ผู้เขียน หัวข้อ: ขอเชิญชม * รวม * VDO พระธรรมเทศนา โดย พระอาจารย์ชยสาโร *ล่าสุด*  (อ่าน 65862 ครั้ง)

ยาใจ

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 14201
    • ดูรายละเอียด
2563.02.02 ไม่มีเจ้าของ  โดย พระอาจารย์ชยสาโร





2563.02.02
นำสมาธิภาวนา โดย พระอาจารย์ชยสาโร






พระธรรมเทศนา ปฏิบัติธรรมบ้านบุญวันอาทิตย์

โดย พระอาจารย์ชยสาโร

ณ บ้านบุญ ปากช่อง นครราชสีมา

วันที่  ๒  กุมภาพันธ์   ๒๕๖๓




  ขอขอบคุณข้อมูล Youtube  ธรรมะ โดย พระอาจารย์ชยสาโร/ Dhamma by Ajahn Jayasaro

  ชมทั้งหมดได้ที่ ===> https://www.youtube.com/user/ThawsiSchool/videos
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กุมภาพันธ์ 06, 2020, 07:04:03 pm โดย ยาใจ »

ยาใจ

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 14201
    • ดูรายละเอียด
ถ่ายทอดสด: พระธรรมเทศนาปฏิบัติธรรมวันมาฆบูชา วันเสาร์ที่ ๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๓ โดย พระอาจารย์ชยสาโร





ถ่ายทอดสด: พระธรรมเทศนาปฏิบัติธรรมวันมาฆบูชา

วันเสาร์ที่ ๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๓

ณ ลานพระพุทธรัตนมหาปัญญาประทีป ปากช่อง นครราชสีมา






  ขอขอบคุณข้อมูล Youtube  ธรรมะ โดย พระอาจารย์ชยสาโร/ Dhamma by Ajahn Jayasaro

  ชมทั้งหมดได้ที่ ===> https://www.youtube.com/user/ThawsiSchool/videos
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กุมภาพันธ์ 17, 2020, 01:16:18 pm โดย ยาใจ »

ยาใจ

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 14201
    • ดูรายละเอียด
2563.02.15 เป็นมิตร ไม่พิชิต  โดย พระอาจารย์ชยสาโร





พระธรรมเทศนา วาระงานกุศล ๓ 'ซับเหงื่อโลก'

โดย พระอาจารย์ชยสาโร

ณ  ตึกชาญอิสระ ๒ ห้วยขวาง กรุงเทพฯ

วันเสาร์ที่ ๑๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๓







  ขอขอบคุณข้อมูล Youtube  ธรรมะ โดย พระอาจารย์ชยสาโร/ Dhamma by Ajahn Jayasaro

  ชมทั้งหมดได้ที่ ===> https://www.youtube.com/user/ThawsiSchool/videos
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: เมษายน 01, 2020, 05:49:29 pm โดย ยาใจ »

ยาใจ

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 14201
    • ดูรายละเอียด
2563.02.16 วัคซีนจิตใจ โดย พระอาจารย์ชยสาโร





2563.02.16 นำสมาธิภาวนา โดย พระอาจารย์ชยสาโร






พระธรรมเทศนา ปฏิบัติธรรมบ้านบุญวันอาทิตย์

โดย พระอาจารย์ชยสาโร

ณ บ้านบุญ ปากช่อง นครราชสีมา

วันที่ ๑๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๓








  ขอขอบคุณข้อมูล Youtube  ธรรมะ โดย พระอาจารย์ชยสาโร/ Dhamma by Ajahn Jayasaro

  ชมทั้งหมดได้ที่ ===> https://www.youtube.com/user/ThawsiSchool/videos
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: เมษายน 01, 2020, 05:44:36 pm โดย ยาใจ »

ยาใจ

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 14201
    • ดูรายละเอียด
ถ่ายทอดสด : พระธรรมเทศนาปฏิบัติธรรมบ้านบุญ วันอาทิตย์ ๑ มีนาคม ๒๕๖๓






พระธรรมเทศนา ปฏิบัติธรรมบ้านบุญวันอาทิตย์

โดย พระอาจารย์ชยสาโร

ณ บ้านบุญ ปากช่อง นครราชสีมา

วันที่   ๑  มีนาคม   ๒๕๖๓








  ขอขอบคุณข้อมูล Youtube  ธรรมะ โดย พระอาจารย์ชยสาโร/ Dhamma by Ajahn Jayasaro

  ชมทั้งหมดได้ที่ ===> https://www.youtube.com/user/ThawsiSchool/videos
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มีนาคม 06, 2020, 06:29:40 am โดย ยาใจ »

ยาใจ

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 14201
    • ดูรายละเอียด
ธรรมละนิด : " ทำบุญ-ถูกหวย " โดย พระอาจารย์ชยสาโร





ทำบุญอย่างไรให้โชคดีถูกหวยบ้าง?


