ผู้เขียน หัวข้อ: ยืดเส้น ยืดสาย พิชิต โรคออฟฟิศซินโดรม  (อ่าน 71387 ครั้ง)

ยาใจ

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 14143
    • ดูรายละเอียด
ออกกำลังกายให้ได้ประโยชน์สูงสุด
« ตอบ #45 เมื่อ: กรกฎาคม 17, 2015, 12:20:29 pm »



ออกกำลังกายให้ได้ประโยชน์สูงสุด

โพสโดย Anonymous เมื่อ 1 ธันวาคม 2544

ต้องใช้วิธีค่อยทำค่อยไป คือเริ่มต้นด้วยการออกกำลังกายแบบเบาๆ ก่อนสักระยะหนึ่ง แล้วค่อยๆ เปลี่ยนเป็นการออกกำลังกายที่หนักขึ้น เช่น เดินเร็วๆ ก่อนในระยะแรก เมื่อร่างกายเคยชินหรืออยู่ตัวแล้ว จึงค่อยขยับเป็นการวิ่งเหยาะๆ ฯลฯ

ก่อนที่จะทำสิ่งใดก็แล้วแต่ เราทุกคนควรจะศึกษาหาข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องนั้น ๆ เอาไว้บ้าง เพื่อเป็นข้อมูลในการคิด ตัดสินใจ หรือเป็นแนวทางในการปฏิบัติ

เรื่องการออกลังกายก็เช่นกัน แม้จะดูเป็นเรื่องง่าย ๆ ธรรมดา ๆ แต่ก็ไม่ใช่ว่าอยู่ ๆ เห็นคนอื่นเขาวิ่ง ว่ายน้ำ หรือเต้นแอโรบิก ซึ่งเป็นการออกกำลังกาย ฯลฯ กันสนุกสนาน วันดีคืนดีนึกสนุกขึ้นมาอยากทำบ้าง ก็ลุกขึ้นมาทำตาม ไม่ได้เด็ดขาด โดยเฉพาะการออกกำลังกายแบบแอโรบิก ซึ่งเป็นการออกกำลังกายที่ค่อนข้างหนัก เพราะต้องทำให้หัวใจเต้นเร็วและแรงมาก และด้วยเวลาที่ต่อเนื่องกันนานพอสมควร

ดังนั้น ผู้ที่สนใจจะเริ่มออกกำลังกายแบบนี้ จึงต้องมีการเตรียมตัวอย่างมีขั้นตอน โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้สูงอายุ ผู้ที่ไม่เคยออกกำลังกายมาก่อน หรือผู้ที่เคยออกกำลังกายบ้างแต่หยุดไปนานแล้ว ก็จะต้องเริ่มต้นจากศูนย์ใหม่ เริ่มทำด้วยความระมัดระวัง ไม่เช่นนั้นจะมีโอกาสบาดเจ็บได้ง่ายมาก อย่างน้อยก็มีอาการปวดเมื่อย เคล็ดขัดยอก หรือกล้ามเนื้ออักเสบ ฯลฯ ซึ่งจะพบได้บ่อยมาก

การออกกำลังกายเพื่อให้ได้ประโยชน์สูงสุด ควรดำเนินไปตามหลักการต่อไปนี้คือ

1. ต้องใช้วิธีค่อยทำค่อยไป คือเริ่มต้นด้วยการออกกำลังกายแบบเบาๆ ก่อนสักระยะหนึ่ง แล้วค่อยๆ เปลี่ยนเป็นการออกกำลังกายที่หนักขึ้น เช่น เดินเร็วๆ ก่อนในระยะแรก เมื่อร่างกายเคยชินหรืออยู่ตัวแล้ว จึงค่อยขยับเป็นการวิ่งเหยาะๆ ฯลฯ

