ผู้เขียน หัวข้อ: *รวม* คติธรรม - พระมหาวรพรต กิตฺติวโร  (อ่าน 6039 ครั้ง)

ยาใจ

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 14238
    • ดูรายละเอียด
*รวม* คติธรรม - พระมหาวรพรต กิตฺติวโร
« เมื่อ: กรกฎาคม 20, 2021, 07:31:29 am »




  หัวใจของการฝึกสติปัฏฐาน
ก็คือ ตั้งกายตรง ดำรงสติมั่น
รู้ธรรมเฉพาะหน้า


  รู้ธรรมเฉพาะหน้า ก็คือ
รับรู้สภาวะที่ปรากฏ อยู่กับปัจจุบัน


เพราะฉะนั้น..
ไม่ว่าสภาวะอะไรเกิดขึ้นก็ตาม
ก็เพียงแค่รู้ธรรมเฉพาะหน้า
รักษาใจให้ตั้งมั่นอยู่เสมอ

อยู่กับความรู้สึกตัวทั่วพร้อม
อยู่กับใจที่ตั้งมั่นตื่นรู้
รับรู้สภาวธรรมที่ปรากฏ
แค่รู้ แค่รู้สึก

อันนี้เป็นหลักการ
ที่ใช้ได้ตลอดรอดฝั่งเลย
ที่เรียกว่า ตรงทาง ตรงธรรม

เหมือนเราจะเดินทาง
ก็ต้องไปตาม GPS เดินตาม GPS
คือ ตรงทางตรงธรรม
คือ รู้ธรรมเฉพาะหน้า
รับรู้สภาวะที่ปรากฏ

ถ้าเราอยู่กับสภาวะแบบนี้
ก็จะไปตรงทางตรงธรรม
ตลอดรอดฝั่งนั่นเอง



ธรรมบรรยาย โดย พระมหาวรพรต กิตฺติวโร
7 กรกฎาคม 2564




ติดตาม Live ถ่ายทอดธรรม  ===> https://www.facebook.com/duenjitpage/






ขอบคุณข้อมูลและรูปภาพจาก Facebook  เดินจิต-ตื่นรู้ สู่ อมตธรรม
https://www.facebook.com/duenjitpage/
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: เมษายน 12, 2022, 08:13:11 am โดย ยาใจ »

ยาใจ

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 14238
    • ดูรายละเอียด
พรหมวิหาร 4 - พระมหาวรพรต กิตฺติวโร
« ตอบ #1 เมื่อ: กรกฎาคม 22, 2021, 09:05:23 am »





ถ้านึกว่าการทำบุญ
เรานึกว่า การที่เราต้องถวายของ
สร้างโบสถ์ สร้างวิหาร อย่างเดียว
อันนั้นมันเป็นบุญที่เกิดจากการถวายทาน

แต่มันมีบุญที่สูงกว่านั้นอีกมาก
บุญที่เกิดจากการรักษาศีล
บุญที่เกิดจากการขวนขวายกิจการงาน
ช่วยเหลือเกื้อกูล

บุญที่เกิดจากการเจริญเมตตา
การแผ่เมตตาภาวนา


โดยเฉพาะการแผ่เมตตา
ที่มันอยู่ใน พรหมวิหาร 4
เป็นกรรมฐานเย็น จิตใจมันจะร่มเย็น
มีความหนักแน่นมั่นคง

สมาธิที่เกิดจากจิตที่มีความเย็น
จะมีความมั่นคง

พระพุทธเจ้าก็ตรัสว่า.. พรหมวิหารเนี่ย
เป็นวิหารของพรหมอยู่แล้ว
เพราะฉะนั้น จิตจะทรงตัว
เป็นระดับสมาธิโดยธรรมชาติเลย

เป็นกรรมฐานที่เย็น แผ่ออกไปๆ
อยู่ที่ไหนก็... หมู่สรรพสัตว์ที่นั่นได้รับ
จิตเขาก็จะสนองเย็นกลับมาหาเรา

เราอยู่ที่ไหนมันก็ไม่เร่าร้อน
ไม่มีโทษไม่มีภัย ไม่มีปัญฆา
อยู่ที่ไหนก็ร่มเย็น มันเป็นกรรมฐานเย็น

ซึ่งมันต้องเริ่มจากการที่เราฝึก
จนมีสติที่ตั้งมั่นก่อน พรหมวิหาร 4
พระพุทธเจ้าจึงจัดไว้ในระดับของสมาธินั่นเอง

เพราะฉะนั้น เป็นกรรมฐานหนึ่ง
ที่ทุกคนควรที่จะมีเป็นปรกติเลย
พรหมวิหาร 4

ความรัก ความปราถนาดีแก่สรรพสัตว์ทั้งหลาย
กรุณา ความสงสารหมู่สัตว์ที่ได้รับความทุกข์ทรมาน
ปรารถนาที่จะให้เขาได้หลุดออก คลายออก
จากความทุกข์ จากความเร่าร้อนต่างๆ

มุฑิตา จิตอ่อนโยน
เมื่อหมู่สัตว์ได้รับความสุขความสบาย
ได้รับความเจริญ ก็มีจิตอ่อนโยน
พลอยยินดีกับหมู่สรรพสัตว์ทั้งหลายด้วย

และก็ การเข้าถึง
ความเป็นกลางของธรรมชาติ ที่เรียกว่า
อุเบกขา เข้าถึงจิตตั้งมั่น
เข้าถึงความเป็นกลาง

ก็จะไม่ไปเกาะเกี่ยวกับสิ่งใดๆในโลก
เป็นธรรมชาติที่โอบอุ้มโดยที่ไม่ไปเกาะเกี่ยว
ไม่ไปติดข้องอยู่กับสิ่งใดๆในโลกนั่นเอง
ที่เรียกว่า “พรหมวิหาร 4


ธรรมบรรยาย โดย พระมหาวรพรต กิตฺติวโร
13 มิถุนายน 2564





ติดตาม Live ถ่ายทอดธรรม  ===> https://www.facebook.com/duenjitpage/






  ขอบคุณข้อมูลและรูปภาพจาก Facebook  เดินจิต-ตื่นรู้ สู่ อมตธรรม
https://www.facebook.com/duenjitpage/
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ตุลาคม 25, 2021, 06:11:05 am โดย ยาใจ »

ยาใจ

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 14238
    • ดูรายละเอียด
*รวม* คติธรรม - พระมหาวรพรต กิตฺติวโร
« ตอบ #2 เมื่อ: กันยายน 10, 2021, 06:35:59 am »





ปุจฉา :
เมื่อปฏิบัติไป เหมือนมีจิต 2 ดวง
ทะเลาะกันอย่างแรงอยู่ภายใน
ควรวางจิต และแก้ไขอย่างไร
เพื่อให้ผ่านสภาวะและความกลัวนี้ไปได้?

วิสัชนา :
ให้หลักการไว้ก่อน
การที่เรามีสติอยู่กับกายกับใจ
นี่คือ แนวทางการปฏิบัติที่ถูกต้อง

ผลจากการฝึก
การตั้งสติไว้ในกายอยู่เนือง ๆ
จิตย่อมมีความละเอียด
ก็จะเริ่มสัมผัสสภาวธรรมต่าง ๆ
เริ่มเห็นความปรุงแต่งของจิต
ที่เรียกว่า "จิตตสังขาร"


อาการที่เล่าที่ว่า
รู้สึกว่าเหมือนมีจิต 2 ดวง
คือการที่เรียกว่า จิตตสังขาร
เป็นความปรุงแต่งของจิต

วิธีการ ก็เพียงแค่รู้เท่าทัน
ความปรุงแต่งของจิต นั่นเอง
ก็เพียงแค่รับรู้ทุกอย่าง ด้วยจิตใจที่ตั้งมั่น

"แค่รู้ แค่รู้สึก"
ถือว่าปฏิบัติใช้ได้ ไม่ได้ผิดอะไร


ให้หลักง่ายๆ
"ถ้าเราตั้งสติไว้กับกายภายในอยู่
ยังไม่หลุดออกนอกทาง อยู่ในสภาวธรรม
รู้เห็นตามความเป็นจริงภายใน"

นั่นคือสภาวะที่เริ่มละเอียดแล้ว
ใช้ได้ค่อยๆปฏิบัติไป สุดท้ายมันจะ
ค่อย ๆ คลายออกทั้งหมดแหละ