ถ้าทำบุญอยากได้ มันก็ไม่เป็นบุญ เพราะว่าบุญคือเรื่องการชำระสันดาน ชำระจิตใจ ถ้าทำบุญมีเงื่อนไข ไม่ใช่การทำบุญ ก็เป็นการแลกเปลี่ยน แล้วก็ให้โดยหวังว่าจะได้อะไรเป็นเครื่องตอบแทน ฉะนั้นถ้าสนใจเรื่องการได้เลข แล้วก็ไปฟังเทศน์เพื่อจะได้เลข ก็คงไม่ได้ธรรมะอะไรเท่าไร แล้วจิตใจมันก็จะเป็นบาปมากกว่าบุญ

ทีนี้การที่เราจะถูกลอตเตอรี่ได้เงินได้ทองนั้น จะนำไปสู่ความสุขจริงหรือเปล่า ถ้าคนเราไม่รักษาศีล คนเราไม่รู้จักบริหารอารมณ์ตัวเอง ถึงจะได้เงินได้ทองแล้ว ก็คงไม่ได้ทำให้มีความสุขอะไรมากมาย อาจจะเป็นช่วงแรกๆ แต่ไม่นานแล้วเงินก็จะหมดไป แล้วก็อาจจะยิ่งแย่กว่าเดิม เพราะฉะนั้นการได้รางวัล การได้ถูกหวย นี่ไม่ใช่ว่าการแก้ปัญหาชีวิตอย่างที่คิดกัน ก็ลองอ่านประวัติของคนที่เคยถูกหวย ว่าหลังจากรวยเป็นอย่างไร ส่วนมากก็จะผิดหวัง ที่สำคัญพอญาติพี่น้องรู้ว่ารวยแล้ว นี่…วุ่นวายเลย เพราะฉะนั้นก็มีทั้งข้อดีข้อเสีย

แต่ถ้าทำบุญอย่างไม่หวังสิ่งตอบแทน เราก็ได้อริยทรัพย์อยู่ในใจซึ่งไม่มีใครแย่งชิงได้ แล้วก็ไม่มีวันจะหายจากเราได้ มีแต่เพิ่มขึ้นทุกวัน

พระอาจารย์ชยสาโร









  ขอขอบคุณข้อมูล Youtube  ธรรมะ โดย พระอาจารย์ชยสาโร/ Dhamma by Ajahn Jayasaro

  ชมทั้งหมดได้ที่ ===> https://www.youtube.com/user/ThawsiSchool/videos


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: เมษายน 01, 2020, 05:49:50 pm โดย ยาใจ »

ยาใจ

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 14201
    • ดูรายละเอียด
2563.02.08 ชำระใจให้สะอาด โดย พระอาจารย์ชยสาโร





พระธรรมเทศนา เนื่องในวันมาฆบูชา

โดย พระอาจารย์ชยสาโร

ณ ลานพระพุทธรัตนมหาปัญญาประทีป ปากช่อง นครราชสีมา

วันที่ ๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๓







  ขอขอบคุณข้อมูล Youtube  ธรรมะ โดย พระอาจารย์ชยสาโร/ Dhamma by Ajahn Jayasaro

  ชมทั้งหมดได้ที่ ===> https://www.youtube.com/user/ThawsiSchool/videos
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: เมษายน 01, 2020, 05:50:05 pm โดย ยาใจ »

ยาใจ

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 14201
    • ดูรายละเอียด
2563.01.25   พร้อมรับมือ  โดย พระอาจารย์ชยสาโร





2563.01.25 นำสมาธิภาวนา โดย พระอาจารย์ชยสาโร






พระธรรมเทศนา โดย พระอาจารย์ชยสาโร

ในวาระปฏิบัติธรรมบ้านพอ ประจำปี  ๒๕๖๓

ระหว่างวันที่ ๒๕ มกราคม - ๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๓

ณ บ้านพอ แม่ริม เชียงใหม่







  ขอขอบคุณข้อมูล Youtube  ธรรมะ โดย พระอาจารย์ชยสาโร/ Dhamma by Ajahn Jayasaro

  ชมทั้งหมดได้ที่ ===> https://www.youtube.com/user/ThawsiSchool/videos
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มิถุนายน 05, 2020, 09:23:10 am โดย ยาใจ »

ยาใจ

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 14201
    • ดูรายละเอียด
2563.01.26   ให้กำลังใจตัวเอง  โดย พระอาจารย์ชยสาโร





