ผู้เขียน หัวข้อ: รวมเรื่องของ "ฟัน" กินแบบไหน ลดเสี่ยง ไม่ต้องหาหมอฟัน  (อ่าน 18729 ครั้ง)

ยาใจ

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 14143
    • ดูรายละเอียด



  กินแบบไหน ลดเสี่ยง ไม่ต้องหาหมอฟัน

แม้สถานการณ์ โควิด19 กำลังมีทีท่าว่าจะดีขึ้น
แต่เราก็ยังไม่ผ่านพ้นวิกฤตการณ์นี้ไปเสียทีเดียว เรายังคงต้องอยู่แบบห่าง ๆ กันต่อไปอีกสักระยะ…
ทำให้หากไม่ฉุกเฉิน/เร่งด่วน ก็ควรเลื่อนการพบ หมอฟัน ไปก่อน

ฟันยังดี จึงขอแนะนำว่าในช่วงนี้ นอกจากจะต้องดูแลความสะอาดของช่องปากและฟันให้ดีแล้ว

วัยเก๋า ยังควรต้องเลือกอาหารการกินให้ดีด้วย โดยคำนึงถึง ‘คุณค่าทางอาหาร’ ให้ครบ 5 หมู่ และมีความหลากหลาย ซึ่งจะช่วยส่งเสริมให้สุขภาพร่างกายและสุขภาพช่องปากแข็งแรง

นอกจากนี้ยังควรเลือกอาหารที่ ‘อ่อนนุ่ม และย่อยง่าย’ ด้วย
เนื่องจากผู้สูงอายุส่วนใหญ่มักมีจำนวนฟันน้อยลง
บางครั้งฟันไม่แน่นเหมือนเดิม​ และ​มักใส่ฟันทดแทน​ ส่งผล
ให้ประสิทธิภาพการบดเคี้ยวอาหารลดลง

  อาหารที่ควรหลีกเลี่ยง 

  อาหารแข็ง --> อาจทำให้ฟันแตก ฟันบิ่น ฟันร้าว
เช่น กระดูกไก่ กระดูกหมู กระดูกอ่อน เม็ดมะขาม น้ำแข็ง ฯลฯ

อาหารเหนียว --> มักติดฟัน ทำความสะอาดยาก จึงเสี่ยงฟันผุ
เช่น ตังเม สับปะรดกวน กะละแม ทุเรียนกวน ฯลฯ

  อาหาร (รวมถึงเครื่องดื่ม) ที่หวานจัด --> เป็นแหล่งอาหารชั้นดีของเชื้อโรค ทำให้ฟันผุได้ง่าย
เช่น ทองหยิบ ทองหยอด ฝอยทอง สังขยา ผลไม้เชื่อม ฯลฯ

  ของเปรี้ยว --> กัดกร่อนผิวฟัน ทำให้ฟันสึกกร่อน และอาจเสียวฟันได้
เช่น ของหมักดอง มะม่วงดิบ ผลไม้หรือน้ำผลไม้รสเปรี้ยว ฯลฯ

พบกับ ฟันยังดี เกร็ดความรู้เรื่องสุขภาพช่องปากและฟันสำหรับ ‘คนวัยเก๋า’ โดย กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข

  โดยสามารถติดตามฟันยังดี ได้ที่
1. LINE: @funyoungdee และ 2. กดไลค์กดติดตาม Facebook ฟันยังดี








  ขออนุญาตนำเผยแผ่ต่อค่ะ กราบขอบพระคุณเป็นอย่างสูงค่ะ

ขอบคุณข้อมูลจาก Facebook ฟันยังดี
https://www.facebook.com/funyoungdee/

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มีนาคม 23, 2023, 06:02:53 am โดย ยาใจ »

ยาใจ

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 14143
    • ดูรายละเอียด
รวมวิธีกำจัด ‘กลิ่นปาก’
« ตอบ #1 เมื่อ: มิถุนายน 30, 2020, 02:38:27 pm »





  รวมวิธีกำจัด ‘กลิ่นปาก’

จากคราวก่อนที่เราเล่าให้ฟังแล้วว่า ต้นเหตุของกลิ่นปากเกิดจากอะไรได้บ้าง?

