ผู้เขียน หัวข้อ: *รวม * คติธรรม - พระอาจารย์ไพศาล วิสาโล  (อ่าน 309961 ครั้ง)

ยาใจ

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 14143
    • ดูรายละเอียด
*รวม * คติธรรม - พระอาจารย์ไพศาล วิสาโล
« ตอบ #780 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 26, 2021, 05:27:58 am »




พระพุทธเจ้าเคยตรัสภาษิตในธรรมบทที่น่าสนใจ ภาษิตนั้นว่า

“แม่น้ำน้อยไหลดังสนั่น แม่น้ำใหญ่ไหลนิ่งสงบ สิ่งใดพร่องสิ่งนั้นดัง สิ่งใดเต็มสิ่งนั้นเงียบ”

ถ้าเราพิจารณาดูก็พบว่ามีความหมายที่ลึกซึ้งมาก และอธิบายอะไรได้หลายๆ อย่างเกี่ยวกับผู้คน แม้กระทั่งตนเอง

คำว่าดัง ไม่ว่าจะเป็นความดังของแม่น้ำลำห้วย หรือการส่งเสียงดังของผู้คน ก็มีที่มาคล้ายๆ กัน คนที่ก้าวร้าวหรือโกธรเกรี้ยว ก็สะท้อนมาจากการที่เขารู้สึกบกพร่องข้างใน ซึ่งรวมไปถึงคนที่ชอบโอ้อวด หรือรวมไปถึงการส่งเสียงดังแบบเงียบๆ เช่น การแสดงภาพลักษณ์ การสร้างภาพลักษณ์ ด้วยการซื้อของราคาแพงมาประดับตัว เป็นการแสดงตัวตนอย่างหนึ่ง

ถึงแม้ว่าจะไม่เสียงดัง แต่สามารถจะส่งสัญญานบอกว่าฉันเป็นใคร อย่างการซื้อของแบรนด์เนม การซื้อกระเป๋าราคาแพง นาฬิการาคาเป็นล้าน หรือขับรถหรูราคาหลายสิบล้าน ก็เป็นการส่งเสียงดังเหมือนกัน แต่ดังแบบเงียบๆ แต่ชัดเจน ซึ่งสะท้อนถึงความรู้สึกที่พร่องข้างใน พร่องอะไร พร่องความสุข พร่องการยอมรับนับถือตนเอง หรือการเคารพตนเอง

คนที่พร่องความสุข ข้างในมีความทุกข์ มักระบายความทุกข์ใส่คนอื่นด้วยการแสดงอาการกราดเกรี้ยว ก้าวร้าว หรือมิฉะนั้นเป็นเพราะว่า ยังพร่องในการยอมรับตัวเอง การนับถือตัวเอง เลยทดแทนด้วยการให้คนอื่นมาเคารพนับถือตนเอง

การที่จะทำให้คนอื่นมาเคารพนับถือตนเองทำได้หลายวิธี วิธีหนึ่งคือการใช้อำนาจบังคับ หรือไม่ก็ใช้วิธีการคุยโม้ เพื่อให้คนยอมรับว่าฉันเก่ง ฉันแน่ หรือไม่เช่นนั้นก็ใช้วิธีการประกาศตัวตนด้วยเครื่องแต่งกาย ด้วยข้าวของเครื่องใช้

อย่างคนบางคนอยากจะให้ผู้คนยอมรับว่าฉันคือนักปฏิบัติธรรม เพราะเห็นว่าการเป็นนักปฏิบัติธรรมเป็นของดี ก็จะแสดงออกด้วยการพูดธรรมะ สอนธรรมะอย่างพร่ำเพรื่อ เพื่อให้เพื่อนๆ รู้ว่าฉันมีธรรมะ ฉันรู้ธรรมะ หรือไม่ก็แสดงออกด้วยการแต่งกายนุ่มขาวห่มขาว

นี่เป็นการส่งเสียงดังอีกแบบหนึ่ง เรียกว่าเป็นการประกาศตัวตน ถือเป็นการเชื้อชวนให้คนมายอมรับตนเองว่าเป็นนักปฏิบัติธรรม ซึ่งสะท้อนถึงความพร่องข้างใน

บางคนต้องการโอ้อวดว่าฉันเก่ง มีความฉลาด ก็จะคุยโวคุยโม้ ดูภายนอกเหมือนว่าเขามีความมั่นอกมั่นใจ มีความฉลาด คนที่พยายามจะยืนยันในสิ่งที่ตนเองคิดตัวเองกระทำอย่างเอาเป็นเอาตาย ดูภายนอกเหมือนเขามั่นใจในตนเองมาก แต่ดูไปลึกๆ ก็รู้ว่าเขาพร่อง เขาไม่ค่อยมั่นใจในตัวเอง ยังยอมรับตัวเองไม่ได้ เลยพยายามที่จะหว่านล้อมหรือชักชวน แม้กระทั่งบีบคั้นให้ผู้คนยอมรับว่า เขาเก่งเขาแน่

ถ้าหากว่ายังไม่สำเร็จ ก็จะใช้วิธีการที่รุนแรงก้าวร้าว ตรงข้ามกับคนที่รู้สึกว่า เขาเต็มไปด้วยความสุข หรือยอมรับนับถือตนเอง หรือมีความมั่นใจในตนเองแท้จริง เขาจะไม่แสดงอาการอย่างนั้น

เศรษฐีที่รวยจริง อาจจะใส่นาฬิการาคาไม่กี่ร้อย มีเศรษฐีคนหนึ่งบริจาคเงินไปแล้วหลายแสนล้านบาท บริจาคถึง 90% ของรายได้ที่มี แต่ไม่มีรถส่วนตัวสักคัน ใส่นาฬิกาคาสิโอราคา 500 บาท แล้วก็ใส่เสื้อผ้าธรรมดาๆ ขึ้นรถไฟฟ้า รถขนส่งสาธารณะ เขาไม่ใช่คนไทยนะเป็นอเมริกัน การที่เขาไม่ประกาศตัวตนด้วยข้าวของราคาแพง หรือแมนชั่นหรู ก็สะท้อนถึงความรู้สึกเต็มข้างใน อาจจะเต็มด้วยความสุข หรือรู้สึกมั่นคงในจิตใจ จึงไม่มีความจำเป็นต้องประกาศตัวตน หรือเรียกร้องให้ใครมายอมรับนับถือเขา ไม่ต้องคุยโวโอ้อวด เวลาเขาบริจาคเงินก็ไม่ได้ประกาศว่าบริจาค เขาทำเงียบๆ ตั้งมูลนิธิขึ้นมา ไม่ได้ตั้งมูลนิธิในชื่อเขา แต่ก็เป็นผู้อุปถัมภ์มูลนิธินั้น แต่ความเพิ่งมาแตกหลังจากที่เขาบริจาคเงินแบบเงียบๆมานาน 20 ปี

ก็เป็นเหมือนกับภาษิตของพระพุทธเจ้าที่ว่า “สิ่งใดเต็มสิ่งนั้นเงียบ สิ่งใดพร่องสิ่งนั้นดัง” คนที่อยากดังก็สะท้อนว่าข้างในพร่อง