2. ต้องให้ทุกส่วนของร่างกายมีการเคลื่อนไหว ไม่ใช่ออกกำลังกายแต่เพียงเฉพาะส่วน ไม่เช่นนั้นร่างกายก็จะไม่แข็งแรงสมบูรณ์อย่างแท้จริง (อ่านหมอชาวบ้านฉบับ 265 เดือนพฤษภาคม)

3. การออกกำลังกายต้องทำเป็นประจำสม่ำเสมอ จะทำทุกวัน ทุก 2 วัน หรือ 3 วัน ก็แล้วแต่ความสะดวกของแต่ละคน แต่ควรออกกำลังกายให้ได้ตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ แล้วถ้าหากไม่มีความจำเป็นหรือเหตุขัดข้องใดๆ ควรออกกำลังกายในเวลาเดียวกันทุกครั้งก็จะเป็นสิ่งที่ดีมาก ซึ่งอาจจะเป็นเวลาเช้า หรือเวลาเย็นก็ได้

4. ผู้ที่มีปัญหาสุขภาพหรือมีโรคประจำตัว เช่น โรคหัวใจ ความดันเลือดสูง โรคเบาหวาน โรคข้อต่างๆ หรือมีความผิดปกติของหลอดเลือด ฯลฯ ก่อนออกกำลังกายเพื่อฟื้นฟูสุขภาพ ควรปรึกษาแพทย์ที่ทำการรักษาอยู่ว่าจะออกกำลังกายได้ไหม หรือควรจะออกกำลังกายแบบใด

อย่าลืมว่าถ้าเราประเมินสภาพร่างกายของตัวเองผิดพลาด จะทำให้เกิดปัญหาต่อสุขภาพมากขึ้น และในความเป็นจริง เหตุการณ์แบบนี้เกิดขึ้นมากพอสมควรสำหรับผู้รู้เท่าไม่ถึงการณ์


ที่มา : มูลนิธิหมอชาวบ้าน
http://www.doctor.or.th/article/detail/3523
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กรกฎาคม 17, 2015, 12:26:12 pm โดย ยาใจ »

ยาใจ

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 14143
    • ดูรายละเอียด
1 นาทีแชร์ SOOK ตอน ออกกำลังสร้างสุข
« ตอบ #46 เมื่อ: กันยายน 23, 2015, 12:00:08 am »




ที่มา : Facebook Thai Health Promotion Foundation (สสส.)
https://www.facebook.com/thaihealth
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กันยายน 23, 2015, 12:05:03 am โดย ยาใจ »

ยาใจ

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 14143
    • ดูรายละเอียด
7 พฤติกรรมออกกำลังกายผิดวิธี
« ตอบ #47 เมื่อ: ตุลาคม 06, 2015, 04:41:28 pm »
7 พฤติกรรมออกกำลังกายผิดวิธี

วันนี้เราจึงมีความรู้เกี่ยวกับการออกกำลังกายแบบผิดวิธีมานำเสนอ เป็น 7 ข้อสำคัญที่ส่งผลต่อร่างกายของคุณโดยตรง หากใครกำลังทำแบบข้อเหล่านี้อยู่ล่ะก็รีบเปลี่ยนแปลงและปฏิบัติตามคำแนะนำกันเลย

1. ไม่อบอุ่นร่างกาย
บ่อยครั้งที่หลายคนพยายามประหยัดเวลาโดยการข้ามขั้นตอนการอบอุ่นร่างกายไป ทั้งที่การอบอุ่นร่างกายจะช่วยปรับระบบประสาทให้พร้อมสำหรับการออกกำลังกาย และป้องกันอาการหัวใจเต้นไม่เป็นจังหวะหรือเหนื่อยเร็วเกินไปอีกด้วย การอบอุ่นร่างกายสามารถทำได้โดยการออกกำลังกายเบาๆ เช่น การเดินเร็วพร้อมกับหมุนแขนเป็นวงกลม หรือเดินย่ำอยู่กับที่และเอาแขนวางไว้เหนือศีรษะ หากมีเหงื่อซึมๆ นั่นก็หมายความว่าอบอุ่นร่างกายพอแล้ว

