ผู้เขียน หัวข้อ: ดาวน์โหลด รวม E-Book - พระไพศาล วิสาโล และหนังสือใหม่ที่น่าสนใจ*ล่าสุด*  (อ่าน 96063 ครั้ง)

ยาใจ

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 14238
    • ดูรายละเอียด



คำปรารภ

ชีวิตมิใช่เส้นตรงหรือมีเพียงระนาบเดียว ๆ สิ่งใดที่ดีมีประโยชน์ หากมีมาก ๆ ใช่ว่าประโยชน์จะเพิ่มพูนตามไปด้วย ก็หาไม่ บ่อยครั้งกลับเป็นโทษด้วยซ้ำ สารอาหาร เช่น ไขมัน หรือ น้ำตาล แม้มีคุณค่าต่อร่างกาย แต่หากบริโภคมากไป ก็สามารถทำให้เกิดโรคร้ายได้ ประโยชน์จะเกิดขึ้นได้อย่างแท้จริง ก็ต่อเมื่อบริโภคแต่พอดี หรือสมดุลกับองค์ประกอบอื่น ๆ

ทุกวันนี้เราให้ความสำคัญกับการมีมาก ๆ จนละเลยความพอดีหรือความสมดุล

เช่น มีโภคทรัพย์เหลือล้นแต่อริยทรัพย์กลับมีน้อยนิด ประสบความสำเร็จในการงานแต่ล้มเหลวในชีวิตครอบครัว คิดแต่จะเอาเข้าตัวแต่ไม่ค่อยสละออกไป การตั้งเป้าแสวงหาสิ่งใดสิ่งหนึ่งมากเกินไป จนละเลยสิ่งอื่นที่มีคุณค่าต่อชีวิต เป็นที่มาของความทุกข์และปัญหาต่าง ๆ ทั้งในระดับบุคคลและสังคม กล่าวอีกนัยหนึ่งการมองข้ามความสมดุลในชีวิต ทำให้ผู้คนห่างไกลจากความสุขยิ่งขึ้นทุกที

การสร้างสมดุลในชีวิต อาทิ สมดุลระหว่างการรับกับการให้ ระหว่างกายกับใจ ระหว่างเหตุผลกับอารมณ์ ระหว่างประโยชน์ตนกับประโยชน์ท่าน ฯลฯ เป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยให้ชีวิตมีความผาสุกและเปี่ยมด้วยคุณค่าอย่างแท้จริง อย่างไรก็ตามการสร้างสมดุลในชีวิตมิใช่เรื่องง่าย เพราะคนเรามักมีแนวโน้มที่จะเน้นสิ่งใดสิ่งหนึ่งมากเกินไปจนละเลยสิ่งอื่นที่มีคุณค่าพอ ๆ กัน ความพอดีหรือสมดุลระหว่างสิ่งดีงามสองสิ่งจึงเกิดขึ้นได้ยาก เช่นเดียวกับที่ผู้คนมักจะพลัดจากทางสายกลางซึ่งอยู่ระหว่างความสุดโต่งสองอย่าง จะดำเนินชีวิตให้สมดุลได้จึงจำเป็นต้องมีสติและปัญญา เป็นทั้งเครื่องเตือนใจและแสงสว่างนำทางสู่จุดหมายที่พึงปรารถนา

หนังสือเล่มนี้มีที่มาจากคำบรรยายของอาตมภาพในงานแสดงธรรมและปฏิบัติธรรมครั้งที่ ๒๐ ซึ่งชมรมกัลยาณธรรม ได้จัดขึ้นเมื่อวันที่ ๘ กรกฎาคม ศกนี้ ณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล กรุงเทพ ฯ เพื่อน้อมถวายเป็นพระราชกุศลแด่องค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ชมรมกัลยาณธรรมเห็นว่ามีประโยชน์ น่าพิมพ์เผยแพร่ในโอกาสขึ้นปีใหม่ อาตมภาพจึงได้ปรับปรุงแก้ไข ให้เหมาะแก่การจัดพิมพ์

ขออนุโมทนาชมรมกัลยาณธรรม ที่มีกุศลฉันทะในการจัดงานแสดงธรรมและจัดพิมพ์หนังสือเล่มนี้ หวังว่าหนังสือเล่มนี้จะเอื้อให้ทุกท่านดำเนินชีวิตจนเกิดสมดุลในทางธรรม และเข้าถึงชีวิตที่โปร่งเบา สงบเย็น และเป็นอิสระ แม้รอบตัวจะเต็มไปด้วยความผันผวนปรวนแปรเพียงใดก็ตาม


พระไพศาล วิสาโล

๑๐ ธันวาคม ๒๕๕๔



คลิ๊ก => http://www.visalo.org/book/WordaPdf/shevitSomdul.pdf

ยาใจ

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 14238
    • ดูรายละเอียด



คำปรารภ

เมื่อปลายเดือนพฤศจิกายนศกก่อน สมาชิกชมรมกัลยาณธรรมโดยการนำของคุณหมออัจฉรา กลิ่นสุวรรณ์ ได้พร้อมใจกันมาปฏิบัติธรรมที่วัดป่ามหาวัน (ภูหลง)ต่อเนื่องเป็นปีที่สอง การปฏิบัติธรรมคราวนี้พิเศษกว่าครั้งก่อนตรงที่ทุกคนได้หลีกเร้นไปค้างแรมในป่า แม้บริเวณนั้นจะมีศาลาและเสนาสนะอยู่บ้าง แต่ทั้งคณะเลือกที่จะกางเต๊นท์เป็นที่ค้างแรมตลอด ๕ วัน ท่ามกลางป่าอันสงบสงัด ทั้ง ๆ ที่ส่วนใหญ่ไม่คุ้นเคยกับการมีชีวิตอยู่ในสภาพแวดล้อมดังกล่าวเลยก็ตาม

แม้กิจวัตรประจำวันเริ่มตั้งแต่ตี ๔ ครึ่งด้วยการทำวัตรเช้า แต่ทุกวันเมื่อข้าพเจ้าตื่นขึ้นมาก็ได้เห็นนักปฏิบัติหลายท่านเดินจงกรมอยู่ก่อนแล้วท่ามกลางอากาศที่หนาวเย็น ภาพนักปฏิบัติเดินอย่างสงบสำรวมใต้แสงจันทร์ที่ทอแสงอาบไล้หุบเขานั้นงดงามมาก การปฏิบัติธรรมที่ดำเนินตั้งแต่เช้ามืดไปจนถึงค่ำคืน โดยเน้นการอยู่กับตัวเองและหลีกเลี่ยงการคลุกคลีกันนั้น ไม่ใช่เรื่องง่ายสำหรับผู้ที่มากด้วยภารกิจทั้งงานส่วนตัวและงานส่วนรวม หลายคนต้องต่อสู้กับนิวรณ์ โดยเฉพาะความง่วงและความเหงา และประจักษ์ด้วยตนเองว่าการอยู่กับตนเองนั้นเป็นเรื่องยากไม่น้อย แต่แม้ ๕ วันเป็นเวลาที่ไม่นานนัก หลายคนก็พบว่าเมื่อใดที่เราสามารถอยู่กับตนเองได้นั้นจะมีความสุขอย่างมาก