พระไพศาล วิสาโล

  อ่าน / ฟังได้ที่ https://pagoda.or.th/aj-visalo/2020-11-22-11-31-20.html









  ขอขอบคุณข้อมูลและรูปภาพจาก : Facebook ข้อธรรม คำสอน พระไพศาล วิสาโล
https://www.facebook.com/visalo/
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: เมษายน 28, 2022, 09:11:03 am โดย ยาใจ »

ยาใจ

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 14143
    • ดูรายละเอียด
*รวม * คติธรรม - พระอาจารย์ไพศาล วิสาโล
« ตอบ #781 เมื่อ: มีนาคม 10, 2021, 04:46:31 pm »




สาเหตุที่พวกเราทะเลาะกันไม่ว่าในบ้าน ที่ทำงาน ในเฟซบุ๊ค นั่นเพราะหลง หลงเข้าไปในความคิด พอได้ยินหรือได้อ่านสิ่งที่คนอื่นคิดไม่เหมือนเราก็เกิดความไม่พอใจ ความยึดมั่นที่เกิดขึ้นในใจก็จะสั่งให้เราตอบโต้ วิพากษ์วิจารณ์ โจมตี จนถึงขั้นด่าทอ อันนั้นเรียกว่าทำไปเพราะอานุภาพของความหลง สังเกตบ้างหรือเปล่าเวลามันสั่งให้ด่าว่าคนที่คิดไม่เหมือนเรา แม้เป็นคนรู้จักกันแต่ความเห็นต่างกัน

เวลาประชุมกันเราพยายามหักล้างความคิดที่ต่างจากเรา แตกต่างจากที่เราคิด โดยไม่สนใจว่าเราพูดอะไรออกไป บางทีก็ด่าว่าเขา ทำให้เขาเจ็บช้ำน้ำใจหรือโกรธแค้น อันนั้นเป็นความหลง บางครั้งก็หลงถึงขั้นลงมือลงไม้ ยกพวกห้ำหั่นกันในนามของลัทธิที่แตกต่างกัน ยิ่งมีความเชื่อทางการเมืองที่แตกต่างกันก็ยิ่งทำร้ายกันหนักเข้าไปใหญ่ ถึงขนาดนี้ผู้คนก็ยังไม่รู้ว่านี้คือตัวหลง ให้เรารู้จักไว้ว่านี่คือ “ตัวหลง”


ข้อธรรม คำสอน พระไพศาล วิสาโล 








  ขอขอบคุณข้อมูลและรูปภาพจาก : Facebook ข้อธรรม คำสอน พระไพศาล วิสาโล
https://www.facebook.com/visalo/
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: เมษายน 28, 2022, 09:11:21 am โดย ยาใจ »

ยาใจ

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 14143
    • ดูรายละเอียด
*รวม * คติธรรม - พระอาจารย์ไพศาล วิสาโล
« ตอบ #782 เมื่อ: มีนาคม 17, 2021, 06:57:50 pm »



ชายคนหนึ่งซึ่งเกิดเบื่อเกิดรำคาญเงาแล้วก็รอยเท้าของตัว ก็อยากจะหนีเงา อยากจะหนีรอยเท้า เขาก็เลยพยายามวิ่งหนี เขาวิ่งตั้งแต่เช้าเลย แต่ยิ่งวิ่ง เงาก็ยิ่งตาม รอยเท้าก็ยิ่งติดตามเขาไปเช่นเดียวกัน

เขาคิดว่ายังวิ่งเร็วไม่พอ ก็ยิ่งวิ่งเร็วขึ้นๆ ตั้งแต่เช้าจรดบ่าย เงาก็ยังตาม รอยเท้าก็ยังตามติดไป ที่ว่ายังไกลไม่พอ ก็วิ่งจนกระทั่งเรียกว่าพยายามวิ่งไปให้สุดขอบฟ้า แต่สุดท้ายก็หมดแรง หมดสภาพ แล้วก็ตาย ขณะที่เงา รอยเท้าก็ยังตามเขาไปจนถึงนาทีสุดท้าย

ที่จริงเขาหารู้ไม่ว่าเพียงแต่เขานั่งอยู่ในร่มไม้ เพียงเท่านั้นแหละรอยเท้าก็หายไป เช่นเดียวกับเงา

มันให้ข้อคิดที่ดีมาก มันเป็นอุปมาของคนที่อยากจะหนีทุกข์ คนทั้งหลายก็อยากจะหนีทุกข์ทั้งนั้น คนทั้งโลกอยากจะหนีทุกข์ และส่วนใหญ่ที่ทำก็คือพยายามวิ่ง พยายามแสวงหา พยายามหนีทุกข์ด้วยการแสวงหาความสุข ก็ดิ้นรนไปหาสิ่งต่างๆมาครอบครอง

อยากจะหนีความยากจน อยากจะหนีความต่ำต้อย ก็พยายามไปหาทรัพย์สินเงินทอง แสวงหาชื่อเสียงเกียรติยศ ดิ้นรนเพื่อให้ได้มาด้วยความคิดว่าถ้าได้มาแล้วก็จะไม่มีทุกข์ แต่ว่าทุกข์ก็ยังตามเขาไป

ไม่ว่าคนรวยหรือว่าคนมีชื่อเสียง คนมีอำนาจ ความทุกข์ก็ไม่เคยหายไป เงาแล้วก็รอยเท้านี้ก็เปรียบเหมือนความทุกข์ที่คนพยายามหนี แต่หนีด้วยการวิ่ง ก็คือการดิ้นรนแสวงหาสิ่งที่คิดว่าเป็นความสุข คิดว่ามันต้องไปครอบครองให้มากๆมันจึงจะไม่ทุกข์ เงินทอง ทรัพย์สมบัติ บริษัท บริวาร อำนาจ ชื่อเสียง เกียรติยศ ฐานะ ตำแหน่ง แม้จะได้มาร้อยล้านพันล้านก็ยังทุกข์

ความทุกข์อันนี้ก็คือความทุกข์ว่ายังรวยไม่พอ อาจจะเป็นเพราะมีคนอื่นเขารวยกว่า หรือจะเป็นเพราะว่ามันยังไม่มีความสุข ยังมีความทุกข์ มันจะไม่ทุกข์ได้อย่างไร ในเมื่อมีทรัพย์สมบัติมากๆก็ต้องคอยหวงแหนต้องคอยรักษา กลัวคนจะขโมย...

