ผู้เขียน หัวข้อ: *รวม * คติธรรม - พระอาจารย์ไพศาล วิสาโล  (อ่าน 311501 ครั้ง)

ยาใจ

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 14208
    • ดูรายละเอียด
Re: *รวม * คติธรรม - พระอาจารย์ไพศาล วิสาโล
« ตอบ #15 เมื่อ: มีนาคม 25, 2015, 08:27:01 am »



การที่เรากินอาหารด้วยความรู้ค่า รู้คุณ เป็นการปฏิบัติธรรมอย่างหนึ่ง

ถ้าเราเห็นคุณค่าของสิ่งที่เรากิน เราก็จะรู้สึกเป็นหนี้บุญคุณของชีวิตและผู้คนที่ผลิตและนำอาหารมาให้เรา สำนึกดังกล่าวจะกระตุ้นเตือนให้เราพยายามใช้ชีวิตอย่างมีคุณค่า เพื่อตอบแทนบุญคุณของสรรพชีวิตที่ให้อาหารเรา สิ่งนี้เป็นการปฏิบัติธรรมอย่างหนึ่งที่เราควรจะทำเป็นอาจิณ

ก่อนที่จะกินอาหารพระบางวัดจะสวดสวดเป็นภาษาบาลี เรียกว่าสวดปฏิสังขาโย จุดมุ่งหมายก็เพื่อเตือนสติให้เรากินอย่างรู้ค่า ให้รู้ว่าควรกินเพื่ออะไร คือ กินเพื่อให้ร่างกายอยู่ได้ ไม่ใช่กินเพื่อความเอร็ดอร่อย เพื่อความเพลิดเพลิน สนุกสนาน เพื่อความโก้เก๋ แต่กินเพื่อบรรเทาความหิว และไม่ทำให้มีความทุกข์เพิ่มขึ้น


พระไพศาล วิสาโล
http://www.visalo.org/article/buddhika53.html

ยาใจ

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 14208
    • ดูรายละเอียด
Re: *รวม * คติธรรม - พระอาจารย์ไพศาล วิสาโล
« ตอบ #16 เมื่อ: มีนาคม 25, 2015, 08:29:51 am »




ใบบัวก็สามารถสอนใจเราว่า
น้ำไม่ติดใบบัวฉันใด ก็อย่าให้กิเลสย้อมใจเราฉันนั้น
เห็นรูปหรือหูได้ยินเสียงก็สักแต่ว่าเห็น
แต่อย่าปรุงแต่ง
อย่าให้รูปหรือเสียง
ปักแน่นในใจเราจนสลัดไม่ได้


พระไพศาล วิสาโล
สงบจิต สว่างใจ

ภาพ reforestation.me

ยาใจ

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 14208
    • ดูรายละเอียด
Re: *รวม * คติธรรม - พระอาจารย์ไพศาล วิสาโล
« ตอบ #17 เมื่อ: มีนาคม 25, 2015, 08:33:22 am »



การเอาความสุขของเราไปผูกติด กับสิ่งใด ๆ ก็ตาม...มักตามมาด้วยความทุกข์ เพราะทุกสิ่งก็ล้วนพึ่งพาสิ่งอื่น ไม่เป็นอิสระหรือเที่ยงแท้ยั่งยืน พูดอีกอย่างหนึ่ง มันเป็นอนัตตา ดังนั้น จึงแปรเปลี่ยนอยู่เสมอ มิอาจเป็นไปดังใจได้

การพึ่งตัวเอง ไม่หวังพึ่งพาความสุขจากสิ่งใด ๆ จะช่วยให้เราเป็นอิสระอย่างแท้จริง และเป็นสุขในทุกหนแห่ง ไม่ว่าสิ่งต่าง ๆ จะผันผวนปรวนแปรอย่างใด

พระไพศาล วิสาโล

ยาใจ

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 14208
    • ดูรายละเอียด
Re: *รวม * คติธรรม - พระอาจารย์ไพศาล วิสาโล
« ตอบ #18 เมื่อ: มีนาคม 25, 2015, 08:36:54 am »