ในครั้งนี้ ฟันยังดี จะสรุปวิธีสยบกลิ่นปากทั้งแบบที่ทำได้ทันที
และแบบที่กำจัดได้ถาวร มาให้ทุกท่านค่ะ

  วิธีกำจัด ‘กลิ่นปาก’ ระยะสั้น
หายเหม็นเร็ว แต่ไม่ถาวร

⚡️อมลูกอม/เคี้ยวหมากฝรั่ง ‘ที่ไม่มีน้ำตาล’
⚡️งดอาหารที่มีกลิ่นแรง
⚡️กำจัดเศษอาหารที่ตกค้าง รวมถึงคราบเชื้อโรคที่ลิ้น
⚡️จิบน้ำเปล่าบ่อย ๆ เพราะจะทำให้ช่องปากชุ่มชื้น​ และยังช่วยชะล้างคราบแบคทีเรียในช่องปากได้ด้วย

  วิธีกำจัด ‘กลิ่นปาก’ ระยะยาว
 แก้ตรงจุด หายเหม็นแน่นอน
งดสูบบุหรี่
พบหมอฟัน
เพื่อตรวจหาสาเหตุของกลิ่นปาก และรับการรักษาที่ตรงจุดต่อไป
เช่น ขูดหินปูน รักษาโรคเหงือก/โรคปริทันต์อักเสบ อุดฟัน ฯลฯ
แปรงฟันแบบ 2-2-2
โดยแปรงฟันอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง ครั้งละ 2 นาที และงดกินหลังแปรงฟันอย่างน้อย 2 ชั่วโมง
ใช้ไหมขัดฟัน/แปรงซอกฟัน
อย่างน้อยวันละ 1 ครั้ง เพื่อทำความสะอาดบริเวณที่ขนแปรงเข้าไม่ถึง

ฟันยังดี เกร็ดความรู้เรื่องสุขภาพช่องปากและฟันสำหรับ ‘คนวัยเก๋า’ โดย กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข

สามารถติดตามฟันยังดี ได้ที่
1. LINE: @funyoungdee และ 2. กดไลค์กดติดตาม Facebook ฟันยังดี







ขอบคุณข้อมูลจาก Facebook ฟันยังดี
https://www.facebook.com/funyoungdee/
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มีนาคม 23, 2023, 06:06:35 am โดย ยาใจ »

ยาใจ

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 14143
    • ดูรายละเอียด
ดูแล ‘ฟัน’ ไม่ดี เสี่ยงอะไรเพิ่มบ้าง
« ตอบ #2 เมื่อ: มิถุนายน 30, 2020, 02:48:59 pm »



  ดูแล ‘ฟัน’ ไม่ดี เสี่ยงอะไรเพิ่มบ้าง 

การทำความสะอาดช่องปากเป็นหนึ่งในกิจวัตรประจำวันของเรา และการแวะไปเช็คสุขภาพฟันกับหมอฟันเป็นระยะ ก็จะช่วยให้ ฟันยังดี ตั้งแต่เด็กจนเข้าสู่วัยเก๋า

แต่ถ้าเราละเลย คิดว่าแก่แล้วยังไงฟันก็เสื่อม ทำบ้างไม่ทำบ้างก็ได้
บอกเลยว่า ผลที่เกิดขึ้นไม่ใช่แค่ฟันไม่สะอาด/มีกลิ่นปากแล้วจบเท่านั้น

แต่ ฟันไม่ดี จะนำไปสู่ความเสี่ยงที่มากกว่านั้น!

มาดูกันว่า ถ้าดูแล ‘ฟัน’ ไม่ดี  จะเสี่ยงอะไรเพิ่มบ้าง?

1. เสี่ยงฟันผุ เหงือกอักเสบ บวม ฟันโยก
ถ้าทำความสะอาดช่องปากและฟันได้ไม่ดี เชื้อโรคที่หลงเหลืออยู่บนผิวฟัน (ซึ่งเรียกว่าคราบจุลินทรีย์หรือขี้ฟัน) ก็จะปาร์ตี้กันอย่างสนุกสนานด้วยการย่อยสลายอาหารจำพวกแป้งและน้ำตาล แล้วปล่อยกรดออกมากัดกร่อนฟันจนผุในที่สุด นอกจากนั้นแล้ว เชื้อโรคเหล่านี้ยังทำอันตรายต่อเหงือกและอวัยวะรอบ ๆ ฟัน จนเกิดเหงือกอักเสบ บวมเป็นหนอง ฟันโยก ฯลฯ ได้อีกด้วย