สิ่งที่จางจื๊อต้องการบอกคือว่ามันไม่ต้องไปดิ้นรนขวนขวายแสวงหาอะไรต่างๆเพื่อจะหนีทุกข์หรอก เพียงแค่อยู่นิ่งๆ นั่งพักผ่อนใต้ร่มไม้ รอยเท้าและเงาก็หายไป ต้นไม้นี้ก็อาจจะหมายถึงธรรมะก็ได้ เมื่อคนเราเลิกดิ้นรนตะเกียกตะกาย แต่หันมาอยู่ภายใต้ร่มเงาแห่งธรรมะ ความสุขก็เกิดขึ้นทันที

ร่มเงานั้นอาจจะเจาะจงให้แคบลงไปหน่อยก็ได้แก่สติและปัญญา คนเราถ้าหากว่ามีสติเป็นเครื่องรักษาใจ มีปัญญาเป็นเหมือนแสวงสว่างสาดส่องมันก็เป็นสุขได้ ก็เป็นสุขที่เกิดจากความสงบ

ความนิ่งในที่นี้นิ่งโดยที่ไม่วิ่ง ไม่ไปตะเกียกตะกาย มันเป็นสภาวะจิต ใจนิ่ง ใจไม่ดิ้นรน ความทุกข์คนเรามันไม่ได้เกิดจากอะไร มันเกิดจากจิตที่มันดิ้น จิตที่ตะเกียกตะกาย

พระไพศาล วิสาโล

ที่มา สุขได้เมื่อใจหยุดดิ้น
   ฟัง / อ่าน ===> https://pagoda.or.th/aj-visalo/2020-11-25-04-42-43.html

ภาพ ลานหินโค้ง สวนโมกข์กรุงเทพ





  ขอขอบคุณข้อมูลและรูปภาพจาก : Facebook หอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ : Buddhadasa Indapanno Archives : https://www.facebook.com/buddhadasaarchives

Facebook
ข้อธรรม คำสอน พระไพศาล วิสาโล
https://www.facebook.com/visalo/
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: เมษายน 28, 2022, 09:11:45 am โดย ยาใจ »

ยาใจ

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 14143
    • ดูรายละเอียด
ธรรมไม่ได้เทศน์ - พระอาจารย์ไพศาล วิสาโล
« ตอบ #783 เมื่อ: มีนาคม 17, 2021, 07:35:26 pm »




  ธรรมไม่ได้เทศน์ 


"ธรรม"นั้น ไม่ได้อยู่ในวัด บนธรรมาสน์ หรือในคัมภีร์เท่านั้น หากยังอยู่ในชีวิตจิตใจของผู้คน และปรากฏแสดงเป็นการกระทำและความสัมพันธ์กับผู้คน ธรรมที่น้อมนำเข้ามาเป็นหนึ่งเดียวกับชีวิตจิตใจนี้แหละที่สามารถบันดาลความสุขความสงบเย็นให้แก่เรา อีกทั้งยังเป็นพลังขับเคลื่อนชีวิตให้เกื้อกูลผู้อื่นและร่วมชักนำสังคมให้เป็นไปในทางที่ดีงาม ชีวิตที่ดีงามย่อมต้องอิงอาศัยธรรม ขณะเดียวกันชีวิตที่ดีงามกับสังคมที่สงบสุขก็ไม่อาจแยกขาดจากกันได้ นั่นหมายความว่าธรรม กับชีวิตที่ดีงาม และสังคมที่สงบสุข ล้วนสัมพันธ์กันอย่างแนบแน่น

เมื่อใดก็ตามที่ธรรมถูกละเลย ผู้คนหันไปให้ความสำคัญกับทรัพย์ ยศ อำนาจ สถานเดียว แม้ชีวิตจะสะดวกสบาย แต่ก็หามีความผาสุกไม่ อีกทั้งยังมีแนวโน้มที่จะเบียดเบียนผู้อื่นได้ง่ายเพื่อประโยชน์ส่วนตน ซึ่งในที่สุดย่อมนำไปสู่ความวุ่นวายในสังคม จนเกิดความเดือดร้อนไปทั่ว สุดท้ายก็ไม่มีใครที่เป็นสุขอย่างแท้จริง ในสภาพเช่นนี้หากจะฟื้นฟูชีวิตและสังคมให้กลับสู่ความปกติสุข จำเป็นต้องอาศัยธรรมเป็นเครื่องกำกับรักษาใจเพื่อให้บุคคลทำงานได้อย่างต่อเนื่องและด้วยความบริสุทธิ์ใจ ไม่ยอมแพ้ต่ออุปสรรคและสิ่งยั่วยุ สามารถใช้ปัญญาอย่างเต็มที่โดยปราศจากอคติหรือถูกครอบงำด้วยกิเลสตัณหา กล่าวอีกนัยหนึ่ง การทำงานทางสังคมกับการทำงานด้านใน มิอาจแยกจากกันได้ จะเปลี่ยนแปลงสังคมได้ก็ต้องมีการเปลี่ยนแปลงตนเองด้วย และหากวางใจเป็น การเปลี่ยนแปลงสังคมก็สามารถนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงตนเองด้วยเช่นกัน


พระไพศาล วิสาโล









ขอขอบคุณข้อมูลและรูปภาพจาก : Facebook วัดป่าสุคะโต ธรรมชาติที่พักใจ
https://www.facebook.com/Zensukato/
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 21, 2022, 08:33:44 pm โดย ยาใจ »

ยาใจ

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 14143
    • ดูรายละเอียด


                                                                                                   

อัตตาทำให้ใจเราหนัก ความรักทำให้ตัวเราเบา


คนเราไม่ได้มีแต่ความเห็นแก่ตัวเท่านั้น หากยังมีคุณธรรมและความใฝ่ดีในจิตใจด้วย คุณสมบัติประการหลังทำให้เราอยากทำความดี และรู้สึกผิดหากทำสิ่งที่ไม่ถูกต้องด้วยอำนาจของความเห็นแก่ตัว การทำความดีช่วยให้คุณธรรมและความใฝ่ดีเจริญงอกงามจนสามารถมีพลังเอาชนะความเห็นแก่ตัวได้ ในทางตรงข้ามการคิดนึกและทำโดยคำนึงถึงแต่ประโยชน์ตนอยู่เสมอ ย่อมทำให้ความเห็นแก่ตัวแก่กล้าขึ้นจนสามารถสยบคุณธรรมภายในใจได้

ความเห็นแก่ตัวนั้นแม้จะเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการอยู่รอดของมนุษย์ แต่หากเราปล่อยให้มันครองใจและเป็นใหญ่ในชีวิต เราก็จะทุกข์ได้ง่ายมาก เพราะได้เท่าไรก็ไม่พอใจ ยิ่งใหญ่เพียงใดก็ไม่มีความสุข อะไรมากระทบแม้เพียงเล็กน้อยก็พร้อมจะระเบิดอารมณ์ได้ทันที ไม่ต่างกับกับลูกโป่งที่ขยายตัวเต็มที่ เพียงแค่ถูกใบหญ้าทิ่มเอา ก็สามารถระเบิดดังสนั่นได้

อัตตาที่พองโตเพราะปรนเปรอตนอยู่ตลอดเวลา เป็นที่มาแห่งความทุกข์ของผู้คน และผลักดันให้ผู้คนดิ้นรนแสวงหาความสุขไม่หยุดหย่อน แต่ก็ไม่เคยพบสุขที่แท้เสียที เพราะธรรมชาติของอัตตาหรือความเห็นแก่ตัวนั้น ไม่เคยรู้จักคำว่าพอ แต่เมื่อใดที่เรานึกถึงคนอื่น ปรารถนาให้เพื่อนมนุษย์มีความสุข และช่วยเหลือเกื้อกูลให้เขาคลายทุกข์ เราจะพบความสุขภายในทันที การนึกถึงความทุกข์ของผู้อื่น ทำให้ความทุกข์ของเราเล็กลงไปถนัดใจ ขณะเดียวกันการมีน้ำใจไมตรีต่อเพื่อนมนุษย์ กลับทำให้หัวใจเราใหญ่ขึ้น อัตตาเล็กลง จึงมีที่ว่างมากขึ้นสำหรับเปิดรับความสุข