การที่เราจะอยู่กับตัวเองได้อย่างมีความสุข สิ่งหนึ่งที่ต้องผ่านให้ได้ก็คือความเหงา แต่นักปฏิบัติทุกคนย่อมรู้ดีว่าการเอาชนะความเหงานั้นไม่อาจเกิดขึ้นได้จากการปฏิเสธผลักไสมัน ขืนทำเช่นนั้นมันก็ยิ่งรังควาญเราหนักขึ้น ไม่ต่างจากอันธพาลที่ไล่เท่าไหร่ไม่ยอมไป หรือยิ่งไล่ก็ยิ่งกวนดังนั้นสิ่งที่ควรทำก็คือรับรู้หรือดูมันเฉยๆ ด้วยใจที่เป็นกลาง นั่นคือรับรู้มันด้วยสติ แทนที่จะผลักไสมัน ก็ยอมรับมัน หรือพร้อมต้อนรับมันเสมือนอาคันตุกะที่มาเยี่ยมเยือน เมื่อทำใจคุ้นกับความเหงาจนเป็นมิตรกับมันได้ ความเหงาก็จะกลายเป็นมิตรกับเราเช่นกัน ในเวลาไม่นานมันก็จะจากลาไปเองเยี่ยงอาคันตุกะที่รู้เวลา และมีมารยาทพอที่จะไม่รบกวนเจ้าบ้านผู้มีไมตรีนานเกินไป น่าแปลกก็คือเมื่อเรามองความเหงาเป็นมิตร แทนที่จะมองเป็นศัตรู ความเหงากลับจะมาเยี่ยมเยือนเราน้อยลง และทุกครั้งที่มาเยือน ก็ไม่ได้รบกวนใจเราให้เป็นทุกข์เลย ถึงตอนนั้นเราจะสามารถอยู่กับตัวเองได้อย่างมีความสุขโดยไม่จำเป็นต้องออกไปแสวงหาความสุขจากที่ไหนเลย กล่าวได้ว่า หากเราไม่รู้จักเป็นมิตรกับความเหงาแล้ว ก็ยากที่จะเป็นมิตรกับตัวเองได้ พูดอีกอย่างก็คือ ถ้าอยากเป็นมิตรกับตัวเองก็ต้องเป็นมิตรกับความเหงาให้ได้

หนังสือเล่มนี้เป็นผลพวงจากการปฏิบัติธรรมครั้งนั้น ซึ่งนับว่าเป็นส่วนน้อยเมื่อเทียบกับอานิสงส์ที่เกิดขึ้นกับผู้ปฏิบัติธรรมทั้งคณะ อย่างไรก็ตามอานิสงส์ประการหลังนั้นดูเหมือนว่าจะต้องใช้เวลาอีกสักพักกว่าที่จะถ่ายทอดมาเป็นตัวหนังสือได้ ในชั้นนี้ชมรมกัลยาณธรรมเห็นว่าคำบรรยายของข้าพเจ้าแก่ผู้ปฏิบัติธรรมคณะนี้น่าจะมีประโยชน์ต่อผู้อื่นด้วย จึงได้จัดทำเป็นหนังสือเล่มนี้ขึ้น รวมทั้งช่วยกันตกแต่งหนังสือให้น่าอ่าน ท่านใดที่ได้รับประโยชน์จากหนังสือเล่มนี้ขอโปรดอนุโมทนาบุญและขอบคุณคณะนักปฏิบัติธรรมและชมรมกัลยาณธรรมด้วย

ในส่วนข้าพเจ้าขออนุโมทนาคณะผู้ปฏิบัติธรรมจากชมรมกัลยาณธรรมทุกท่านที่ได้ใช้เวลาอันมีค่าในการบำเพ็ญประโยชน์ท่านโดยไม่ละเลยประโยชน์ตน หลังจากที่ได้ทำงานมาอย่างเต็มที่เพื่อเผยแผ่ธรรมให้ผู้คนได้ประจักษ์อย่างกว้างขวางแล้ว ก็ยังมีเวลาสำหรับการประจักษ์ธรรมอันทรงคุณค่าด้วยตนเอง ซึ่งไม่เพียงนำความสุขมาหล่อเลี้ยงใจแล้ว ยังทำให้เกิดพลังในการบำเพ็ญประโยชน์เพื่อพระศาสนาและมหาชนอย่างต่อเนื่องยั่งยืน ใช่แต่เท่านั้นฐานใจที่หยั่งลึกในธรรมยังช่วยให้การทำงานเพื่อส่วนรวมดังกล่าวเป็นการปฏิบัติธรรมที่นอกจากขัดเกลาจิตใจของตนให้งดงามแล้ว ยังนำความสุขและสงบเย็นมาให้ท่ามกลางสิ่งแวดล้อมอันยุ่งเหยิงและว้าวุ่น ไม่ต้องสงสัยเลยว่าคุณภาพจิตและวิถีชีวิตดังกล่าวเป็นแบบอย่างที่มีความหมายมากมายเพียงใดในยุคปัจจุบัน

พระไพศาล วิสาโล
๑๓ กันยายน ๒๕๕๔

คลิ๊ก => http://www.kallayanatham.com/book/BefriendWithLoneliness.pdf

ยาใจ

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 14238
    • ดูรายละเอียด


คำปรารภ
 
ผู้คนทุกวันนี้มีชีวิตที่สะดวกสบายมากกว่าแต่ก่อนอย่างเทียบกันไม่ได้ แต่ความทุกข์หาได้ลดลงไม่ กลับเพิ่มขึ้นด้วยซ้ำ เมื่อใคร่ครวญให้ดีจะพบว่า ความทุกข์ที่เกิดขึ้นนั้น ส่วนใหญ่หาใช่ความทุกข์กายไม่ แต่เป็นความทุกข์ใจ ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อประสบพบเหตุที่ไม่พึงประสงค์ แม้กระนั้นก็ไม่ได้หมายความว่าเราทุกคนจะต้องเป็นทุกข์เมื่อประสบเหตุดังกล่าวเสมอไป มีคนจำนวนไม่น้อยที่ใจยังเป็นปกติหรืออาจยิ้มได้ด้วยซ้ำเมื่อเกิดเหตุร้ายขึ้นกับตน อะไรทำให้เขาไม่เป็นทุกข์ คำตอบก็คือ เป็นเพราะเขารู้จักวางใจ หรือ “ฉลาดทำใจ”

ด้วยเหตุนี้ในระยะหลังเราจึงได้ยินคำแนะนำเรื่องการ “ทำใจ” มากขึ้น โดยเฉพาะในยามที่เกิดความสูญเสียพลัดพรากหรือเมื่อเจ็บป่วยด้วยโรคร้าย อย่างไรก็ตามหลายคนพบว่าการทำใจเป็นเรื่องยากมาก เข้าทำนอง “พูดง่ายแต่ทำยาก” ส่วนหนึ่งเป็นเพราะไม่ได้ฝึกฝนในด้านนี้จนเป็นนิสัย ใจจึงไม่น้อมตาม หาไม่ก็เป็นเพราะจิตใจถูกครอบงำหรือท่วมท้นด้วยความทุกข์ จึงไม่สามารถออกมามองในมุมใหม่จนได้คิดหรือปล่อยวางความทุกข์ลงได้

แท้ที่จริงการที่คนเราจะออกจากทุกข์ได้ สิ่งสำคัญก็คือการเข้าใจความจริงอย่างลึกซึ้งและแจ่มแจ้ง อีกทั้งดำเนินชีวิตให้สอดคล้องกับความจริง หรือฝึกฝนตนให้มีชีวิตอย่างถูกทำนองคลองธรรม อาทิ การรู้จักแบ่งปัน ช่วยเหลือผู้อื่น เอื้อเฟื้อส่วนรวม และการอบรมบ่มเพาะคุณภาพจิต ให้มีความสงบ ตื่นรู้ ลดละความเห็นแก่ตัว รวมทั้งมีปัญญาแลเห็นความจริงของสิ่งทั้งปวงจนตระหนักว่าไม่มีอะไรที่ยึดติดถือมั่นได้เลย นั่นก็คือวางใจอย่างสอดคล้องกับความจริง ไม่ขวางกระแสแห่งความจริงซึ่งเลื่อนไหลเป็นนิจ กล่าวอย่างสั้น ๆ ก็คือ เข้าถึงธรรม มีธรรมเป็นใหญ่ หรือ “ธรรมาธิปไตย” เมื่อเข้าถึงธรรม มีธรรมเป็นใหญ่ การทำใจอย่างถูกต้องก็จะเกิดขึ้นเอง และมีความไม่ทุกข์เป็นผลที่ตามมา