พอเราเห็นความปรุงแต่งมาก ๆ
มันจะเริ่มเกิดความเบื่อหน่าย
เมื่อเกิดความเบื่อหน่าย
มันจะเกิดความจางคลาย

คือ คลายจากความกำหนัด
ก็จะเกิดการหลุดพ้น
จากการยึดมั่นถือมั่นทั้งปวงนั่นเอง



ธรรมบรรยาย โดย พระมหาวรพรต กิตฺติวโร
5 สิงหาคม 2564





ติดตาม Live ถ่ายทอดธรรม  ===> https://www.facebook.com/duenjitpage/






ขอบคุณข้อมูลและรูปภาพจาก Facebook  เดินจิต-ตื่นรู้ สู่ อมตธรรม
https://www.facebook.com/duenjitpage/

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ตุลาคม 25, 2021, 06:11:27 am โดย ยาใจ »

ยาใจ

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 14238
    • ดูรายละเอียด
*รวม* คติธรรม - พระมหาวรพรต กิตฺติวโร
« ตอบ #3 เมื่อ: กันยายน 10, 2021, 06:41:39 am »





  คฤหัสถ์ ฆราวาส
มีกิจภาระการงานต่าง ๆ มาก

แต่เมื่อมีจิตใจเข้มแข็ง
ฝึกฝนเป็นประจำสม่ำเสมอ
ต่อเนื่องกันไป ก็เป็น ผู้ที่มีจิตใจตั้งมั่น
เข้าถึงสภาวธรรมต่าง ๆ
โดยลำดับ ได้เช่นกัน

เปรียบเหมือนเราปลูกต้นไม้
ดูแลรดน้ำพรวนดิน
เป็นประจำสม่ำเสมอ

ถึงจุดหนึ่ง ต้นไม้ก็เติบโตขึ้น
แล้วก็เริ่มผลิดอกออกผล
ให้เราได้ลิ้มรส


ผลจากการที่เราเพียรฝึก
เป็นประจำสม่ำเสมอ
จิตมีความตั้งมั่น
เข้าสู่สภาวธรรมต่างๆ

เราก็จะเริ่มลิ้มรส..
รสแห่งพระธรรม
ความสงบสุขต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น

ก็ค่อยๆ เรียนรู้ฝึกปฏิบัติไป
สิ่งสำคัญ ก็คือ
การฝึกฝนเป็นประจำสม่ำเสมอ


ถึงแม้ช่วงนี้ เราจะมีกิจภาระมาก
มีงานหนักที่เราต้องทำ

ในระหว่างวัน
ก็พยายามเจริญสติ
ทำความรู้สึกตัว ควบคู่ไปด้วยนะ

การที่เราเจริญสติในระหว่างวัน
ไม่ทอดธุระไป ทำให้มาก เจริญให้มาก
จะช่วยให้กิจการงานของเรา
มีประสิทธิภาพด้วยนั่นเอง

สังเกต ! คนที่ทำงานการผิดพลาด
ก็เพราะว่าใจลอย ฟุ้งซ่านนั่นเอง


แต่ถ้าเป็นผู้ที่มีจิตใจมั่นคง
การทำกิจการงานต่าง ๆ
ก็จะมีประสิทธิภาพ

คือ มันส่งผลทั้ง
..การใช้ชีวิต
..การทำงาน
และก็ในด้านของ
..สภาวธรรม ด้วยเช่นกัน

เราก็จัดสรรเวลา
ปฏิบัติเป็นประจำ
เพื่อชำระตนเองนะ
พยายามรักษาการปฏิบัติ
ให้ต่อเนื่องนั่นเอง

เรามีโอกาส
..ได้เรียนรู้พระสัทธรรม
..ได้ก้าวเดินในเส้นทางที่ถูกต้อง
..ได้ชำระตนเองอยู่เนือง ๆ

อันนี้แหละ คือ
คุณค่าที่แท้จริง ที่เราเกิดขึ้นมา
เป็นมนุษย์ พบพระพุทธศาสนา


ให้รักษาสิ่งนี้ไว้
เป็นความสำคัญสูงสุด

ชีวิตในโลก
ไม่นานเราก็ต้องจากไปอยู่แล้ว

แต่โอกาส
..ที่เราจะได้ฝึกปฏิบัติแบบนี้
..ได้พบพระสัทธรรมแบบนี้
..เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้โดยยากในโลกนะ

เพราะฉะนั้น สิ่งนี้ควรรักษาไว้
อย่าทอดทิ้งออกไป

เพราะว่าเหมือนสายน้ำนะ
เมื่อมันไหลแล้ว มันจะไม่หวนกลับ

ไม่ใช่ว่า..
เราจะมีโอกาสเช่นนี้ตลอดไป

เมื่อใด โอกาสมันดับลงแล้วนะ
เกินจะจินตนาการได้เลยล่ะ ว่า..
เราจะมีโอกาสเช่นนี้อีกเมื่อไหร่ ?

ไม่มีกิจอันใด สำคัญยิ่งกว่านี้อีกแล้ว
ก็ตั้งใจฝึกปฏิบัติให้ดี


ธรรมบรรยาย โดย พระมหาวรพรต กิตฺติวโร
31 กรกฎาคม 2564





ติดตาม Live ถ่ายทอดธรรม  ===> https://www.facebook.com/duenjitpage/







  ขอบคุณข้อมูลและรูปภาพจาก Facebook  เดินจิต-ตื่นรู้ สู่ อมตธรรม
https://www.facebook.com/duenjitpage/
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ตุลาคม 25, 2021, 06:11:52 am โดย ยาใจ »

ยาใจ

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 14238
    • ดูรายละเอียด
*รวม* คติธรรม - พระมหาวรพรต กิตฺติวโร
« ตอบ #4 เมื่อ: กันยายน 10, 2021, 06:50:30 am »



ก็อยู่กับความรู้สึกตัวทั่วพร้อม ไปเรื่อย ๆ สบาย ๆ
ตั้งแต่ตื่นนอน ในระหว่างวัน จนกระทั่งหลับไป

ก็อยู่กับความรู้สึกตัวทั่วพร้อม
เจริญสมณธรรมต่อเนื่องกันไป
จิตใจก็จะค่อย ๆ สงบขึ้น ตั้งมั่นขึ้นโดยลำดับ

ก็เป็นช่วงเวลา..
เป็นโอกาสที่เราจะได้เพาะบ่มตนเอง
เข้าถึงสิ่งที่เป็นแก่นแท้ของธรรมชาตินั่นเอง
มันไม่มีช่วงเวลาไหนหรอก
ที่จะดีกว่าช่วงเวลานี้อีกแล้ว
ช่วงเวลาที่เราไม่ต้องไปกังวลกับโลก
เป็นช่วงเวลาที่เราจะได้เข้าถึง
สิ่งที่เป็นแก่นแท้ของธรรมชาติ

เพราะฉะนั้นเราก็ปฏิบัติของเราไปเรื่อย ๆ

ความเพียรที่ถูกต้อง
ก็คือ ก็อยู่กับปัจจุบัน
อยู่กับความเป็นกลางของธรรมชาติ
มีสติ มีความรู้สึกตัวไปเรื่อย ๆ สบาย ๆ

การวางใจที่ถูกต้อง
ก็คือ การอยู่กับปัจจุบันนั่นเอง
จิตไม่ดิ้นรนไปอยู่กับสภาวะที่เกิดขึ้น
ของกาย ของใจในปัจจุบัน
ไม่ได้อะไรกับอะไร

สภาวะมันจะละเอียดหรือไม่ละเอียดก็ตาม
มันก็เป็นเรื่องของสภาวธรรม
ที่เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไปเช่นกัน

การวางใจที่ถูก ก็คือ
การที่เราได้อยู่กับปัจจุบัน

ความเป็นกลาง ก็คือ
การที่เราอยู่กับปัจจุบันนั่นแหละ


มีสติ มีความรู้สึกตัวอยู่

ฝึกไปเรื่อย ๆ สบาย ๆ


ธรรมบรรยาย โดย พระมหาวรพรต กิตฺติวโร
2 มิถุนายน 2564





ติดตาม Live ถ่ายทอดธรรม  ===> https://www.facebook.com/duenjitpage/









  ขอบคุณข้อมูลและรูปภาพจาก Facebook  เดินจิต-ตื่นรู้ สู่ อมตธรรม
https://www.facebook.com/duenjitpage/
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ตุลาคม 25, 2021, 07:17:47 am โดย ยาใจ »