สุขหรือทุกข์นั้นขึ้นอยู่กับว่าอะไรเป็นใหญ่ในใจเราระหว่างอัตตากับเมตตา หากเราเลือกอัตตาหรือความเห็นแก่ตัว เราก็จะเป็นคนสุขยาก ทุกข์ง่าย แต่หากเราเลือกเมตตาหรือคุณธรรม เราก็จะเป็นคนสุขง่าย ทุกข์ยาก มองในแง่นี้สุขหรือทุกข์เป็นสิ่งที่เราเลือกได้ อยู่ที่ว่าเราจะเลือกอัตตาหรือเมตตา

พระไพศาล วิสาโล







ขอขอบคุณข้อมูลและรูปภาพจาก : Facebook วัดป่าสุคะโต ธรรมชาติที่พักใจ
https://www.facebook.com/Zensukato/
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ตุลาคม 20, 2022, 10:11:39 am โดย ยาใจ »

ยาใจ

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 14143
    • ดูรายละเอียด




สร้างภูมิคุ้มใจด้วยสติ 



ถ้าเราฝึกให้เป็นผู้เห็นอยู่บ่อยๆ การเกิดอารมณ์อกุศลแต่ละครั้งความเกลียด ความโกรธ ความเศร้า ความหงุดหงิดเป็นของดี มันทำให้สติได้รู้จักอารมณ์แต่ละตัวได้ดี และถึงเวลาคราวต่อไป มันมา ก็จะไม่ปล่อยให้ใจเข้าไปจมอยู่ในอารมณ์นั้น หรือไม่ปล่อยให้อารมณ์นั้นเข้ามาเล่นงานจิตใจ หรือถึงอารมณ์นั้นเข้ามาเล่นงานจิตใจ สติก็ดึงจิตถอนออกมาจากอารมณ์นั้น หรือปกป้องจิตไม่ให้อารมณ์เหล่านั้นเข้ามาเล่นงาน มันก็เหมือนกับภูมิคุ้มกันร่างกาย รู้ว่าอะไรเป็นโทษได้เพราะว่า มีประสบการณ์จากการฝึกฝน จากการได้เรียนรู้จากของจริง เรียนรู้จากความผิดพลาด เรียนรู้จากความพลั้งเผลอ ไม่ว่าจะเป็นการดูแลกายหรือการดูแลใจ สิ่งสำคัญจึงได้แก่การฝึกฝน การเรียนรู้จากของจริง


ยิ่งเรียนรู้บ่อยๆ เรียนรู้อยู่เนืองๆ มากเท่าไรมันก็จะเกิดความฉลาด ภูมิคุ้มกันในร่างกายของเราฉลาด ร่างกายเราก็ปลอดภัย แต่ถ้าไม่ฉลาด ป่วยโน่นป่วยนี่เพราะปล่อยให้เชื้อโรคเข้ามาเล่นงานบ้าง หรือไม่เช่นนั้นก็ไปเล่นงานสิ่งที่ไม่ได้เป็นอันตราย มันเป็นแค่สิ่งแปลกปลอมที่เข้ามาในร่างกายก็ไปเล่นงานเสียแล้ว ฉันใดก็ฉันนั้น จิตใจเรา ถ้าหากว่ามีภูมิคุ้มใจที่ดี มันก็ทำให้จิตใจปลอดโปร่งปลอดภัยจากอารมณ์ต่างๆ ไม่ให้มารุมเร้า แต่ถ้าหากว่า เราไม่ฝึกจิตให้ดี ไม่ฝึกสติให้ฉลาดในการรู้เท่าทันความคิดและอารมณ์ต่างๆมันก็ปล่อยอารมณ์เหล่านั้นเข้ามาเล่นงาน จนเกิดความทุกข์ เกิดความกลัดกลุ้ม กินไม่ได้นอนไม่หลับ กระสับกระส่าย


ชีวิตที่ปลอดจากความทุกข์เลยไม่มีปัญหาเลย มันไม่ใช่เป็นชีวิตที่ดี มันเป็นชีวิตที่เสี่ยงต่อความทุกข์ ก็เหมือนกับเด็กที่อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ปลอดเชื้อ ไม่มีเชื้อโรคใดๆเข้ามา อันนี้ไม่ใช่เป็นสิ่งที่ดีเสมอไป มันเป็นอันตรายมันเป็นภัยต่อเด็กในระยะยาวเมื่อเด็กโตขึ้น พอไม่มีภูมิคุ้มกัน ก็ไม่มีประสบการณ์ หรือถูกเชื้อโรคเล่นงาน หรือไม่เช่นนั้นก็ไปอาละวาดก่อกวนกับสิ่งที่ไม่ได้เป็นโทษ สิ่งที่ไม่ได้เป็นภัย จนเกิดโรคแพ้นั่นแพ้นี่ขึ้นมา เพราะฉะนั้นการที่ชีวิตของเราเจออุปสรรค เจอปัญหา หรือว่ามีอารมณ์ต่างๆเกิดขึ้น มันไม่ใช่เป็นสิ่งที่แย่เสมอไป มันเป็นสิ่งที่ดีเพราะมันมาฝึกฝนให้สติฉลาดปราดเปรียว และก็สามารถที่จะทำงานได้ดี รักษาจิตให้ปลอดภัยได้


พระไพศาล วิสาโล








ขอขอบคุณข้อมูลและรูปภาพจาก : Facebook วัดป่าสุคะโต ธรรมชาติที่พักใจ
https://www.facebook.com/Zensukato/
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: เมษายน 28, 2021, 04:56:17 pm โดย ยาใจ »

ยาใจ

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 14143
    • ดูรายละเอียด
*รวม * คติธรรม - พระอาจารย์ไพศาล วิสาโล
« ตอบ #786 เมื่อ: เมษายน 28, 2021, 04:28:15 pm »



สมัยนี้เราชอบอะไรที่ใหม่ๆ อะไรที่ซ้ำเดิมเราจะไม่ค่อยชอบเท่าไหร่ เสื้อผ้าก็ต้องเปลี่ยนอยู่เรื่อย เคสใส่โทรศัพท์มือถือก็ต้องเปลี่ยนบ่อย ๆ แม้แต่หน้าโปรไฟล์ในเฟสบุคก็เปลี่ยน บางคนเปลี่ยนกันแทบทุกอาทิตย์

สมัยนี้เรานิยมสิ่งใหม่ ๆ อะไรที่มันเหมือนเดิม เรารู้สึกว่ามันซ้ำซากจำเจ เราไม่ค่อยให้ความรู้สึกที่ดีกับสิ่งที่ทำอะไรซ้ำ ๆ เท่าไหร่ แต่ที่จริงชีวิตคนเราอยู่ได้เพราะความซ้ำไปซ้ำมานี่แหละ เราอยู่ได้เพราะลมหายใจ และลมหายใจเราก็มีแค่เข้ากับออกเท่านั้น หัวใจของเราก็เหมือนกัน มันก็เต้นเข้าเต้นออก เข้าออกเข้าออกนั่นแหละ ถ้าหากว่าลมหายใจของเราเกิดแปรเปลี่ยนไป อันนี้แหละเป็นปัญหา หรือการที่หัวใจของเราเกิดเต้นผิดปกติไม่เหมือนเดิม อันนี้ปัญหาแล้ว