ความดี ความเข้าใจ และความสุข เป็นสิ่งที่มิอาจแยกจากกันได้

เมื่อเราทำความดี เราย่อมอิ่มเอมใจ และเมื่อเราเข้าใจว่าความไม่เที่ยงเป็นธรรมดาของชีวิต เราก็เป็นสุขอยู่ได้ในทุกสถานการณ์ และยิ่งเรามีความสุข ก็ยิ่งอยากทำความดี ขณะเดียวกันความสุขก็ทำให้จิตสงบ สามารถไตร่ตรองชีวิตได้อย่างลึกซึ้ง จนเข้าใจสัจธรรมได้

พระไพศาล วิสาโล
ขับเคลื่อนชีวิตด้วยจิตวิวัฒน์

ยาใจ

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 14208
    • ดูรายละเอียด
Re: *รวม * คติธรรม - พระอาจารย์ไพศาล วิสาโล
« ตอบ #19 เมื่อ: มีนาคม 25, 2015, 08:45:15 am »





ยาใจ

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 14208
    • ดูรายละเอียด
Re: *รวม * คติธรรม - พระอาจารย์ไพศาล วิสาโล
« ตอบ #20 เมื่อ: มีนาคม 25, 2015, 08:46:27 am »




ทานทำให้ชีวิตมีความสมดุล

เพราะตั้งแต่เกิด เราเป็นผู้รับฝ่ายเดียว ร่ำร้องและเรียกหาทั้งอาหาร ของเล่น เงินทอง เวลา ความรัก จากพ่อแม่ ญาติพี่น้อง ตลอดจนความรู้จากครูบาอาจารย์ ดังนั้นเมื่อเราเติบใหญ่ขึ้น จึงควรเป็นผู้ให้บ้าง มิใช่เพื่อทดแทนบุญคุณหรือตอบแทนโลกเท่านั้น แต่ยังช่วยให้เรามีความสุขด้วย

พระไพศาล วิสาโล

ยาใจ

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 14208
    • ดูรายละเอียด
Re: *รวม * คติธรรม - พระอาจารย์ไพศาล วิสาโล
« ตอบ #21 เมื่อ: มีนาคม 26, 2015, 07:53:17 am »




อัตตาหรือตัวตนนั้นพร้อมจะยึดทุกอย่างมาเป็น “ตัวกู ของกู”อยู่เสมอ รวมทั้ง “งานของกู” ด้วย ความยึดติดดังกล่าวแม้จะมีข้อดีตรงที่ทำให้เรารู้สึกเป็นเจ้าของงาน ดังนั้นจึงมีแนวโน้มจะทุ่มเทให้กับงานอย่างแข็งขัน แต่ในอีกด้านหนึ่งมันก็กดดันให้เราทำงานอย่างมีความทุกข์ เวลามีใครมาวิจารณ์งานที่เราทำ ความรู้สึกที่เกิดขึ้นก็คือ ไม่เพียง “งานของกู”เท่านั้นที่ถูกวิจารณ์ แต่ยังรู้สึกเลยไปถึงว่า “ตัวกู”ก็ถูกวิจารณ์ด้วย ปฏิกิริยาที่ตามมาคือตอบโต้กลับด้วยถ้อยคำที่แข็งกร้าวหรือรุนแรง ซึ่งทำให้เกิดความสัมพันธ์ที่ร้าวฉาน

งานจึงเป็นที่มาแห่งการกระทบกระทั่งกันได้ง่าย แต่ในเวลาเดียวกันสำหรับผู้มีปัญญา นี้เป็นโอกาสดีที่จะได้ฝึกใจให้รู้จักละวางอัตตา เช่น แทนที่จะจดจ่อกับความรู้สึกว่า “ฉันถูกวิจารณ์” ก็หันมาใส่ใจกับคำวิจารณ์ดังกล่าวว่า “ที่เขาพูดนั้นถูกไหม ? “ การวางใจอย่างหลังนี้นอกจากจะไม่ทำให้เราทุกข์แล้ว ยังทำให้เราได้ประโยชน์จากคำวิจารณ์นั้นด้วย ท่าทีอย่างนี้เรียกว่าท่าทีแห่งปัญญา ซึ่งต้องอาศัยสติเข้ามาเป็นตัวนำทาง