ยาใจ

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 14238
    • ดูรายละเอียด
*รวม* คติธรรม - พระมหาวรพรต กิตฺติวโร
« ตอบ #5 เมื่อ: ตุลาคม 25, 2021, 06:17:18 am »




พระผู้มีพระภาคเจ้าของพวกเรา
ในสมัยเป็นพระโพธิสัตว์
บำเพ็ญบารมีอยู่

เมื่อพระองค์ได้ทำสิ่งที่ผิดพลาดไป
พระองค์ก็ต้องตกสู่นรกเช่นกัน
ขนาดผู้มีบารมีมากที่จะตรัสรู้
เป็นพระพุทธเจ้าแล้วนะ
บารมีล้นเหลือเลยล่ะ

อย่างในพระชาติที่พระองค์
เกิดมาเป็นพระเตมีย์
ซึ่งเป็นพระชาติที่ใกล้ที่จะตรัสรู้มาก
บารมีเข้มข้นแล้ว

พระองค์เกิดขึ้นมาเป็นลูกกษัตริย์
พระบิดาก็รักมาก ก็อุ้มไป
วันหนึ่งพระบิดาก็ตัดสิน
พวกคนที่ทำผิดต่างๆ

สมัยก่อนเวลาลงอาญานี่ รุนแรงมากนะ
สมัยโบราณ เวลาลงโทษนี่หนักมาก
ก็ลงโทษนี่ไปถูกเฆี่ยนตี คนนี้ถูกจองจำ
คนนี้ถูกหอกแทงประหารชีวิต
คนนั้นถูกเสียบประจาน

พระเตมีย์ ที่เป็นพระโอรส
ที่ยังทรงพระเยาว์อยู่
พอเห็นเหตุการณ์นั้น สะดุ้งเลย

แล้วพระองค์ระลึกชาติตัวเองได้ว่า
ก่อนที่พระองค์จะมาเกิดในชาติปัจจุบัน
พระองค์เคยเกิดเป็นพระราชามาก่อน
ก็ครองราชย์อยู่ 20 ปี

ในระหว่างที่ครองราชย์ เป็นธรรมดา
พระราชาก็ต้องตัดสินกิจการบ้านเมืองต่างๆ
แล้วก็ต้องลงโทษคนทำผิดต่างๆ

ผลจากการกระทำตรงนั้น
เมื่อตายจากอัตภาพนั้นไป
พระองค์ต้องตกสู่นรก
เสวยความโหดร้ายทารุณ
อย่างยาวนาน ถึง 80,000 ปี

ครองราชย์อยู่ 20 ปี
แต่ต้องไปชดใช้กรรมในนรก
ถึง 80,000 ปี

โหดร้ายทารุณเกินกว่าจะทนทานได้
ทุกข์ทรมานแสนสาหัส
ถ้าเป็นระดับพวกเราๆ
ก็แช่อยู่ไม่ได้ 80,000 ปีหรอก
นานวันมากเลย

แต่พระองค์ขณะนั้น 80,000 ปี
แล้วพอเมื่อพ้นจากนรก
ผลที่ท่านทำความดีไว้มาก
ท่านก็ไปบังเกิดบนสวรรค์
แล้วพ้นจากนั้น ท่านก็จุติมาเป็น
พระชาติพระเตมีย์ นั่นเอง

พอท่านระลึกชาติได้แบบนี้
ท่านกลัวที่จะครองราชย์เป็นพระราชา
ท่านเห็นว่าสิ่งนี้แหละ เป็นสิ่งน่ากลัว
ที่จะทำให้เกิดโทษภัยแก่ตนเองได้

เพราะว่า พระราชาต้องรับผิดชอบ
กิจการงานต่าง ๆ มาก
ท่านกลัวที่จะขึ้นครองราชย์
ต่อจากพระราชบิดา

ท่านจะได้กุศโลบายมา ก็คือ
ทำตัวเป็นคนนิ่งใบ้ คนง่อย
ท่านก็จะทำตัวเป็นคนนิ่งอยู่อย่างนั้น
ไม่ขยับตัว ไม่อะไรเลย ตั้งแต่เด็กเล็กๆ

เขาก็ทดลองด้วยวิธีการต่างๆ
ท่านก็พยายามนิ่ง
ทำตัวเหมือนเป็นคนใบ้ คนนิ่ง คนง่อย
ใครจะเอาคนง่อยครองราชย์ ใช่ไหม ?

คิดดูสิ เราแค่ไม่ขยับตัวไม่นาน
นี่ก็เมื่อยแล้วใช่ไหม ?
แต่ท่านทนไม่ขยับตัวแบบนี้ 16 ปีเต็ม

คิดดูว่าจะทุกข์ทรมานขนาดไหน
แต่ความทุกข์ทรมานขนาดนั้นน่ะ
ท่านมีความรู้สึกว่า เล็กน้อยมากเลย
เมื่อเทียบกับความทุกข์ที่ท่านไปจมในนรกมา

อันนั้นแหละทุกข์เกินจะเกินทน
ทุกข์ในความเป็นมนุษย์ ที่ว่าสาหัสที่สุดแล้ว
เรียกว่า ทนไม่ได้ก็ตาย

แต่ทุกข์ในนรกนี่ เกินที่จะทนทานได้
แล้วเสวยนี่นานกว่ามากเลย
ท่านยอมเจ็บปวดขนาดนั้น ไม่ขยับตัว 16 ปีเต็ม
จนเขาก็ต้องเอาท่านออกไป

เพราะพิสูจน์ยอมรับแล้ว
ว่าท่าน นิ่ง ใบ้ ทำอะไรไม่ได้
ท่านถึงได้หลุดพ้นจากตรงนั้น

นี่ระดับพระมหาโพธิสัตว์นะ
แต่หมู่สัตว์ส่วนใหญ่ในวัฏสงสาร
ที่หลงทำการเบียดเบียน
แล้วก็จมอยู่ในนรก

เสวยความโหดร้ายทารุณอย่างยาวนาน
ทุกข์เกินจะทนทานได้นะ

ก็จะมีความรู้สึกเหมือนกันทั้งหมดแหละ
ว่า เมื่อพ้นจากตรงนี้
ได้รับโอกาส เกิดมาเป็นมนุษย์
เราจะไม่ทำความชั่วอีกแล้ว
เราจะทำแต่ความดี
เราจะปฏิบัติเพื่อหลุดพ้น
จากวังวนตรงนี้ได้

ทุกคนสำนึกได้หมด
แต่พอมาเกิดเป็นมนุษย์
ก็ “ลืม” หมด

“พอลืมหมด” สุดท้าย
มันก็หลงโลกเหมือนเดิม
ก็หลงทำกรรมเหมือนเดิม
ตายไป ก็จมสู่ในอบายภูมิเหมือนเดิม

น้อยคน ที่เมื่อมาเกิดแล้วสำนึกได้
ไม่กล้าทำความชั่วอีก

โดยเฉพาะ การเกิดมาเป็นมนุษย์
..เป็นสิ่งที่ยาก

การเกิดมาเป็นมนุษย์
ในยุคที่มีพระพุทธศาสนา
..ยิ่งยากกว่ามาก

เป็นโอกาสเดียว ที่เราจะแก้ไข
เพื่อหลุดจากวงจร
แต่เป็นกลไกธรรมชาติ
ว่า เมื่อเกิดมาเป็นมนุษย์
ก็ต้องลืม นั่นเอง

เพราะฉะนั้น
จึงต้องอาศัย “กัลยาณมิตร”
การได้พบพระสัทธรรม ได้ศึกษา
แล้วก็น้อมมาฝึกฝนขัดเกลาตนเอง

ยอมรับทุกสิ่งทุกอย่าง ที่เกิดขึ้น
ก็ไม่มีใครมาก่อหรอก ตัวเราล้วนๆ นั่นเอง
ก็ต้องยอมรับนั่นเอง

เราไม่สามารถไปเปลี่ยนแปลงอดีตได้
สิ่งที่ผ่านไปแล้ว มันก็ผ่านไปแล้วนะ

แต่สิ่งที่เราทำได้ คือ ปัจจุบัน
คำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
จึงตรัสไว้ว่า..

