ผู้เขียน หัวข้อ: * รวม * เรื่อง " ตับ "  (อ่าน 24697 ครั้ง)

ยาใจ

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 14170
    • ดูรายละเอียด
มะเร็งตับไม่ใช่โรคไกลตัวอีกต่อไป
« ตอบ #45 เมื่อ: ตุลาคม 29, 2020, 07:40:32 am »






















มะเร็งตับไม่ใช่โรคไกลตัวอีกต่อไป เราจะมาเปิดเผย 5 ความลับของมะเร็งตับให้ทุกคนได้รู้กัน เพื่อลดความเสี่ยงที่จะนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ ซึ่งอาจทำให้ยากต่อการรักษามะเร็งตับได้

#livercancerawarenessmonth
#FIGHTandSTRONG






ขอบคุณข้อมูลและรูปภาพจาก  : Facebook ศูนย์ความเป็นเลิศทางด้านโรคตับ รพ.จุฬาลงกรณ์
https://www.facebook.com/liverunitchula/
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ตุลาคม 29, 2020, 07:54:07 am โดย ยาใจ »

ยาใจ

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 14170
    • ดูรายละเอียด
ตับแข็งดูแลตัวเองอย่างไร
« ตอบ #46 เมื่อ: ตุลาคม 29, 2020, 07:46:24 am »







  ตับแข็งดูแลตัวเองอย่างไร 

ปัจจุบันเป็นที่ยืนยันอย่างชัดเจนแล้วว่า ภาวะตับอักเสบเรื้อรังและตับแข็ง
สามารถรักษาให้หายได้ เนื้อตับที่แข็งแล้วก็กลับมาเป็นเนื้อปกติได้ แต่ต้องรักษาโรคที่เป็นสาเหตุให้หายก่อน การดูแลสุขภาพตนเองและปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ จึงเป็นหัวใจสำคัญที่จะช่วยให้อาการไม่ลุกลามไ ดังนั้นการรักษาตั้งแต่ระยะแรก ๆ ย่อมดีกว่าไปเริ่มรักษาเมื่อเกิดภาวะตับวายไปแล้ว




ขอบคุณข้อมูลและรูปภาพจาก  : Facebook ศูนย์ความเป็นเลิศทางด้านโรคตับ รพ.จุฬาลงกรณ์
https://www.facebook.com/liverunitchula/
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ตุลาคม 29, 2020, 08:10:23 am โดย ยาใจ »

ยาใจ

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 14170
    • ดูรายละเอียด
การรักษามะเร็งตับ
« ตอบ #47 เมื่อ: ตุลาคม 29, 2020, 07:48:49 am »














































การรักษามะเร็งตับ แพทย์จะคำนึงถึงสุขภาพความแข็งแรงของผู้ป่วยและสภาพการทำงานของตับเป็นสำคัญ เพื่อให้การรักษาเป็นไปอย่างเหมาะสม ได้ผลลัพธ์ที่ดี และลดโอกาสเกิดผลแทรกซ้อนจากการรักษา

ที่มา: หนังสือ รู้ทันโรคตับ 3 “คุยเฟื่องเรื่องไวรัสตับอักเสบ เอ ถึง อี”
“มะเร็งตับ จะป้องกันและรักษาได้อย่างไร”





ขอบคุณข้อมูลและรูปภาพจาก  : Facebook ศูนย์ความเป็นเลิศทางด้านโรคตับ รพ.จุฬาลงกรณ์
https://www.facebook.com/liverunitchula/
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ตุลาคม 29, 2020, 08:03:59 am โดย ยาใจ »

ยาใจ

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 14170
    • ดูรายละเอียด
สาเหตุและอาการไขมันพอกตับ
« ตอบ #48 เมื่อ: ตุลาคม 29, 2020, 08:06:43 am »



  สาเหตุและอาการไขมันพอกตับ 

รู้จักสาเหตุที่จะนำไปสู่ภาวะไขมันพอกตับไปพร้อม ๆ กัน เพื่อลดความเสี่ยงหรือปัญหาต่อตับตั้งแต่ระยะเริ่มต้นได้