เราต้องขอบคุณความซ้ำ ซ้ำเดิม เพราะมันทำให้เราอยู่ได้ มันทำให้เรามีชีวิตได้ต่อไป...เราเป็นหนี้บุญคุณความซ้ำเดิมนี่แหละ ถ้ามีความผิดแปลกไปจากเดิมเมื่อไหร่ นี่แหละคือปัญหา

ในการเรียนรู้ของคนเราก็ต้องอาศัยการทำอะไรซ้ำ ๆ สมัยที่เราเรียนก.ไก่ ข.ไข่ กว่าจะเขียนก.ไก่ ข.ไข่ได้ เราต้องเขียนซ้ำแล้วซ้ำอีกไม่รู้กี่สิบหรือกี่ร้อยครั้ง ลองนึกภาพตอนเราเป็นเด็กเริ่มเขียน ก.ไก่ กว่าจะเขียนเป็นตัวและตรงต้องเขียนแล้วเขียนอีกเป็นร้อยครั้ง แล้วก็ต้องเขียนให้มากกว่านั้นเพื่อจะเขียนให้ได้สวย

ตอนเด็ก ๆ เรียนอนุบาลแยกไม่ออกระหว่าง ว.แหวน กับ อ.อ่าง เพราะ ว.แหวน กับ อ.อ่างมันเหมือนกันเลย แต่พอเราลงมือเขียนก็รู้ว่า ว.แหวน กับ อ.อ่างมันต่างกันมากทีเดียว

การเรียนรู้ของคนเรา ความรู้ของคนเรา เกิดจากการทำอะไรซ้ำ ๆ สูตรคูณกว่าจะจำได้ขึ้นใจได้ก็ต้องท่องแล้วท่องอีก ภาษาต่างประเทศอย่างภาษาอังกฤษ ภาษาฝรั่งเศส เยอรมัน ศัพท์แต่ละตัวกว่าจะจำได้ก็ต้องเปิดพจนานุกรมซ้ำแล้วซ้ำอีก ซ้ำแล้วซ้ำอีก ไม่รู้กี่สิบครั้ง ไม่ต้องพูดถึงการเขียนให้เป็นตัว เราเป็นหนี้บุญคุณการทำอะไรซ้ำ ๆ

เมื่อเช้าได้อ่านเรื่องราวของชาวญี่ปุ่นคนหนึ่งซึ่งเขาถือว่าเป็นเซียนหรือเป็นเทพด้านเทมปุระ แกทำเทมปุระตั้งแต่อายุ 15 จนถึงปัจจุบันก็ 60 กว่าแล้ว ใช้เวลา 50 ปี แล้วแกก็ทำได้เยี่ยมยอดมาก คนก็ชม เสิร์ฟแต่ละคราวก็ 3,000-4,000 บาท แกบอกว่าแกทำเทมปุระมาประมาณ 20 ล้านครั้ง คำนวณดูก็อาจจะเว่อร์ไปสักหน่อย 20 ล้านครั้งสำหรับเวลา 50 สิบปี เอาว่าแค่ 2 ล้านครั้งหรือ 1 ล้านครั้งก็พอแล้ว แต่แม้กระนั้นก็ถือว่าเยอะ คน ๆ หนึ่งทำเทมปุระ 1 ล้านครั้ง ทำได้อย่างไร

เรายกมือสร้างจังหวะ ผ่านไปสองสามวันยังไม่รู้จะถึงหมื่นครั้งหรือเปล่า เขาทำไปแล้ว 2 ล้านครั้งในเวลา 40-50 ปี แต่เขาทำอย่างมีความสุข ทุกเช้าก็ทำเหมือนเดิมนั่นแหละ เช้าจรดเย็นทำเทมปุระอย่างเดียวเลย ไม่ได้ย้ายไปทำซูชิ ไปทำก๋วยเตี๋ยว อูด้งอะไรเลย แต่เขาก็มีความสุขและทำได้ดีด้วย เพราะแต่ละจานที่เขาเสิร์ฟคนก็ชม เพราะเขาใส่ใจในรายละเอียดตั้งแต่ วัสดุ อุปกรณ์ วิธีการแล่ วิธีการชุบแป้ง เขาทำได้อย่างไรในเมื่อทำซ้ำแล้วซ้ำเล่า ๆ เพราะเขามี “ฉันทะ” เขาใส่ใจลงไป เอาใจใส่ลงไปมันก็เกิดความสงบเกิดความเพลิน แล้วก็คอยดูแลคอยสอดส่องว่าจะทำอย่างไรให้มันดีขึ้นกว่าเดิมเรียกว่ามี “วิมังสา”


พระไพศาล วิสาโล

ที่มา คุณค่าของการทำซ้ำๆ

อ่าน / ฟัง


===> https://pagoda.or.th/aj-visalo/2020-11-24-06-24-34.html






--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

  ขอขอบคุณข้อมูลและรูปภาพจาก : Facebook ข้อธรรม คำสอน พระไพศาล วิสาโล
https://www.facebook.com/visalo/


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: เมษายน 28, 2022, 09:12:15 am โดย ยาใจ »

ยาใจ

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 14143
    • ดูรายละเอียด



  เบิกบานกลางคลื่นลม


ความสุขของคนเราไม่ได้ขึ้นอยู่กับโลกภายนอกเสมอไป สำหรับผู้ที่ปรารถนาความสุขที่แท้ จะพบกับสิ่งนั้นได้ก็จากใจของตนเท่านั้น การเอาความสุขของตนไปผูกติดกับโลกภายนอกย่อมพบกับความทุกข์อยู่ร่ำไป แม้จะประสบสุขก็เพียงชั่วคราวเท่านั้น ต่อเมื่อเข้าถึงธรรม มีสติดูแลใจมีปัญญาเข้าใจความจริงของชีวิต แม้ทุกข์มากระทบ ใจก็ไม่กระเทือน หรือแม้ใจจะทุกข์ แต่ในที่สุดก็ยังหาสุขพบ


ให้หันกลับมามองด้านในของตนเอง ในยามที่ผู้คนกำลงวิตกกังวลกับการเมืองที่ไร้ทางออกและเศรษฐกิจที่กำลังถดถอย การหันมาเพ่งพินิจชีวิตและจิตใจของตนเองอย่างจริงจัง อาจช่วยให้เราค้นพบตัวเองในมิติที่ลึกซึ้งและตระหนักว่า การวางใจของเรามีส่วนซ้ำเติมความทุกข์ให้กับตนเองมากน้อยเพียงใด การตระหนักรู้และวางใจอย่างถูกต้อง จะช่วยให้เราพบทางออกจากทุกข์ที่ตนสร้างขึ้น และสามารถรับมือกับเหตุการณ์บ้านเมืองได้ดีขึ้น


พระไพศาล วิสาโล









ขอขอบคุณข้อมูลและรูปภาพจาก : Facebook วัดป่าสุคะโต ธรรมชาติที่พักใจ
https://www.facebook.com/Zensukato/

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กันยายน 28, 2021, 07:24:51 am โดย ยาใจ »