“งดเว้น จากความชั่วทั้งปวง”
ทำแต่ความดี ทำกุศลให้ถึงพร้อม


เหตุที่เราสร้างปัจจุบัน
ก็จะส่งผลต่ออนาคต อย่างแน่นอน
เราก็ทำกุศลให้ถึงพร้อม
ชำระจิตให้หมดจด
จากเครื่องเศร้าหมองต่างๆ

วิธีการที่เราจะจบเรื่องราวตรงนี้ ก็คือ
การปฏิบัติธรรม สมควรแก่ธรรม นั่นเอง
ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า
อริยมรรคมีองค์ 8 คือ
ปฏิปทาเพื่อความดับไม่เหลือกรรม

เพราะฉะนั้น ก็พิจารณากันให้ดี
“สิ่งใดที่เราควรทำ สิ่งใดที่เราควรละ”


ชีวิตมนุษย์โลกมันไม่ได้ยืนยาวนะ
เรานั่งอยู่ตรงนี้ หลังจากนี้
เราอาจจะตายลงไปก็ได้
ความตายเป็นสิ่งที่เกิดขึ้น
กับทุกคนอย่างแน่นอน

ให้พิจารณาตนเองให้ดี
ไม่มีใครมาเตือนเรา
เท่ากับตัวเราเอง
เตือนตนเองได้อย่างดี

ชีวิตมนุษย์ สั้นนัก
จึงพึงประพฤติพรหมจรรย์
ทำสิ่งที่ประเสริฐ
ปฏิบัติธรรม สมควรแก่ธรรม
เพื่อการหลุดพ้นจากวงจรตรงนี้นั่นเอง


ธรรมบรรยาย โดย พระมหาวรพรต กิตฺติวโร
5 กันยายน 2564





ติดตาม Live ถ่ายทอดธรรม  ===> https://www.facebook.com/duenjitpage/









  ขอบคุณข้อมูลและรูปภาพจาก Facebook  เดินจิต-ตื่นรู้ สู่ อมตธรรม
https://www.facebook.com/duenjitpage/

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ตุลาคม 25, 2021, 06:33:14 am โดย ยาใจ »

ยาใจ

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 14238
    • ดูรายละเอียด
*รวม* คติธรรม - พระมหาวรพรต กิตฺติวโร
« ตอบ #6 เมื่อ: ตุลาคม 25, 2021, 06:36:08 am »




ปุจฉา :
ผมทำแต่ความดีทั้งกาย วาจา และใจ
แต่ผลที่ได้รับ กลับกลายเป็นว่า
มีแต่คนไม่ดี ที่เข้ามาในชีวิตผม
ชีวิตก็ยังติดขัด เหมือนไม่มีอะไรดีขึ้น

หากผมเกิดมา เพื่อใช้กรรมในอดีตชาติ
มันไม่เป็นธรรม เพราะผมจำอดีตไม่ได้

หรือผมทำความดีเพื่อปรารถนา
ขึ้นสวรรค์ในโลกอื่น หรือชาติหน้า
แต่เพราะอะไร ผมต้องทนทุกข์ในชาตินี้

กราบขอเมตตา พระอาจารย์ช่วยโปรดขัดเกลา
และชี้ทางสว่างให้ผมได้คลายจากทุกข์นี้
ได้มีกำลังใจ ในการทำดีต่อไปด้วยเถิดครับ

วิสัชนา :
พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า
ร่างกายนี้ คือ กรรมเก่า
สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม
มีกรรม เป็นทายาท
มีกรรม เป็นเผ่าพันธุ์
มีกรรม เป็นแดนกำเนิด


ร่างกาย ทุกสิ่งทุกอย่าง
ที่เกิดขึ้นในชีวิตของเรา
ก็เกิดจากเหตุปัจจัย
ที่เราได้สะสมไว้นั่นเอง


ไม่ใช่เฉพาะเรื่องของภพชาตินี้เท่านั้น
การเวียนว่ายตายเกิด ผ่านการวนเวียน
มาอย่างยาวนาน นับภพชาติไม่ถ้วน
ไม่สามารถกำหนด ที่สุดแห่งเบื้องต้น
ที่สุดแห่งเบื้องปลายได้เลย


ชีวิตเราในชาติปัจจุบันนี้
ถ้าเปรียบแล้ว มันก็เหมือน..
เราฝันอยู่เรื่องหนึ่งในคืนหนึ่ง เท่านั้นเอง
ทั้งชีวิตเรามันยาวนานกว่านั้นมาก
คืนหนึ่ง เราอาจจะมีฝันสักเรื่อง
หลายๆ เรื่องก็ได้

ที่เราประสบในชาติปัจจุบัน
ที่เราใช้ชีวิตมา บางคนก็ 30 ปี
50 ปี 70 ปี 80 ปี ที่ดูเหมือนมาก
แต่จริงๆ แล้วเมื่อเทียบกับ
การวนเวียนในวัฏสงสาร
ชีวิตของเราจริงๆ แล้ว...สั้นนัก

ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า
อุปมาชีวิตของการเกิดเป็นมนุษย์
ในยุคสมัยนี้ เต็มที่ก็ 100 ปี


เปรียบเหมือนหยดน้ำบนยอดหญ้า
กลางคืนน้ำค้างลง พอรุ่งอรุณขึ้นมา
เหือดแห้งไปเร็ว ฉันใด

เปรียบเหมือนหยดน้ำ
ที่ตกลงในกระทะอันเดือด
ย่อมเหือดแห้งไปเร็ว ฉันใด

เปรียบเหมือนฟองน้ำที่ผุดแล้วก็ดับ
ย่อมเหือดแห้งไปเร็ว ฉันใด

ชีวิตของความเป็นมนุษย์...ก็ฉันนั้น
มันสั้นมาก เมื่อเทียบกับ
การเวียนว่ายตายเกิดของเรา
ที่นับพบชาติไม่ถ้วน
เราผ่านอะไรมามากกว่านั้นมากนั่นเองนะ

เพราะฉะนั้น ผลที่เกิดขึ้นมา
จึงไม่ใช่เฉพาะผลในชาติปัจจุบัน
เราผ่านอะไรมามาก


ถ้าถามว่า มันไม่ยุติธรรมเลย
ว่าเราเกิดมาแล้วก็ลืม จำไม่ได้
ถ้าเราลืม แล้วเราไม่ต้องชดใช้หรือ ?

มันเป็นวิถีที่เราสร้างไว้
เราก็ต้องชดใช้นั่นเอง

แต่เป็นกลไกธรรมชาติ
ว่า เมื่อเกิดมาเป็นมนุษย์
ก็ต้องลืมนั่นเอง

เพราะฉะนั้น
จึงต้องอาศัย “กัลยาณมิตร”
การได้พบพระสัทธรรม ได้ศึกษา
แล้วก็น้อมมาฝึกฝนขัดเกลาตนเอง

ยอมรับทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดขึ้น
ก็ไม่มีใครมาก่อหรอก
ตัวเราล้วนๆ นั่นเอง
ก็ต้องยอมรับ นั่นเอง

เราไม่สามารถไปเปลี่ยนแปลงอดีตได้
สิ่งที่ผ่านไปแล้ว มันก็ผ่านไปแล้วนะ
แต่สิ่งที่เราทำได้ คือ ปัจจุบัน

คำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
จึงตรัสไว้ว่า “งดเว้นจากความชั่วทั้งปวง”
ทำแต่ความดี ทำกุศลให้ถึงพร้อม


เหตุที่เราสร้างปัจจุบัน
ก็จะส่งผลต่ออนาคต อย่างแน่นอน
วิธีการที่เราจะจบเรื่องราวตรงนี้ ก็คือ
การปฏิบัติธรรม สมควรแก่ธรรมนั่นเอง


ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า
อริยมรรคมีองค์ 8 คือ
ปฏิปทาเพื่อความดับไม่เหลือกรรม
เพราะฉะนั้น ก็พิจารณากันให้ดี