ขอบคุณข้อมูลและรูปภาพจาก  : Facebook ศูนย์ความเป็นเลิศทางด้านโรคตับ รพ.จุฬาลงกรณ์
https://www.facebook.com/liverunitchula/
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ตุลาคม 29, 2020, 08:16:21 am โดย ยาใจ »

ยาใจ

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 14170
    • ดูรายละเอียด
มะเร็งตับป้องกันได้อย่างไร
« ตอบ #49 เมื่อ: ตุลาคม 29, 2020, 08:14:16 am »






















การป้องกันมะเร็งตับให้ได้ผลที่สุด เบื้องต้นควรลดปัจจัยเสี่ยงทุกชนิดที่จะนำไปสู่โรคตับเสียก่อน แล้วหมั่นดูแลสุขภาพให้แข็งแรง รับประทานอาหารที่สุกสะอาด ตรวจสุขภาพเป็นประจำ เท่านี้คุณก็สามารถห่างไกลจากโรคตับได้

#livercancerawarenessmonth
#FIGHTandSTRONG







ขอบคุณข้อมูลและรูปภาพจาก  : Facebook ศูนย์ความเป็นเลิศทางด้านโรคตับ รพ.จุฬาลงกรณ์
https://www.facebook.com/liverunitchula/
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤศจิกายน 06, 2020, 07:24:49 am โดย ยาใจ »

ยาใจ

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 14170
    • ดูรายละเอียด
ไขมันพอกตับ
« ตอบ #50 เมื่อ: พฤศจิกายน 06, 2020, 07:24:14 am »




ไขมันพอกตับเป็นอีกหนึ่งในโรคตับที่มักไม่แสดงอาการในระยะแรก ทำให้สังเกตอาการได้ยาก การป้องกันและลดความเสี่ยงจึงเป็นแนวทางที่ดีที่สุดที่ช่วยให้ห่างไกลโรคตับได้




ขอบคุณข้อมูลและรูปภาพจาก  : Facebook ศูนย์ความเป็นเลิศทางด้านโรคตับ รพ.จุฬาลงกรณ์
https://www.facebook.com/liverunitchula/
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤศจิกายน 13, 2020, 07:52:39 pm โดย ยาใจ »

ยาใจ

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 14170
    • ดูรายละเอียด
ตรวจอย่างไรไขมันพอกตับ
« ตอบ #51 เมื่อ: พฤศจิกายน 13, 2020, 07:50:39 pm »



ตรวจอย่างไรไขมันพอกตับ

หากคุณเป็นคนหนึ่งที่กำลังกังวลว่ามีไขมันพอกตับอยู่หรือไม่

ในปัจจุบันมีเครื่องมือตรวจวัดพังผืดในตับที่เรียกว่า ไฟโบรสแกน (Fibroscan) ซึ่งเป็นหนึ่งวิธีที่จะช่วยวิเคราะห์ได้

ที่มา: หนังสือ รู้ทันโรคตับ คุยกันสารพันปัญหาตับ 2

อ่านเพิ่มเติม:

===>https://www.livernurturingclub.com/center/knowledge/%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%AD%E0%B8%9A%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B8%A7%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B9%87%E0%B8%99%E0%B9%84%E0%B8%82%E0%B8%A1%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%9E%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B8%95/?fbclid=IwAR1Q718HDo0bfdQCtyTDceU1RC0sKfkHAIQTXkmO_iMP3Pxu_asfYBsch1M




ขอบคุณข้อมูลและรูปภาพจาก  : Facebook ศูนย์ความเป็นเลิศทางด้านโรคตับ รพ.จุฬาลงกรณ์
https://www.facebook.com/liverunitchula/
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 20, 2021, 08:09:51 pm โดย ยาใจ »