2563.01.25 นำสมาธิภาวนา โดย พระอาจารย์ชยสาโร






นำสมาธิภาวนา โดย พระอาจารย์ชยสาโร

ในวาระปฏิบัติธรรมบ้านพอ ประจำปี  ๒๕๖๓

ระหว่างวันที่ ๒๕ มกราคม - ๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๓

ณ บ้านพอ แม่ริม เชียงใหม่








  ขอขอบคุณข้อมูล Youtube  ธรรมะ โดย พระอาจารย์ชยสาโร/ Dhamma by Ajahn Jayasaro

  ชมทั้งหมดได้ที่ ===> https://www.youtube.com/user/ThawsiSchool/videos
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: เมษายน 15, 2020, 03:22:54 pm โดย ยาใจ »

ยาใจ

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 14201
    • ดูรายละเอียด
  เมื่อโลกเดือดร้อน : อยู่บ้านกับครอบครัว   โดย พระอาจารย์ชยสาโร




  ด้วยสถานการณ์ที่คนถูกจำกัดอยู่ในบ้าน ทำให้ชีวิตประจำวันเปลี่ยนไปอย่างมาก เราควรทำอย่างไรเพื่อประคับประคองความสัมพันธ์ของคนในครอบครัวให้ผ่านสถานการณ์นี้ไปได้ ?

ทุกคนต้องดูแลกาย ดูแลวาจา ดูแลใจของตัวเอง ดูแลกายก็คือขังอยู่ในบ้านนานๆ มันก็อึดอัด เครียด มันก็ต้องมีการออกกำลังกาย จะออกกำลังกายหน้าจอร่วมกันก็สนุกดี หรือว่าจะออกกำลังกายส่วนตัว ถ้ามีเครื่องออกกำลังกายในบ้านก็จะดีมากแต่ไม่จำเป็น ก็หาทางบริหารกายให้รู้สึกผ่อนคลายทางกาย ส่วนการกินอาหาร การทานอาหารที่เป็นประโยชน์ตามเวลา คือไม่ใช่ว่าไม่มีอะไรทำ ไม่มีที่ต้องไป ก็นั่งกินเล่นอย่างนั้นอย่างนี้ ซึ่งมันมีผลเสียทั้งต่อสุขภาพกายและต่ออารมณ์ ทานอาหารที่เป็นประโยชน์ตรงตามเวลา พักผ่อนตามเวลา คือไม่ใช่ว่า เออ...ไม่ต้องไปเรียนพรุ่งนี้ ไม่ต้องอะไรแล้ว ไปดูหนังไปดูละคร ถึงตี ๒ ตี ๓ อะไรอย่างนี้ ก็พยายามรักษาเวลาเดิมไว้ อันนี้เรื่องการดูแลกายก็มี ๓ เรื่องสำคัญ เรื่องการกิน เรื่องการออกกำลังกาย เรื่องการพักผ่อน

ส่วนวาจา อยู่ด้วยกันนี่อารมณ์เรามักจะไม่ค่อยจะดี มีความกังวลอยู่บ้าง มีความรำคาญอยู่บ้าง ดังนั้นก็ต้องสำรวมมากในเรื่องการพูด สุภาษิตคือการพูดที่ดี ก็เป็นโอกาสที่เราจะได้ฝึกเป็นผู้พูดเป็นสุภาษิต สุภาษิตคือพูดสิ่งที่จริง เป็นจริง ที่เป็นประโยชน์ ถูกกาลเทศะ พูดด้วยความหวังดี และพูดอย่างสุภาพอ่อนโยน แต่ละข้อนี่ก็ถือว่าเป็นการฝึก ฝึกตัวเองอย่างดี ฉะนั้นอย่าไปพูดหยาบคาย อย่าไปพูดก้าวร้าว อย่าไปว่ากัน อย่าไปด่ากัน อย่าไปใช้คนรอบข้างเป็นถังขยะ เป็นที่ระบายอารมณ์ เป็นโอกาสฝึกสัมมาวาจาที่ดีมาก