ธรรมบรรยาย โดย พระมหาวรพรต กิตฺติวโร
5 กันยายน 2564






ติดตาม Live ถ่ายทอดธรรม  ===> https://www.facebook.com/duenjitpage/









  ขอบคุณข้อมูลและรูปภาพจาก Facebook  เดินจิต-ตื่นรู้ สู่ อมตธรรม
https://www.facebook.com/duenjitpage/
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ตุลาคม 25, 2021, 07:28:21 am โดย ยาใจ »

ยาใจ

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 14238
    • ดูรายละเอียด
*รวม* คติธรรม - พระมหาวรพรต กิตฺติวโร
« ตอบ #7 เมื่อ: ตุลาคม 25, 2021, 06:52:51 am »



  ชีวิต ก็คือ การเรียนรู้
สิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิตของเรา
ไม่ได้มีเหตุมีเรื่องบังเอิญหรอก
ก็เป็นไปตามเหตุปัจจัย


  สิ่งที่เกิดขึ้นในชีวิตของเรา
ไม่ว่าจะเป็นสิ่งที่ดีก็ตาม ไม่ดีก็ตาม
ก็คือ กระบวนการที่จะทำให้เกิดการเรียนรู้
เพื่อก้าวข้ามบางสิ่งบางอย่าง
และเติบโตขึ้นนั่นเอง


 ยา...มักมา
ในรสที่ขมเสมอ
ส่วนยาพิษ...มักมา
ในรูปของความหวานเสมอ


  ส่วนใหญ่ทุกคนก็ชอบความหวาน
กินน้ำตาล กินมากก็ติด
ติดความหวาน

  แต่เมื่อสะสมมาก ๆ เข้า
น้ำตาล คือ ยาพิษ
คือ การบ่อนทำลาย

ร่างกายก็เต็มไปด้วยโรคภัยไข้เจ็บ
จิตใจก็อ่อนแอต่าง ๆ


  ความสะดวกสบาย
ความไม่มีปัญหาอุปสรรค
ทุกอย่างมีแต่ความสุข ความสบาย
ก็มักจะทำให้เราติดในความสะดวกสบาย
จิตใจอ่อนแอ แล้วก็ตั้งอยู่ในความประมาท

  แต่ปัญหาอุปสรรคต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น
ทำให้เกิดความเจ็บปวด เกิดความขมขื่นต่าง ๆ
เป็นกระบวนการที่จะทำให้เกิดการเรียนรู้
เพื่อก้าวข้ามบางสิ่งบางอย่าง
และเติบโตขึ้นมานั่นเอง

  ให้วางใจให้ถูกว่า เส้นทางนี้..
เมื่อใดที่เราเจอปัญหาอุปสรรค ให้ยิ้มรับ
นั่นคือ กระบวนการที่เราจะทำให้เกิดการเรียนรู้
จะทำให้เราตั้งอยู่ ในความไม่ประมาท


ธรรมบรรยาย โดย พระมหาวรพรต กิตฺติวโร
26 สิงหาคม 2564





ติดตาม Live ถ่ายทอดธรรม  ===> https://www.facebook.com/duenjitpage/









  ขอบคุณข้อมูลและรูปภาพจาก Facebook  เดินจิต-ตื่นรู้ สู่ อมตธรรม
https://www.facebook.com/duenjitpage/

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤศจิกายน 01, 2021, 05:32:31 am โดย ยาใจ »

ยาใจ

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 14238
    • ดูรายละเอียด
*รวม* คติธรรม - พระมหาวรพรต กิตฺติวโร
« ตอบ #8 เมื่อ: ตุลาคม 25, 2021, 07:15:47 am »



ปุจฉา :  

สำหรับคนเริ่มฝึกใหม่
เข้าสภาวธรรมชั้นต่าง ๆ ไม่ได้
ควรวางจิตอย่างไร ในขณะที่พระอาจารย์
พาไต่สภาวธรรมเจ้าคะ ?



วิสัชนา :

วางใจว่าฝึกไปเรื่อย ๆ สบาย ๆ
สภาวะจะเกิดก็ช่าง ไม่เกิดก็ช่าง
เพียงแค่ผ่อนคลาย สบาย ๆ
ทำความรู้สึกตัวไปเรื่อย ๆ สบาย ๆ
ค่อย ๆ เรียนรู้ ฝึกปฏิบัติไป

รับรู้ความรู้สึกที่เกิดขึ้น
ในการหายใจ ไปเรื่อย ๆ
ถ้าเราไปตั้งว่า ต้องเกิดสภาวะตามที่ลงสอน
ซึ่งสภาวะต่าง ๆ จะเกิด
แสดงว่า เราต้องมีพื้นฐานที่ดีแล้ว
ในระดับชั้นของสมาธิ

พอไม่เกิด
จิตก็จะเกิดความหงุดหงิด
เกิดความคาดหวัง

วิธีการวางใจที่ถูก
ก็คือ ไม่ต้องไปคาดหวัง
สภาวะจะเกิดก็ช่าง ไม่เกิดก็ช่าง
เราก็แค่ฝึกตามไปเรื่อย ๆ สบาย ๆ
ให้ระลึกรู้สึกตัว รู้กายที่นั่ง ที่ยืน ที่เดิน


“เคล็ดลับที่สำคัญ คือ
การฝึกฝนเป็นประจำสม่ำเสมอนั่นเอง”


ไม่ใช่การคาดหวัง
แต่คือ การลงมือฝึกเป็นประจำสม่ำเสมอ



ธรรมบรรยาย โดย พระมหาวรพรต กิตฺติวโร
2 สิงหาคม 2564




ติดตาม Live ถ่ายทอดธรรม  ===> https://www.facebook.com/duenjitpage/









  ขอบคุณข้อมูลและรูปภาพจาก Facebook  เดินจิต-ตื่นรู้ สู่ อมตธรรม
https://www.facebook.com/duenjitpage/

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤศจิกายน 01, 2021, 05:06:41 am โดย ยาใจ »

ยาใจ

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 14238
    • ดูรายละเอียด
*รวม* คติธรรม - พระมหาวรพรต กิตฺติวโร
« ตอบ #9 เมื่อ: ตุลาคม 25, 2021, 07:25:53 am »




ขันติ : ความอดทน

พระพุทธเจ้าตรัสว่า..
เป็นตบะ เป็นธรรมเครื่องเผากิเลสอย่างยิ่ง

พิจารณาให้เห็นโทษ เห็นภัย
ของวัฏสงสาร

พิจารณาเห็นคุณค่า
ของการบำเพ็ญสมณธรรม

การที่เราต้องเพียรบำเพ็ญสมณธรรม
ฝึกหัดปฏิบัติ บางทีก็ปวด ก็เมื่อย
บางทีก็ร้อน ก็หนาว

ในขณะที่เราเผชิญกับความร้อน อากาศก็ร้อน
ก็พิจารณา ความร้อนที่เราสัมผัสนี้
มันเป็นสิ่งเล็กน้อยมากเลย

เมื่อเทียบกับไฟในนรก
ไฟในอเวจีมหานรก สาหัสสากรรจ์
เผาไหม้จิตวิญญาณ
ให้ทุกข์ทรมานขนาดไหน ?