ยาใจ

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 14143
    • ดูรายละเอียด



อย่าเสียเวลาให้กับความทุกข์


เดี๋ยวนี้ผู้คนมักบ่นว่า “ไม่มีเวลา ๆ” เช่น ไม่มีเวลาจัดบ้าน ไม่มีเวลาออกกำลังกาย ไม่มีเวลาไปเยี่ยมพ่อแม่ หรือพาท่านไปเที่ยว ยิ่งการนั่งสมาธิหรือฝึกจิตด้วยแล้ว ใคร ๆ พากันส่ายหน้าว่าไม่มีเวลาทำ แต่น่าแปลกที่ผู้คนทั้งหลายกลับมีเวลาให้กับความโศกเศร้า ความโกรธ ความเครียด ความวิตก รวมทั้งความทุกข์นานาชนิด

ที่จริงเมื่อเกิดความทุกข์ขึ้น เราควรสลัดมันออกไปจากจิตใจ หาไม่แล้วก็จะกลายเป็นการซ้ำเติมตัวเอง แทนที่จะป่วยแค่กาย ใจก็ป่วยด้วย แทนที่จะเสียแค่เงิน ใจก็เสียด้วย แทนที่จะล้มเหลวแต่งาน ใจก็พลอยล้มเหลวไปด้วย

ความทุกข์นั้นเมื่อเกิดขึ้นแล้ว หากเราปล่อยใจให้จ่อมจมกับมันนานเท่าใด ก็ยิ่งบั่นทอนจิตใจ หรือบีบคั้นเผาลนจิตใจมากเท่านั้น แต่เหตุใดเราจึงเสียเวลามากมายไปกับมัน จนไม่เป็นทำอะไร นั่นเป็นเพราะเราไม่รู้ตัว จึงเผลอไปแบกไปยึดมันเอาไว้ จะว่าไปแล้วปัญหาใด ๆ ก็ตามไม่ทำให้เราทุกข์ใจได้เลยหากเราไม่แบกมันเอาไว้ เช่นเดียวกับก้อนหิน ใหญ่แค่ไหนก็ตาม ถ้าเราไม่แบกมัน เราก็ไม่เหนื่อยไม่หนัก

ความทุกข์นั้นหากเราเกี่ยวข้องกับมันอย่างถูกต้อง คือรู้จักมองหรือพิจารณา มันก็สามารถให้ประโยชน์แก่เราได้ เช่น ทำให้ไม่ประมาท หรือได้บทเรียนในการดำเนินชีวิต


พระไพศาล วิสาโล










ขอขอบคุณข้อมูลและรูปภาพจาก : Facebook วัดป่าสุคะโต ธรรมชาติที่พักใจ
https://www.facebook.com/Zensukato/
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กันยายน 28, 2021, 07:25:03 am โดย ยาใจ »

ยาใจ

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 14143
    • ดูรายละเอียด
มหัศจรรย์ของชีวิตขาลง - พระอาจารย์ไพศาล วิสาโล
« ตอบ #789 เมื่อ: มิถุนายน 23, 2021, 07:05:15 am »




  มหัศจรรย์ของชีวิตขาลง


“ขาลง”นั้นมีเสน่ห์แต่มักถูกมองข้าม คนส่วนใหญ่มักให้ความสำคัญกับ “ขาขึ้น”มากกว่า เพราะมั่นใจว่ามีสิ่งใหม่ ๆ ที่ดึงดูดใจคอยอยู่ข้างบน ไม่ใช่แค่ทะเลหมอกหรือทิวทัศน์อันงดงามที่เห็นชัดเจนจากยอดดอยเท่านั้น แต่ยังรวมถึงความสำเร็จ ชื่อเสียง เกียรติยศ เงินทอง ยามขึ้นถึงจุดสูงสุดของชีวิต

ใคร ๆ ก็อยากให้ชีวิตของตนอยู่ในช่วงขาขึ้น เพราะหวังจะได้เสพได้ครอบครองอะไรอีกมากมายที่ยังไม่เคยประสบสัมผัส แต่น่าคิดว่ามีสักกี่คนที่เป็นสุขอย่างแท้จริงในช่วงขาขึ้น ใช่หรือไม่ว่า ส่วนใหญ่เต็มไปด้วยความเครียด เพราะใจนั้นกังวลแต่จุดหมายปลายทาง และกลัวว่าจะไปไม่ถึง แถมยังหงุดหงิดหากเห็นใครแซงไปต่อหน้าต่อตา และเป็นทุกข์มากขึ้นเมื่อมีคนถึงจุดหมายปลายทางก่อน โดยเฉพาะคนที่ออกเดินพร้อมกับตัวเอง

ความเหนื่อยอ่อนบอบช้ำของประมวลยามเดินขึ้นเขา คงไม่ต่างจากหลายคนที่กำลังอยู่ในช่วงขาขึ้น ยิ่งเร่งจะให้ถึงจุดหมายปลายทางมากเท่าไร ก็ยิ่งเหนื่อยมากเท่านั้น บางคนไปไม่ถึงเพราะหมดแรงเสียก่อน ต้องพักรักษาตัวกว่าสังขารจะอำนวย แต่บางคนก็ต้องยุติการเดินทางแต่เพียงเท่านี้

อันที่จริงประสบการณ์ยามขาขึ้นไม่จำเป็นต้องเต็มไปด้วยความทุกข์ แม้จะยังไม่ถึงเป้าหมาย แต่อย่าลืมว่าสองข้างทางนั้นก็อุดมไปด้วยสิ่งต่าง ๆ มากมายที่ให้ความสุขแก่เราได้ตลอดเวลา ประมวลมาค้นพบความจริงข้อนี้ยามเดินลงเขา แต่ถ้าใจเราไม่จดจ่อกับเป้าหมายข้างหน้ามากเกินไป ในช่วงขาขึ้นเราก็สามารถเป็นสุขได้ หากรู้จักชื่นชมสิ่งดี ๆ ตามรายทางบ้าง

ความสุขนั้นมีอยู่รอบตัว แต่คนส่วนใหญ่มองไม่เห็น เพราะใจจดจ่อแต่ความสำเร็จที่รออยู่ข้างหน้า ผลก็คือขณะที่ความสุขข้างหน้ายังมาไม่ถึง เรากลับละทิ้งความสุขที่มีอยู่รอบตัว ทั้ง ๆ ที่เป็นสิทธิของเราโดยชอบธรรม กลายเป็นว่าเสียสองต่อ

จะไม่ดีกว่าหรือ ขณะที่ยังไปไม่ถึงจุดหมายปลายทาง เราก็เปิดใจชื่นชมสิ่งดี ๆ ที่มีอยู่รอบตัวหรือตามรายทาง แม้ความสุขข้างหน้ายังมาไม่ถึง แต่เราก็ได้สัมผัสกับความสุขที่มีอยู่แล้วทุกขณะ

แต่ถึงจะพลาดโอกาสนั้นไป ก็ยังไม่สาย เพราะขาลงเราก็ยังสามารถชื่นชมสิ่งดี ๆ ที่ให้ความสุขและความเบิกบานใจแก่เราได้ แต่นั่นหมายความว่าเราต้องไม่ห่วงหาอาลัยความสำเร็จที่กลายเป็นอดีตไปแล้ว หากยังมัวนึกถึงประสบการณ์อันตราตรึงใจบนยอดเขาที่ผ่านพ้นไปแล้ว ใจเราจะเปิดรับความสุขตามรายทางในยามขาลงได้อย่างไร