ยาใจ

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 14170
    • ดูรายละเอียด
อาการแบบไหนสงสัยว่าเป็น โรคตับ
« ตอบ #52 เมื่อ: มกราคม 20, 2021, 08:08:51 pm »
















ขอบคุณข้อมูลและรูปภาพจาก  : Facebook ศูนย์ความเป็นเลิศทางด้านโรคตับ รพ.จุฬาลงกรณ์
https://www.facebook.com/liverunitchula/
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กุมภาพันธ์ 17, 2021, 12:45:54 pm โดย ยาใจ »

ยาใจ

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 14170
    • ดูรายละเอียด
เป็นโรคตับ ควรฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 หรือไม่?
« ตอบ #53 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 17, 2021, 12:41:06 pm »








  เป็นโรคตับ ควรฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 หรือไม่? 

เนื่องจากมีการถามกันมามากทั้งในคลินิกโรคตับ และในสื่อสังคมออนไลน์ ว่า "เป็นโรคตับอยู่ ควรวัคซีนป้องกันโควิด-19 หรือไม่" วันนี้ รศ.ดร.นพ.ปิยะวัฒน์ โกมลมิศร์ หัวหน้าศูนย์ความเป็นเลิศทางด้านโรคตับ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย จะมาไขข้อสงสัยและตอบคำถามในเบื้องต้นดังนี้

1. เป็นโรคตับถ้าติดเชื้อไวรัสโควิค มีอันตรายหรือไม่
คนที่เป็นโรคตับแข็ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งตับแข็งระยะที่มีภาวะตับวายร่วมด้วย เช่น เริ่มมีอาการขาบวม ท้องบวม หากติดเชื้อโควิด-19 จะมีโอกาสเป็นโรคที่มีภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงขึ้น
เพราะผู้ป่วยตับแข็งมักอยู่ในช่วงที่อายุมาก ซึ่งเป็นหนึ่งในความเสี่ยงต่อโรคโควิด-19 ที่รุนแรงอยู่แล้ว
คนที่เป็นโรคตับจากไขมันพอกตับ ส่วนหนึ่งมักมีโรคเบาหวานร่วมด้วย ถือเป็นอีกหนี่งในความเสี่ยงต่อโรคโควิด-19 ที่รุนแรงอยู่แล้วเช่นกัน
ผู้ป่วยโรคตับบางประเภท จำเป็นต้องได้รับยากดภูมิต้านทาน เช่น โรคตับจากการแพ้ภูมิตนเอง ผู้ได้รับการเปลี่ยนตับซึ่งจำเป็นต้องได้รับยากดภูมิ หากติดเชื้อไวรัสโควิด-19 จะมีอันตรายหรือโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนได้มาก

2. ผู้มีโรคตับถ้าได้รับวัคซีนโควิด-19 แล้ว จะมีอันตรายต่อตับหรือไม่

  ข้อมูลในปัจจุบันยังไม่สามารถสรุปได้ เนื่องจากการศึกษาของวัคซีนต่าง ๆ ในปัจจุบัน มีผู้ป่วยโรคตับในงานวิจัยน้อยมาก เช่น วัคซีนของไฟเซอร์ มีผู้ป่วยโรคตับอยู่ในงานวิจัยเพียงร้อยละ 0.6  (217 คน) และเป็นโรคตับที่มีความรุนแรงระดับปานกลางถึงมาก เพียง 3 คน วัคซีนของโมเดิร์นน่า มีผู้ป่วยโรคตับอยู่เพียงร้อยละ 0.6 (196 คน) ส่วนวัคซีนของแอสตราเซเนกาที่จะเริ่มให้ในประเทศไทย จากข้อมูลได้คัดแยกผู้ป่วยโรคตับออกจากงานวิจัย เป็นต้น  นอกจากนี้การศึกษาวัคซีนต่าง ๆ จะแยกผู้ป่วยโรคตับที่เป็นจากโรคแพ้ภูมิต่อตับ หรือได้รับยากดภูมิต้านทาน ออกจากการศึกษา จึงไม่มีข้อมูลเช่นกัน