ถ้าเราไม่อยากไปตกต่ำ
จมอยู่ในไฟในนรกขนาดนั้น
เราก็พากเพียรปฏิบัติ
ให้พ้นจากวงจรตรงนี้เสีย

เวลาเราเจอความหนาวบ้าง
บางทีขี้เกียจปฏิบัติ
อย่างจะเข้าหน้าหนาวนี้ บางทีก็หนาว

ก็พิจารณาสิ ความหนาวที่เราประสบ
ยังเป็นสิ่งเล็กน้อยมาก
เมื่อเทียบกับความหนาวเย็นยะเยือก
ในโลกันตมหานรก หนาวสุดขั้ว

หมู่สัตว์นี่กระดิกตัวไม่ได้ หนาวสุดขั้ว
เข้าไปในกระดูก เข้าไปในจิตวิญญาณ
ต้องหลับอย่างเดียวนะ
สัตว์ในโลกันต์นี่ ตื่นไม่ไหว
ต้องหลับอย่างเดียว

มันเหมือนซากศพ ที่เขาหมักไว้
อยู่ในสิ่งที่หมัก อยู่ในสิ่งปฏิกูล
ที่ทับถมอยู่อย่างนั้น ต้องฟรีซอยู่อย่างนั้น
ยาวนานตลอดกาล

ถ้าเราไม่พากเพียรฝึกฝนปฏิบัติพัฒนาตนเอง
ปล่อยใจให้ไหลไปตามกระแสโลก

สุดท้าย เราก็ต้องไหล
ไปสู่ความมืดมิดแบบนั้น
ทุกข์ทรมานตลอดกาล
หมั่นเตือนตัวเองอยู่เสมอ

บางครั้ง เราเพียรปฏิบัติ ฉันมื้อเดียว
ฉันน้อยบ้าง มันหิวบ้าง มันกระหายบ้าง
อยากนู่น อยากนี่บ้าง

เราก็พิจารณาความหิวกระหาย
ที่เราประสบนี่ ช่างเล็กน้อยยิ่งนัก
เมื่อเทียบกับการที่ต้องไปเกิด เป็นเปรต
มันหิวกระหายอย่างแสนสาหัส อย่างยาวนาน

เปรตนี่ต่อให้อยู่ต่อหน้าแม่น้ำ กินน้ำไม่ได้
หิวอยู่นั้นเป็นกัปเป็นกัลป์
เปรตบางตนนี่เบาหน่อย
พอกินได้ แต่ไม่ได้กินอาหารปกตินะ
กินน้ำเลือด กินน้ำเหลือง กินน้ำหนอง
กินซากศพ พอบรรเทาความทุกข์


นี่ความทุกข์ทรมาน
ในอบายภูมิทั้งหลายทั้งปวง


ถ้าเราปล่อยจิต ปล่อยใจ
ให้ไหลไปตามกระแสของโลก
ไม่ทวนกระแสกิเลสตนเอง
ไม่ยั้งตนเอง ไม่คอยดึงตัวเองต่าง ๆ ไว้

สุดท้าย ก็ไหลลงต่ำอยู่แบบนั้น
จมสู่ความมืดมิด
ต้องไปเสวยความเจ็บปวด
ทุกข์ทรมานอย่างยาวนาน


ก็เตือนตนเองอยู่เสมอ
ปรารภความเพียรอยู่เสมอ
บำเพ็ญสมณธรรม

จนสามารถที่จะจางคลาย
หลุดออก สิ้นอาลัยในตัณหา
ถอนความอาลัยในโลกทั้งหลายทั้งปวง
จนมันขาดสะบั้นออกไปจากจิต จากใจ
เรียกว่า.. หมดจิตหมดใจเลย

ก็จะสามารถกลับคืน
สู่ความเป็นกลางของธรรมชาติ
พบกับความสงบสุข ที่แท้จริง
คือ พระนิพพานได้


ธรรมบรรยาย โดย พระมหาวรพรต กิต​ฺ​ติ​วโร​
พระวิปัสสนาจารย์









  ขอบคุณข้อมูลและรูปภาพจาก Facebook  เดินจิต-ตื่นรู้ สู่ อมตธรรม
https://www.facebook.com/duenjitpage/
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ตุลาคม 25, 2021, 07:31:35 am โดย ยาใจ »

ยาใจ

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 14238
    • ดูรายละเอียด
*รวม* คติธรรม - พระมหาวรพรต กิตฺติวโร
« ตอบ #10 เมื่อ: ตุลาคม 25, 2021, 07:34:30 am »



พระพุทธเจ้าตรัสว่า

"สิ่ง ๆ หนึ่ง ที่บุคคลพึงรู้แจ้ง

สิ่ง ๆ นั้น พบได้ในกายนี้แหละ"

มรรคผลนิพพาน การหลุดพ้น

ไม่ต้องออกไปแสวงหาภายนอก

มันอยู่ภายในใจของเรานี่เอง

การปฏิบัติธรรมวิถีพุทธ

จะเป็นเรื่องของ การทวนกระแส

ไม่ได้ส่งจิตออกไป

แต่เป็นการทวนกระแส เข้าสู่ภายใน

จนสามารถสลายอัตตาตัวตน

หลุดจากการยึดมั่นถือมั่นทั้งปวง

เพราะฉะนั้น ให้หลักง่าย ๆ

จิตส่งไปข้างนอกเมื่อไหร่

มันก็เป็นเรื่องของโลกทั้งหมด

ไม่ว่าจะเป็นโลกหยาบ

หรือโลกทิพย์ ก็ตาม

มันมีแต่ทวนอยู่ภายในล้วน ๆ

อยู่กับสภาวธรรม

อยู่กับกายกับใจ

นั่นคือ หลักปฏิบัติ

ที่ถูกต้อง และปลอดภัย


ธรรมบรรยาย โดย พระมหาวรพรต กิตฺติวโร
5 สิงหาคม 2564






ติดตาม Live ถ่ายทอดธรรม  ===> https://www.facebook.com/duenjitpage/









  ขอบคุณข้อมูลและรูปภาพจาก Facebook  เดินจิต-ตื่นรู้ สู่ อมตธรรม
https://www.facebook.com/duenjitpage/
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ตุลาคม 25, 2021, 07:39:53 am โดย ยาใจ »

ยาใจ

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 14238
    • ดูรายละเอียด
*รวม* คติธรรม - พระมหาวรพรต กิตฺติวโร
« ตอบ #11 เมื่อ: ตุลาคม 25, 2021, 07:42:15 am »



รู้กว้าง ๆ ไม่จำเป็นต้องไปโฟกัส
หรือซูมเข้าไป ที่ส่วนใดส่วนหนึ่ง

แค่รู้ กว้าง ๆ สบาย ๆ 
แค่รู้ แค่รู้สึกไปนะ


วิบากกรรม
เป็นสิ่งที่ต้องค่อย ๆ ชำระออก
เราสะสมมาเนิ่นนาน
อยู่ ๆ จะหลุดทุกสิ่งทุกอย่าง
ดูมันจะง่ายไปถูกไหม ?

ก็แค่รู้ แค่รู้สึก
ค่อย ๆ เพียรปฏิบัติไป
ค่อย ๆ ชำระตนเองไป

สิ่งที่จะช่วยได้มาก ก็คือ
ฝึกตามที่ลงสอนเป็นประจำ เช้า-ค่ำ
อันนี้สำคัญยิ่งในการชำระตนเองนั่นเองนะ
ก็ค่อย ๆ ชำระตนเองไป

ยุคนี้ เป็นยุคที่คนจะมีเรื่องวิบากมาก
ความอัดแน่นข้างใน ต้องเข้าใจนะ

ในสมัยพุทธกาล
ตอนที่พระองค์ตรัสรู้ขึ้นมา
คนที่มีบุญบารมีเต็มเลย
จะเจอก่อนเลย
จะออกันมาช่วงแรก


ช่วงที่พระองค์ประกาศศาสนาแรกๆ
สังเกตว่า คนบรรลุธรรมกันมาก
เพราะว่าท่านที่มีบารมีธรรมเต็มแล้ว
.. ก็จะมารอ


พอหลังจากนั้น
ก็จะค่อย ๆ คลายตัวละ
สังเกต 20 พรรษาหลังนี่
ก็จะเริ่มหลากหลาย
ระดับรองลงไปแล้ว

พระธรรมวินัย
.. ก็จึงเกิดมาก


เพราะว่า
พวกที่อินทรีย์อ่อน จะเริ่มเข้ามามาก
นั่นในสมัยที่พระพุทธเจ้าดำรงอยู่นะ
แล้วนี่เราผ่านมา 2000 กว่าปีแล้วนะ
จะถอยระดับลงมาขนาดไหน ?

เพราะฉะนั้น
เป็นยุคที่คนมีวิบาก
ที่ต้องชำระมาก
เป็นเรื่องธรรมดา

แต่เราได้รับโอกาส
ได้เป็นมนุษย์ ได้พบพระพุทธศาสนา
ก็เป็นโอกาสที่เราจะได้ชำระตนเองเช่นกัน

เพราะฉะนั้น ให้เพียรชำระตนเอง
ให้มีขันติ มีความอดทน อดกลั้น
ก้าวเดินในวิถีที่ถูกต้อง

ถ้าเราไม่ชำระตอนนี้
เราจะไปชำระกันเมื่อไหร่ ?

