สาระธรรม,ความรู้ที่เป็นประโยชน์ > บทความธรรม

✿ สิ่งที่หาได้ยากในโลก - พระราชภาวนาวชิรญาณ วิ.(เขมรังสี ภิกขุ)

(1/4) > >>

ยาใจ:


❁   ท่านสุเมธดาบส
ได้เห็นพุทธลีลาของพระพุทธเจ้าแล้ว
เกิดความชื่นชมเลื่อมใสยิ่งนัก
เมื่อพระองค์ทรงเสด็จมาถึง
และได้ทอดพระเนตรเห็นสุเมธดาบส
นอนราบอยู่เช่นนั้น

❁ พระพุทธเจ้าทีปังกรทรงทราบถึง
ความปรารถนาของสุเมธดาบส
จึงได้ตรัสพยากรณ์แก่พระสงฆ์สาวก
ของพระองค์ว่า "ภิกษุทั้งหลาย
พวกเธอจงดูดาบสผู้มีตบะรุ่งเรืองนี้

❁ ในกัปอันหาประมาณมิได้ระหว่างภัทรกัป
(กัปที่มีพระพุทธเจ้า ๕ พระองค์)

❁ ดาบสผู้นี้จะสำเร็จสมความปรารถนา
ได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้านามว่า "โคคม"
ดาบสผู้นี้จะกำเนิดเป็นโอรสของกษัตริย์
พระบิดานามว่า พระเจ้าสุทโธทนะ
พระมารดานามว่า พระนางสิริมหามายา
แล้วจะสละราชสมบัติออกบวช
ได้บรรลุพระสัมมาสัมโพธิญาณ
ใต้ ต้นพระศรีมหาโพธิ์ (ต้นอัสสัตถะ)

❁ จะมีอัครสาวกเบื้องขวาและซ้าย
ชื่อว่าพระสารีบุตร และ พระโมคคัลลานะ
มี พระอานนท์ เป็นพุทธอุปัฏฐาก
มี พระเขมาเถรี และ พระอุบลวรรณาเถรี
เป็นอัครสาวิกา

❁ จิตตคฤหบดี และ หัตถกะอาฬวกะ
จักเป็นอัครอุบาสก
นางอุตตรา และ นางขุชชุตตรา
จักเป็นอัครอุบาสิกา"


“มหากรุณาจิตของโพธิสัตว์”
สิ่งที่หาได้ยากในโลก
พระครูเกษมธรรมทัต
(หลวงพ่อสุรศักดิ์ เขมรังสี)



✿ ✿ ✿ ✿-----------------------------------------✿ ✿ ✿ ✿
ขอบคุณข้อมูลและรูปภาพจาก Facebook Kanlayanatam
https://web.facebook.com/profile.php?id=100064859643754

ยาใจ:


❁ เมื่อสุเมธดาบสได้ยินเช่นนั้น
ก็มีความปลื้มปีติใจที่ความปรารถนา
ของตนเองจะสำเร็จผลในอนาคต
จากนั้นสุเมธดาบสได้นำดอกไม้ ๘ กำ
พร้อมของหอมน้อมบูชา
แด่พระทีปังกรโดยกระทำประทักษิณ

❁ ในเวลาต่อมาสุเมธดาบส
ได้ใคร่ครวญถึงการสร้างบารมี
ของพระพุทธเจ้าทุกพระองค์
ที่ต้องทรงบำเพ็ญ คือ "ทศบารมี"
หรือบารมี ๑๐ ประการ

ซึ่งบารมีข้อที่ ๑ ก็คือ ทานบารมี

ท่านสุเมธดาบสได้ใคร่ครวญกับตนเองว่า
ท่านจะต้องทรงบำเพ็ญทานบารมี
ดั่งการคว่ำหม้อน้ำ คือท่านจะให้ได้หมด
ทุกสิ่งทุกอย่าง แบบไม่ให้มีสิ่งใดหลงเหลือ
อยู่แก่คนทุกชนชั้น ดุจดังหม้อน้ำที่มีปากคว่ำลง

นี่คือลักษณะของพระโพธิสัตว์


“มหากรุณาจิตของโพธิสัตว์”
สิ่งที่หาได้ยากในโลก
พระครูเกษมธรรมทัต
(หลวงพ่อสุรศักดิ์ เขมรังสี)

ยาใจ:


❁ สุเมธดาบสได้พิจารณาต่อไปถึงบารมีข้อที่ ๒
คือ ศีลบารมี ท่านอุปมาศีลดั่งจามรี
จามรีเป็นสัตว์ที่รักขนหางของมันมาก
มันยอมที่จะตายได้
แต่จะไม่ยอมให้ขนของมันหลุด
ท่านได้ปรารภขึ้นกับตนเองว่า
เราจะรักษาศีลของตน
ดุจดั่งจามรีที่รักษาขนหางของมัน
ซึ่งก็คือ "จตุปาริสุทธิศีล" มี ๔ ประการ ดังนี้