อย่างไรก็ตาม มีข้อมูลชี้ให้เห็นว่าผู้ที่ได้รับวัคซีนของแอสตราเซเนกา พบมีความผิดปกติของค่าการทำงานตับเพียง 1 คน จากจำนวนผู้ได้รับวัคซีน 12,021 คน ซึ่งถือได้ว่าน้อยมาก (ร้อยละ 0.008)

3. หากได้รับวัคซีนแล้วจะเกิดภูมิต้านทานโรคโควิด-19 ได้เหมือนคนทั่วไปหรือไม่
ยังไม่มีงานศึกษาวิจัยรองรับถึงประสิทธิภาพและประสิทธิผลเฉพาะของวัคซีนโควิดในผู้ป่วยโรคตับ แต่พอจะอนุมานได้ เหตุเพราะผู้ที่เป็นโรคตับแข็งโดยเฉพาะตับแข็งระยะท้าย และผู้ได้รับยากดภูมิต้านทาน จะมีความบกพร่องในระบบภูมิต้านทานของร่างกายร่วมด้วย ทำให้ติดเชื้อง่าย ภูมิต้านทานต่าง ๆ ก็ไม่ดี จากงานวิจัยผู้ป่วยโรคตับแข็ง หรือผู้ที่ได้รับยากดภูมิหลังการเปลี่ยนตับ เมื่อได้รับวัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบบี โอกาสตอบสนอง หรือผลของวัคซีนจะลดลง ฉะนั้นพอจะอนุมานได้ว่า หากได้รับวัคซีนโควิด ประสิทธิผลที่เกิดขึ้นน่าจะลดลง คือโอกาสเกิดภูมิน้อยกว่าในคนปกติ อย่างไรก็ตาม คำตอบที่แน่นอนต้องรอดูจากผลงานวิจัย

4. ฉะนั้น เมื่อเป็นโรคตับแล้ว ควรหรือไม่ควรฉีดวัคซีนโควิด-19
คำตอบนี้ต้องชั่งระหว่างประโยชน์ที่ได้จากวัคซีน กับความเสี่ยงของการติดโรคโควิด รวมถึงความเสี่ยงของการแพ้วัคซีน ในผู้ป่วยที่เป็นโรคตับแข็ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งมีภาวะตับวายร่วมด้วย ผู้ป่วยโรคตับที่อายุมาก โรคไขมันพอกตับที่เป็นเบาหวาน โรคแพ้ภูมิของตับที่ต้องได้รับยากดภูมิต้านทาน ผู้ป่วยเปลี่ยนตับที่ได้รับยากดภูมิ ควรจะได้รับวัคซีนเพื่อป้องกันโรคโควิด ทั้งนี้ย่อมมีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนอย่างน้อยก็ตามปกติของวัคซีนแต่ละชนิดนั้น ๆ ในความเห็นของผู้เขียน การได้รับวัคซีนในผู้ป่วยโรคตับที่มีภาวะดังกล่าวแล้ว น่าจะคุ้มกว่าการไม่ฉีดวัคซีน
ผู้ที่เป็นโรคตับเรื้อรังระยะที่ยังไม่ถึงระยะตับแข็ง การตัดสินใจว่าจะฉีดวัคซีนหรือไม่นั้น น่าจะอนุมานได้ว่าคล้ายกับคนปกติทั่วไป อย่างไรก็ตามเมื่อโรคตับอักเสบเรื้อรังดำเนินเข้าสู่ระยะตับแข็งแล้ว ร่างกายมักจะไม่มีสัญญาณเตือน ถ้าไม่ได้รับการตรวจอย่างจริงจังอาจจะไม่ทราบว่ามีตับแข็งซ่อนอยู่ ผู้ที่มีตับแข็งเป็นพื้นฐาน เวลาเกิดโรคต่าง ๆ แทรกซ้อนขึ้น อาจทำให้ตับทำงานทรุดลงอย่างรวดเร็วได้

"สิ่งที่สำคัญคือ ถึงแม้จะได้รับการฉีดวัคซีนแล้ว การระวังป้องกันที่ทำกันอยู่ในปัจจุบันยังเป็นสิ่งที่สำคัญ การ์ดอย่าตก เป็นอันขาด"

ด้วยความปรารถนาดี
รศ.ดร.นพ.ปิยะวัฒน์ โกมลมิศร์
ศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์ด้านโรคตับ รพ.จุฬาลงกรณ์
..............................

