ผู้เขียน หัวข้อ: ● ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับ ไม่เหลือแห่งทุกข์ - โดย‎หลวงพ่อสุรศักดิ์ เขมรังสี  (อ่าน 393 ครั้ง)

ยาใจ

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 14201
    • ดูรายละเอียด



ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับ
ไม่เหลือแห่งทุกข์
เป็นข้อปฏิบัติอันประเสริฐ
ได้แก่มรรคอันประกอบด้วยองค์ ประการ
ที่เราพยายามภาวนาปฏิบัตินี้
กำลังเจริญมรรคอยู่ กำลังเจริญข้อปฏิบัติอยู่

สัมมาทิฏฐิความเห็นชอบเจริญขึ้นไหม?
เข้าไปรู้เห็นในทุกข์
รู้ว่าต้องวางเฉยต่อทุกข์
รู้ว่านี่ตัณหาเหตุให้เกิดทุกข์จะต้องละ
นี่ตัณหาละออกไปก็จะเบาใจ
ก็จะถึงความดับทุกข์ นี่ข้อปฏิบัติ
เข้าใจในวิถีทางการปฏิบัติ
นี่เป็นสัมมาทิฏฐิ ความเห็นชอบต้องมาก่อน

ถ้าเห็นผิดมันก็ปฏิบัติผิด
ความคิดก็จะผิด การกระทำก็ผิด
พูดก็ผิด ความเพียรก็จะผิด
สติก็ผิด ระลึกผิด สมาธิก็ผิดไปหมด
เป็นมิจฉา ความเห็นผิด
มิจฉาสังกัปปะ (ดำริผิด)

ถ้ามีสัมมาทิฏฐิความเห็นถูกเห็นชอบ
มันก็จะตามมาด้วยความดำริชอบ
คิดชอบ คิดถูก คิดไม่เบียดเบียน คิดไม่พยาบาท
คิดถูกต้องตามทำนองคลองธรรม

สัมมาวาจา (เจรจาชอบ) ก็ตามมา
พูดจาเว้นพูดเท็จ
เว้นพูดส่อเสียดหยาบคายเพ้อเจ้อ

สัมมากัมมันตะ (ทำการงานชอบ) ก็ตามมา
เว้นกายทุจริต
เว้นฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม
อาชีพชอบสัมมาอาชีวะก็ตามมา
เป็นอาชีพสุจริต

สัมมาวายามะ (เพียรชอบ)
เพียรระวัง เพียรในการละบาปที่เกิดขึ้นแล้ว
เพียรระวังไม่ให้บาปใหม่เกิด
เพียรเจริญกุศล เพียรรักษากุศลให้เกิดขึ้น
ที่เพียรพยายามปฏิบัติอยู่นี้
เดินจงกรมนั่งภาวนา พากเพียรภาวนา
เพียรให้มีสติสัมปชัญญะเท่ากับเป็นกุศล
เพียรกุศลให้เกิดขึ้น

เวลามีสติสัมปชัญญะจิตเป็นมหากุศล
เมื่อจิตเป็นมหากุศล บาปอกุศลธรรมก็ตกไป
มันเกิดมาคู่กันไม่ได้ มันผสมกันมาไม่ได้
ต้องเกิดอย่างใดอย่างหนึ่งในขณะหนึ่ง ๆ
แต่มันสลับกันได้ เป็นเหตุปัจจัยต่อกันได้ด้วย
ขณะใดมีสติสัมปชัญญะ จิตเป็นกุศล
อกุศลความโลภโกรธหลงก็ตกไป
เท่ากับละบาป ก็พยายามเพียรให้มีสติ

สัมมาสติระลึกรู้อยู่เนือง ๆ ให้มันเจริญขึ้น
ก็เท่ากับระวังบาปใหม่ไม่ให้มันเกิดขึ้น
ความโลภโกรธหลง
ความยินดียินร้ายไม่ให้มันเกิดขึ้น
ทำอย่างหนึ่งก็ได้อีกอย่างหนึ่ง
เจริญกุศลก็เท่ากับละอกุศล
เจริญกุศลไว้เสมอ ๆ
ก็เท่ากับระวังไม่ให้อกุศลหรือบาปเกิดขึ้น