ส่วนจิตใจนั้น ต้องฝึกให้จิตมีวินัย จิตมีวินัยคือจิตที่ไม่หลงใหล ไม่หมกมุ่นในข่าว ไม่หมกมุ่นในความกังวลเรื่องอนาคต เรื่องสุขภาพก็ดี เรื่องอาชีพการงานก็ดี การที่รู้ตัวว่า เออ...นี่ก็เป็นสักแต่ว่าความคิด สักแต่ว่าความกังวล คิดไปทำไม ไม่เกิดประโยชน์อะไร ก็เป็นการเบียดเบียนตัวเองเปล่าๆ นั่นไม่ใช่เก็บกด แต่ว่ารู้ว่า เออ...กำลังคิดในสิ่งที่เป็นพิษเป็นภัยต่อสุขภาพจิต ต่อบรรยากาศในบ้าน วางไว้ วางไว้ก่อน ฉะนั้นเราจะทำได้ไหม ถ้าเราให้เวลาทุกวันกับการเจริญสติ เช่น อยู่กับลมหายใจ หรืออยู่กับคำบริกรรม เช่น พุทโธ อันนี้ก็เป็นการฝึกโดยตรงในการรู้อารมณ์ตัวเองและการปล่อยวางอารมณ์ที่เราไม่ต้องการ ทีนี้ความกลัว ความกังวล ความทุกข์ต่างๆ นั้น อย่าไปหลงใหลกับมัน อย่าไปเก็บกดมัน แต่รู้ โอ้...มันเป็นอย่างนี้นะ แล้วก็วาง รู้แล้วก็วาง

ฉะนั้นเราจะอยู่ด้วยกันก็อยู่ที่กาย อยู่ที่วาจา อยู่ที่ใจ แล้วเราดูใจของเราให้ดี จิตใจของเราเย็น ไม่ร้อน ถ้าเป็นผู้ปกครองก็เป็นสิ่งที่ดี เพราะว่าลูกก็จะเซนซิทิฟ (sensitive) จะไวต่ออารมณ์ของผู้ปกครอง ถ้าหากว่าเราวิตกกังวล เรากลัว เราเครียดมาก มันก็มีผลกระทบต่อลูกมาก อาจจะเป็นผลกระทบในระยะยาว ทำให้ลูกเข้าใจว่า โอ้...โลกนี้มันน่ากลัว แต่ถ้าหากว่าเวลานี้มันผ่านไปแล้ว ความทรงจำของลูกก็มีความรู้สึกว่า เออ...พ่อแม่นี่ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้น พ่อแม่ก็ยังมีสติ ยังใจเย็น ยังอดทน ก็จะเป็นสิ่งที่ประทับใจลูกตลอดชีวิตเขาได้


พระอาจารย์ชยสาโร








  ขอขอบคุณข้อมูล Youtube  ธรรมะ โดย พระอาจารย์ชยสาโร/ Dhamma by Ajahn Jayasaro

  ชมทั้งหมดได้ที่ ===> https://www.youtube.com/user/ThawsiSchool/videos
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: เมษายน 15, 2020, 03:50:44 pm โดย ยาใจ »

ยาใจ

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 14201
    • ดูรายละเอียด
  เมื่อโลกเดือดร้อนเสพข่าวสารอย่างไร  โดย พระอาจารย์ชยสาโร





  มีวิธีฝึกอย่างไรไม่ให้เราเสพข่าวสารมากเกินไป ? 

ที่จริงข่าวนี่ มันไม่ต้องดูบ่อย ดูวันละครั้ง วันละสองครั้ง ก็เป็นสิ่งที่เราต้องระมัดระวัง ก็เป็นสิ่งที่เราอนุญาตให้เข้ามาอยู่ในจิต ให้เข้ามาอยู่ในสมองเรา มันก็มีผลกระทบ ถ้าหากว่าเราจะต้องเช็คดูทุกชั่วโมง สองชั่วโมง ว่ามีการเคลื่อนไหวอย่างไร จำนวนคนติดเชื้อเพิ่มขึ้นกี่คน คือแหล่งข่าวนี่เขาจำเป็นจะต้องมีอะไรทุกชั่วโมงๆ เป็นธุรกิจของเขา แต่ว่าเราไม่ต้องรับรู้ทั้งหมด เพราะดูข่าวบ่อยๆ นี่มันทำให้อารมณ์เราเสีย

เพราะฉะนั้นก็อยากให้เรากำหนดเวลาให้กับตัวเอง จะเป็นเช้าวันละครั้ง ก็ที่จริงก็พอแล้ว แต่ถ้าเป็นวันละสองครั้ง เช้ากับเย็น มันก็น่าจะได้ คือดูข่าวนี่คือ ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในแต่ละวันนี่มันก็ไม่มาก ไม่ใช่สิ่งที่ควรจะรู้ ต้องรู้ทันที ฉะนั้นเราควรจะเอาสุขภาพจิตเราเป็นหลักมากกว่า ดูแลจิตใจ ถ้าตั้งโจทย์กับตัวเองว่าดูข่าวมากน้อยแค่ไหน หนึ่ง จะได้รู้ในสิ่งที่ควรรู้ สอง ไม่เสียสุขภาพจิต