เอกสารอ้างอิง
Marjot T และคณะ Lancet Gastroenterology and Hepatology มกราคม 2564, Marjot T และคณะ Journal of Hepatology ตุลาคม 2563, British Liver Trust มกราคม 2564



ขอบคุณข้อมูลและรูปภาพจาก  : Facebook ศูนย์ความเป็นเลิศทางด้านโรคตับ รพ.จุฬาลงกรณ์
https://www.facebook.com/liverunitchula/
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มีนาคม 18, 2021, 07:41:16 am โดย ยาใจ »

ยาใจ

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 14170
    • ดูรายละเอียด






ผู้ได้รับการเปลี่ยนตับ ควรรับการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 หรือไม่❓

ผู้ได้รับการเปลี่ยนตับในชมรมคนรักษ์ตับ ตอนนี้เกือบจะสองร้อยท่านแล้ว ที่ผ่านมา 1 ปี พวกเราตั้งการ์ดกันได้ดีมาก ไม่มีผู้ใดติดเชื้อโควิดกันเลย ถึงเวลานี้กำลังจะผ่านพ้น การระบาดรอบสอง แล้วก็คงมีรอบต่อ ๆ ไปตามธรรมชาติของโรค แต่พวกเราเริ่มมีทางเลือกหรือถูกเลือก ในการฉีดวัคซีนป้องกันโควิดก่อนคนอื่น ๆ เพราะพวกเรามีความเสี่ยงมากที่จะติดและเกิดโรคแทรกซ้อนที่รุนแรง จึงมีคำถามกันมามากว่าจะทำอย่างไร
ประการแรกขอให้อ่านบทความ "ผู้ป่วยโรคตับควรได้รับวัคซีนโควิด-19 หรือไม่" ร่วมด้วย กับข้อมูลในบทความนี้

1. ถ้าไปติดเชื้อโควิด จะอันตรายหรือไม่
  ทั้งผู้ที่เป็นโรคตับระยะท้ายที่กำลังรอเปลี่ยนตับ และผู้ได้รับการเปลี่ยนตับ ซึ่งต้องกินยากดภูมิต้านทานมีโอกาสติดเชื้อได้ง่ายถ้าไปสัมผัสเชื้อ และเมื่อเป็นแล้วจะมีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงได้ เพราะภูมิต้านทานของร่างกายต่ำกว่าคนทั่วไป ฉะนั้นต้องระวังให้มาก

2. วัคซีนที่จะฉีดเข้าไปอันตรายต่อตับในผู้ได้รับการเปลี่ยนตับหรือไม่
  ยังไม่มีข้อมูลการศึกษาผลของการฉีดวัคซีนในผู้ได้รับการเปลี่ยนตับ แต่พอจะมีข้อมูลให้เห็นว่าวัคซีนที่ฉีด เช่น ของ แอสตร้าเซนเนกร้า มีโอกาสทำให้ค่าการทำงานตับผิดปกติน้อยมากคือ 1 ใน 12,021 คน (ร้อยละ 0.008)