หนังสือเล่มนี้พูดถึงธรรมในความหมายทั้งที่เป็น “สัจธรรม” และ “จริยธรรม” ซึ่งแยกจากกันไม่ได้ สัจธรรมเป็นสิ่งที่ต้องทำความเข้าใจ ส่วนจริยธรรมเป็นเรื่องที่พึงนำไปปฏิบัติ หากทำได้ทั้งสองประการ การทำใจให้เป็นสุขแม้ประสบทุกข์ ก็เป็นเรื่องไม่ยาก

บทความในหนังสือเล่มนี้ มีที่มาจากหลายแหล่ง มีทั้งข้อเขียนและคำบรรยาย หลายบทเคยรวมพิมพ์เป็นเล่มมาก่อนแล้ว แต่บางบทเพิ่งพิมพ์รวมเล่มเป็นครั้งแรกในที่นี้ ผู้จัดพิมพ์ได้คัดเลือกขึ้นมาตามที่เห็นว่าเหมาะแก่ความสนใจของผู้อ่าน พร้อมกับตั้งชื่อหนังสือเล่มนี้ว่า “ธรรมะเรื่องใหญ่ ทำใจเรื่องเล็ก”

ขอขอบคุณคุณอรรฆพันธ์ อภิรักษ์พงศ์ ที่เป็นทั้งผู้ริเริ่มและเป็นบรรณาธิการให้แก่หนังสือเล่มนี้ หวังว่าหนังสือเล่มนี้จะเป็นประโยชน์แก่ผู้อ่านไม่มากก็น้อย

 

พระไพศาล วิสาโล
๑๕ มกราคม ๒๕๕๕

 

ยาใจ

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 14238
    • ดูรายละเอียด



คำปรารภ

"สุขใจในนาคร" เดิมเป็นชื่อคอลัมน์ที่ข้าพเจ้าเขียนเป็นประจำให้แก่เพื่อนธรรมชาติ อันเป็นวารสารรายสามเดือนของโครงการสมุนไพรเพื่อการพึ่งตนเอง ตั้งแต่ปีพ.ศ.๒๕๓๖ ต่อมาได้มีการตีพิมพ์รวมเล่มเมื่อปี ๒๕๓๘ คำปรารภในการตีพิมพ์ครั้งนั้นได้กล่าวถึงที่มาของข้อเขียนชุดนี้ว่า

"ในโลกที่เศรษฐกิจเข้ามาครอบคลุมแทบทุกส่วนของชีวิต ผู้คนอาจมองไม่เห็นทางเลือกที่ดีไปกว่าการอยู่ในมหานาคร (ตลอดจนเมืองใหญ่ เช่น เชียงใหม่ ขอนแก่น หาดใหญ่ ซึ่งกำลังตามรอยกรุงเทพ ฯ มากขึ้นทุกที) แม้นั่นจะหมายถึงการยอมให้คุณภาพชีวิตถูกกัดกร่อนลงไปเรื่อย ๆ

"อย่างไรก็ตาม แม้ว่ามลพิษตามท้องถนนอาจทำให้ร่างกายเราเสื่อมโทรมลงไป แต่วิถีชีวิตในเมืองก็ไม่จำเป็นว่าจะต้องบีบคั้นบั่นทอนเราให้เป็นทุกข์เสมอไป การวางจิตวางใจอย่างถูกต้อง ดำเนินชีวิตอย่างสมดุล มีมุมมองที่แยบคายและเป็นกุศล อาจช่วยให้เรามีชีวิตที่ผาสุกได้ในท่ามกลางมหานครอันเร่งรีบและเร่าร้อน การพากรุงเทพ ฯ ให้พ้นจากวิกฤตเป็นเรื่องที่ต้องทำอย่างเร่งด่วน แต่ขณะเดียวกันการประคองจิตให้เป็นสุขอยู่ได้ในสภาวะที่บีบคั้นก็มีความสำคัญไม่น้อย

"การดำรงชีวิตอย่างผาสุกในเมืองนั้นทำได้หลายวิธี ผู้รู้ทางด้านนี้ก็มีอยู่มากมาย สุขใจในนาคร เป็นเพียงแต่เสนออีกแนวทางหนึ่งเท่านั้น จากมุมมองของคนที่เกิดและเติบโตในกรุงเทพมหานคร แม้เวลานี้จะมิได้อาศัยอยู่ในกรุงเทพ ฯ แล้ว แต่ก็มักมีเหตุให้ต้องมาร่วมทุกข์ร่วมสุขกับชาวกรุงเทพ ฯ อยู่เนือง ๆ ข้อคิดเห็นในหนังสือเล่มนี้จึงยังคงพอมีประโยชน์อยู่บ้าง อย่างน้อยก็ควรค่าแก่การทดลองกระมัง"

บัดนี้กาลเวลาได้ผ่านมาถึง ๑๗ ปี แม้กรุงเทพ ฯ จะมีความแออัดและอลหม่านมากขึ้น แต่ก็ยังไม่เหลือวิสัยที่เราจะสามารถรักษาใจให้เป็นสุขได้ในมหานครแห่งนี้ จะว่าไปแล้วกลับมีความจำเป็นมากขึ้นด้วยซ้ำที่เราจะต้องดูแลจิตใจของเราให้ดีเพื่อไม่ให้เป็นทุกข์ไปตามสภาพแวดล้อม คงเพราะเหตุนี้สำนักพิมพ์เคล็ดไทยจึงมีความประสงค์ที่จะพิมพ์หนังสือเล่มนี้อีกครั้ง

ในการตีพิมพ์ครั้งนี้นอกจากการปรับเปลี่ยนชื่อบทความบางบทแล้ว ผู้จัดพิมพ์ยังได้ขอเพิ่มบทความสองชิ้นของผู้เขียน ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับมหาอุทกภัยที่เพิ่งเกิดขึ้น เผื่อจะเป็นประโยชน์สำหรับการเตรียมตัวเตรียมใจหากเกิดอุทกภัยครั้งต่อไป เพราะนอกจากรถติดและอากาศเป็นพิษแล้ว ดูเหมือนว่าน้ำท่วมกำลังจะกลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตคนกรุงเทพ ฯ อย่างหนีได้ยาก

ขอขอบคุณคุณอรรฆพันธ์ อภิรักษ์พงศ์ ที่ดำเนินการให้หนังสือเล่มนี้ได้รับการพิมพ์ซ้ำจนสำเร็จเป็นรูปเล่มดังที่เห็น

พระไพศาล วิสาโล
๑ มกราคม ๒๕๕๕

ยาใจ

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 14238
    • ดูรายละเอียด



พุทธศาสนากลางกระแสโลกาภิวัตน์
ทางธรรม

โดยพระไพศาล วิสาโล
พิมพ์ครั้งที่ ๑ ๒๕๕๕


คำปรารภ
ว่ากันว่าโลกาภิวัตน์นั้นมิใช่ของใหม่ หากเกิดขึ้นมาเป็นระยะ ๆ แต่โลกาภิวัตน์อย่างที่เห็นและเป็นอยู่ทุกวันนี้เป็นปรากฏการณ์ที่เพิ่งเกิดขึ้นเมื่อสองทศวรรษนี้เอง อันเป็นผลจากความเปลี่ยนแปลงทางการเมืองระดับโลกและนวัตกรรมทางเทคโนโลยีที่รุดหน้าอย่างรวดเร็ว กระแสโลกาภิวัตน์นั้นได้นำความเปลี่ยนแปลงอย่างมากมาสู่สังคมทุกระดับ และส่งผลกระทบต่อทุกมิติที่มนุษย์เกี่ยวข้อง หนึ่งในนั้นคือศาสนา