❁  ๑. ปาฏิโมกขสังวรศีล คือ
การสำรวมในศีล ศีลของพระมี ๒๒๗ ข้อ
ศีลของเณรมี ๑๐ ข้อ
ศีลของอุบาสกอุบาสิกามี ๘ ข้อ
ศีลสำหรับฆราวาสมี ๕ ข้อ

❁ ๒. อินทรียสังวรศีล คือ การสำรวมอินทรีย์ ๖
คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ไม่ให้บาปเกิดขึ้น

❁  ๓. อาชีวปาริสุทธิศีล คือ
การเลี้ยงชีพโดยชอบธรรม
มีการแสวงหาปัจจัย ๔ คือ
อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย ยารักษาโรค
ให้ได้มาด้วยความบริสุทธิ์

❁  ๔. ปัจจยสันนิสิตศีล คือ
การพิจารณาปัจจัย ๔ ก่อนบริโภค


“มหากรุณาจิตของโพธิสัตว์”
สิ่งที่หาได้ยากในโลก
พระครูเกษมธรรมทัต
(หลวงพ่อสุรศักดิ์ เขมรังสี)

ยาใจ:


❁  บารมีข้อที่ ๓ ที่ต้องบำเพ็ญต่อไป
คือ เนกขัมมบารมี การออกจากกาม
การออกจากการครองเรือน
ท่านสุเมธดาบสได้อุปมาบารมีข้อนี้
เหมือนดั่งคนที่อยู่ในเรือนจำ
ย่อมจะได้รับทุกข์ทรมาน
ไม่มีความยินดีในเรือนจำนั้นเลย
มีแต่จะหาช่องทางให้หลุดพ้นไป

❁ ข้อนี้ฉันใด เราจะบำเพ็ญบารมี
โดยเห็นภพทั้งหลายดุจดังเรือนจำ
จงมุ่งหน้าที่จะแสวงหาการออกจากภพ

❁ เราเปรียบดังนักโทษในเรือนจำ
ที่ต้องพยายามหาทางออกจากคุก
การจะบำเพ็ญเนกขัมมบารมี
จะต้องเห็นโทษเห็นภัยของการอยู่ในภพ
อยู่ในการครองเรือน ซึ่งมักต้องเสียใจ
กับความผิดหวังหรือความพลัดพราก
ยิ่งเรามีอุปาทานกับสิ่งใด
เราก็ต้องทุกข์กับสิ่งนั้นมาก

❁ มีลูกก็ทุกข์เพราะลูก
มีสามี/ภรรยาก็ทุกข์เพราะสามี/ภรรยา
มีบ้านมีทรัพย์สมบัติก็ทุกข์เพราะบ้าน
เพราะทรัพย์สมบัติ

❁  หากบุคคลไม่ปรารถนาที่จะทุกข์
ก็จงออกจากกาม ออกจากการครองเรือน


“มหากรุณาจิตของโพธิสัตว์”
สิ่งที่หาได้ยากในโลก
พระครูเกษมธรรมทัต
(หลวงพ่อสุรศักดิ์ เขมรังสี)

ยาใจ:


❁  จากนั้นสุเมธดาบสได้พิจารณา
ถึงบารมีข้อที่ ๔ คือ ปัญญาบารมี
ท่านได้อุปมาดั่งพระภิกษุที่เข้าไปบิณฑบาต
มาเพื่อยังอัตภาพจากเคหะบ้านเรือนต่างๆ
ไม่ว่าจะเป็นตระกูลสูงหรือต่ำก็ตาม
เราจงแสวงหาความรู้กับบุคคลผู้มีปัญญา
โดยไม่เลือกตลอดกาลทั้งปวง
คือพยายามแสวงหาบัณฑิต
แล้วสอบถามข้อธรรมจากบัณฑิต
เรียนรู้กับผู้มีความรู้ทุกเมื่อตลอดกาล
เมื่อทำได้ดังนี้จะเป็นผู้ที่มีปัญญาบารมี
เต็มเปี่ยมสามารถสำเร็จพระโพธิญาณได้


“มหากรุณาจิตของโพธิสัตว์”
สิ่งที่หาได้ยากในโลก
พระครูเกษมธรรมทัต
(หลวงพ่อสุรศักดิ์ เขมรังสี)

นำร่อง

[0] ดัชนีข้อความ

[#] หน้าถัดไป

ไปที่เวอร์ชันเต็ม