พระอาจารย์ชยสาโร








  ขอขอบคุณข้อมูล Youtube  ธรรมะ โดย พระอาจารย์ชยสาโร/ Dhamma by Ajahn Jayasaro

  ชมทั้งหมดได้ที่ ===> https://www.youtube.com/user/ThawsiSchool/videos
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: เมษายน 15, 2020, 03:49:29 pm โดย ยาใจ »

ยาใจ

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 14201
    • ดูรายละเอียด
  เมื่อโลกเดือดร้อนวัยรุ่นกับโซเชียลมีเดีย   โดย พระอาจารย์ชยสาโร





   เห็นวัยรุ่นอยู่บ้านแล้วติดโซเชียลมีเดีย หรือเอาแต่ดูหนังออนไลน์ จะทำอย่างไรให้พวกเขารู้จักแบ่งเวลามาทำกิจกรรมที่มีประโยชน์บ้าง ?

เรื่องพรรค์นี้อาตมาว่าในครอบครัวแต่ละครอบครัวต้องนั่งประชุมกัน สมาชิกครอบครัวทุกคน ผู้ปกครอง ถ้ามีปู่ย่าตายายอยู่ ก็เชิญท่านมานั่งฟังด้วย นั่งพูดด้วยกับลูกหลานทุกคนว่า ช่วงนี้เรามีเวลามาก แล้วจะตั้งตารางอย่างไร ให้มันพอดีสำหรับคนทุกคน เรามีอะไรบ้างที่เป็นสิ่งที่สำคัญ สำหรับเราที่ต้องมีในตาราง ส่วนเรื่องโซเชียลมีเดียก็มี เรื่องของการเรียนรู้ก็มี เรื่องเวลาส่วนตัว เวลาส่วนรวม ก็คุยๆ กันแล้วก็หาแนวทางที่จะเป็นที่ยอมรับของทุกคน แล้วทำตามตาราง

เรื่องโซเชียลมีเดีย เรื่องดูหนังออนไลน์ อะไรพวกนี้ ไม่ขัดข้อง แต่อยากให้มีการควบคุมเวลาบ้าง เพราะถ้าดูนานๆ ไปมันก็มีผลกระทบต่อสุขภาพจิตใจ ถ้าสุขภาพจิตใจของคนใดคนหนึ่งในครอบครัวเสีย ทำให้เกิดอาการซึมเศร้าหรือว่าวิตกกังวล หรือก้าวร้าว แล้วมันก็มีผลกระทบต่อส่วนรวมในบ้านทันที

ทีนี้ที่สำคัญมากสำหรับวัยรุ่นคือพ่อแม่ต้องเป็นตัวอย่าง ถ้าพ่อแม่ติดโซเชียลมีเดีย แล้วก็จะหวังว่าลูกโดยเฉพาะวัยรุ่นจะไม่ติดได้อย่างไร ก็ต้องเป็นตัวอย่างที่ดี เรื่องการเรียนออนไลน์ ถ้ามีเวลาทำ ไม่ต้องทำงาน ที่บ้านก็มีเวลาว่าง ก็ลองเรียนด้วยกัน ลูกอยากเรียนอะไรบ้างไหม คืออย่างที่ว่าทุกวันนี้ออนไลน์มีคอร์ส มีอะไรมากมาย ก็เรียนด้วยกัน เรียนสักชั่วโมง แล้วก็ออกกำลังกายด้วยกัน ทำกับข้าวด้วยกัน ก็ให้มีการสลับระหว่างการเรียนรู้กับการพักผ่อน กับการบันเทิง คือไม่ให้เข้มงวดจนเกินไป แต่ว่ามันต้องเป็นที่ยอมรับ แล้วต้องมีความสมัครใจของคนทุกคน

สิ่งที่ช่วยได้คือเวลาเราให้เด็กวัยรุ่นมีทางเลือก คือไม่ใช่ว่าผู้ใหญ่สั่ง หรือว่าคุณพ่อคุณแม่สั่ง แต่บอกว่าช่วงนี้เราจะเป็นช่วงเรียนรู้ ลูกอยากจะเรียนรู้ทางด้านนี้ไหม หรือทางด้านนี้ไหม คือภายในกรอบที่กว้างๆ หน่อย ซึ่งเราเป็นผู้กำหนด ก็ให้ลูกมีส่วนเลือกสิ่งที่ถูกใจ


พระอาจารย์ชยสาโร








  ขอขอบคุณข้อมูล Youtube  ธรรมะ โดย พระอาจารย์ชยสาโร/ Dhamma by Ajahn Jayasaro

  ชมทั้งหมดได้ที่ ===> https://www.youtube.com/user/ThawsiSchool/videos
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: เมษายน 15, 2020, 03:49:08 pm โดย ยาใจ »

ยาใจ

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 14201
    • ดูรายละเอียด
  เมื่อโลกเดือดร้อนกิจกรรมสำหรับลูก  โดย พระอาจารย์ชยสาโร





  เมื่อเด็กๆ ต้องอยู่บ้านในขณะที่เราก็ต้องทำงานที่บ้านด้วย จะมีกิจกรรมพัฒนาการเรียนรู้อะไรที่ทำร่วมกันได้บ้าง ?