ขาลงไม่ใช่ประสบการณ์อันน่าเศร้า หากเราเดินลงอย่างช้า ๆ และหัดพินิจพิจารณา เราจะมีความสุข เป็นสุขที่อาจจะยิ่งกว่าช่วงขาขึ้นหรือเมื่อถึงจุดสูงสุดของการเดินทางเสียอีก เพราะใจเป็นอิสระจากความคาดหวังทั้งปวง

  ในยามนี้แหละที่เราอาจพบกับ “มหัศจรรย์” ของชีวิต ที่ไม่เคยนึกฝันมาก่อน


พระไพศาล วิสาโล










  ขอขอบคุณข้อมูลและรูปภาพจาก : Facebook วัดป่าสุคะโต ธรรมชาติที่พักใจ
https://www.facebook.com/Zensukato/






« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ตุลาคม 07, 2021, 06:41:07 pm โดย ยาใจ »

ยาใจ

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 14143
    • ดูรายละเอียด



  ทำความดี ลดความเห็นแก่ตัว 


การมีน้ำใจไมตรีต่อผู้อื่นนั้น ไม่ใช่สิ่งที่ฝืนธรรมชาติของมนุษย์ เพราะมนุษย์มีเมตตากรุณาเป็นพื้นอยู่แล้วในจิตใจ เมตตากรุณาเป็นส่วนหนึ่งของมโนธรรมที่อยู่ในใจเราทุกคน การทำความดี นึกถึงผู้อื่น เอื้อเฟื้อเกื้อกูลเพื่อนมนุษย์ ช่วยเสริมสร้างมโนธรรมของเราให้เข้มแข็งขึ้น และทำให้มีพลังในการทำความดีมากขึ้น

กล่าวอีกนัยหนึ่ง ความดีนั้นขยายหัวใจของเราให้ใหญ่ขึ้น ขณะเดียวกันก็ทำให้อัตตาของเราเล็กลง จึงมีพื้นที่เพิ่มมากขึ้นสำหรับเปิดรับความสุข ในทางตรงข้ามคนที่นึกถึงแต่ตัวเองนั้น หัวใจจะเล็กลง ขณะที่อัตตาใหญ่ขึ้น จึงเหลือที่ว่างน้อยลงสำหรับความสุข คนที่เห็นแก่ตัวจึงสุขยากทุกข์ง่าย


พระไพศาล วิสาโล









  ขอขอบคุณข้อมูลและรูปภาพจาก : Facebook วัดป่าสุคะโต ธรรมชาติที่พักใจ
https://www.facebook.com/Zensukato/

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ตุลาคม 07, 2021, 06:41:27 pm โดย ยาใจ »

ยาใจ

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 14143
    • ดูรายละเอียด
เจออะไรก็ไม่ทุกข์ - พระอาจารย์ไพศาล วิสาโล
« ตอบ #791 เมื่อ: กันยายน 28, 2021, 07:20:22 am »





  เจออะไรก็ไม่ทุกข์ 

แม้ว่าเป็นสิ่งที่แย่ๆมากระทบ แต่จิตไม่ดิ้น จิตยอมรับได้ ยอมรับได้เพราะว่าวางใจเป็นกลางก็ดี เพราะรู้ทันมันก็ดี หรือว่าเพราะเห็นว่ามันเป็นสิ่งที่ดีก็แล้วแต่ หรือมองว่าเป็นธรรมดา ใจก็สงบเลย ใจไม่ทุกข์ อันนี้เป็นสิ่งสำคัญมากเพราะว่าคนเรามีความทุกข์ใจเมื่อมีอะไรมากระทบโดยเฉพาะสิ่งที่ไม่น่ายินดี เช่นความความเจ็บป่วย แต่ถ้าหากว่าใจยอมรับว่า มันเกิดขึ้นแล้ว บ่นโวยวายตีโพยตีพายไป มันก็มีแต่ซ้ำเติมตัวเอง ยอมรับมันแล้วก็พยายามอยู่กับมันด้วยใจที่ไม่ทุกข์ มันก็จะช่วยบรรเทาความทุกข์ใจได้  ใจที่สงบก็จะช่วยฉุดกายให้ดีขึ้นหรือฟื้นตัวได้ไวขึ้น

เจออะไรก็ไม่สำคัญ เท่ากับเราวางใจอย่างไรกับสิ่งต่างๆที่มากระทบ อย่าไปให้ความสำคัญกับสิ่งเหล่านี้มากกว่าปฏิกิริยาของใจ หรือว่าการเกี่ยวข้องของใจ หรือการที่ใจไปเกี่ยวข้องกับสิ่งเหล่านั้น ถ้าวางใจถูกและยอมรับได้ ไม่ผลักไส มันก็จะช่วยลดความทุกข์ที่ใจไปเยอะเลย และอาจจะได้พบความสงบท่ามกลางสิ่งต่างๆมากมายที่มารุมล้อมกระทบก็ได้”

พระไพศาล วิสาโล









  ขอขอบคุณข้อมูลและรูปภาพจาก : Facebook วัดป่าสุคะโต ธรรมชาติที่พักใจ
https://www.facebook.com/Zensukato/
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 14, 2022, 10:19:12 am โดย ยาใจ »

ยาใจ

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 14143
    • ดูรายละเอียด




           ทำดี แต่ไม่คาดหวังผลแห่งความดี         


การทำความดี ช่วยเหลือผู้อื่นเป็นหน้าที่ของเรา ส่วนคนที่เราช่วยนั้นจะเห็นคุณค่าของเราหรือไม่ เป็นเรื่องของเขา อันนี้ใช้ได้กับกรณีอื่น ๆ ด้วย เวลาเราช่วยเหลือใคร ช่วยเขาให้เต็มที่ ส่วนเขาจะสำนึกบุญคุณของเรา หรือเห็นคุณค่าของเราหรือไม่ เป็นเรื่องของเขา ถ้าเราโกรธเขาเราก็จะเป็นทุกข์มากขึ้น เมื่อช่วยใครไปแล้ว อย่าไปคาดหวังว่าเขาจะเห็นคุณค่าของเราหรือไม่ หลายคนช่วยคนอื่นแล้วก็เป็นทุกข์เพราะเหตุนี้

  ขอให้เราตระหนักว่า การทำความดีเป็นหน้าที่ของเรา ส่วนการสำนึกบุญคุณเป็นหน้าที่ของเขา ถ้าเขาไม่ทำก็เป็นเรื่องของเขา วิบากกรรมก็จะเกิดกับเขาเอง เราจะไปโกรธ หรือเรียกร้องให้เขาตอบแทนทำไมกัน บ่อยครั้งที่เราเรียกร้องจากเขาจนกระทั่งกลายเป็นคาดคั้น กดดันเขาไม่หยุดหย่อน ทำให้ความสัมพันธ์แย่ลง อันที่จริงบางครั้งเขาก็ตอบแทนแล้ว แต่เราต้องการมากกว่านั้น เช่นเขาให้ ๑๐ แต่เราคาดหวัง ๒๐ เราก็เลยผิดหวังไม่พอใจ หรือโกรธเคืองเขา การคาดหวังการตอบแทนจากคนที่เคยช่วยเหลือ บั่นทอนความสัมพันธ์ของผู้คนมาเยอะแล้ว