2. เสี่ยงควบคุมโรคเบาหวานได้ยากขึ้น
มีงานวิจัยมากมายที่พบว่า โรคเบาหวานและโรคปริทันต์อักเสบมีความสัมพันธ์กัน โดยผู้ที่เป็นโรคเบาหวานจะมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคปริทันต์อักเสบ หรือทำให้โรคปริทันต์อักเสบที่เป็นอยู่มีความรุนแรงมากขึ้น

ในทางกลับกัน สำหรับคนที่เป็นโรคเบาหวานอยู่แล้ว การไม่ดูแลสุขภาพช่องปากให้ดี​ ก็จะทำให้การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดทำได้ยากลำบากขึ้น และส่งผลต่อการรักษาโรคเบาหวานโดยรวม

3. เสื่ยงต่อการติดเชื้อที่หัวใจ
มีงานวิจัยที่ตรวจพบเชื้อซึ่งทำให้เกิดโรคฟันผุที่บริเวณเยื่อบุหัวใจหรือลิ้นหัวใจที่อักเสบ ทำให้เชื่อว่า เชื้อฟันผุจากในช่องปากอาจเข้าสู่กระแสเลือดแล้วไปยังหัวใจ และก่อให้เกิดการอักเสบตามมา

4. เสี่ยงเป็นมะเร็งช่องปาก
การสูบบุหรี่ การดื่ม เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ รวมถึงการละเลยเรื่องสุขภาพช่องปาก ปล่อยให้มีฟันแท้ (รวมถึงฟันทดแทน) หัก บิ่น แตก คม จนระคายเคืองเหงือก กระพุ้งแก้ม ลิ้น หรือเพดานปาก บ่อย ๆ จะเพิ่มความเสี่ยงการเป็นมะเร็งในช่องปาก

พบกับ ฟันยังดี เกร็ดความรู้เรื่องสุขภาพช่องปากและฟันสำหรับ ‘คนวัยเก๋า’ โดย กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข

โดยสามารถติดตามฟันยังดี ได้ที่
1. LINE: @funyoungdee และ 2. กดไลค์กดติดตาม Facebook ฟันยังดี







ขอบคุณข้อมูลจาก Facebook ฟันยังดี
https://www.facebook.com/funyoungdee/
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มีนาคม 23, 2023, 06:11:05 am โดย ยาใจ »

ยาใจ

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 14143
    • ดูรายละเอียด
‘ปวดกราม’ 'ปวดขากรรไกร' บรรเทาปวดยังไงนะ?
« ตอบ #3 เมื่อ: กรกฎาคม 02, 2020, 02:24:34 pm »





  ปวดกราม’ 'ปวดขากรรไกร' บรรเทาปวดยังไงนะ?


คราวนี้ ฟันดีดี จะมาเล่าให้ฟังว่า แล้วเราจะสามารถบรรเทาอาการเบื้องต้นได้อย่างไร

วิธีบรรเทาอาการปวด

1. รับประทานอาหารอ่อน ๆ
เช่น โจ๊ก ข้าวต้ม รวมถึงตัดอาหารให้เป็นชิ้นเล็กเพื่อให้เคี้ยวได้ง่าย

2. ประคบอุ่นบริเวณที่ปวด

3. ลดการใช้งานขากรรไกร เช่น หลีกเลี่ยงการพูด ตะโกน ร้องเพลง ฯลฯ

4. นวดขากรรไกร
โดยใช้นิ้วกดที่หน้าหู นวดเป็นวงกลมประมาณ 5 - 10 ครั้ง แล้วอ้าปาก
อาจนวดบริเวณข้างคอและขมับเพื่อช่วยลดอาการตึงด้วย

5. รับประทานยาบรรเทาอาการปวด

ทั้งนี้ หากอาการไม่ดีขึ้น หรือรู้สึกปวดบ่อย ๆ
ควรพบทันตแพทย์เพื่อตรวจและรับการรักษาต่อไป








ขอบคุณข้อมูลจาก : Facebook  ฟันดีดี
https://www.facebook.com/betterteeththailand/


    เว็บไซต์ ฟัน ดี ดี  ===> http://betterteeththailand.com/
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กันยายน 29, 2020, 11:55:03 am โดย ยาใจ »

ยาใจ

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 14143
    • ดูรายละเอียด
‘ปวดกราม’ 'ปวดขากรรไกร' เกิดจากอะไรนะ?
« ตอบ #4 เมื่อ: กรกฎาคม 02, 2020, 02:34:16 pm »



  ปวดกราม’ 'ปวดขากรรไกร' เกิดจากอะไรนะ? 



