ผู้เขียน หัวข้อ: ขอเชิญชม * รวม * VDO พระธรรมเทศนา โดย พระอาจารย์ชยสาโร *ล่าสุด*  (อ่าน 54471 ครั้ง)

ยาใจ

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 13289
    • ดูรายละเอียด
ธรรมละนิด​ :   นั่งสมาธิให้ถูกต้อง    โดย พระอาจารย์ชยสาโร


นั่งสมาธิให้ถูกต้องควรทำอย่างไรนั่งนานและบ่อยแค่ไหน


การนั่งที่ถูกต้อง เริ่มต้นต้องสัมมาทิฏฐิ ‘สัมมาทิฏฐิ ความเห็นชอบ’ โดยเฉพาะในประเด็นที่ว่า ‘เราไม่ได้นั่งเพื่อจะเอาอะไร เพื่อจะได้อะไร เพื่อจะเป็นอะไร’ นั่งเพื่อปล่อยวางเหตุให้เกิดทุกข์ เรื่องการจะนั่งก็ควรจะหาที่ที่สงบเท่าที่จะสงบได้ ถ้าอยู่ในบ้านมุมใดมุมหนึ่งที่เงียบหน่อย แล้วก็ใช้มุมนั้นหรือถ้ามีบุญเป็นห้องพระก็ยิ่งดี แต่ถ้าไม่มีก็มุมใดมุมหนึ่งที่ใช้เพื่อการนั่งสมาธิหรือการทำวัตรสวดมนต์โดยเฉพาะ ไม่ใช่เรื่องอื่น แล้วพอมานั่งตรงนั้นมันจะเป็นจิตวิทยาจะรู้สึกว่า เออ...นี่ก็คือที่นั่งของเรา

ก่อนจะนั่ง ถ้าทำวัตรสวดมนต์ เล็กๆ น้อยๆ เพื่อเปลี่ยนอารมณ์ จากอารมณ์เมื่อกี้นี้ อารมณ์ทางโลก ถ้านั่งหลับตาทันทีมันก็ยังมีความคิดที่ยังค้างอยู่ในสมอง ก็เปลี่ยน กราบไหว้พระศรีรัตนตรัยก่อน

นั่งการนั่งนี้ เรื่องจะวางแขนวางขานี่ไม่สำคัญมาก จะนั่งเก้าอี้ก็ได้ แต่ต้องรู้สึกเป็นตัวของตัว ไม่พิงสิ่งใด สำคัญที่กระดูกสันหลังให้ตรง ตรงแต่ไม่เกร็ง รู้สึกมันมีอะไรมาดึงศีรษะขึ้นไปถึงเพดาน นั่งตัวตรง ถ้าง่วงไม่ต้องหลับตาก็ได้ ถ้าไม่ง่วงหลับตาจะดีกว่า

การนั่งสมาธิคือการเจริญสตินั่นเอง ซึ่งต้องมีเครื่องระลึกของสติ เช่น ลมหายใจ และสิ่งท้าทายก็คือทำอย่างไรเราจึงจะสร้างความสัมพันธ์ระหว่างจิต คือ ‘ตัวรู้’ กับ ‘สิ่งรู้’ หรือเครื่องระลึกของสติ เช่น ลมหายใจ ในลักษณะที่พอใจกับลมหายใจ ไม่อยากไปคิดเรื่องอื่น พอใจ มีความสุขกับงาน

ในเบื้องต้นต้องป้องกันไม่ให้กิเลสเข้ามาแทรกแซง แล้วเมื่อจิตเผลอไปซึ่งต้องมีแน่นอน ก็ต้องมีการฝึก การศึกษา ในการปล่อยวางกิเลสที่เข้ามาครอบงำ ในขณะเดียวกันเราก็มุ่งที่สติ สัมปชัญญะ ความรู้ตัว และอาตาปี ความเพียรที่มีความพอดีระหว่างความตั้งใจและความผ่อนคลาย ความพอดีจะรู้ได้ว่ามันเป็นความเพียรที่พอดีกับการปล่อยวางกิเลส เรายังจะต้องใช้ความอดทน ความสันโดษ ความเมตตา คุณธรรมข้ออื่นๆ และเมื่อจิตเริ่มสงบแล้ว เราก็ต้องพยายามรักษาคุณธรรมที่กำลังปรากฏอยู่ในจิต เช่น สติ เป็นต้น ให้เจริญยิ่งๆ ขึ้นไป

สรุปแล้วว่า ในเบื้องต้นเราก็ถือว่า ‘การนั่งสมาธิคือการเจริญสติ โดยมีสิ่งใดสิ่งหนึ่งเป็นเครื่องระลึกของสติ’ สิ่งที่สำคัญในเบื้องต้นคือการฝึกป้องกันไม่ให้กิเลสเข้ามาครอบงำจิต สอง ถ้ากิเลสครอบงำจิตจนได้ ต้องฝึกในการปล่อยวาง สาม ต้องปลูกฝังคุณงามความดีที่จะนำไปสู่ความสงบและปัญญา และสี่ เมื่อคุณธรรมต่างๆ เริ่มปรากฏ เราต้องศึกษาเรียนรู้เพื่อจะรักษามันไว้และทำให้มันเจริญยิ่งๆ ขึ้นไป นี่คือการทำสมาธิในเบื้องต้น ไม่ต้องหักโหมมาก เริ่มต้น ห้านาที สิบนาที ค่อยๆ เพิ่ม ถ้าบังคับมากจะไม่มีความสุข ถ้าไม่บังคับเสียเลยนี่ก็คงไม่เจริญ คงต้องหาความพอดี

