่ยง และไม่ใช่ตัวสุขด้วย แต่ที่จริงเป็นตัวทุกข์ แต่เป็นเพราะไม่รู้ก็ไปยึด พอไปยึดเข้า ก็เลยทุกข์เมื่อความเจ็บป่วยเกิดขึ้น แต่ถ้าหากไม่ยึดมั่นถือมั่น หรือคลายความยึดมั่นถือมั่น ความทุกข์เพราะความเจ็บป่วยก็จะบรรเทาเบาบาง จนอาจเหลือแค่ความทุกข์กายแต่ใจไม่ทุกข์ หรือบางทีความทุกข์กายอาจบรรเทาเบาบางไปเลยก็ได้

เมื่อสัก 80-90 ปีก่อน มีสมเด็จพระราชาคณะท่านหนึ่ง สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ ตอนหลังท่านเป็นสังฆนายก เมืองไทยสมัยก่อนมีตำแหน่งสังฆนายกด้วย ไม่ใช่แค่สังฆราชเท่านั้น  สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ท่านก็เป็นสังฆนายกท่านหนึ่ง ท่านเป็นผู้ที่มีความรู้ด้านปริยัติธรรมสูง และท่านก็เห็นประโยชน์ เห็นคุณค่าของของการส่งเสริมปริยัติธรรมให้พระ เณรมีการศึกษาทางด้านวิชาการ และท่านก็เป็นผู้บริหารการศึกษาที่เก่งมาก จึงได้เป็นสมเด็จพระราชาคณะ

แต่ท่านไม่ค่อยชอบพระที่เป็นพระกรรมฐาน อย่างหลวงปู่มั่นหรือลูกศิษย์หลวงปู่มั่น ท่านจะไม่ชอบเลย และบังเอิญท่านก็เป็นพระราชาคณะที่ดูแลภาคอีสานด้วย มีอยู่ช่วงหนึ่งท่านขับไล่เลย พระป่า ถ้ามาอยู่ในเขตปกครองของท่าน ท่านไล่เลย เพราะท่านเห็นว่าเป็นพวกหลงงมงาย จะไปรู้อะไรพระพุทธศาสนาถ้าไม่ได้ศึกษาปริยติธรรม พวกเข้าป่าบำเพ็ญภาวนาพวกนี้งมงาย

เเต่ตอนหลังท่านก็เริ่มที่จะเห็นคุณค่าของสมาธิภาวนา เห็นคุณค่าของกรรมฐาน เห็นคุณค่าเพราะอะไร เพราะท่านป่วย อาพาธหนัก จนถึงช่วงหนึ่งไม่มีเรี่ยวไม่มีแรง ต้องฉันอาหารทางสายยาง บังเอิญตอนนั้นท่านเริ่มมีทัศนคติที่ดีต่อพระป่าสายหลวงปู่มั่นแล้ว

และพอรู้ว่าพระอาจารย์ฝั้นเป็นลูกศิษย์ของหลวงปู่มั่น และมีความรู้ด้านสมุนไพร รวมทั้งสมาธิภาวนา จึงนิมนต์ให้มาช่วยดูแลรักษา พระอาจารย์ฝั้นซึ่งตอนนั้นยังหนุ่ม ก็รักษาด้วยสมุนไพร แต่ไม่ได้ทำแค่นั้น ท่านสอนกรรมฐานให้กับสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ด้วย ทีแรกก็สอนสมาธิ สอนสมถะ ทำให้ระงับทุกขเวทนาได้ เพราะพอจิตเป็นสมาธิแล้ว ทุกขเวทนาทางกายก็ไปบีบคั้นจิตใจได้ยาก

แต่ว่าท่านสอนมากกว่านั้น สอนเรื่องวิปัสสนาด้วย สอนให้พิจารณาว่าร่างกายไม่ใช่ของเรา ที่ทุกข์ใจเป็นเพราะไปยึดมั่นว่าร่างกายเป็นเราเป็นของเรา และไม่ใช่แค่นั้นนะ ยังไปยึดเอาความเจ็บความปวดว่าเป็นเราด้วย หลวงปู่ฝั้นหรือพระอาจารย์ฝั้นท่านให้พิจารณาว่าร่างกายนี้ประกอบไปด้วยธาตุ หรือประกอบไปด้วยขน หนัง ฟัน เล็บ ถ้าแยกออกไปทีละส่วน ๆ แล้วก็ไม่เหลืออะไรเลย