ฟันดีดี จะมาเล่าให้ฟังว่า อาการเหล่านี้เกิดจากอะไร มีสาเหตุอะไรที่พบบ่อยบ้าง

  อาการปวดกราม/ขากรรไกร 
เป็นอาการที่เกิดจากความผิดปกติที่ข้อต่อขากรรไกร
รวมถึงกล้ามเนื้อรอบ ๆ ข้อต่อ และกล้ามเนื้อที่ใช้บดเคี้ยวต่าง ๆ

สาเหตุที่พบบ่อย

1. การสบฟันที่ผิดปกติ
เช่น มีจุดสบกระแทก ทำให้ระบบบดเคี้ยวเสียสมดุล และเกิดแรงที่ผิดปกติบริเวณข้อต่อขากรรไกร

2. การรับประทานอาหารเหนียว/แข็ง
เช่น การเคี้ยวหมากฝรั่งบ่อย ๆ ทำให้กล้ามเนื้อบดเคี้ยวทำงานหนักจนเกิดอาการเมื่อยล้า

3. การเคี้ยวอาหารข้างเดียว
ส่งผลให้กล้ามเนื้อในระบบบดเคี้ยว รวมถึงข้อต่อขากรรไกรทั้งสองข้างทำงานไม่สมดุลกัน

4. การบาดเจ็บที่ขากรรไกร
การกระแทก/อุบัติเหตุที่บริเวณขากรรไกร อาจทำให้เกิดอาการเจ็บ ช้ำ บวม หรือกระดูกขากรรไกรร้าว/หัก

5. ความเครียด
ผู้ที่กำลังเครียดมักเค้นฟันโดยไม่รู้ตัว ซึ่งทำให้กล้ามเนื้อบดเคี้ยวทำงานหนักกว่าปกติ

6. การนอนกัดฟัน
เกิดจากการที่กล้ามเนื้อซึ่งใช้บดเคี้ยวหดตัวผิดปกติขณะนอน โดยมากมักมีอาการเมื่อย/ตึงบริเวณแก้ม หน้าหู หรือรู้สึกติด ๆ ขัด ๆ ที่ข้อต่อขากรรไกรตอนตื่นนอน








ขอบคุณข้อมูลจาก : Facebook  ฟันดีดี
https://www.facebook.com/betterteeththailand/


    เว็บไซต์ ฟัน ดี ดี  ===> http://betterteeththailand.com/
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มีนาคม 23, 2023, 06:17:56 am โดย ยาใจ »

ยาใจ

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 14143
    • ดูรายละเอียด
อุดฟันแล้ว แต่ผุอีกได้ ถ้าไม่ดูแล
« ตอบ #5 เมื่อ: กรกฎาคม 02, 2020, 02:51:30 pm »




  อุดฟันแล้ว แต่ผุอีกได้ ถ้าไม่ดูแล 

ใครเคย อุดฟัน บ้าง?

บางคนอุดฟันแล้วก็รู้สึกสบายใจ ที่ฟันกลับมาสวยงามแข็งแรง
แต่รู้ไหมว่า ตรงจุดที่อุดฟันไปสามารถผุได้อีก ถ้าไม่ดูแล!

สาเหตุที่ฟันผุซ้ำ
ไม่ว่าในตอนแรกเราจะอุดฟันเพราะ ฟันผุ แตก บิ่น หรือสึก ฯลฯ แต่ตรงที่อุดฟันก็จะมีรอยต่อระหว่างวัสดุและผิวฟัน ซึ่งเป็นจุดสะสมของแบคทีเรีย

หากเราไม่ดูแลรักษาความสะอาดให้ดี กินขนมหวานเป็นประจำ สุดท้ายบริเวณที่อุดฟันไปก็อาจกลับมาผุซ้ำได้อีก

  การดูแล ไม่ให้ผุซ้ำ

1. แปรงฟันแบบ 2-2-2 ด้วยยาสีฟันฟลูออไรด์
แปรงฟันด้วยยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ (อย่างน้อย) วันละ 2 ครั้ง ครั้งละ (อย่างน้อย) 2 นาที และงดกินหลังแปรง (อย่างน้อย) 2 ชั่วโมง