ส่วนใหญ่ที่ทุกข์กับคำวิจารณ์ก็เพราะ สติทำงานไม่ทัน จึงเกิด “ตัวกู”ออกมารับคำวิจารณ์เต็ม ๆ ผลก็คือเกิดความฉุนเฉียวทุรนทุรายตามมา อย่างไรก็ตามถึงแม้ความฉุนเฉียวเกิดขึ้นแล้ว ก็ยังไม่สายที่สติจะเข้ามาตามรู้ หากสติตามทัน จิตก็จะหลุดหรือปล่อยวางจากความฉุนเฉียวได้ ทำให้ปัญญาเกิดขึ้นตามมา และหันมาใคร่ครวญคำวิจารณ์นั้นว่ามีประโยชน์มากน้อยเพียงใด

นักทำหนังโฆษณามือทองคนหนึ่งของไทยเล่าว่า บ่อยครั้งที่ผลงานของเขาถูกวิจารณ์โดยคณะกรรมการเซ็นเซอร์ของรัฐ และไม่ยอมให้ออกฉายทางโทรทัศน์ ความรู้สึกอย่างแรกที่เกิดขึ้นกับเขาคือ โกรธ แต่หลังจากนั้นเขาก็จะนำความเห็นของคณะกรรมการดังกล่าวมาพิจารณา และมักจะมีความคิดดี ๆ เกิดขึ้นตามมาเมื่อนำผลงานดังกล่าวไปปรับแก้ก็จะได้ผลงานที่ดีขึ้น ผลงานที่สร้างชื่อให้แก่เขาหลายชิ้นเกิดจากการปรับแก้ดังกล่าว เขาจึงพูดว่า “กรรมการมีหน้าที่วิจารณ์ ส่วนเรามีหน้าที่โกรธ” แต่เขาก็ทิ้งท้ายว่า อย่าโกรธนาน ต้องนำคำวิจารณ์นั้นมาพิจารณาด้วย


พระไพศาล วิสาโล - Phra Paisal Visalo
ที่มา หนังสือ ทำเต็มที่ แต่ไม่ซีเรียส


ยาใจ

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 14208
    • ดูรายละเอียด
Re: *รวม * คติธรรม - พระอาจารย์ไพศาล วิสาโล
« ตอบ #22 เมื่อ: มีนาคม 26, 2015, 07:57:55 am »



วิธีพักใจ ไว้ในปัจจุบัน ด้วยการเดินจงกรม

เดินจงกรมเป็นวิธีพักใจอีกอย่างหนึ่ง
แต่แทนที่จะน้อมจิตมาอยู่กับลมหายใจเข้าและออก
ก็ให้มาอยู่กับการย่างเท้าทั้งสอง
โดยเดินกลับไปกลับมาอย่างช้า ๆ
ระยะทางประมาณ ๓-๕ เมตร
ทอดสายตาไปที่พื้นประมาณ ๑.๕ เมตรจากตัว
ระหว่างที่เดินก็ให้รับรู้ถึงการเคลื่อนไหวของเท้า
โดยไม่ถึงกับเพ่งหรือจดจ่อที่เท้า
เมื่อใจเผลอไปคิดถึงเรื่องใดก็ตาม
ทันทีที่รู้ตัวก็ให้พาจิตกลับมาอยู่ที่การเดิน
ทั้งนี้ไม่ต้องไปสนใจว่าเมื่อกี้คิดอะไร
ทำไมถึงคิด ให้ปล่อยวางความคิดโดยไม่ต้องอาลัย

ขอให้สังเกตว่าเมื่อใดที่จิตเผลอคิดออกไปนอกตัว
จิตจะไม่รับรู้ถึงการเคลื่อนไหวของร่างกายหรือเท้าที่ก้าวเดิน
จนบางครั้งลืมไปด้วยซ้ำว่ากำลังเดินอยู่
แต่เมื่อรู้ตัวว่าเผลอ แล้วกลับมาอยู่กับการเดิน
ความรู้สึกตัวจะกลับมาแจ่มชัด
และรับรู้ถึงการเคลื่อนไหวของร่างกายรวม ๆ อีกครั้งหนึ่ง
ความรู้ตัวและความรู้สึกถึงการเคลื่อนไหวของร่างกาย
จึงสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด

ใหม่ ๆ อาจจะยังวางจิตไว้ไม่ถูก คือ แทนที่จะรับรู้ถึงการเคลื่อนไหวของเท้า
ก็ไปเพ่งหรือจดจ่อที่เท้า แม้จะทำให้จิตฟุ้งน้อยลง
แต่ก็อาจทำให้เครียดได้ง่าย
เมื่อใดที่รู้สึกเครียด ก็ให้ผ่อนจิตลงมา
เพียงแค่ให้รู้สึกถึงการเคลื่อนไหวของเท้าก็พอ
วิธีนี้แม้จิตจะเผลอออกไปนอกตัวบ่อยกว่า
แต่การรู้ตัวว่าเผลอครั้งแล้วครั้งเล่า
จะทำให้สติปราดเปรียวว่องไวขึ้น
ช่วยให้เผลอน้อยลง และมีความรู้สึกตัวต่อเนื่องขึ้น
ยิ่งมีความรู้สึกตัวต่อเนื่องมากเท่าไร
จิตก็จะยิ่งโปร่งเบาและแจ่มใสมากเท่านั้น

อย่างไรก็ตาม การเดินจงกรมนั้นมีหลายแบบ
นอกจากที่กล่าวมาแล้ว ก็ยังมีการกำหนดจิต
ไปที่การเคลื่อนของเท้าอย่างละเอียดถี่ยิบ
ตั้งแต่ยกเท้า ย่างเท้า แล้วเหยียบพื้น เป็นต้น
ผู้สนใจควรศึกษาเพิ่มเติมจากผู้รู้


พระไพศาล วิสาโล

ยาใจ

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 14208
    • ดูรายละเอียด
Re: *รวม * คติธรรม - พระอาจารย์ไพศาล วิสาโล
« ตอบ #23 เมื่อ: มีนาคม 26, 2015, 08:00:22 am »



สงบเย็น หลับสบาย...แผ่เมตตาก่อนนอน

แผ่บุญกุศลและความปรารถนาดีไปให้แก่ผู้มีบุญคุณกับเรา ไม่จำเพาะพ่อแม่ ครูบาอาจารย์ หรือผู้ใหญ่เท่านั้น แต่ควรรวมไปถึงมิตรสหาย เพื่อนร่วมงาน ไปจนถึงผู้ที่มีสถานะต่ำกว่าเรา ทั้งโดยวัย ความรู้ หรือการงาน รวมทั้งแผ่ไปยังสรรพชีวิตที่ช่วยเหลือเกื้อกูลให้เรามีชีวิตได้อย่างผาสุกสวัสดี

นอกจากนั้นควรแผ่เมตตาไปยังคู่กรณีหรือผู้ที่ทำความขุ่นข้องหมองใจแก่เรา ไม่ว่าเป็นคนใกล้หรือไกล ขอให้เขาเหล่านั้นมีความสุข ปลอดพ้นจากความทุกข์ทั้งปวง

เมตตาที่ปลุกขึ้นมาในใจ จะช่วยดับความเร่าร้อนในจิตใจ ระงับความโกรธเกลียดที่ติดค้างมาตลอดวัน ช่วยให้เราสงบเย็นและสามารถหลับได้อย่างมีความสุข พร้อมจะตื่นขึ้นมาในเช้าวันใหม่ด้วยกายที่สดชื่นและใจที่แจ่มใส


พระไพศาล วิสาโล - Phra Paisal Visalo
ภาพ sausedo.net

ยาใจ

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 14208
    • ดูรายละเอียด
Re: *รวม * คติธรรม - พระอาจารย์ไพศาล วิสาโล
« ตอบ #24 เมื่อ: มีนาคม 26, 2015, 08:03:07 am »