และเป็นเพราะมีสิ่งเหล่านี้มาประกอบกันจึงเกิดเป็นรูป แต่รูปนั้นก็ไม่ใช่เราไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตน พระอาจารย์ฝั้นท่านสอนไปทีละนิด ๆ จนกระทั่งสมเด็จพระมหาวีรวงศ์เข้าใจ แล้วท่านก็พิจารณาด้วยกรรมฐาน ปรากฏว่าดีวันดีคืน ความเจ็บป่วยค่อย ๆ ลดหายไป จนกระทั่งท่านกลับมาเป็นปกติได้ 

สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ก็เกิดความซาบซึ้งประทับใจมาก เห็นคุณค่าของกรรมฐานเป็นครั้งแรก ท่านถึงกับออกปากว่า ตลอดชั่วชีวิตของเราไม่เคยคิดเลยว่า สมาธิภาวนาจะมีคุณค่าถึงเพียงนี้ นี่เป็นคำพูดจากพระผู้ใหญ่ แต่ก่อนท่านไม่เชื่อเลยเรื่องสมาธิภาวนา ทั้ง ๆ ที่ในพระไตรปิฏกก็พูดถึงคุณค่าของกรรมฐานไว้เยอะนะ แต่ท่านสนใจแต่เรื่องของวิชาการ
พอได้มาประสบสัมผัสกับคุณค่าของสมาธิภาวนา ท่านซาบซึ้งมาก แล้วก็เลยนับถือหลวงปู่มั่นและลูกศิษย์ของหลวงปู่มั่น ถ้าท่านไม่ป่วยท่านก็ไม่เห็นคุณค่าของกรรมฐาน และที่ท่านหายป่วย เพราะท่านได้พิจารณาเห็นเลยว่า ร่างกายนี้ไม่ใช่เรา พอเห็นเช่นนี้ ความยึดมั่นถือมั่นในกายว่าเป็นเราเป็นของเราก็ลดลง ความทุกข์ใจก็หายไป

และไม่ใช่แค่นั้น ท่านยังพิจารณาเห็นว่า ความเจ็บ ความปวด ความข้องขัด ก็ไม่ใช่เรา มันก็เป็นสักแต่ว่าเวทนาที่เกิดขึ้น พอเห็นเช่นนี้ก็ไม่มีผู้ปวดผู้เจ็บ จิตใจก็สบาย พอจิตใจสบาย กายก็ดีขึ้น อันนี้เรียกว่าที่่เราไปเข้าใจว่าทุกข์เพราะความเจ็บป่วย ที่จริงไม่ใช่ จริงอยู่ ทุกข์กายเพราะความเจ็บป่วย แต่ทุกข์ใจนี้ไม่ใช่เพราะความเจ็บป่วย 

ทุกข์ใจเพราะความยึดมั่นถือมั่นในกายว่าเป็นเราเป็นของเรา มันไม่ใช่แค่ยึดมั่นในกายนี้ว่าเป็นเราเป็นของเรานะ ยึดมั่นในกายว่าเป็นเราเป็นของเรายังน่ายึด เพราะกายก็ยังให้ความสุขเราบ้างเป็นครั้งคราว หรือเป็นระยะ ๆ  แต่คนเราดันไปยึดเอาความเจ็บปวดว่าเป็นเราเป็นของเรา นี่สิแปลก เพราะความเจ็บปวดนี้ไม่มีดีเลย เราก็ไม่ชอบความเจ็บความปวด แต่ทำไมเราไปยึด อันนี้เรียกว่าเพราะความหลง หลงก็คือไม่รู้ความจริง และไม่รู้ตัว 

สิ่งที่พระอาจารย์ฝั้นสอนสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ก็คือ ช่วยทำให้ท่านเกิดปัญญา เข้าใจร่างกาย เข้าใจความเป็นจริงของสังขาร จนกระทั่งไม่ยึดมั่นว่าร่างกายนี้เป็นเราเป็นของเรา และก็สอนให้เห็นคุณค่าของสตินะ ว่าสติช่วยทำให้ไม่ไปยึดเอาความเจ็บความปวดว่าเป็นเรา เป็นของเรา

ปัญญาและสติเป็นธรรมที่ช่วยบำบัดความทุกข์ เริ่มจากความทุกข์ใจ แล้วก็นำไปสู่การบำบัดความทุกข์กายได้ 