เวลาเราทำความดี อย่าไปคาดหวัง ว่าเขาจะต้องตอบแทนหรือสำนึกบุญคุณของเรา หน้าที่ของเราคือการทำความดีในฐานะที่เป็นลูก คุณธรรมของลูกคือความกตัญญูต่อพ่อแม่ ทำให้เต็มที่ ส่วนเขาจะเห็นหรือไม่ เป็นเรื่องของเขา แต่ในที่สุดเชื่อว่าเขาก็จะเห็น ขอให้เราทำความดีด้วยความจริงใจ

พระไพศาล วิสาโล










  ขอขอบคุณข้อมูลและรูปภาพจาก : Facebook วัดป่าสุคะโต ธรรมชาติที่พักใจ
https://www.facebook.com/Zensukato/
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: เมษายน 12, 2022, 10:53:55 am โดย ยาใจ »

ยาใจ

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 14143
    • ดูรายละเอียด




    พลิกจิต ชีวิตเปลี่ยน  


  ผู้คนทุกวันนี้ส่วนใหญ่ทุกข์เพราะความคิด แม้มีมากมายเพียงใด หากมัวนึกถึงแต่สิ่งที่ตนยังไม่มีหรือจดจ่ออยู่กับสิ่งที่สูญเสียไป  ก็ไม่มีความสุข   ไม่ว่าได้มาเท่าไร ถ้าเห็นคนอื่นมีมากกว่า ก็รู้สึกไม่พอใจขึ้นมาทันที   ถึงจะได้โชคลาภ แต่ถ้าคิดว่าตนน่าจะได้มากกว่านั้น  ใจก็พลันขุ่นมัว  ในทางตรงข้าม แม้จะมีน้อย  แต่หากชื่นชมและเห็นคุณค่าของสิ่งที่ตนมี  ใจก็เป็นสุข   แม้เจ็บป่วย แต่รู้จักมองแง่บวก ก็สามารถยิ้มได้  มีเหตุร้ายมากระทบ แต่ถ้ามีสติและปัญญา ก็ยังเป็นสุขอยู่ได้

  เราไม่สามารถควบคุมทุกอย่างให้เป็นไปดั่งใจได้  อีกทั้งไม่สามารถปกป้องมิให้อันตรายหรือความสูญเสียเกิดขึ้นกับเราได้แม้แต่น้อย  แต่เราสามารถปรับใจของเราให้เป็นสุขได้แม้ทุกข์มากระทบ  ชีวิตที่มืดมนและสิ้นหวัง สามารถกลายเป็นชีวิตที่สว่างไสวและเบิกบานได้  ไม่ใช่เพราะลาภ ยศ สรรเสริญ และความสำเร็จหลั่งไหลมา แต่เป็นเพราะจิตพลิกเปลี่ยนต่างหาก การฝึกฝนพัฒนาจิตจึงเป็นกุญแจสำคัญที่นำไปสู่ชีวิตที่ผาสุกและเจริญงอกงาม
 



พระไพศาล วิสาโล









  ขอขอบคุณข้อมูลและรูปภาพจาก : Facebook วัดป่าสุคะโต ธรรมชาติที่พักใจ
https://www.facebook.com/Zensukato/

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: เมษายน 12, 2022, 11:07:44 am โดย ยาใจ »

ยาใจ

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 14143
    • ดูรายละเอียด



    อย่าปล่อยให้ความทุกข์ท้อใจทำลายชีวิตคุณ  


  ใคร ๆ ก็ปรารถนาความสุข แต่ในทัศนะของคนส่วนใหญ่จะมีความสุขได้ก็ต้องไปแสวงหาจากสิ่งภายนอก เช่น ไปดูหนัง ฟังเพลง เที่ยวห้าง กินของอร่อย หรือมีทรัพย์สินเงินทองมาก ๆ แต่บ่อยครั้งการทำเช่นนั้นกลับทำให้เป็นทุกข์เพิ่มขึ้น แม้จะได้มา ก็ไม่รู้สึกเป็นสุขอย่างแท้จริง เพราะได้ไม่สมอยาก หรือได้เท่าไรก็ไม่รู้จักพอ ยังไม่ต้องพูดถึงความทุกข์เพราะต้องคอยปกปักรักษาด้วยความหวงแหน และกลัดกลุ้มเสียใจเมื่อสูญเสียมันไป อันที่จริงความสุขที่แท้นั้นพบได้ที่ใจเรา เพียงแค่ปลดเปลื้องความทุกข์ออกไป ใจก็เป็นสุขได้ทันที เช่นเดียวกับการวางของหนัก วางเมื่อใด ก็สบายเมื่อนั้น ดังนั้นแทนที่จะแสวงหาความสุขมาเติมใส่ตน หรือดิ้นรนขวนขวายเพื่อมีให้มาก ๆ แค่ถ่ายเทความทุกข์ที่หมักหมมอยู่ในจิตใจออกไป ความสุขก็บังเกิดขึ้นโดยพลัน

  ความทุกข์ที่ก่อตัวและสะสมในใจเรา มักเกิดจากความคิดและการวางใจที่ผิด จิตที่มักคิดลบมองร้าย ชอบหวนนึกถึงเหตุการณ์ในอดีต หรือปรุงแต่งภาพอนาคต รวมทั้งยึดติดถือมั่นอย่างแน่นหนา จนไม่รู้จักวาง คือตัวการที่เชื้อเชิญความทุกข์มาสู่จิตใจ ทำให้ถูกเผาลนด้วยความโกรธ ถูกกรีดแทงด้วยความเกลียด ถูกบีบคั้นด้วยความเศร้า หรือถูกกดถ่วงหน่วงทับด้วยความวิตกกังวล


  ทั้ง ๆ ที่อารมณ์เหล่านี้รบกวนรังควานจิตใจ แต่แทนที่เราจะพาจิตออกห่างจากมัน กลับปล่อยใจให้จมปลักอยู่ในอารมณ์เหล่านั้น หรือแบกยึดมันเอาไว้ มิหนำซ้ำยังปกป้องหวงแหนมันอย่างเหนียวแน่น นั่นเป็นเพราะความไม่รู้ตัว ขาดสติ เราจึงมักทำร้ายตนเองโดยไม่รู้ตัว

  ทันทีที่เรารู้สึกตัว มีสติ หรือรู้จักทักท้วงความคิด ปรับจิตให้ถูกต้อง อารมณ์อกุศลเหล่านั้นก็จะครอบงำใจน้อยลง ความทุกข์ที่กลุ้มรุมจิตใจจะถูกปลดเปลื้องไป สิ่งที่เกิดขึ้นตามมาคือความสงบเย็นเป็นสุข ทำให้มีพลังในการแก้ไขปัญหาภายนอก หรือปรับเปลี่ยนชีวิตให้เป็นไปในทางที่ถูกต้องดีงามมากขึ้น ปัญหาต่าง ๆ จะไม่ใช่สิ่งบั่นทอนจิตใจหรือทำให้ท้อแท้อีกต่อไป แต่จะกลายเป็นสิ่งบ่มเพาะปัญญาและสร้างความแข็งแกร่งให้แก่จิตใจของเรา

พระไพศาล วิสาโล









  ขอขอบคุณข้อมูลและรูปภาพจาก : Facebook วัดป่าสุคะโต ธรรมชาติที่พักใจ
https://www.facebook.com/Zensukato/

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: เมษายน 12, 2022, 11:10:29 am โดย ยาใจ »