2. เดินหรือบริหารหัวใจเพียงอย่างเดียวและเลี่ยงการยกน้ำหนัก
การบริหารหัวใจหรือการออกกำลังกายแบบคาร์ดิโอ จะช่วยทำให้หัวใจแข็งแรงและเผาผลาญแคลอรี่ แต่การยกน้ำหนักหรือบอดี้เวทก็ให้คุณประโยชน์ไม่แพ้กัน กล้ามเนื้อของคุณจะค่อยๆ เสื่อมสภาพเมื่อแก่ตัวลงเนื่องจากไม่มีการออกกำลังกายที่มากพอ และกระบวนการเผาผลาญก็ช้าลง ดังนั้นอย่ามองข้ามการยกน้ำหนักเพราะกล้ามเนื้อจะช่วยเผาผลาญแคลอรี่ได้มากกว่าไขมันสะอีก

3. ลืมยืดกล้ามเนื้อ
กล้ามเนื้อตึงมาพร้อมกับอายุที่มากขึ้น เกิดจากการสูญเสียของเหลวและความยืดหยุ่นตามเอ็นกล้ามเนื้อและเส้นเอ็น คุณควรฝึกยืดหยุ่นร่างกายอย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 ครั้ง การยืดกล้ามเนื้อทำได้ทั้งโยคะหรือพิลาทิส รวมถึงการยืดกล้ามเนื้ออยู่กับที่ (ยืดกล้ามเนื้อและค้างไว้) การออกกำลังกายด้วยโยคะและพิลาทิสนั้น จะช่วยเสริมสร้างความสมดุลและพัฒนากล้ามเนื้อแกนกลางลำตัว การออกกำลังกายทั้ง 2 อย่างนี้ มีความสำคัญในเรื่องการปกป้องข้อต่อสะโพกและกระดูกสันหลัง ซึ่งจะช่วยให้เรายืนได้อย่างมั่นคง รวมทั้งมีกระดูกเชิงกราน กระดูกสันหลัง และกล้ามเนื้อแข็งแรงยิ่งขึ้น
* ข้อสังเกต การยืดกล้ามเนื้อไม่ใช่การอบอุ่นร่างกาย และควรทำหลังจากที่อบอุ่นร่างกายหรือออกกำลังกายเสร็จแล้วเท่านั้น

4. ไม่ได้รับการประเมินผลจากมืออาชีพ
นอกจากใบรับรองแพทย์กับการตรวจสุขภาพร่างกายก่อนที่จะเริ่มออกกำลังกายแล้ว คุณควรหาครูฝึกที่มีประสบการณ์และได้รับการรับรองมาพิจารณาว่าสิ่งไหนควรทำหรือไม่ควรทำ ครูฝึกที่มีคุณสมบัติจะช่วยให้คำแนะนำในเรื่องการออกกำลังกาย, เครื่องออกกำลังกาย, ความหนักเบาและระยะเวลาที่เหมาะสมกับคุณ ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงในการบาดเจ็บและเพื่อให้ร่างกายของคุณได้รับผลประโยชน์อย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วยอีกด้วย

5. หักโหมเกินไป เร่งเกินไป
ความตื่นเต้นที่จะได้ออกกำลังกายแนวใหม่ๆ อาจทำให้คุณหักโหมมากเกินไป เช่น การออกกำลังกายทุกวัน หรือการยกน้ำหนักมากเกิน แทนที่จะค่อยๆ เพิ่มน้ำหนักขึ้น ซึ่งอาจทำให้เกิดอาการบาดเจ็บและเหนื่อยล้า การออกกำลังกายเพื่อบริหารหัวใจ 2-4 ครั้งต่อสัปดาห์หรือการฝึกที่ช่วยเสริมสร้างกล้ามเนื้อประมาณ 3 ครั้งก็น่าจะเพียงพอแล้วสำหรับผู้ที่เริ่มออกกำลังกายใหม่ๆ คุณควรค่อยๆ เพิ่มระดับกับระยะเวลาและเลือกออกกำลังกายทีละอย่าง หากคุณเลือกออกกำลังกายเพื่อบริหารหัวใจก็ควรงดการยกน้ำหนักในวันนั้น