ถ้าพ้นจากรอบนี้ ก็ไม่รู้ว่าเมื่อไหร่ ?
เราจะได้มีโอกาสอีก

และความหนักที่ดึงไปสู่ความมืดมิด
เจ็บปวดทุกข์ทรมาน กว่าชีวิตบนมนุษย์โลก
อย่างแสนสาหัส

เรื่องที่เราประสบตอนมีชีวิตอยู่นี้
กลายเป็นเรื่องเล็กน้อยไปเลยนะ

เพราะฉะนั้น
โอกาส อยู่ต่อหน้าเรา
ถ้าเราไม่ชำระกันตอนนี้
จะชำระกันตอนไหน ?


ก็พิจารณากันให้ดีนะ
ปฏิบัติธรรม สมควรแก่ธรรม
ชำระตนเอง คือ วิถี
เป็นสัจธรรมเดียวกัน
ของทุกดวงจิตในวัฏสงสารอยู่แล้ว

เราทำอะไรไว้
เราก็ต้องค่อย ๆ ชำระออกนั่นเอง


ธรรมบรรยาย โดย พระมหาวรพรต กิต​ฺ​ติ​วโร​
พระวิปัสสนาจารย์





ติดตาม Live ถ่ายทอดธรรม  ===> https://www.facebook.com/duenjitpage/









  ขอบคุณข้อมูลและรูปภาพจาก Facebook  เดินจิต-ตื่นรู้ สู่ อมตธรรม
https://www.facebook.com/duenjitpage/

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ตุลาคม 25, 2021, 07:52:45 am โดย ยาใจ »

ยาใจ

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 14238
    • ดูรายละเอียด
*รวม* คติธรรม - พระมหาวรพรต กิตฺติวโร
« ตอบ #12 เมื่อ: พฤศจิกายน 01, 2021, 04:50:15 am »




ปุจฉา :
จะใช้ชีวิตอยู่ในโลกนี้ได้อย่างไร
โดยไม่ให้จิตตก หรือทุกข์มากเจ้าคะ ?



วิสัชนา :
การอบรมสติปัฏฐาน
ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรมนี่แหละ
ที่จะช่วยให้เรามีชีวิตที่มีความสุข
ท่ามกลางเภทภัยต่างๆ ในโลกได้


พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า
"ผู้ประพฤติธรรม ย่อมอยู่เป็นสุข"


ผู้ที่ฝึกฝนอบรมสติปัฏฐาน 4 อยู่เนือง ๆ
หมั่นระลึกรู้สึกตัวขึ้นมาอยู่เสมอ
จิตใจมีความตั้งมั่นอยู่ภายใน
ก็จะไม่หวั่นไหวไปกับสิ่งต่าง ๆ
ที่ถาโถมเข้ามา

ถึงแม้จะกายทุกข์ ใจก็ไม่ทุกข์ด้วย
โลกวุ่นวาย ใจก็ไม่วุ่นวายด้วย
ภายนอกมันจะวุ่นวาย
ข้างในก็สงบเย็นได้ มีความสุขได้

จิตที่ยังไม่ได้อบรม ก็จะหวั่นไหว
ไปกับสิ่งต่าง ๆ ที่กระทบเข้ามา
เรียกว่า เราเอาความวุ่นวายในโลก
มาเข้าไว้ในใจของเรา

ทุกสิ่งทุกอย่างมันก็เกิดขึ้นที่ใจของเรา
จะเป็นความทุกข์ก็ดี ความสุขก็ดี
ทุกอย่างมันเกิดที่ใจ มันก็จบที่ใจ


ปัญหามันอยู่ข้างนอก แต่ว่ามันทุกข์
เพราะว่า มันเข้ามาอยู่ในใจเรา
แต่ถ้ามันไม่ได้เข้ามาอยู่ในใจเรา
... มันก็ไม่ทุกข์


เราพิสูจน์ได้
ด้วยการลงมือฝึกปฏิบัตินั่นเอง



ธรรมบรรยาย โดย พระมหาวรพรต กิตฺติวโร
22 กรกฎาคม 2564










  ขอบคุณข้อมูลและรูปภาพจาก Facebook  เดินจิต-ตื่นรู้ สู่ อมตธรรม
https://www.facebook.com/duenjitpage/


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤศจิกายน 01, 2021, 05:13:32 am โดย ยาใจ »

ยาใจ

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 14238
    • ดูรายละเอียด
*รวม* คติธรรม - พระมหาวรพรต กิตฺติวโร
« ตอบ #13 เมื่อ: พฤศจิกายน 01, 2021, 05:08:24 am »



วิถีของพุทธศาสนา
เป็นวิถีของผู้ที่ลงมือฝึกปฏิบัติ
ก้าวเดินด้วยตนเองนะ


เราไม่สามารถให้ผู้อื่นมาทำแทนได้นะ
ทุกคนมีหน้าที่ก้าวเดิน ด้วยตัวเองทั้งนั้นนะ


พระพุทธเจ้าก็ตรัสว่า..
พระองค์เป็นผู้ชี้ทางบอกทางให้
การจะก้าวเดินเป็นเรื่องของพวกเราทุกคน

เพราะฉะนั้น
การที่เราลงมือปฏิบัติ
สร้างเหตุที่ถูกต้องอยู่เนือง ๆ
ก็คือ การก้าวเดินตามมรรควิธี
ที่ถูกต้อง อยู่เนือง ๆ


เมื่อเราสร้างเหตุปัจจัยที่ถูกต้อง
ผลมันย่อมเกิดขึ้นเป็นธรรมดา

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า
ผู้ที่เจริญสติปัฏฐาน 4 อยู่เป็นประจำ
จะปรารถนาการหลุดพ้นจากทุกข์
หรือไม่ก็ตาม ก็ย่อมทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ !

เพราะฉะนั้น
สิ่งที่เราควรให้ความสำคัญ คือ
ลงมือปฏิบัติ สร้างเหตุที่ถูกต้อง


เมื่อเหตุถูก..ผลย่อมถูกเป็นธรรมดา
เหมือนเราอยากจะได้มะม่วง
เราก็ต้องลงมือปลูก ดูแลอย่างดี
ผลย่อมออกมา เป็นสัจธรรมอยู่แล้ว


ธรรมบรรยาย โดย พระมหาวรพรต กิตฺติวโร
13 กรกฎาคม 2564












  ขอบคุณข้อมูลและรูปภาพจาก Facebook  เดินจิต-ตื่นรู้ สู่ อมตธรรม
https://www.facebook.com/duenjitpage/


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤศจิกายน 01, 2021, 05:27:57 am โดย ยาใจ »

ยาใจ

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 14238
    • ดูรายละเอียด
*รวม* คติธรรม - พระมหาวรพรต กิตฺติวโร
« ตอบ #14 เมื่อ: พฤศจิกายน 01, 2021, 05:26:14 am »




ในกลไกธรรมชาติของชีวิตคนเรา
ประกอบด้วย กายภาพ พลังชีวิต
เรื่องของกระแส เรื่องของจิตวิญญาณ
เรื่องของวิบากกรรม
ที่เป็นต้นตอของเหตุต่าง ๆ

เวลาวิบากกรรมให้ผล
ก็จะมีแรงขับดัน ไม่ว่าจะเป็นวิบาก
ที่เป็นกุศลธรรมที่ดี หรือไม่ดีก็ตาม
แรงกรรมนั่นแหละ

ที่พระองค์ตรัสว่า..
สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามแรงกรรม


บางอย่างนี่ แรงกรรมมีกำลังมาก
ต่อให้เรามีสมาธิ ทรงฌาน 4
หรือ สมาบัติ 8 ก็ตาม
บางครั้งก็ยั้งตัวไม่ได้
สู้แรงกรรมไม่ไหว

เหมือนเราตกอยู่ใน..
กระแสน้ำที่เชี่ยวกราก
ต่อให้เราตื่นขึ้นมาแล้ว
รู้ว่า..ไม่ดี พยายามฝืน
แต่ฝืนกระแสน้ำที่เชี่ยวกราก ไม่ได้ !