เคยมีผู้รู้คาดการณ์เมื่อหลายปีก่อนว่า กระแสโลกาภิวัตน์จะทำให้ศาสนาตกเป็นฝ่ายตั้งรับ และมีอิทธิพลลดลง แต่ทุกวันนี้ก็เห็นได้ชัดว่า ศาสนาหาได้ลดความสำคัญลงไม่ หากยังมีบทบาทอย่างมากโดยเฉพาะในทางการเมือง ไม่ว่าในตะวันตกหรือตะวันออก อย่างไรก็ตามปฏิเสธไม่ได้ว่าศาสนาทุกศาสนาได้รับผลกระทบไม่น้อยจากกระแสโลกาภิวัตน์ บ้างก็ถูกอิทธิพลของลัทธิบริโภคนิยมครอบงำ บ้างก็หันมาตอบโต้และต่อต้านโลกาภิวัตน์ หรือกลายมาเป็นเครื่องมือในการต่อสู้กับอิทธิพลจากภายนอก

พุทธศาสนาจะปรับตัวอย่างไรท่ามกลางกระแสโลกาภิวัตน์ นี้เป็นคำถามที่น่าหาคำตอบ หนังสือเล่มนี้แม้ไม่มีคำตอบที่ชัดเจน แต่จากประสบการณ์ในประวัติศาสตร์และจากบทเรียนทั่วโลก ทำให้เชื่อได้ว่าพุทธศาสนาจะอยู่ได้อย่างมั่นคงก็ต่อเมื่อสามารถบรรเทาความทุกข์ของผู้คนได้ ตั้งแต่เรื่องพื้นฐานคือชีวิตความเป็นอยู่ ไปจนถึงความสงบเย็นในจิตใจ นั่นหมายถึงการไม่แยกขาดจากสังคม หากมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาสังคมควบคู่ไปกับการแก้ปัญหาชีวิต ใส่ใจในการสร้างความเป็นธรรมในสังคมควบคู่ไปกับการพัฒนาจิตให้เป็นอิสระจากความทุกข์ ค้นพบความสุขภายในโดยไม่เป็นทาสวัตถุหรือโลกธรรม

"โลก" กับ "ธรรม"ไม่ได้แยกขาดจากกัน ทางธรรมไม่จำต้องตรงข้ามกับทางโลก หรือขนานกันอย่างไม่มีวันบรรจบ แท้จริงแล้วทางธรรมควรประสานกับทางโลก เพื่อชักนำทางโลกให้มุ่งสู่ความผาสุกและสงบสันติ ปราศจากการเบียดเบียนทั้งต่อมนุษย์ด้วยกันและต่อธรรมชาติ

บทความที่รวมพิมพ์ในหนังสือเล่มนี้ส่วนใหญ่เป็นบทความขนาดยาวที่เขียนในโอกาสต่าง ๆ กัน แม้ประเด็นจะหลากหลายแต่มีพุทธศาสนาเป็นแกนกลาง หรือมองจากมุมของพุทธศาสนา โดยมีลักษณะกึ่งวิชาการ

นอกจากเล่มนี้แล้ว ยังมีอีกสามเล่มที่ออกมาในชุดเดียวกัน คือ มุ่งไปสู่หนใด ,ก่อนสายใยจะขาดสะบั้น , และ ธรรมไม่ได้เทศน์ แต่ละเล่มมีจุดเน้นที่ต่างกัน กล่าวคือ มุ่งไปสู่หนใด เน้นเกี่ยวกับการรักษาใจให้เป็นสุขท่ามกลางความผันผวนปรวนแปร ก่อนสายใยจะขาดสะบั้น เน้นเกี่ยวกับเหตุการณ์บ้านเมืองและแนวทางการสร้างสมานฉันท์ในสังคมไทย ส่วน ธรรมไม่ได้เทศน์ เป็นงานรวมปาฐกถาและคำบรรยายในโอกาสต่าง ๆ ซึ่งเน้นถึงความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพจิต ชีวิตที่ผาสุก และสังคมที่สงบสันติ

ขอขอบคุณคุณนิภา เผ่าศรีเจริญ ซึ่งนอกจากริเริ่มและสนับสนุนให้มีหนังสือชุดนี้แล้ว ยังรับเป็นบรรณาธิการต้นฉบับให้ด้วยความใส่ใจทั้ง ๆ ที่มีงานประจำรัดตัว ทำให้หนังสือชุดนี้สำเร็จด้วยดี พร้อมกันนี้ขอขอบคุณสำนักพิมพ์โพสต์บุ๊กส์ที่เห็นว่าหนังสือชุดนี้มีคุณค่าควรแก่การเผยแพร่ให้กว้างขวาง หวังว่าผู้อ่านจะได้รับประโยชน์สมความมุ่งหวังของผู้จัดพิมพ์

พระไพศาล วิสาโล
๑ มกราคม ๒๕๕๕

ยาใจ

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 14238
    • ดูรายละเอียด


คำปรารภ

เมื่อเราล้มป่วย เราไม่ได้ป่วยแต่กายเท่านั้น ส่วนใหญ่มักป่วยใจด้วย เช่น ขึ้งเครียด วิตกกังวล ยิ่งป่วยหนัก ก็ยิ่งหวาดกลัว ตื่นตระหนก ความป่วยใจนี้เองที่ทำให้ร่างกายทรุดลงและเพิ่มพูนความทุกข์เป็นทวีตรีคูณ ในทางตรงข้ามหากเราตั้งสติได้ ยอมรับความจริงที่เกิดขึ้นไม่ปฏิเสธผลักไส ความทุกข์ก็จะลดลง และหากรู้จักทำสมาธิภาวนา ความปวดก็จะทุเลานอกจากจะช่วยให้อยู่กับความทุกข์กายโดยใจไม่ทุกข์แล้ว ความสงบเย็นในจิตใจยังช่วยฟื้นฟูร่างกายให้ดีขึ้นด้วย

ปัจจัยสำคัญประการหนึ่งที่ช่วยให้ผู้ป่วยวางใจได้ดีขึ้น ก็คือผู้เยียวยา อาทิ แพทย์ พยาบาล รวมทั้งญาติมิตร น้ำใจและความเข้าใจของผู้เยียวยาสามารถเพิ่มพูนกำลังใจของผู้ป่วยได้ จะทำเช่นนั้นได้ ผู้เยียวยาก็ต้องรู้จักวางใจให้ถูกต้อง ไม่แบกรับความเครียดจนกลายเป็นปัญหาต่อผู้ป่วย ดังนั้นการมีสติรู้ทันความรู้สึกนึกคิดของตน รู้จักผ่อนคลายจิตใจ และมองเห็นโลกตามความเป็นจริงจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ไม่เพียงช่วยผู้เยียวยาเท่านั้น แต่ยังมีคุณค่าผู้ป่วยด้วย