หลวงพ่อคำเขียนตอนที่ท่านป่วยหนักตอนเป็นมะเร็งครั้งแรก ญาติโยมสงสารท่านมาก เพราะทุกขเวทนาที่เกิดกับท่านรุนแรง ยาหรือหัตถการที่ใช้รักษาท่าน ก็ก่อความอึดอัดได้ไม่น้อย แต่หลวงพ่อท่านดูสงบ แล้วท่านก็สอนลูกศิษย์ว่า “ความเจ็บปวดนี้ไม่ได้ลงโทษเรา แต่ความเป็นผู้ปวดต่างหากที่ลงโทษเรา” นี่สำคัญมากเลย

แล้วท่านก็บอกว่า ความกลัวเป็นเพียงอาการ เอาไว้ให้เห็น ไม่ใช่เอาไว้ให้เป็น ความเจ็บปวดมีไว้ให้เราเห็น หรือเป็นอาการเอาไว้เห็น ไม่ใช่เข้าไปเป็น จะเห็นได้ยังไง ต้องมีสติ เพราะถ้าไม่มีสติ พอปวดขึ้นมา ก็ไปยึดความปวดว่าเป็นเราเป็นของเรา หรือปล่อยจิตเข้าไปจมอยู่ในความปวด ถ้าจิตจมเข้าไปในความปวดหรือเข้าไปยึดว่าความปวดเป็นเราเป็นของเราเมื่อไร มันไม่ใช่แค่ปวดกายอย่างเดียว ปวดใจด้วย

แต่ถ้ามีสติ สติทำให้เห็นเวทนา ไม่เข้าไปยึดเวทนานั้น ตรงนี้ต้องอาศัยสติ ต้องอาศัยความรู้สึกตัว แล้วพอเห็นเวทนา เห็นความปวดไม่เป็นผู้ปวด ความทุกข์ใจก็ลดลงไปมาก เหลือแต่ความทุกข์กาย เรียกว่าทุกข์หารสามเลยก็ได้ เหลือแต่แค่ทุกข์กาย อีกสองส่วนคือทุกข์ใจก็หายไป เพราะไม่มีความยึดว่าเป็นเรา ว่าเป็นผู้ปวด 

นี่คืออานุภาพของสติ ที่ช่วยทำให้เราสามารถรับมือกับทุกขเวทนาในยามเจ็บป่วยได้ และทำให้เราเห็นว่า จริง ๆ แล้วเราไม่ได้ทุกข์เพราะความเจ็บป่วย แต่เราทุกข์เพราะความยึดติด ไปยึดติดในรูป ไปยึดติดในเวทนา ไปยึดมั่นถือมั่นในรูป ไปยึดมั่นถือมั่นในเวทนา

ตรงนี้คือสิ่งที่คนไม่ค่อยเข้าใจ ไปเข้าใจว่าเราทุกข์เพราะความเจ็บป่วย เหมือนกับที่ไปเข้าใจว่าเราทุกข์เพราะความสูญเสีย ไม่ใช่ ที่ทุกข์ใจเพราะไปยึดมั่น ไม่ว่าจะไปยึดมั่นในคน สิ่งของ เพราะฉะนั้นพอสูญเสียก็เลยทุกข์ หรือไปยึดมั่นในร่างกายนี้ พอมันเจ็บป่วยก็เลยเป็นทุกข์ หรือไปยึดมั่นในความปวด ไปยึดถือ ไปจมเข้าไปเป็นผู้ปวด
 
ฉะนั้น ถ้าเข้าใจตรงนี้จะเห็นเลยว่าเราต้องฝึกสติให้มีกำลัง และก็พยายามทำปัญญาให้เกิด เพื่อจะได้ลดความยึดมั่นถือมั่นให้ได้ แต่ถ้าหากสติยังไม่ไว ยังไม่เข้มแข็ง ปัญญายังไม่แก่กล้า ก็อาจใช้ธรรมะตัวอื่นมาช่วยเสริมได้ เช่น สมาธิ สมาธิก็ช่วยทำให้ใจวางความเจ็บความปวดได้เหมือนกัน ไม่ใช่แค่ปัญญาหรือสติเท่านั้น ที่จะช่วยทำให้เกิดการวางความเจ็บความปวดได้