2. ใช้ไหมขัดฟันทุกวัน
ควรใช้ไหมขัดฟันทุกวัน อย่างน้อยวันละ 1 ครั้ง เพื่อขจัดเศษอาหารและคราบเชื้อโรคบริเวณซอกฟันที่ขนแปรงไม่สามารถทำความสะอาดได้ทั่วถึง

3. หมั่นตรวจสอบว่าวัสดุอุดยังอยู่ในสภาพดีหรือไม่
หากมีรอยแตกบิ่น ติดสีบริเวณรอยต่อ ใช้ไหมขัดฟันแล้วขาด หรือมีกลิ่นเหม็นบริเวณที่อุดไป ควรไปพบทันตแพทย์

4. พบหมอฟันเป็นประจำทุก 6 เดือน

ควรพบหมอฟันทุก 6 เดือน หรืออย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เพื่อตรวจสุขภาพช่องปาก รวมถึงคุณภาพของวัสดุอุดฟันในปาก


แหล่งข้อมูล:
สถาบันทันตกรรม กรมการแพทย์ และ สสส.







ขอบคุณข้อมูลจาก : Facebook  ฟันดีดี
https://www.facebook.com/betterteeththailand/


    เว็บไซต์ ฟัน ดี ดี  ===> http://betterteeththailand.com/

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มีนาคม 23, 2023, 06:18:50 am โดย ยาใจ »

ยาใจ

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 14143
    • ดูรายละเอียด




  สรุปวิธีเลือก ‘อุปกรณ์ดูแลฟัน’สำหรับวัยทำงาน 

1. แปรงสีฟันดีดี

ขนแปรง: นุ่ม ปลายมน และเรียว
เนื่องจากขนแปรงที่แข็งอาจทำให้ฟันสึกหรือเหงือกบาดเจ็บได้ถ้าแปรงแรง ๆ ในขณะที่ขนแปรงที่ใหญ่เกินไปก็อาจไม่สามารถเข้าในร่องเหงือกเพื่อกำจัดเชื้อโรคได้อย่างหมดจด

ด้ามจับถนัดมือและหัวแปรงขนาดพอเหมาะกับช่องปาก
ควรเลือกด้ามจับที่ถนัดมือ เพื่อให้สามารถเคลื่อนแปรงไปมาได้สะดวก และหัวแปรงที่ไม่ใหญ่เกินไป จะได้ซอกซอนเข้าถึงฟันทุกซี่ โดยเฉพาะซี่ด้านในได้อย่างทั่วถึง

มีสัญลักษณ์แปรงสีฟันติดดาว
ข้อนี้ไม่บังคับ แต่การเลือก ‘แปรงสีฟันติดดาว’ ซึ่งแสดงว่าผ่านการรับรองโดยกรมอนามัย ก็จะทำให้มั่นใจได้ว่า แปรงสีฟันนี้ดีจริง ๆ



2. ยาสีฟันดีดี

มีฟลูออไรด์
เพราะฟลูออไรด์คือสิ่งสำคัญที่ช่วยป้องกันฟันผุ ทำให้ฟันแข็งแรงและทนทานต่อกรดจากเชื้อโรคในช่องปากมากขึ้น

เนื้อไม่หยาบ
เพื่อทะนุถนอมผิวฟันไม่ให้สึก โดยควรเลือกยาสีฟันชนิดครีมหรือเจล ไม่ใช้ยาสีฟันชนิดผง ซึ่งมักมีผงขัดที่หยาบ และอาจทำอันตรายต่อผิวฟันได้มาก

เลือกตามปัญหาช่องปาก
ในกรณีที่มีปัญหาช่องปาก เช่น เสียวฟัน ก็อาจเลือกยาสีฟันที่ช่วยบรรเทาอาการในช่วงที่ยังไม่สะดวกไปหาหมอฟันได้ แต่ทั้งนี้ เราก็ไม่ควรนิ่งนอนใจ โดย ฟันดีดี แนะนำให้รีบไปพบทันตแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุที่แท้จริงและรับการรักษาที่ตรงจุดต่อไป

สำหรับกลิ่นและรสสามารถเลือกได้ตามชอบ จะได้อยากแปรงฟันมากขึ้น ถ้ายาสีฟันมีรสออกหวานก็ไม่ต้องตกใจ เพราะรสหวานนั้นไม่ได้มาจากน้ำตาลที่ทำให้ฟันผุ