หนังสือเล่มนี้มีที่มาจากการบรรยายแก่สมาชิกเครือข่ายมะเร็งโคราชและเครือข่ายมิตรภาพบำบัดโดยการนำของคุณหมอรุจิรา มังคละศิริ ณ อ.โชคชัย และ อ.วังน้ำเขียว นครราชสีมา เมื่อวันที่๒๑ สิงหาคม ๒๕๕๒ และ ๒๓ พฤษภาคม ๒๕๕๔ ต่อมาได้ตีพิมพ์ในวารสารธรรม(ะ)ชาติบำบัด ของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเขต ๙ ได้ทราบว่ามีหลายท่านได้รับประโยชน์จากคำบรรยายนี้ และเห็นว่าควรตีพิมพ์เป็นรูปเล่มเพื่อการเผยแพร่ให้กว้างขวาง จึงได้มอบให้เครือข่ายพุทธิกาจัดพิมพ์หนังสือเล่มนี้ ทั้งนี้ขอขอบคุณคุณหมอรุจิรา มังคละศิริที่ริเริ่มให้เกิดการบรรยายดังกล่าวและสนับสนุนการตีพิมพ์ครั้งนี้

พระไพศาล วิสาโล
๑ มีนาคม ๒๕๕๕



คลิ๊กดาวน์โหลด =>  http://www.visalo.org/book/WordaPdf/rakSaJai.pdf




ยาใจ

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 14238
    • ดูรายละเอียด



คำปรารภ
คำถามและคำตอบในหนังสือเล่มนี้ มีที่มาจาก Facebook ในหน้าแฟนเพจที่ใช้ชื่อว่า “ พระไพศาล วิสาโล -Phra Paisal Visalo” ซึ่งมิตรผู้หนึ่งได้จัดทำขึ้นเพื่อเผยแผ่ธรรมที่เป็นประโยชน์และสอดคล้องกับการดำเนินชีวิตของคนสมัยใหม่ นอกจากคำสอนของครูบาอาจารย์เช่น ท่านอาจารย์พุทธทาสภิกขุ หลวงพ่อชา สุภัทโท และข้อเขียนของข้าพเจ้าแล้ว ยังมี “ปุจฉา-วิสัชนา” ซึ่งเปิดโอกาสให้ผู้อ่านส่งคำถามและข้อสงสัย จากนั้นก็มีการรวบรวมและคัดเลือกมาให้ข้าพเจ้าตอบ คำถามนั้นมีมากมายหลายประเภท มีทั้งข้อสงสัยเกี่ยวกับธรรมะ พิธีกรรมทางพุทธศาสนา และปัญหาชีวิต ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเรื่องความสัมพันธ์กับคนใกล้ชิด ที่มีไม่น้อยก็คือข้อสงสัยเกี่ยวกับพฤติกรรมของตนว่าเป็นบุญหรือบาป ถูกต้องชอบธรรมหรือไม่

คำถามเหล่านี้ไม่ใช่ข้อสงสัยในใจของใครคนใดคนหนึ่งเท่านั้น แต่เป็นเรื่องคาใจของคนจำนวนไม่น้อย จะเรียกว่าเป็นปัญหาร่วมสมัยก็ได้ สำนักพิมพ์สุขสว่างเห็นว่า คำตอบของข้าพเจ้านั้นมีประโยชน์ที่ควรเผยแพร่ให้กว้างขวาง ไม่ควรจำกัดแต่เฉพาะผู้อ่าน facebook หรือเข้าถึงสื่ออินเตอร์เน็ตเท่านั้น จึงได้คัดเลือกปุจฉา-วิสัชนา เหล่านี้มารวมพิมพ์เป็นหนังสือ โดยเล่มที่ท่านถืออยู่นี้เป็นเล่มที่สอง คำตอบเหล่านี้มีบางส่วนที่ข้าพเจ้าได้ปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติม เพื่อพิมพ์ในหนังสือพิมพ์คม ชัด ลึก ทุกวันพระ

ขอขอบคุณคุณสุวรรณา ตปนียากรกช ที่เป็นบรรณาธิการให้แก่หนังสือเล่มนี้ ตลอดจนประสานงานในการจัดทำต้นฉบับจนสำเร็จด้วยดี สำหรับผู้ที่สนใจปุจฉา-วิสัชนาที่นอกเหนือไปจากนี้ สามารถอ่านได้ที่ facebook.com/visalo

พระไพศาล วิสาโล
๑๕ มีนาคม ๒๕๕๕
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: เมษายน 10, 2012, 07:58:55 am โดย ยาใจ »

ยาใจ

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 14238
    • ดูรายละเอียด


คำปรารภ
มิตรที่ดีที่สุดของเรานั้นมิได้อยู่ที่ไหนเลย แต่อยู่กลางใจเรานี้เอง มิตรในเรือนใจช่วยให้เรามีความสุขในทุกหนแห่ง แม้ในยามที่ถูกกระทบกระแทก ก็สามารถเปลี่ยนร้ายให้กลายเป็นดีได้ หรือช่วยให้เราอยู่ท่ามกลางความทุกข์ได้โดยใจไม่ทุกข์ แต่หากไม่สามารถทำใจให้เป็นมิตร แม้มั่งมีด้วยทรัพย์สมบัติ มียศศักดิ์อัครฐาน ก็ยากที่จะหาความสุขพบ ยิ่งกว่านั้นยังอาจถึงกับทำร้ายตัวเองด้วยซ้ำ

เกิดมาทั้งทีควรรู้จักมิตรในเรือนใจ จะทำเช่นนั้นได้ก็ต้องมีเวลาให้แก่จิตใจของตนและหมั่นรักษาใจไม่ให้กิเลสหรืออารมณ์อกุศลครอบงำ โดยหมั่นทำความดีและปลูกสติสร้างความรู้สึกตัวให้เกิดขึ้น กล่าวโดยสรุปก็คือมีธรรมะรักษาใจ

มิตรในเรือนใจ มีที่มาจากการบรรยายของข้าพเจ้าในระหว่างการอบรมคณะครู
และเจ้าหน้าที่โรงเรียนวรรณสว่างจิต ณ วัดป่าสุคะโต จ.ชัยภูมิ ระหว่างวันที่ ๒๖ – ๓๐ สิงหาคม ๒๕๔๙ ต่อมาโรงเรียนวรรณสว่างจิตได้พิมพ์รวมเล่ม บัดนี้สำนักพิมพ์แสงดาวแจ้งความประสงค์ขอตีพิมพ์ซ้ำ ข้าพเจ้ายินดีอนุญาตและหวังว่าหนังสือเล่มนี้จะช่วยให้ผู้อ่านได้พบกับมิตรที่ตนละเลยมานาน นั่นคือมิตรในเรือนใจ

พระไพศาล วิสาโล
๒๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕

ยาใจ

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 14238
    • ดูรายละเอียด




หนังสือดีที่น่าอ่าน
พระไพศาล วิสาโล

บทความในหนังสือ อ่านเถิดชาวไทย
สนพ. อมรินทร์
พิมพ์ครั้งแรก ๒๕๕๕


พุทธธรรม โดย พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตโต) พิมพ์โดย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย หนังสือเล่มนี้นำเสนอคำสอนทางพุทธศาสนาได้อย่างรอบด้าน ลุ่มลึก และเป็นระบบมากที่สุดเท่าที่เคยมีในภาษาไทย (และคงจะไม่มีเล่มใดมาเทียบเคียงได้ไปอีกนาน) ครอบคลุมทั้งหลักความจริงตามธรรมชาติ ที่เรียกว่า "สัจธรรม"และข้อปฏิบัติเพื่อชีวิต ที่เรียกว่า "จริยธรรม" จึงไม่เพียงช่วยให้เข้าใจแนวคิดทางพุทธศาสนาอย่างละเอียดลออเท่านั้น หากยังสามารถนำมาใช้เป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตเพื่อความเจริญงอกงามทั้งในส่วนตนและส่วนรวมได้เป็นอย่างดี กล่าวได้ว่าสิ่งที่เป็นประเด็นสำคัญของชีวิตของคนยุคนี้ แทบไม่มีประเด็นใดเลยที่ไม่ถูกกล่าวถึงในหนังสือเล่มนี้อย่างพินิจพิเคราะห์ โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับความสุขและความทุกข์ ใครที่ได้อ่านหนังสือเล่มนี้แล้ว ไม่เพียงจะรู้จักพุทธศาสนาดีขึ้นกว่าเดิมเท่านั้น แต่ยังจะเข้าใจชีวิตจิตใจของตนเองเพิ่มขึ้น และอาจเห็นถึงความสำคัญของการพัฒนาตนเพื่อเป็นอิสระจากความทุกข์