6. คิดว่าตัวเองแก่เกินไป
ผู้ที่เริ่มออกกำลังกายส่วนใหญ่ที่อายุมากกว่า 50 ปี มักจะตั้งเป้าต่ำเกินไปและชอบคิดว่าเป็นไปไม่ได้ พวกเขามักคิดว่าสายเกินไปที่จะฝึกยกน้ำหนักซึ่งมันไม่ใช่เรื่องจริงเลย จากการศึกษาหลายครั้งเผยว่าการออกกำลังกายจะช่วยเสริมสร้างความแข็งแกร่งอย่างเห็นได้ชัด รวมถึงสุขภาพของหัวใจด้วย นอกจากนี้การออกกำลังกายระดับปานกลางของผู้ที่มีอายุ 70 ปีหรือมากกว่านั้นจะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจวายหลังจากที่ออกกำลังกายประมาณ 1 ปี

7. เริ่มโดยการวิ่งจ็อกกิ้ง
การวิ่งหรือวิ่งจ็อกกิ้งทั้งที่ร่างกายของคุณไม่แข็งแรงเพียงพอถือเป็นความผิดพลาดที่พบเห็นได้ทั่วไป การวิ่งอาจเป็นทางเลือกที่น่าสนใจแต่ยังมีอีกหลายวิธีที่ไม่ทำให้ข้อต่อของคุณเสื่อมสภาพ ได้แก่ การปั่นจักรยาน การเดินออกกำลังกายด้วยเครื่อง การออกกำลังกายในน้ำ หรือการเต้นเพื่อบริหารหัวใจ เช่น ซุมบา แอโรบิก ลีลาศ เป็นต้น

 
 

ขอบคุณที่มา : เว็บไซต์แนวหน้า
Facebook สสส. Thai Health Promotion Foundation
https://www.facebook.com/thaihealth

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ตุลาคม 06, 2015, 04:48:34 pm โดย ยาใจ »

ยาใจ

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 14143
    • ดูรายละเอียด



10 ท่าการบริหารสมอง ให้มีประสิทธิภาพเป็น 2 เท่า


การบริหารสมอง หมายถึง การบริหารร่างกายในส่วนที่สมองควบคุมโดยเฉพาะกลุ่มเส้นประสาท Corpus Callosum ซึ่งเชื่อมสมอง 2 ซีกเข้าด้วยกันให้ประสานกัน แข็งแรงและทำงานคล่องแคล่วอันจะทำให้การถ่ายโยงข้อมูลและการเรียนรู้ของสมอง 2 ซีกเป็นไปอย่างสมดุลเกิดประสิทธิภาพและยังช่วยให้เกิดความผ่อนคลายความตึง เครียด ทำให้สภาพจิตใจเกิดความพร้อมที่จะเรียนรู้ เกิดความจำทั้งระยะสั้นและระยะยาว มีอารมณ์ขันเพราะคลื่นสมอง (Brain Wave) จะลดความเร็วลงคลื่นเบต้า (Beta) เป็น อัลฟา (Alpha) ซึ่งเป็นสภาวะที่สมองทำงานอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด



:) คลิ๊กดูได้ที่ => http://www.trueplookpanya.com/new/cms_detail/general_knowledge/24560



ขอบคุณที่มา : Facebook สามเณร ปลูกปัญญาธรรม
https://www.facebook.com/Truelittlemonk/
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 21, 2016, 01:25:45 pm โดย ยาใจ »