เป็นช่วงเวลาที่ผู้ปกครองคงจะเครียดเหมือนกัน ฉะนั้นก็สำคัญมากว่าเช้าต้องหาเวลาส่วนตัว ทำวัตรสวดมนต์นั่งสมาธิ ตั้งสติแต่เช้า เสร็จแล้วในชีวิตประจำวันก็ต้องตั้งตาราง ซึ่งอาจจะต้องนั่งคุยกันทุกคนในครอบครัวว่าจะแบ่งเวลาในแต่ละวันอย่างไร ที่สำคัญก็คือเรื่องการทานข้าว การนอนหลับ อะไรพวกนี้

สำหรับเด็กๆ ก็ให้เหมือนเดิม อย่าให้เปลี่ยนแปลง อย่าให้ละเลยเรื่องนี้ ส่วนเวลาอื่นก็แล้วแต่ว่าเด็กเค้ามีเรียนออนไลน์บ้างไหม หรือว่าจะเป็นหน้าที่ของผู้ปกครอง ผู้ปกครองมีงานต้องทำมากน้อยแค่ไหน แต่ว่าหลักใหญ่ก็คือการสลับในเรื่องการเรียนรู้ ในเรื่องการบันเทิง ในเรื่องเวลาส่วนตัวของคนทุกคน อย่างเด็กวัยรุ่นนี่การติดต่อกับเพื่อนเป็นเรื่องสำคัญมาก ขอให้เค้าเล่นไลน์ เล่นโซเชียลมีเดียบ้าง อาจจะมากกว่าวันธรรมดาก็ได้ ยืดหยุ่น

ส่วนกิจกรรมร่วมก็ลองคุยกันว่า ทุกคนสนใจในทางด้านไหน ที่จะดีมากคือการออกกำลังกายพร้อมกัน ตอนนี้ก็มียูทูบ คลิปยูทูบ อย่างเช่นของ โจ วิคส์ (Joe Wicks) คนอังกฤษ ที่สามารถทำหน้าจอได้ทั้งครอบครัวก็สนุกดี ก็มีวิธีที่จะผ่อนคลายความเครียดด้วยการออกกำลังกาย การเล่นเกมส์ร่วม ส่วนการเรียนรู้ อาจจะทำกับข้าวด้วยกัน สอนเรื่องการทำกับข้าว หรือว่าถ้ามีในเรื่องคอมพิวเตอร์ หรือเรื่องการงานที่คุณพ่อท่านถนัด ที่สามารถสาธิตสอนลูกได้ ก็จะเป็นการดี คือสำคัญที่มีการสลับกัน ระหว่างเรื่องที่ต้องตั้งใจทำ กับที่ผ่อนคลายสบายๆ ไม่ให้ใครเครียดจนเกินไป ทีนี้ถ้าเป็นได้ ถ้ามีเวลาทำวัตรสวดมนต์ เจริญสติ นั่งสมาธิเป็นครอบครัวนี่จะสุดยอดเลย ไม่ต้องเช้ามาก ก็มีเวลาทั้งวัน สัก ๙ โมง ๑๐ โมงเช้า นี่ทำวัตรเช้าได้ แล้วตอนเย็น เวลาไหนที่เราสะดวก ไม่ต้องเป็นเวลาที่เคยทำในวัด แต่ถ้ามีกิจกรรมเจริญสติเป็นครอบครัว ก็เป็นวิธีที่เราจะได้ฝึกจิตให้มีวินัย ฝึกจิตให้รู้จักปล่อยวางความคิดวิตกกังวลต่างๆ เป็นการเรียนรู้ในวิชาชีวิตหลายวิชาในเวลาเดียวกัน ถ้าไม่ถนัดก็อาศัยพอดแคสต์ อาศัยยูทูบได้อีก แล้วก็มีครูบาอาจารย์หลายท่านที่ท่านเคยอบรมสมาธิ ๑๐ นาที ๑๕ นาที ทางยูทูบซึ่งเปิดฟังได้ ก็ลองหาแนวทางที่เหมาะกับครอบครัวของเรา

พระอาจารย์ชยสาโร








  ขอขอบคุณข้อมูล Youtube  ธรรมะ โดย พระอาจารย์ชยสาโร/ Dhamma by Ajahn Jayasaro

  ชมทั้งหมดได้ที่ ===> https://www.youtube.com/user/ThawsiSchool/videos
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: เมษายน 15, 2020, 03:51:24 pm โดย ยาใจ »

ยาใจ

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 14201
    • ดูรายละเอียด
  เมื่อโลกเดือดร้อนสอนลูกเรื่องโควิด-19   โดย พระอาจารย์ชยสาโร




  เราจะสอนลูกเกี่ยวกับสถานการณ์ปัจจุบันว่าอย่างไรดี ? 