จุดเด่นประการหนึ่งของพุทธธรรม ก็คือ การใช้ภาษาร่วมสมัยที่คนไกลวัดเข้าใจได้ แม้สาระของหนังสือเล่มนี้จะ "หนัก" (เช่นเดียวกับน้ำหนักของหนังสือ) แต่คนที่ไม่มีพื้นทางพุทธศาสนามาก่อนเลย ก็สามารถอ่านหนังสือเล่มนี้อย่างเข้าใจได้ตลอดทั้งเล่ม (หากเริ่มอ่านตั้งแต่บทแรก) อันที่จริงถ้าได้เห็นแค่สารบัญก็จะรู้สึกว่าหนังสือเล่มนี้น่าอ่าน เพราะดำเนินเรื่องด้วยการตั้งคำถามสำคัญเกี่ยวกับชีวิต ๕ ประการคือ ชีวิตคืออะไร ชีวิตเป็นอย่างไร ชีวิตเป็นไปอย่างไร ชีวิตควรให้เป็นไปอย่างไร และชีวิตควรเป็นอยู่อย่างไร ใครที่จริงจังกับชีวิต แม้ไม่ได้นับถือพุทธศาสนา ก็ควรอ่านหนังสือเล่มนี้ แต่สำหรับคนที่ไม่คิดว่าจะมีเวลาและความอดทนสำหรับหนังสือหนาร่วม ๑,๐๐๐ หน้า ก็สามารถอ่านเฉพาะตอนที่สนใจได้ เช่น เรื่องความสุข ตัณหาและฉันทะ อิทธิปาฏิหาริย์ และเทวดา

หนังสืออย่างนี้น้อยครั้งนักที่จะเกิดขึ้นในภาษาไทย เป็นงานชั้นเลิศทั้งในวงการพุทธศาสนาและวงวิชาการของไทย เปี่ยมด้วยอรรถรส คือนอกจากเนื้อหาจะเข้มข้น จรรโลงสติปัญญาแล้ว ภาษาที่ใช้ก็กระชับและสละสลวย นับเป็นแบบอย่างที่ดีของงานเขียนทางวิชาการ

อีกเล่มที่อยากแนะนำคือ เล่าไว้เมื่อวัยสนธยา โดย พุทธทาสภิกขุ พิมพ์โดย สำนักพิมพ์มูลนิธิโกมลคีมทอง หนังสือเล่มนี้เป็นอัตชีวประวัติของท่านพุทธทาสภิกขุ ปราชญ์คนสำคัญของไทยผู้มีบทบาทอย่างมากในการปฏิรูปพุทธศาสนาในช่วง ๗๐ ปีที่ผ่านมา แม้ท่านจะเขียนหนังสือไว้มาก แต่เล่าเรื่องราวเกี่ยวกับชีวิตของท่านน้อยมาก จนเมื่อพระประชา ปสนนธมโมมาขอสัมภาษณ์ท่านในวัยใกล้ ๘๐ ท่านจึงยอมเล่าประวัติของท่าน หนังสือเล่มนี้ช่วยให้เราได้รู้จักท่านพุทธทาสภิกขุอย่างใกล้ชิด เพราะนอกจากท่านจะเล่าถึงภูมิหลังตั้งแต่วัยเด็กแล้ว ยังกล่าวถึงแรงบันดาลใจในการอุทิศตนเพื่อพระพุทธศาสนา ถึงขนาดยอมตนเป็นทาสของพระพุทธเจ้า รวมทั้งเปิดเผยนิสัยส่วนตัวของท่าน ซึ่งยากจะหาอ่านได้จากที่อื่น ประสบการณ์ของท่านที่ถ่ายทอดออกมาตลอด ๗๐๐ หน้าเป็นแนวทางอย่างดีสำหรับการดำเนินชีวิตบนเส้นทางธรรม ที่ถึงพร้อมด้วยประโยชน์ตนและประโยชน์ท่าน

หนังสือเล่มนี้เต็มไปด้วยเกร็ดน่าสนใจมากมาย ทางด้านประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมไทย รวมทั้งเรื่องราวเกี่ยวกับคณะสงฆ์ไทยในอดีต ซึ่งชวนให้น่าติดตามเป็นอย่างมาก



ยาใจ

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 14238
    • ดูรายละเอียด



หนังสือเล่มนี้มีขนาดเล็กกระทัดรัด มีภาพประกอบสี่สีชวนอ่านเนื้อหาเป็นการนำเสนอวิธีการทำบุญ
ที่เป็นรูปธรรม สอดคล้องกับชีวิตคนสมัยใหม่ เนื่องจากเป็นการทำบุญที่ก่อให้เกิดทั้งประโยชน์ตนและ
ประโยชน์ส่วนรวม ครอบคลุมทั้งประโยชน์ทางด้านวัตถุหรือกายภาพ และประโยชน์ทางจิตใจ


วิธีการดังกล่าวแบ่งเป็น 4 หมวดใหญ่ ๆ คือ
1.สละทรัพย์ เช่น ถวายสังฆทาน บริจาคเงินช่วยเด็กยากไร้ คนพิการ
2.ทำชีวิตให้โปร่งเบา เช่น ละเลิกสิ่งเสพติด ไม่เข้าหาอบายมุข
3.เกื้อกูลด้วยแรงกาย เช่น ช่วยเหลืองานของส่วนรวม เป็นอาสาสมัครให้แก่โรงเรียน
4.ฝึกจิตชำระใจ เช่น ทำสมาธิ แผ่เมตตา ยิ้มเป็นกิจวัตร
สำหรับท้ายเล่ม   จะมีบทสวดมนต์ หรือคำกล่าวที่ใช้ในพิธีทำบุญต่าง ๆ  เช่น คำถวายสังฆทาน
คำอาราธนาศีล  คำอุทิศส่วนกุศล เป็นต้น   ทั้งนี้เพื่อเป็นแรงจูงใจ   ให้ผู้อ่านเก็บหนังสือเล่มนี้ไว้กับตัว
สำหรับเป็น คู่มือการทำบุญ




คลิ๊ก => http://ebooks.in.th/ebook/5529/




ที่มา : http://ebooks.in.th

ยาใจ

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 14238
    • ดูรายละเอียด



พรวันใหม่ ชีวิตใหม่

พระไพศาล วิสาโล
จัดพิมพ์โดย โครงการสุขแท้ด้วยปัญญา เครือข่ายพุทธิกา


"วันใหม่หมายถึงโอกาสในการสร้างชีวิตใหม่ ที่เราไม่ควรรอให้ถึงปีใหม่เสียก่อน ขณะเดียวกัน เมื่อปีใหม่ใกล้มาถึง เราก็ไม่ควรคาดหวังเพียงแค่ความสนุกสนาน รื่นเริงหรือการได้เสพสิ่งใหม่ แต่ควรเป็นโอกาสสำหรับการมอบสิ่งใหม่ให้แก่จิตใจของตน รวมทั้งการเร่งทำความดีที่เคยผัดวันประกันพรุ่ง เพราะสิ่งเหล่านี้ต่างหากที่จะทำให้เรามีชีวิตใหม่อย่างแท้จริง "