พระอาจารย์ชยสาโร



คลิกชมได้ที่ ===> https://www.youtube.com/watch?v=5AnzwbpTK1w




------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ขอขอบคุณข้อมูล Youtube  ธรรมะ โดย พระอาจารย์ชยสาโร/ Dhamma by Ajahn Jayasaro

  ชมทั้งหมดได้ที่ ===> https://www.youtube.com/user/ThawsiSchool/videos
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มีนาคม 09, 2023, 03:14:57 pm โดย ยาใจ »

ยาใจ

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 13289
    • ดูรายละเอียด
2566.02.19 ธรรมคุณ โดย พระอาจารย์ชยสาโร

คลิกชมได้ที่  ===> https://www.youtube.com/watch?v=Ui8afifUVXg


  2566.02.19 นำสมาธิภาวนา โดย พระอาจารย์ชยสาโร

คลิกชมได้ที่ ===> https://www.youtube.com/watch?v=eRAWqSrsStI



2566.03.06 ประตูออกจากทุกข์ โดย พระอาจารย์ชยสาโร

คลิกชมได้ที่ ===> https://www.youtube.com/watch?v=Jkw6aYA3tjo


2566.03.06 นำสมาธิภาวนา โดย พระอาจารย์ชยสาโร

คลิกชมได้ที่ ===> https://www.youtube.com/watch?v=oMYdwrmM6wk





**--------------------------------------------------------------------------------------------------------------**

  ขอขอบคุณข้อมูล Youtube  ธรรมะ โดย พระอาจารย์ชยสาโร/ Dhamma by Ajahn Jayasaro

  ชมทั้งหมดได้ที่ ===> https://www.youtube.com/user/ThawsiSchool/videos
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มีนาคม 09, 2023, 03:10:40 pm โดย ยาใจ »

ยาใจ

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 13289
    • ดูรายละเอียด
ธรรมละนิด​ :    บ่วงกรรมของครอบครัว   โดย พระอาจารย์ชยสาโร


มีคำแนะนำอย่างไรเกี่ยวกับการปลดทุกข์ที่เกิดจากบ่วงกรรมของครอบครัว

  เรื่องกรรม ผลกรรม ผลกรรมของใครที่เราก็ยังไม่มั่นใจว่าจะเป็นเรื่องของกรรมเก่ามากน้อยแค่ไหน และก็เป็นเรื่องการกระทำในปัจจุบันมากน้อยแค่ไหน แต่ถ้าเป็นผลกรรมจริงๆ แล้ว ก็ถือว่าเราต้องปฏิบัติเพื่อไม่ให้เป็นทุกข์กับกรรมเก่า หรือไม่สร้างกรรมใหม่ที่จะทำให้ผลกรรมเก่ากำเริบ พยายามไม่เป็นทุกข์ ไม่สร้างทุกข์ หรือเป็นทุกข์ให้น้อยที่สุด

  ฉะนั้นผลกรรมเก่าที่เรียกว่า ‘วิบากกรรม’ ก็เป็นความลำบากลำบน พอมันมีปัญหามันก็ชวนให้น้อยใจ เสียใจ โกรธ แค้น ทะเลาะวิวาท สิ่งเหล่านั้นมันไม่ใช่ว่าเป็นผลกรรม มันก็เป็นปฏิกิริยาต่อกรรมเก่าด้วยจิตที่ขาดธรรมะเป็นที่พึ่ง เพราะว่าผู้ที่ตั้งสติ เป็นผู้ทรงศีล เป็นผู้ฝึกตน จะถือว่าสิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งท้าทาย “โอ้ ถ้าเป็นอย่างนี้ชวนให้หดหู่เนาะ มันชวนให้เศร้าเนาะ มันชวนให้น้อยใจเนาะ” แต่เราจะหดหู่หรือเราจะน้อยใจนี่มันไม่ได้อยู่ที่สิ่งที่เกิดขึ้นในชีวิต แต่อยู่ที่ใจเรา ซึ่งเราฝึกดูแลจิตใจตัวเองก็ไม่ต้องเป็นทุกข์กับมันได้ มันลำบากแต่จิตใจก็ยังมีความสุขได้ หรืออย่างน้อยก็ไม่ต้องเป็นทุกข์กับมัน หรือถ้าเป็นทุกข์ก็ทุกข์น้อย

  สิ่งที่ต้องย้ำก็คือ ‘ปัญหากับตัวทุกข์ ไม่ใช่ประเด็นเดียวกัน’ มันก็เป็นเรื่องที่เรายังปฏิบัติต่อปัญหายังไม่ค่อยเป็น เพราะเราขาดการฝึกจิตพอที่พร้อมที่จะรับมือกับปัญหา


พระอาจารย์ชยสาโร



คลิกชมได้ที่ ===> https://www.youtube.com/watch?v=7xlwQJbiXNg





------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ขอขอบคุณข้อมูล Youtube  ธรรมะ โดย พระอาจารย์ชยสาโร/ Dhamma by Ajahn Jayasaro

  ชมทั้งหมดได้ที่ ===> https://www.youtube.com/user/ThawsiSchool/videos
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มีนาคม 09, 2023, 03:22:09 pm โดย ยาใจ »