มีสัมมาสติ สติต้องระลึกเป็นไปในกาย
ในเวทนา ในจิต ในธรรม
ระลึกรู้อยู่กับกาย กายยืน กายเดิน กายนั่ง
กายนอน กายคู้ เหยียด เคลื่อนไหว
ลมหายใจเข้าออก
ระลึกรู้อยู่กับเวทนาในเวทนา
มีความสุขก็รู้ ไม่ทุกข์ไม่สุขก็รู้ เฉย ๆ ก็รู้

ระลึกรู้อยู่กับจิตในจิต
ในปัจจุบันนี้จิตเป็นอย่างไร
จิตมีราคะไหมหรือปราศจากราคะ
หยั่งดู จิตเป็นไปด้วยความโกรธหรือไม่โกรธ
เรียกว่าโทสะ
จิตเป็นไปด้วยความหลงไหมหรือไม่หลง
จิตหดหู่อยู่ไหมหรือว่าจิตฟุ้งซ่านอยู่
จิตมีสมาธิหรือไม่มีสมาธิ
ต้องคอยระลึกสังเกตจิต รู้เขาเฉย ๆ ด้วย
จิตโกรธขึ้นมาก็รู้จิตที่โกรธอย่างวางเฉย

อย่าลืมว่าหลักการของการปฏิบัติ
ต้องกำหนดรู้ทุกข์ ไม่ทำลายทุกข์
วางเฉยต่อทุกข์
ความโกรธมันก็ทุกข์ไหมเล่าโกรธนี่
รู้โกรธก็ต้องรู้เฉย ๆ อย่าไปโกรธต่อความโกรธ
อย่าไปเกลียดต่อความโกรธ
มันก็ยิ่งโกรธยิ่งไปกันใหญ่

ความฟุ้งเกิดขึ้นมาเป็นทุกข์ไหม
ก็กำหนดรู้ รู้อย่างไรถึงจะถูกต้อง?
รู้เฉย ๆ วางเฉย ถ้าไม่วางเฉย เลยไปทำลาย
มันก็ยิ่งวุ่นวายหนักกว่าเดิม
เจริญสัมมาสติเจริญสัมมาสมาธิจิตตั้งมั่นชอบ
อยู่กับอารมณ์กรรมฐาน
ตั้งมั่นอยู่กับกายกับจิตหรืออยู่กับรูปกับนาม


เพราะฉะนั้นข้อปฏิบัติจึงไม่ใช่องค์เดียว
ไม่ใช่จะมีแต่สติเท่านั้น
มันต้องมีสมาธิ ต้องมีปัญญา
ต้องมีความเพียร ต้องมีศีลด้วย
ที่มาปฏิบัตินี้ก็สมาทานศีลไว้แล้ว
งดเว้น ศีลแห่งการงดเว้น
เจตนาแห่งการงดเว้น ด้วยเจตนางดเว้น
ทำให้กายสุจริต วาจาสุจริต มโนสุจริต
มันเป็นศีล เป็นองค์มรรค
เป็นข้อปฏิบัติที่จะให้ถึงความดับทุกข์

ถ้าไม่มีศีลแล้วจะปฏิบัติสมาธิปัญญาได้อย่างไร
เบื้องต้นของกุศลธรรม
ก็คือต้องรักษาศีลให้ดี
สำรวมระวังไม่ให้ขาด
ไม่ให้ด่างไม่ให้พร้อยไม่ให้ทะลุ เป็นไปด้วยสมาธิ

............................

ธัมโมวาท โดย‎หลวงพ่อสุรศักดิ์ เขมรังสี
เจ้าอาวาสวัดมเหยงคณ์ พระนครศรีอยุธยา




------------------------------------------------

ที่มา : เพจวัดมเหยงคณ์ ธัมโมวาท
เพจวัดมเหยงคณ์ สารธรรม
เพจวัดมเหยงคณ์ ข่าวสด สารธรรม
เพจสถาบันวิปัสสนาวิชชาลัย วัด
มเหยงคณ์
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 08, 2023, 08:39:32 am โดย ยาใจ »