3. ได้ยินว่าวัคซีนโควิดหลายชนิดในปัจจุบัน ใช้เชื้อไวรัสบางชนิดเป็นตัวนำเข้าไปในเซลล์ ฟังดูเหมือนเป็นวัคซีนที่มีชีวิต ซึ่งปกติในผู้ได้รับการเปลี่ยนตับจะห้ามให้วัคซีนที่มีชีวิตทุกชนิด แบบนี้จะมีอันตรายหรือไม่
  วัคซีนโควิดหลายชนิดใช้ไวรัสกลุ่มอดิโนไวรัส ซึ่งจำนวนหนึ่งเป็นเชื้อที่ทำให้เกิดโรคหวัดธรรมดา ใช้เป็นตัวนำส่วนของสายพันธุกรรมของไวรัสโควิด ส่วนที่สร้างโปรตีนที่เป็นหนามเอาไว้จับกับเซลล์และเข้าไปในเซลล์ โดยอดิโนไวรัสที่ใช้มีสองประเภท คือ ชนิดแรก เป็นเชื้อจากสัตว์กลุ่มไพรเมต ซึ่งปกติไม่ก่อโรคในคน เช่น จากลิงชิมแปนซี ได้แก่ วัคซีนของแอสตร้าเซเนกร้า ชนิดที่สอง ใช้อดีโนไวรัสของคนเป็นตัวนำ ได้แก่ วัคซีนสปุตนิกของรัสเซีย เป็นต้น อย่างไรก็ตามไวรัสตัวนำเหล่านี้ฟังดูเหมือนมีชีวิต แต่จริงๆ แล้ว ไวรัสเหล่านี้ถูกตัดยีนบางส่วน เมื่อเข้าไปในเซลล์แล้วจะไม่สามารถแบ่งตัวออกลูกออกหลานต่อไปได้ นอกจากนี้เมื่อทำหน้าที่สร้างโปรตีนส่วนหนามของไวรัสโควิดให้ร่างกายรับรู้และสร้างภูมิต้านทานแล้ว ตัวมันเองจะถูกทำลาย โดยสรุปคือ เทียบเท่ากับไม่มีชีวิต

4. ถ้าฉีดวัคซีนโควิดไปแล้ว จะได้ผลเหมือนคนทั่วไปหรือไม่
คำถามนี้ไม่มีคำตอบ เพราะยังไม่มีงานวิจัยรองรับ แต่อนุมานได้จากผลของการฉีดวัคซีนอื่น ๆ เช่น ฉีดวัคซีนไวรัสตับอักเสบบี ในผู้ได้รับการเปลี่ยนตับ จะเกิดภูมิต้านทานหลังการฉีดน้อยกว่า หรือประสิทธิผลน้อยกว่าการฉีดในคนปกติ เหตุเพราะได้รับยากดภูมิต้านทานอยู่ ระบบภูมิต้านทานจึงตอบสนองต่อการวัคซีนได้ไม่ดี

5. ฉะนั้นควรฉีดวัคซีนโควิดหรือไม่
ต้องชั่งดูระหว่างผลดีกับผลเสียหากเกิดโรค โดยรวมแล้วการฉีดวัคซีนน่าจะดีกว่าการไม่ฉีด ถ้าฉีดแล้วเกิดภูมิต้านทาน จะได้ป้องกันการเกิดโรค หรือลดความรุนแรงของโรคที่จะเกิดขึ้น
“อย่างไรก็ตาม ในระหว่างนี้ ระหว่างที่รอการมาของวัคซีน หรือเมื่อถึงคราวได้รับวัคซีนแล้วก็ตาม ยังต้องปฏิบัติตัวอย่างการ์ดไม่ตกเหมือนเดิม”
ด้วยความปรารถนาดี
รศ.ดร.นพ.ปิยะวัฒน์ โกมลมิศร์
ศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์ด้านโรคตับ รพ.จุฬาลงกรณ์

..............................
เอกสารอ้างอิง
Marjot T และคณะ Lancet Gastroenterology and Hepatology มกราคม 2564, Marjot T และคณะ Journal of Hepatology ตุลาคม 2563, British Liver Trust มกราคม 2564






ขอบคุณข้อมูลและรูปภาพจาก  : Facebook ศูนย์ความเป็นเลิศทางด้านโรคตับ รพ.จุฬาลงกรณ์
https://www.facebook.com/liverunitchula/

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มีนาคม 18, 2021, 07:46:06 am โดย ยาใจ »

ยาใจ

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 14170
    • ดูรายละเอียด
กาแฟดำลดไขมันพอกตับได้จริงหรือ?
« ตอบ #55 เมื่อ: มีนาคม 18, 2021, 07:45:41 am »












กาแฟดำลดไขมันพอกตับได้จริงหรือ?