คลิ๊กโหลด =>  http://www.ebooks.in.th/ebook/5590/



ที่มา :  http://www.ebooks.in.th/ebook


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 26, 2012, 07:27:32 am โดย ยาใจ »

ยาใจ

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 14238
    • ดูรายละเอียด



เส้นผมบังความสุข

โดยพระไพศาล วิสาโล
พิมพ์ครั้งที่ ๑ ๒๕๕๕

คำปรารภ


เราทุกคนล้วนปรารถนาความสุข ทำทุกอย่างเพื่อความสุข แต่น้อยคนที่ถามตนเองว่ารู้จักความสุขดีแล้วหรือ ส่วนใหญ่เข้าใจว่าความสุขจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อได้มี ได้เสพ ได้ครอบครองสิ่งที่พึงปรารถนา เช่น เงินทอง ยศฐาบรรดาศักดิ์ และอำนาจ แต่แท้จริงแล้วนั่นเป็นแค่ความสุขประเภทหนึ่งเท่านั้น ยังมีความสุขอีกหลายประเภท ซึ่งประณีตและประเสริฐกว่า และก่อให้เกิดความพึงพอใจอย่างแท้จริง ในขณะที่ความสุขประเภทแรกนั้น ให้ความพึงพอใจเพียงชั่วคราว ต้องดิ้นรนแสวงหาไม่จบสิ้น เจือไปด้วยทุกข์ และก่อให้เกิดโทษมากมาย โดยเฉพาะเมื่อยึดติดถือมั่นอย่างเหนียวแน่น

เมื่อใดที่เรารู้ว่ามีความสุขอื่นที่ประณีตและประเสริฐกว่าความสุขจากสิ่งเสพ นั่นคือจุดเริ่มต้นของการเป็นอิสระจากวัตถุสิ่งเสพ และนำไปสู่การพ้นทุกข์ในที่สุด ในระหว่างที่ยังไม่ถึงความพ้นทุกข์ ก็จะพบกับความสงบเย็นที่เพิ่มพูนขึ้นเป็นลำดับ ขณะเดียวกันก็สามารถบำเพ็ญประโยช์แก่ผู้อื่นได้อย่างกว้างขวาง โดยมีความสุขเป็นรางวัล

ความสุขประณีตนั้นหาได้อยู่ไกลตัวไม่ แท้จริงอยู่กลางใจนี้เอง เพียงแค่วางใจให้ถูก ก็จะพบความสุขสงบเย็นที่กลางใจ และหากมองเป็น ก็เห็นได้ทันทีว่าความสุขอยู่กับเราแล้วทุกขณะ ไม่จำเป็นต้องดิ้นรนแสวงหาที่ไหนเลย เพราะเพียงแค่ไม่ทุกข์ ก็สุขแล้วมิใช่หรือ เป็นเพราะใจเผลอจมอยู่ในอดีต กังวลกับอนาคต จึงมองไม่เห็นความสุขในปัจจุบัน เป็นเพราะใจหลงวนอยู่ในความคิด จึงไม่สามารถเปิดรับความสุขที่อยู่เบื้องหน้า ทั้ง ๆ ที่ความสุขปรากฏต่อหน้าต่อตาเราแล้ว แต่กลับมองไม่เห็น จึงไม่ต่างจากคนที่ถูกเส้นผมบดบังจนมองไม่เห็นภูเขา

หนังสือเล่มนี้มีที่มาจากคำบรรยายของข้าพเจ้าในหลายวาระหลายโอกาส กองบรรณาธิการสำนักพิมพ์บิสซี่เดย์เห็นว่ามีประโยชน์ จึงตัดทอนคำบรรยายบางส่วนมาจัดเรียงใหม่ โดยผนวกกับคำสัมภาษณ์ที่เกิดขึ้นในภายหลัง ส่วนขั้นตอนสุดท้ายเป็นการขัดเกลาและปรับปรุงของข้าพเจ้า หวังว่าหนังสือเล่มนี้จะช่วยในการปัดเป่า “เส้นผม” จนผู้อ่านสามารถเห็นความสุขที่อยู่รอบตัวได้อย่างชัดเจน

พระไพศาล วิสาโล
๑๐ มีนาคม ๒๕๕๕

ยาใจ

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 14238
    • ดูรายละเอียด



ลำธารริมลานธรรม
โดย พอจ. ไพศาล วิสาโล

เกร็ดประวัติและเรื่องราวของครูบาอาจารย์ที่เป็นพระสุปฏิปันโนนั้น
นอกจากเป็นแบบอย่างแห่งการดำเนินชีวิตที่งดงามแล้ว
ยังเป็นภาพปรากฏแห่งธรรมที่มีชีวิตชีวา
อันเราสามารถแลเห็นและจับต้องได้
ทำให้ธรรมะมิใช่เป็นเพียงแค่หลักการทางนามธรรม
ที่ต้องใช้เหตุผล ในการทำความเข้าใจเท่านั้น
รูปธรรมแห่งธรรมะดังกล่าวสามารถให้แรงบันดาลใจแก่ผู้คน
ในการน้อมนำมาปฏิบัติได้เป็นอย่างดี
ใช่แต่เท่านั้น เรื่องราวของท่านเหล่านั้น
ซึ่งส่วนใหญ่เป็นบุคคลในอดีต
ยังสะท้อนให้เห็นถึงขนบธรรมเนียมหรือวิถีปฏิบัติอันดีงาม
ของสงฆ์ที่นับวันจะเลือนหายไป ด้วยเหตุนี้ข้าพเจ้าจึงเห็นว่า
การนำเกร็ดประวัติของพระดีพระแท้ทั้งหลาย
มาเรียบเรียงเผยแพร่จะเป็นประโยชน์แก่ผู้อ่าน
เช่นเดียวกับที่ข้าพเจ้าเคยได้รับมาแล้ว
(ข้อความและ file หนังสือจากชมรมกัลยาณธรรม)



คลิ๊ก =>  http://www.kallayanatham.com/book/lamtharn2.pdf

ยาใจ

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 14238
    • ดูรายละเอียด



ความสุขของนักศึกษาเพื่อปัญญาของแผ่นดิน

พระไพศาล วิสาโล
พิมพ์ครั้งแรก ธันวาคม ๒๕๕๔
จัดพิมพ์โดย กองกิจการนักศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล

คำปรารภ
ความสุขกับการเรียนรู้นั้น มิใช่สิ่งที่แยกขาดจากกัน ที่จริงแล้วเป็นสิ่งเกื้อกูลกันมาก การเรียนรู้นั้นสามารถทำให้เกิดความสุขได้โดยเฉพาะเมื่อมีใจใฝ่รู้ ขณะเดียวกันความสุขก็เอื้อให้เกิดการเรียนรู้ได้มาก ยิ่งมีใจผ่องใสโปร่งเบาก็สามารถใช้ความคิดได้ดี เรื่องยากก็สามารถเข้าใจได้ง่ายขึ้น