“น้องด้าย” เด็กหญิงอายุ ๑๔ ไปเป็นอาสาสมัครช่วยเหลือเด็กอ่อนที่บ้านปากเกร็ด หลังจากที่ไปช่วยได้ไม่กี่เดือน แม่สังเกตว่า เธอนิ่งและสุขุมขึ้น รับฟังคนอื่นมากขึ้น และใช้อารมณ์กับแม่น้อยลง ไม่ต่างจาก “กบ” นักธุรกิจวัย ๓๐ ปลาย ๆ เขารู้สึกว่าตนเองใจเย็นขึ้น แม้แต่ลูกน้องก็ทักว่าเขาพูดนุ่มนวลกว่าเดิม ไม่โผงผางเหมือนเก่า เหตุผลก็เพราะ เวลาอยู่กับเด็ก เขาต้องใช้ความอดทนและความอ่อนโยน จะทำตามอารมณ์ไม่ได้ เขายังเล่าด้วยว่า “ในขณะที่เราพยายามจะให้เขามีพัฒนาการที่ดี เขาก็ช่วยขัดเกลาให้เราอ่อนโยนในเวลาเดียวกันด้วย"

การช่วยเหลือผู้อื่นนั้น ช่วยขัดเกลาและปรับปรุงจิตใจของเราโดยไม่รู้ตัว ทำให้เราเห็นแก่ตัวน้อยลง และมีจิตใจอ่อนโยนมากขึ้น ที่สำคัญอีกประการก็คือ ทำให้เรามีความสุขมากขึ้น หลายคนตั้งข้อสังเกตว่า ทีแรกคิดจะไปให้ความสุขแก่เขา กลับกลายเป็นว่า เขาให้ความสุขแก่เรา สอดคล้องกับพุทธพจน์ที่ว่า “ผู้ให้ความสุข ย่อมได้รับความสุข”

ดังนั้นถ้าเรารักตนเองจริง ๆ อยากให้ตนเองมีความสุขและมีจิตใจเจริญงอกงาม ควรช่วยเหลือเกื้อกูลผู้อื่นมาก ๆ เพราะ “รักษาผู้อื่นก็คือรักษาตน”


พระไพศาล วิสาโล
http://www.visalo.org/article/secret255609_2.htm


ยาใจ

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 14208
    • ดูรายละเอียด
Re: *รวม * คติธรรม - พระอาจารย์ไพศาล วิสาโล
« ตอบ #25 เมื่อ: มีนาคม 26, 2015, 08:07:08 am »



หลับสบาย เมื่อใจมีธรรม

หลังจากทำงานมาทั้งวัน
เวลานอนควรเป็นเวลาพักผ่อนทั้งกาย
และใจของเราอย่างแท้จริง
อย่าปล่อยให้งานการและเหตุการณ์ต่าง ๆ
ที่พานพบมาตลอดวัน
ตามมารบกวนเรากระทั่งในยามหลับ
จนกลายเป็นฝันร้ายหรือนอนไม่หลับ
กระสับกระส่ายไปทั้งคืน

ก่อนนอนนอกจากอาบน้ำชำระเหงื่อไคล
ออกไปจากร่างกายแล้ว
ควรหาเวลาชำระจิตให้ปลอดพ้น
จากเรื่องกังวลใจด้วย
โดยการนั่งสมาธิ ทำใจให้สงบ
มีลมหายใจเข้าและออกเป็นที่พักพิงของจิต
ไม่ว่าความรู้สึกนึกคิดใด ๆ จะผุดขึ้นมา
ก็รู้แล้ววางเสีย มีสติรู้ตัวอย่างต่อเนื่อง
แต่หากมีเรื่องรบกวนจิตใจมาก
ก็ลองหางานอื่นให้จิตทำก่อน
เช่น สวดมนต์ เมื่อความฟุ้งซ่านลดลงแล้ว
จึงค่อยมานั่งสมาธิก็ได้