สมาธิก็ช่วยได้ อย่างเช่น เวลาปวดแขนปวดขา ถ้าเราไม่มีสมาธิ จิตก็จะไปเกาะอยู่ที่แขนที่ขา หรือไปเกาะไปยึดเวทนา ความเจ็บ ความปวด ความเมื่อยที่แขน ที่ขา ทีหลัง แต่พอเราเอาจิตมาจดจ่ออยู่ที่ลมหายใจ จดจ่ออยู่ที่คำบริกรรม มาจดจ่ออยู่ที่บทสวดมนต์ จิตจะวาง จิตจะวางความเจ็บความปวดลง

เพราะมันเหมือนคนมือเดียว คนมือเดียวจับอะไรไว้ก็ตาม เช่น จับโทรศัพท์ถือโทรศัพท์อยู่ ถ้าจะจับแก้วถือแก้วก็ต้องวางโทรศัพท์ จึงจะถือแก้วจับแก้วได้ จิตเป็นอย่างนั้น จะให้จิตมาจดจ่ออยู่กับลมหายใจ มันก็ต้องวางความเจ็บความปวด วางการเกาะเกี่ยวในแขนในขาในอวัยวะที่ปวด มันก็ช่วยทำให้ใจสงบได้

เพราะว่าจิตวางความเจ็บความปวด วางทุกขเวทนาลง เพื่อมาจดจ่ออยู่กับลมหายใจ เพื่อมาจดจ่ออยู่กับสิ่งอื่นแทน เช่น อาจจะเป็นเสียงเพลง หรืออาจจะเป็นบทสวดมนต์ อาจจะเป็นคำบรรยายก็ได้ สมาธิก็ช่วยได้สำหรับคนที่ปัญญายังไม่แก่กล้า สติยังไม่แข็งแรง

ที่จริงก็ยังมีธรรมะตัวอื่นที่จะช่วยเราได้อีก เช่น ศรัทธา ถ้าเรามีศรัทธาในสิ่งใด พอเรานึกถึงสิ่งที่เราศรัทธา จิตจะเกิดความอิ่มเอิบ เกิดสิ่งที่เรียกว่าปราโมทย์ เช่น คนที่เจ็บปวดแต่นึกถึงพระพุทธเจ้า นึกถึงพระรัตนตรัย นึกถึงครูบาอาจารย์ที่ตัวเองศรัทธา มันจะเกิดความปราโมทย์

ปราโมทย์ คือ ความเบิกบานใจ ปราโมทย์ทำให้เกิดปิติ อิ่มเอิบใจ ปิติทำให้เกิดปัสสัทธิ ความผ่อนคลายกายและใจ และทำให้เกิดสุข พูดง่าย ๆ คือ ศรัทธาทำให้เกิดสุข ฉะนั้น ขณะที่กำลังปวดกำลังทุกข์อยู่ พอปลุกศรัทธาขึ้นมา ความสุขจะมาแทนที่ และมันไม่ใช่เพียงแค่สุขใจ สุขกายด้วย

เดี๋ยวนี้ เขามีการค้นพบว่า คนที่มีศรัทธาในสิ่งใดจะมีสารบางตัวหลั่งออกมา เป็นสารสื่อประสาทที่จะช่วยทำให้ความเจ็บความปวดทุเลาลง ไม่ว่าจะเป็น โดพามีน เซโรโทนิน หรือเอ็นโดรฟีน ฯลฯ ซึ่งช่วยทำให้ทุกขเวทนาทางกายบรรเทาลง และเกิดความสงบเย็นในจิตใจได้

ถ้าเรารู้จักธรรมะที่ว่ามานี้ ไม่ว่าจะเป็นปัญญา สติ สมาธิ ศรัทธา ก็จะช่วยทำให้ความทุกข์บรรเทาเบาบาง เรียกว่าเป็นธรรมที่ช่วยบำบัดความทุกข์ก็ได้.

พระอาจารย์ไพศาล วิสาโล
วัดป่าสุคะโต
วันที่ 6 กันยายน 2565



คลิกชม VDO ได้ที่ ===> https://youtu.be/oYsnMzRHC58





----------------------------------------------------------------

ขอขอบคุณ YouTube : Zen Sukato
Nonglak Trongselsat
และ Fackbook Kanlayanatam
https://web.facebook.com/Kanlayanatam-174670492571704


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กันยายน 08, 2022, 07:56:23 am โดย ยาใจ »