ความสุขนั้นมีหลายประเภท เกิดขึ้นได้หลายทาง การเรียนรู้ก็เช่นกันสามารถเกิดขึ้นได้หลายวิธี มิได้จำกัดแต่เฉพาะในห้องเรียน เท่านั้น แต่สามารถเกิดขึ้นได้ทุกหนแห่ง และจากกิจกรรมทุกชนิด กล่าวได้ว่าโลกนี้เป็นห้องเรียนที่สามารถเรียนรู้ได้ไม่จบสิ้น และหากเรียนอย่างมีจุดมุ่งหมายและใช้ความคิดอย่างถูกวิธี ก็สามารถให้ความสุขแก่เรา ช่วยให้ชีวิตมีคุณค่า สามารถพัฒนาตนและเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวมได้อย่างไม่มีประมาณ พระพุทธศาสนานั้นมองว่าความสุข ความดี กับความจริงนั้นเชื่อมโยงสัมพันธ์กันอย่างยิ่ง การเรียนรู้ที่ถูกต้องนั้นย่อมช่วยให้เราเข้าถึงความจริง น้อมใจสู่ความดี และเกิดความสุขในที่สุด เป็นความสุขที่เกิดขึ้นท่ามกลางชีวิตที่เรียบง่าย และเอื้อเฟื้อเกื้อกูลผู้อื่น ขณะเดียวกันก็ช่วยเสริมสร้างปัญญาของสังคมส่วนรวมให้งอกงามขึ้น

ขออนุโมทนาที่คณะกรรมการพัฒนานักศึกษาบ้านมหิดลได้จัดให้มีการบรรยายเรื่อง“ความสุขของนักศึกษาเพื่อปัญญาของแผ่นดิน”เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2554 ณ ศูนย์การเรียนรู้ มหาวิทยาลัยมหิดล บัดนี้กองกิจการนักศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดลมีความประสงค์ที่จะนำคำบรรยายดังกล่าวของอาตมภาพ จัดพิมพ์เป็นเล่มเพื่อเผยแพร่ให้กว้างขวางออกไป อาตมภาพยินดีอนุญาตด้วยความเต็มใจ และหวังว่าหนังสือเล่มนี้จะมีส่วนช่วยให้ผู้อ่านมีความสุขกับการแสวงหาความรู้เพื่อเข้าถึงชีวิตที่ดีงาม และเพื่อเกื้อกูลส่วนรวม ไม่ว่าในฐานะนักศึกษา อาจารย์ หรือคนทั่วไปก็ตาม

พระไพศาล วิสาโล
๑ มกราคม ๒๕๕๕

 
เข้าใจสิ่งที่เรียกว่า “ความสุข”
ความสุขของนักศึกษาเกิดจากความใฝ่รู้
ถ้าใฝ่รู้ ใจเราจะเปิด การเรียนรู้จะเกิดตลอดเวลา
สำหรับผู้ใฝ่รู้ ไม่มีคำว่าเสียเวลาเปล่า
คนรักความรู้ ย่อมไม่กลัวคำวิพากษ์วิจารณ์
เปลี่ยนจากใฝ่เสพมาเป็นใฝ่รู้ เราจะมีความสุขมากขึ้น
คนไทยใฝ่เสพ ขาดความใฝ่รู้ และขาดความเพียร
ความสุขจากการใฝ่เสพ เต็มไปด้วยความระคายเคือง
การใฝ่เสพทำให้เราขาดอิสรภาพ
พอใจในสิ่งที่มี ยินดีในสิ่งที่ได้
ความดี ความจริง ความงามที่เชื่อมโยงกัน
ชีวิตที่ดี คือชีวิตที่สงบเย็นและเป็นประโยชน์
ผู้ให้ความสุข ย่อมได้รับความสุข
การทำกิจกรรมเพื่อสังคม ทำให้เรารู้จักคิด
จิตที่อยู่กับปัจจุบัน จะช่วยลดความทุกข์ ความเครียด ความกังวล




อ่านเพิ่มเติมได้ที่ => http://www.visalo.org/book/punyaKongPD.htm







 
 
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ธันวาคม 11, 2012, 06:35:30 pm โดย ยาใจ »

ยาใจ

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 14238
    • ดูรายละเอียด



คำปรารภ

มนุษย์ทุกคนล้วนรักตนเอง แต่น่าแปลกที่คนส่วนใหญ่กลับไม่สามารถอยู่กับตัวเองได้ หากอยู่คนเดียวเมื่อไหร่ ไม่นานก็จะรู้สึกกระสับกระส่าย หรือถูกความเหงาเกาะกุมจิตใจ คนจำนวนไม่น้อยจึงพยายามหนีตัวเอง ด้วยการทำตนให้วุ่นกับสิ่งต่างๆที่อยู่นอกตัว เช่น เที่ยวเตร่สนุกสนาน ช็อปปิ้งเล่นเกมออนไลน์ หรือไม่ก็วิ่งหาผู้คน สนทนาไม่หยุด อยู่ห่างจากโทรศัพท์ (และแบล็คเบอรี่) ไม่ได้ หลายคนยอมแลกอิสรภาพและความสุขสงบ เพื่อมีใครสักคนเป็นเพื่อนหรือคู่รัก แม้จะถูกเขาทำร้ายจิตใจก็ยอม ทั้งนี้เพียงเพื่อจะได้หายเหงาเท่านั้นเอง

เรารักตนเองแต่เหตุใดจึงทนอยู่กับตนเองไม่ได้ หากเรารักตนเองจริง เราย่อมพอใจและมีความสุขที่ได้อยู่กับตัวเอง แต่เหตุใ ดเราจึงรู้สึกเหงาในยามที่ไม่มีใครนอกจากตัวเองใช่หรือไม่ นั่นเป็นเพราะเรายังไม่เป็นมิตรกับตัวเอง ในส่วนลึกเรายังทะเลาะเบาะแว้งหรือขัดแย้งกับตัวเอง จึงพยายามหนีตัวเองตลอดเวลา จะว่าไปแล้วความทุกข์ส่วนใหญ่ของผู้คน ล้วนมีรากเหง้ามาจากการที่ไม่สามารถเป็นมิตรกับตัวเองได้อย่างแท้จริง

ต่อเมื่อเป็นมิตรกับตัวเอง เราจึงจะพบสันติสุขภายใน และสามารถอยู่คนเดียวได้โดยความเหงาไม่อาจลุกล้ำกล้ำกลาย จิตใจได้เมื่อมีความสุขจากภายใน ก็ไม่จำเป็นต้องไล่ล่าหาความสุขจากภายนอก ไม่ว่าทรัพย์สิน เงินทอง ชื่อเสียง เกียรติยศ หรือผู้คนที่คอยพะเน้าพะนอ ตรงกันข้ามกลับสามารถแบ่งปันความสุข ให้แก่ผู้อื่นได้ไม่ขาดสาย ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนก็เป็นสุขและอบอุ่นใจ ทุกสถานที่เป็นเสมือนบ้าน ทั้งนี้เพราะมีตนเองเป็นเพื่อนสนิทที่ตามติดไปทุกหนแห่ง

หนังสือเล่มนี้พิมพ์ครั้งแรกโดยชมรมกัลยาณธรรมเมื่อปี ๒๕๕๔ ประกอบด้วย ๖ บทความซึ่งมีที่มาจากการบรรยายธรรมหลังทำวัตร ณ วัดป่าสุคะโตเมื่อปี ๒๕๕๒ ต่อมาสำนักพิมพ์ Someday มีความประสงค์จะตีพิมพ์ซ้ำ จึงได้เพิ่มอีก ๕ บทความ โดยปรับปรุงจากคำบรรยายธรรมระหว่างการเดินธรรมยาตราลุ่มน้ำลำปะทาวเมื่อปี ๒๕๕๒ หวังว่าหนังสือเล่มนี้จะมีส่วนช่วยให้ผู้อ่านกลับมาคืนดีและเป็นมิตรกับตนเองอย่างแท้จริง

พระไพศาล วิสาโล
๒๐ มีนาคม ๒๕๕๕