การเตรียมใจอีกอย่างหนึ่งที่ควรทำก่อนนอน
ก็คือ เตือนใจว่าชีวิตของเรานั้นไม่เที่ยง
สักวันหนึ่งเราก็ต้องจากโลกนี้ไป
วันนั้นจะมาถึงเมื่อไร เรามิอาจรู้ได้
อาจเป็นปีหน้า เดือนหน้า สัปดาห์หน้า
หรือวันพรุ่งนี้ก็ได้
ใครจะไปรู้คืนนี้อาจเป็นคืนสุดท้ายของเรา
เมื่อเป็นเช่นนี้ จึงควรถามใจตนเองว่า
เราพร้อมที่จะไปจากโลกนี้หรือยังหากวันนั้นมาถึง

หากยังไม่พร้อม เพราะยังห่วงผู้คน
และติดยึดสิ่งต่าง ๆ มากมาย
เราควรใช้ช่วงเวลาก่อนนอนนี้ฝึกใจ
ปล่อยวางผู้คนและสิ่งต่าง ๆ
เสมือนว่าคืนนี้เป็นคืนสุดท้ายของเรา
ใหม่ ๆ อาจทำได้ยาก แต่เมื่อทำบ่อย ๆ
ก็จะปล่อยวางได้ง่ายขึ้น

ขณะเดียวกันหากมีสิ่งใดที่ยังปล่อยวางได้ยาก
เพราะยังจัดการไม่แล้วเสร็จ
หรือยังมีภารกิจสำคัญบางอย่างที่ยังค้างคาอยู่
ก็ควรตั้งใจว่าหากพรุ่งนี้ยังมีชีวิตอยู่ต่อไป
จะเร่งรีบทำสิ่งนั้นให้แล้วเสร็จ
แต่อย่าเผลอหมกมุ่นกับเรื่องนั้น
จนนอนไม่หลับ
ปล่อยให้เป็นเรื่องของวันพรุ่งนี้


พระไพศาล วิสาโล

ยาใจ

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 14208
    • ดูรายละเอียด
Re: *รวม * คติธรรม - พระอาจารย์ไพศาล วิสาโล
« ตอบ #26 เมื่อ: มีนาคม 26, 2015, 08:11:06 am »


ยอมรับไม่ได้หมายความว่ายอมแพ้

ยอมแพ้หมายถึง การเอาแต่ตีโพยตีพาย
หมกมุ่นกลุ้มใจว่า ไม่ยุติธรรมเลย ทำไมต้องเป็นฉัน
หรือท้อแท้สิ้นหวัง
คิดแบบนี้ทำให้เราไม่เห็นทางออก
หรือไม่คิดจะหาทางออก
ทำให้ไม่ยอมมองไปข้างหน้า

แต่พอเราเริ่มรับความจริงว่า
นี่คือสิ่งที่เกิดขึ้นกับเราแล้ว
เราก็จะเลิกบ่นหรือกลุ้มอกกลุ้มใจ
แต่จะมาดูว่าจะแก้ปัญหาอย่างไร
เราจะจัดการปัญหาอย่างไร
อันนี้ทำให้เรามองไปข้างหน้าได้


พระไพศาล วิสาโล

ยาใจ

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 14208
    • ดูรายละเอียด
Re: *รวม * คติธรรม - พระอาจารย์ไพศาล วิสาโล
« ตอบ #27 เมื่อ: มีนาคม 26, 2015, 08:19:51 am »



การปล่อยวางนั้นเป็นเรื่องของการ "ทำจิต" เพื่อไม่ให้ทุกข์ใจ แต่ไม่ได้หมายความว่าไม่ควรทำอะไรมากกว่านั้นหากทำได้ เมื่อคนรักตายจากไป เราไม่สามารถทำให้เขาฟื้นขึ้นมาได้ สิ่งที่เราทำได้ในกรณีนี้ก็คือ การทำจิต หรือปล่อยวางเท่านั้น

แต่หากเราล้มป่วย นอกจากการทำจิต คือ ไม่บ่นโวยวายหรือตีโพยตีพาย หากแต่ยอมรับสิ่งที่เกิดขึ้น หรือพิจารณาว่าร่างกายนี้ไม่ใช่ของเราแล้ว เรายังควร "ทำกิจ" ด้วย คือ เยียวยารักษาร่างกายให้หายป่วย