ในวัฏสงสาร
เป็นกระแสวังน้ำวน หมุนวนอยู่
หมู่สัตว์ ก็ติดอยู่ในวังวนตรงนี้
ก็มีแรงกรรมที่ตัวเองได้ก่อไว้
ขับเคลื่อนสิ่งต่าง ๆ

แต่ผู้ที่ฝึกฝน อบรมตนเอง
จนมีจิตใจที่ตั้งมั่น
ก็จะพอมีกำลังที่จะยั้งตัวเองอยู่ได้
ตรงนี้จึงสำคัญมาก

ถ้าเราไม่มีกำลังของใจเรา..ที่ตั้งมั่น
ก็ยิ่งไหลไปตามกระแส

บางคนรู้ว่า ไม่ดี
ก็พยายามว่ายทวน ต่อสู้
แต่ก็ต้องเข้าใจว่า..
กระแสน้ำแรง และเชี่ยวมาก

ขึ้นอยู่กับเหตุปัจจัย
ที่เราได้บำเพ็ญไว้
ก็ต้องชำระกันไป
ต้องรักษาใจให้ตั้งมั่น
ประคับประคองตนเองอยู่เสมอ

วิบากบางอย่าง
ก็พร้อมที่จะฉุดคร่าเรา
ออกนอกเส้นทาง

วิบากบางอย่าง
เข้ามาขวางมรรค ขวางผลเลย ก็มี
จนกว่าเราจะชำระทุกอย่างหมดสิ้น
จึงจะกลับคืนสู่ความเป็นกลาง
ของธรรมชาติที่แท้จริง

พระพุทธเจ้าจึงตรัสว่า..
พระอรหันต์เท่านัันแหละ
จึงจะเป็นผู้ที่มีสติสมบูรณ์
คือ ไม่มีสิ่งดึงรั้งเหลืออยู่
เรียกว่า ชำระกันหมดแล้ว


เพราะฉะนั้น
ตราบใดที่เรายังเป็น "เสขะบุคคล"
เป็นช่วงที่ต้องบำเพ็ญ
ต้องตั้งอยู่ในความไม่ประมาทอย่างยิ่ง

เราไม่รู้ว่า..
เรามีวิบากอะไรที่จะคอยให้ผล

แต่ปัจจุบัน เรายังมีจิตใจที่ตั้งมั่นอยู่
ก็ต้องตั้งอยู่ในความไม่ประมาท
ปรารภความเพียร ชำระตนอยู่ร่ำไป

วิบากบางอย่าง
ยิ่งกว่าคลื่นสึนามิ ที่ซัดทุกอย่างให้พัง
วันนี้เราสนใจปฏิบัติ
เราปรารถนาการพ้นทุกข์

แต่เมื่อวิบาก ที่เป็นอกุศลธรรม
บางครั้งให้ผลนี่ ความปรารถนานี้
หายไปหมดจากชีวิตเราเลย
เราอาจจะหลงผิด จนวนไปสู่ด้านมืดเลยก็ได้

เพราะฉะนั้น พระพุทธเจ้าจึงตรัสว่า..
ให้ตั้งอยู่ใน ความไม่ประมาท
ถึงแม้ชำระตนหมดจดแล้ว
เป็น "อเสขะบุคคล"
พระองค์ ก็ยังตรัสบอกว่า..
ให้ตั้งอยู่ในความไม่ประมาท


เพราะว่า ตราบใดที่เรายังมีกายภาพอยู่
ถึงแม้เป็นพระอรหันต์ มีจิตบริสุทธิ์แล้ว

ก็ไม่มีพระอรหันต์รูปไหน
ที่อยู่ในความประมาท
ก็ตั้งอยู่ในความไม่ประมาทล้วน ๆ

ตอนที่พระองค์จะเสด็จดับขันธปรินิพพาน
พระองค์จึงตรัสเป็นพระดำรัสสุดท้ายว่า..

"เธอทั้งหลาย
สังขารทั้งหลาย ไม่เที่ยงหนอ
มีความเกิดขึ้น ย่อมเสื่อมสลายไป
เป็นธรรมดา


เธอทั้งหลาย
จงยังความไม่ประมาท
ให้ถึงพร้อมเถิด"


ความประมาท เป็นหนทางแห่งความตาย
ในระดับเรียกว่า.. ทุกขณะจิตเลยทีเดียว

ตราบใดที่ยังมีวิบาก ก็มีหนี้อยู่
เราไม่รู้ว่า วันไหน เวลาไหน จะส่งผล

วันนี้ เราอาจจะสงบ ระงับ เบา สบาย
แต่อีกวันหนึ่ง เราอาจจะ
เต็มไปด้วยความเร่าร้อน
ไม่สามารถตั้งสมาธิ ตั้งสติได้เลยก็ได้

การเจริญกายคตาสติ
พระองค์อุปมาถึง..
มีบุรุษคนหนึ่ง
เอาหม้อวางอยู่บนศีรษะ
เต็มไปด้วยน้ำทั้งหม้อเลย

แล้วก็ต้องเดินไป
โดยมีมัจจุราช พญาเพชฌฆาต
ตามอยู่ข้างหลัง

ถ้าเธอทำหม้อที่บรรจุน้ำบนหัว
หลุดออกแม้สักนิดนึง
จะถูกแทงให้ตาย

ว่ายากหรือไม่ ?
ต้องประคองขนาดไหน


ไม่ใช่แค่นั้นนะ
ต้องเดินไปท่ามกลาง
ฝูงนางงามทั่วปฐพี

ก็คิดดูนะ
มีสิ่งดึงดูดอีกมาก
ต้องสำรวมขนาดไหน ?
ต้องประคองกายคตาสติขนาดนั้น
ตั้งอยู่ในความไม่ประมาท

ให้พิจารณา..
กลับมาทบทวนตัวเอง
เราไปถึงจุดนั้นหรือยัง ?

ถ้ายังไม่ถึงจุดนั้น
อย่าไปชะล่าใจว่า..เราไม่ประมาทแล้ว

นั่นคือ ระดับวาระจิตเลยนะ
ทุกขณะจิต ไม่เผลอจากสติสัมปชัญญะ
สำรวมตนเองอย่างยิ่ง

เพราะฉะนั้น ก็หมั่นทบทวนตัวเอง
ให้ตั้งอยู่ในความไม่ประมาทเนือง ๆ
ปรารภความเพียรอยู่เนือง ๆ

ตราบใดที่เรา
ยังติดอยู่ในวังวน อยู่ในวัฏฏะ
จะประมาทใด ๆ ไม่ได้ทั้งสิ้น

ถึงแม้ว่า เราจะชำระหมดจดแล้ว
ไม่มีผู้ที่หมดจดแล้วประมาทหรอก
มีแต่ผู้ที่อยู่ในสติสมบูรณ์
ก็คือ พ้นออกไปจากโลก
ไม่กลับเข้ามาในกระแสของโลกอีก

ถ้าเรายังกลับมาสัมผัสกระแสของโลกอีก
ยังไปข้องอยู่กับเรื่องของโลก
แสดงว่า เรายังตั้งอยู่ในความประมาทอยู่
อันนี้เป็นตัวชี้วัดง่าย ๆ เลย

ผู้ที่ตื่นแล้ว พ้นแล้ว
ท่านพ้นออกไปจากวังวนของวัฏฏะ
เพราะวัฏฏะ คือ กระแสน้ำที่เชี่ยวกราก
พร้อมที่จะฉุดคร่าเราไป อยู่ตลอดเวลา

เวลาเราตกไปในกระแสน้ำที่เชี่ยวแล้วเนี่ย
ไม่ง่ายเลย ที่จะว่ายข้ามฝั่งขึ้นมา
แล้วรอดพ้นจากวังวนตรงนั้น

เพราะฉะนั้น ธรรมทั้งหลายทั้งปวง
พระองค์จึงตั้งรวมลงที่..
ตั้งอยู่ในความไม่ประมาท

แล้วให้เข้าใจคำนี้ให้ดีว่า..
เป็นความไม่ประมาทอย่างยิ่ง
ในระดับทุก ๆ ขณะจิตเลยนั่นเอง

ธรรมบรรยาย โดย พระมหาวรพรต กิตฺติวโร
พระวิปัสสนาจารย์










  ขอบคุณข้อมูลและรูปภาพจาก Facebook  เดินจิต-ตื่นรู้ สู่ อมตธรรม
https://www.facebook.com/duenjitpage/
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กันยายน 22, 2022, 07:51:24 am โดย ยาใจ »