ถ้าจะสอนลูกก็คงแล้วแต่อายุของลูก วุฒิภาวะของลูก ก็พยายามพูดให้ชัดเจน แล้วเปิดโอกาสให้เด็กได้ถามว่าเค้ามีข้อสงสัยอะไรบ้าง ถ้าเราอธิบายตรงตามความเป็นจริง แต่ไม่ต้องพูดรายละเอียดมาก แล้วก็ระวังอย่าให้พูดในแง่ที่ว่า มันน่ากลัวอย่างนั้น มันน่ากลัวอย่างนี้ แต่ในขณะเดียวกัน ไม่ต้องพูดแต่ปลอบใจอย่างเดียว ก็พูดคุยทำความเข้าใจเท่าที่รู้ได้

อย่างเช่นเรื่องของวัคซีน เรื่องของยารักษาอะไรต่างๆ เราก็ยังไม่ทราบว่าจะได้เมื่อไหร่ แต่นักวิทยาศาสตร์ทั่วโลกกำลังค้นคว้า แล้วก็สิ่งที่เราทุกคนต้องขยัน ต้องไม่เบื่อก็เรื่องการล้างมือ เรื่องการไม่จับหน้าตัวเอง อันนี้ก็เป็นเกมส์ครอบครัวได้ ว่าวันหนึ่งใครจะจับหน้าตัวเองน้อยที่สุดก็เก็บคะแนน ก็ดูกลายเป็นเรื่องสนุกไป แล้วก็เรื่องการเว้นระยะห่าง ถ้าออกไปข้างนอกในเวลาจำเป็น ก็เป็นที่รู้กันว่าหนุ่มสาวบางทีเค้าก็รำคาญ ก็คือเค้าต้องเปลี่ยนวิถีชีวิตเค้าหลายอย่าง เค้าเสียดาย แล้วก็เค้ามองว่าโรคนี้เป็นโรคคนแก่ เค้าเองเป็นเค้าก็คงไม่เป็นไร ส่วนเราก็ต้องอธิบายด้วยว่า ใช่ เราอาจจะไม่เป็นไร แต่เราก็ยังแพร่เชื้อได้ แพร่เชื้อให้คุณพ่อคุณแม่ ปู่ย่าตายาย แพร่ให้เพื่อน แล้วเพื่อนติดเชื้อจากเราก็ทำให้พ่อแม่ปู่ย่าตายายของเพื่อนติดได้ อันนี้มันติดง่ายมาก ซึ่งตัวเราเป็นมากเป็นน้อยนี่ก็เป็นแค่ประเด็นเดียว แต่เราต้องระวัง เราก็ไม่สร้างทุกข์ให้กับคนอื่น โดยเฉพาะผู้สูงอายุ แต่ถึงจะไม่สูงอายุ คนอายุน้อยก็เริ่มเป็นเพิ่มมากขึ้น คือก็ไม่ใช่ว่าจะปลอดภัย

ฉะนั้นพูดคุยพอสมควร ไม่ต้องพูดมาก ไม่ต้องเอาเรื่องนั้นเรื่องนี้มาพูดทั้งวันก็เพิ่มความเครียด ก็มีการอัพเดทมีการสรุปวันละครั้งสองครั้งถ้าหากว่ามีอะไรที่ควรจะรับทราบกัน แล้วก็คุยกับลูกเรา


พระอาจารย์ชยสาโร








  ขอขอบคุณข้อมูล Youtube  ธรรมะ โดย พระอาจารย์ชยสาโร/ Dhamma by Ajahn Jayasaro

  ชมทั้งหมดได้ที่ ===> https://www.youtube.com/user/ThawsiSchool/videos
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: เมษายน 21, 2020, 07:03:11 pm โดย ยาใจ »

ยาใจ

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 14201
    • ดูรายละเอียด
  เมื่อโลกเดือดร้อน ความเครียดในครอบครัว    โดย พระอาจารย์ชยสาโร




  ในช่วงเวลาที่มีความเครียดวิตกกังวลในครอบครัว ซึ่งอาจเกิดจากความเจ็บป่วยของคนในครอบครัวหรือผลกระทบทางเศรษฐกิจ
เราควรทำอย่างไร ?