หรือถึงแม้จะยังไม่ป่วย สุขภาพยังดีอยู่ ในด้านหนึ่งก็ควรเผื่อใจว่าอะไรก็ไม่เที่ยง จะได้ไม่ทุกข์ใจเมื่อต้องล้มป่วย แต่พร้อมกันนั้นก็ควรออกกำลังกายสม่ำเสมอ ใส่ใจในคุณภาพของอาหาร เพื่อป้องกันไม่ให้ล้มป่วยเร็วเกินไป

ใครที่ทำใจอย่างเดียว โดยไม่ทำกิจเลย ย่อมเรียกว่าเป็นอยู่อย่างไร้ปัญญา

จริงอยู่กล่าวในทางปรมัตถ์แล้ว ร่างกายนี้ไม่ใช่ของเรา เป็นเพียงสิ่งที่ “หยิบยืม”มาใช้ชั่วคราว แต่ตราบใดที่มันยังอยู่ในการดูแลของเรา เราก็มีหน้าที่ดูแลมันให้ดีที่สุด เช่นเดียวกับโทรศัพท์หรือรถยนต์ที่เราหยิบยืมมาจากเพื่อน แม้มันไม่ใช่ของเรา เราก็ต้องดูแลรักษาให้ดี ใครที่ปล่อยปละละเลย เอาแต่ใช้แต่ไม่ดูแล ด้วยเหตุผลว่า มันไม่ใช่ของเรา ย่อมเรียกได้ว่าเป็นผู้ไร้ความรับผิดชอบ เอาแต่ได้ ไม่น่าคบหาเลย

ครั้งหนึ่งหลวงพ่อชา สุภัทโท เดินผ่านกุฏิของพระรูปหนึ่ง ท่านสังเกตเห็นหลังคาแหว่งไปครึ่งหนึ่งเพราะถูกพายุฝนกระหน่ำ แต่พระรูปนั้นไม่ขวนขวายที่จะซ่อมหลังคาเลย ปล่อยให้ฝนรั่วอย่างนั้น ท่านจึงถามเหตุผลของพระรูปนั้น คำตอบที่ได้ก็คือ ผมกำลังฝึกการไม่ยึดมั่นถือมั่นครับ หลวงพ่อชาจึงตำหนิว่า นี่เป็นทำโดยไม่ใช้หัวสมอง แทบไม่ต่างจากการวางเฉยของควายเลย


พระไพศาล วิสาโล - Phra Paisal Visalo

ยาใจ

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 14208
    • ดูรายละเอียด
Re: *รวม * คติธรรม - พระอาจารย์ไพศาล วิสาโล
« ตอบ #28 เมื่อ: มีนาคม 26, 2015, 08:21:46 am »

ยาใจ

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 14208
    • ดูรายละเอียด
Re: *รวม * คติธรรม - พระอาจารย์ไพศาล วิสาโล
« ตอบ #29 เมื่อ: มีนาคม 26, 2015, 08:26:23 am »



การทำตามความฝันหรืออุดมคตินั้น ไม่ได้หมายถึงการไม่อยู่กับปัจจุบัน คนเราควรมีจุดมุ่งหมายในชีวิต เมื่อตั้งจุดหมายและกำหนดเส้นทางชัดแล้ว พอเริ่มก้าวเดิน ตอนนี้แหละที่ใจควรอยู่กับปัจจุบัน อย่ามัวกังวลว่าเมื่อไหร่จะถึง ขอให้เดินไปเรื่อย ๆ และเดินแต่ละก้าวอย่างดีที่สุด (ซึ่งไม่ได้หมายความว่าต้องรีบเดิน จ้ำเอา ๆ ) ในที่สุดก็จะถึงเป้าหมายเอง (หากเป็นเส้นทางที่ถูกต้อง) แต่ถ้าไม่ถึงเป้าหมายเพราะเหตุใดก็แล้วแต่ ก็ไม่เป็นทุกข์ เพราะทำดีที่สุดแล้ว และได้เรียนรู้มากมายระหว่างทาง เป็นกำไรชีวิตที่ทรงคุณค่า

พระไพศาล วิสาโล
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มีนาคม 26, 2015, 08:30:48 am โดย ยาใจ »