คำตอบคือ จริง

หลายงานวิจัยพบว่าผู้ป่วยไขมันพอกตับที่ชอบดื่มกาแฟดำวันละ 2 แก้วหรือมากกว่านั้น สามารถช่วยลดการสะสมไขมันในตับได้ เพราะกาแฟมีคุณประโยชน์ที่หลายคนทราบกันดีว่าทำให้ตื่นตัวหรือทำกิจกรรมต่าง ๆ ต่อเนื่องเป็นเวลานานได้ จึงช่วยเรื่องการเผาผลาญไขมัน และยังไปกระตุ้นการทำงานของเมแทบอลิซึมในร่างกายด้วย

ทั้งนี้ควรระวังกาแฟถ้วยโปรดที่มีรสชาติหวานมันด้วยน้ำตาลและครีม ซึ่งหากดื่มมากเกินไปยาวนาน อาจก่อให้เกิดปัญหากับสุขภาพแทน









ขอบคุณข้อมูลและรูปภาพจาก  : Facebook ศูนย์ความเป็นเลิศทางด้านโรคตับ รพ.จุฬาลงกรณ์
https://www.facebook.com/liverunitchula/
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มีนาคม 18, 2021, 07:52:36 am โดย ยาใจ »

ยาใจ

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 14170
    • ดูรายละเอียด















ดื่มชานมไข่มุกมาหนัก ระวังไขมันพอกตับให้ดี 

ชานมไข่มุก เป็นเครื่องดื่มยอดนิยมในยุคดิจิตอลนี้ จนหลายคนหยุดไม่ได้เวลาเดินผ่านร้านต้องแวะซื้อติดมือไว้ดื่มเสมอ  แต่รู้หรือไม่ว่าหากเราดื่มในปริมาณที่มากเกินไปก็อาจส่งผลเสียต่อสุขภาพได้เช่นกัน โดยเฉพาะ "ไขมันพอกตับ" ซึ่งไม่ได้เกิดจากการดื่มแอลกอฮอล์เท่านั้น แต่อาจมาจากน้ำตาลที่มีอยู่ในอาหารทั่วไป รวมถึงเครื่องดื่มอร่อย ๆ รสหวานยอดนิยมอย่าง ชานมไข่มุกนี้ ด้วย

ดังนั้น หากใครยังรักและหลงชานมไข่มุกอยู่ ก็อย่าลืมลดปริมาณในการดื่มลง แล้วหมั่นออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอเพื่อสุขภาพที่ดีกันด้วยนะคะ











ขอบคุณข้อมูลและรูปภาพจาก  : Facebook ศูนย์ความเป็นเลิศทางด้านโรคตับ รพ.จุฬาลงกรณ์
https://www.facebook.com/liverunitchula/
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มีนาคม 18, 2021, 08:10:05 am โดย ยาใจ »

ยาใจ

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 14170
    • ดูรายละเอียด
ตรวจคัดกรองมะเร็งตับ
« ตอบ #57 เมื่อ: มีนาคม 18, 2021, 08:00:08 am »
ตรวจคัดกรองมะเร็งตับ

การตรวจคัดกรองมะเร็งตับขณะที่ยังไม่มีอาการใด ๆ หรือในระยะต้น ๆ ถือเป็นสิ่งสำคัญเพื่อให้เราพบความผิดปกติตั้งแต่ต้นและสามารถรับการรักษาอย่างทันท่วงที โดยเฉพาะผู้ที่มีไวรัสตับอักเสบบีหรือซีเรื้อรัง หรือผู้ที่มีประวัติคนในครอบครัวเป็นมะเร็งตับ ควรหาโอกาสตรวจคัดกรองสักครั้ง หรือหากมีข้อกังวลใจใด ๆ เกี่ยวกับตับ ก็ลองเข้ารับการตรวจและปรึกษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญได้