ยาใจ

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 14143
    • ดูรายละเอียด
4 ข้อต้องรู้การออกกำลังสำหรับผู้สูงวัย
« ตอบ #49 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 05, 2016, 08:26:00 pm »



ขอบคุณที่มา : MGR Online

ยาใจ

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 14143
    • ดูรายละเอียด
9 เหตุผลที่ควรลุกขึ้นมา "ก้าวเดิน"
« ตอบ #50 เมื่อ: มีนาคม 04, 2016, 07:11:13 am »




ขอบคุณข้อมูลจาก : Facebook สสส. (สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ) : ThaiHealth
https://www.facebook.com/thaihealth

ยาใจ

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 14143
    • ดูรายละเอียด
การบริหารกล้ามเนื้อคอ ไหล่ ศอก ข้อมือ
« ตอบ #51 เมื่อ: มิถุนายน 07, 2016, 04:43:19 pm »







ขอบคุณข้อมูลจากแผ่นพับโรงพยาบาลหัวเฉียว
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มิถุนายน 07, 2016, 04:50:06 pm โดย ยาใจ »

ยาใจ

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 14143
    • ดูรายละเอียด
4 โปรแกรม " ขยับ " ฟื้นกลับ " ข้อ " ฟิต
« ตอบ #52 เมื่อ: พฤศจิกายน 29, 2016, 05:22:36 am »
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤศจิกายน 29, 2016, 05:31:13 am โดย ยาใจ »

ยาใจ

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 14143
    • ดูรายละเอียด
4 โปรแกรม " ขยับ " ฟื้นกลับ " ข้อ " ฟิต
« ตอบ #53 เมื่อ: พฤศจิกายน 29, 2016, 05:31:48 am »







ขอบคุณข้อมูลจาก โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤศจิกายน 29, 2016, 05:35:26 am โดย ยาใจ »

ยาใจ

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 14143
    • ดูรายละเอียด




ขอขอบคุณ Youtube สสส. ค่ะ

ยาใจ

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 14143
    • ดูรายละเอียด
ชวนกันเดิน (20 เหตุผลอยากชวนทุกคนเดิน)
« ตอบ #55 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 18, 2017, 05:43:26 am »












ขอบคุณที่มา : Facebook เครือข่าย คนไทยไร้พุง
https://www.facebook.com/raipoong
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กุมภาพันธ์ 18, 2017, 05:45:15 am โดย ยาใจ »

ยาใจ

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 14143
    • ดูรายละเอียด
ยืดเหยียดกล้ามเนื้อ สไตล์มณีเวช
« ตอบ #56 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 22, 2017, 02:07:43 pm »



















ขอขอบคุณข้อมูลแผ่นพับจาก สำนักงานพัฒนาระบบสาธารณสุข สำนักอนามัย กทม.
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กุมภาพันธ์ 22, 2017, 02:23:15 pm โดย ยาใจ »

ยาใจ

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 14143
    • ดูรายละเอียด



ขอบคุณข้อมูลจาก Facebook เครือข่ายคนไทยไร้พุง
https://www.facebook.com/raipoongfanpage/
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: เมษายน 26, 2017, 07:19:16 am โดย ยาใจ »

ยาใจ

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 14143
    • ดูรายละเอียด
มหัศจรรย์แห่งการเดิน SMART WALK
« ตอบ #58 เมื่อ: กรกฎาคม 26, 2017, 03:07:06 pm »



















ขอบคุณข้อมูลจาก กรมอนามัยค่ะ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กรกฎาคม 26, 2017, 03:10:14 pm โดย ยาใจ »

ยาใจ

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 14143
    • ดูรายละเอียด



















  ขอขอบคุณข้อมูลจาก สถานการแพทย์แผนไทยประยุกต์ มหาวิทยาลัยมหิดล




« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มีนาคม 15, 2018, 07:41:30 am โดย ยาใจ »