ชีวิตเราไม่ว่าช่วงวิกฤตนี้หรือว่าปกติธรรมดา เราก็จะมีอำนาจบังคับบัญชา อำนาจในการปรับปรุงแก้ไขในการจัดการส่วนหนึ่ง แล้วก็ยังจะมีอีกส่วนหนึ่งที่ไม่มีอำนาจ มันเหลือวิสัย แล้วผู้มีปัญญาก็ต้องแยก คือไม่ให้จิตใจไปหมกมุ่น ไปคิดปรุงแต่งในสิ่งที่แก้ไม่ได้ หรือทำไม่ได้ แต่ให้จิตใจจดจ่ออยู่กับสิ่งที่ทำได้

ในเวลานี้สิ่งที่ทำได้ก็น้อยลง สิ่งที่ทำไม่ได้ก็เพิ่มมากขึ้น ก็ทำให้เครียด สิ่งที่จะช่วยได้ก็คือการเจริญสติ พอจิตกำลังจะปรุงแต่งด้วยความวิตกกังวลในเรื่องตัวเองเรื่องครอบครัว เรื่องความเจ็บไข้ได้ป่วยหรือว่าเรื่องการงาน กลัวตกงาน เศรษฐกิจไม่ดี ต่อไปจะอยู่ได้อย่างไร สิ่งเหล่านี้ยังเป็นเรื่องไม่แน่ไม่นอน แล้วเป็นสิ่งที่เราคิดเท่าไหร่ก็ไม่ได้เกิดประโยชน์อะไรในช่วงนี้ เพราะฉะนั้นเราวาง เราวาง เราวาง แล้วก็กลับมาอยู่ในปัจจุบัน

เมื่อเราอยู่ด้วยกันอย่างนี้แล้ว เมื่อเป็นเช่นนี้แล้ว ทำอย่างไรให้มันดีที่สุด มันมีโอกาสที่จะได้ข้อดีจากข้อเสีย จากปัญหา เป็นโอกาสที่จะได้อะไรบ้างไหมที่จะเป็นประโยชน์สำหรับตัวเองและครอบครัว และการอยู่ด้วยกันก็เป็นโอกาสที่เราจะสร้างความสัมพันธ์ในครอบครัวของเราให้ดีขึ้นก็ได้ หรือปล่อยให้มันเลวลงก็ได้ เพราะก็อยู่ที่ความอดทน ความสำรวม ความระมัดระวังในการแสดงออก ถ้าเรารู้สึกว่ามีอารมณ์ อารมณ์เสีย เราเครียด เรากลัว ต้องระวังที่สุด อย่าเพิ่งใช้คนรอบข้างเป็นถังขยะ อย่าไประบายอารมณ์ เพราะว่าไม่มีที่หลบแล้ว ก็อยู่ด้วยกัน เรื่องการใช้ความรุนแรงทางกายนี่ก็คง หวังว่าจะไม่ต้องกล่าวถึง ขออย่าให้มีเป็นอันขาด หรือแม้แต่วาจาที่รุนแรง ก็เป็นโอกาสที่จะฝึกในการระงับในการปล่อยวางในเรื่องนี้ ถ้ามองในแง่การสื่อสาร ในการรู้จักพูด รู้จักเป็นกัลยาณมิตรต่อกันและกัน เป็นเพื่อนที่ดีต่อกันและกันในครอบครัว อันนี้จะเป็นโอกาสที่หาได้ยาก หลายคนนี่ก็จะชอบบ่นว่าไม่ค่อยมีเวลากับครอบครัว ไม่ค่อยมีเวลากับลูก นี่ก็มีเวลาแล้ว ก็ให้เวลานั้นเป็นเวลาที่มีค่า เมื่อเวลาวิกฤตนี้ผ่านไปแล้ว เมื่อระลึกถึงในอนาคตก็จะมีความรู้สึกว่า โห... มันแย่มาก แต่อย่างน้อยเราก็ยังได้อย่างนั้น อย่างน้อยเราก็ยังได้อย่างนี้ ก็เป็นสิ่งที่ดีที่ได้จากสิ่งที่ไม่ดี



พระอาจารย์ชยสาโร








  ขอขอบคุณข้อมูล Youtube  ธรรมะ โดย พระอาจารย์ชยสาโร/ Dhamma by Ajahn Jayasaro

  ชมทั้งหมดได้ที่ ===> https://www.youtube.com/user/ThawsiSchool/videos
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: เมษายน 21, 2020, 07:10:31 pm โดย ยาใจ »