คลิกชมได้ที่ ===> https://www.facebook.com/liverunitchula/videos/857660675079459/









ขอบคุณข้อมูลจาก  : Facebook ศูนย์ความเป็นเลิศทางด้านโรคตับ รพ.จุฬาลงกรณ์
https://www.facebook.com/liverunitchula/
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: เมษายน 28, 2021, 07:06:56 am โดย ยาใจ »

ยาใจ

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 14170
    • ดูรายละเอียด
*** โรคตับ รู้ทัน ป้องกันไว้ รักษาได้ ***
« ตอบ #58 เมื่อ: มีนาคม 18, 2021, 08:05:49 am »













โรคตับ รู้ทัน ป้องกันไว้ รักษาได้ 

โรคตับเป็นได้ก็หายได้ รู้ตัวให้ไว รักษาได้ทันเวลา

ไวรัสตับอักเสบ -- มียารักษาหยุดโรคได้ชะงัก

ไวรัสตับอักเสบซี -- กินยาสามเดือนก็หายขาด

โรคตับจากแอลกอฮอล์ -- รักษาง่าย เพียงหยุดดื่ม

ไขมันพอกตับ -- ลดน้ำหนัก ออกกำลังกาย ปรับพฤติกรรม

ตับแข็ง -- ตับแข็งได้ ก็นิ่มได้ ตับเสียแล้ว ก็เปลี่ยนได้

รู้เท่ารู้ทันมะเร็งตับ -- รักษาได้ และหายขาดได้

ผู้มีโรคตับอักเสบเรื้อรัง -- รักษาโรคที่เป็นสาเหตุให้หายขาด และควรตรวจคัดกรอง มะเร็งตับทุก ๆ 6 เดือน

อย่ารอช้า เมื่อพร้อมด้วยปัจจัยทุกประการ ควรเข้ารับการรักษาให้หายขาด

เพื่อลดความเสี่ยงการเกิดโรคมะเร็งตับได้









ขอบคุณข้อมูลและรูปภาพจาก  : Facebook ศูนย์ความเป็นเลิศทางด้านโรคตับ รพ.จุฬาลงกรณ์
https://www.facebook.com/liverunitchula/
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มีนาคม 18, 2021, 08:17:10 am โดย ยาใจ »

ยาใจ

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 14170
    • ดูรายละเอียด
ไวรสตับอักเสบบี ดูแลตัวเองอย่างไร?
« ตอบ #59 เมื่อ: เมษายน 28, 2021, 07:03:21 am »
ผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบบีเรื้อรัง นอกจากจะเข้ารับการรักษาและปฏิบัติตามคำสั่งแพทย์อย่างเคร่งครัดแล้ว ควรดูแลตัวเองอย่างไร เพื่อให้มีสุขภาพจิตและสุขภาพกายแข็งแรงไปพร้อม ๆ กันได้เป็นอย่างดี


คลิกชม ===> https://www.facebook.com/liverunitchula/videos/2857921884448550


อ่านเพิ่มเติม
[/color]https://www.livernurturingclub.com/center/knowledge/%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%89%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%88%E0%B8%9E%E0%B8%9A%E0%B9%84%E0%B8%A7%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%AA%E0%B8%95%E0%B8%B1%E0%B8%9A/?fbclid=IwAR014L2FG1p-fi3639IIDfXdbpSIACE4Tqi2cc-qRvGqgKhvYA4VyKqZHhk








ขอบคุณข้อมูลจาก  : Facebook ศูนย์ความเป็นเลิศทางด้านโรคตับ รพ.จุฬาลงกรณ์
https://www.facebook.com/liverunitchula/
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: เมษายน 28, 2021, 07:09:12 am โดย ยาใจ »