3. ไหมขัดฟันดีดี

เส้นไหมเคลือบขี้ผึ้ง
เส้นไหมของไหมขัดฟันมีหลายรูปแบบ แต่โดยทั่วไปแล้ว ไหมขัดฟันแบบเคลือบขี้ผึ้งจะเคลื่อนเข้าร่องฟันได้สะดวก จึงใช้งานง่าย และมีโอกาสทำอันตรายต่อเหงือกบริเวณรอบ ๆ ได้น้อย

  เลือกให้เหมาะกับสภาพฟัน
ในบริเวณที่ใส่สะพานฟันหรือกรณีกำลังจัดฟัน ซึ่งไม่สามารถทำความสะอาดด้วยไหมขัดฟันแบบปกติได้ เราก็จำเป็นต้องใช้ superfloss หรือห่วงร้อยไหมขัดฟัน (floss threader) ร่วมกับไหมขัดฟัน ช่วยทำความสะอาด

  เลือกตามความถนัด
ไหมขัดฟันมีหลายแบบ เราสามารถเลือกใช้ได้ตามความชอบส่วนตัว บางคนอาจถนัดที่จะใช้ไหมขัดฟันแบบธรรมดา ในขณะที่บางคนก็อาจชอบใช้แบบที่มีด้ามจับ ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเลือกใช้แบบใดก็ตาม สิ่งที่ ฟันดีดี จะขอเน้นย้ำก็คือ เราควรต้องใช้ไหมขัดฟันอย่างถูกวิธี โดยโอบเส้นไหมกับผิวฟันที่จะทำความสะอาดให้มากที่สุด (ไม่ใช่เพียงเลื่อยผ่านซอกฟันแบบตรง ๆ เท่านั้น)









ขอบคุณข้อมูลจาก : Facebook  ฟันดีดี
https://www.facebook.com/betterteeththailand/


    เว็บไซต์ ฟัน ดี ดี  ===> http://betterteeththailand.com/
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กันยายน 29, 2020, 11:57:14 am โดย ยาใจ »

ยาใจ

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 14143
    • ดูรายละเอียด
4 วิธี บรรเทาอาการ ‘ปวดฟัน’ แบบชั่วคราว
« ตอบ #7 เมื่อ: กรกฎาคม 02, 2020, 03:13:24 pm »




  4 วิธี บรรเทาอาการ ‘ปวดฟัน’ แบบชั่วคราว 

ใครเคยปวดฟัน จะรู้ว่ามันช่างแสนทรมาน กินก็ลำบาก นอนก็ไม่หลับ
แต่บางทีก็ยังไม่สะดวกไปพบหมอฟัน

ฟันดีดี เลยสรุป 4 วิธีที่อาจช่วยบรรเทาอาการปวดฟันได้ ‘ชั่วคราว’ มาให้จ้า

1. กินยาแก้ปวด
วิธีทางการแพทย์ปัจจุบันที่ช่วยบรรเทาอาการปวดให้เบาลงได้ตราบเท่าที่ยายังออกฤทธิ์อยู่

2. ใช้น้ำเกลือกลั้วปาก
อาจใช้น้ำเกลือสำหรับล้างแผล
หรือทำเอง โดยผสมเกลือ ½ ช้อนชา กับน้ำอุ่น 240 มิลลิลิตร
กลั้วปากโดยเน้นบริเวณที่ปวด

3. ประคบเย็น
การประคบด้วยเจลเย็นหรือผ้าห่อน้ำแข็งบริเวณที่ปวดเพื่อให้ชา อาจช่วยให้คลายปวดลงได้บ้าง

4. ทาน้ำมันกานพลู
น้ำมันกานพลูมีสารที่ทำให้ชา จึงช่วยระงับปวดได้
การนำมาทาหรือชุบสำลีแล้วแปะบริเวณที่ปวดอาจช่วยบรรเทาอาการลงได้

  อย่างไรก็ตาม ... อย่าลืมว่าวิธีที่เราสรุปมาให้ทั้งหมดนี้ใช้เพื่อบรรเทาอาการปวดฟัน ชั่วคราว เท่านั้น

ฟันดีดี แนะนำเป็นอย่างยิ่งว่าควรรีบไปพบหมอฟันโดยเร็ว
เพื่อตรวจหาสาเหตุของอาการปวดฟัน และรับการรักษาที่เหมาะสมต่อไป
อย่าปล่อยทิ้งไว้ให้ลุกลามนะ!



แหล่งข้อมูล:
pobpad.com






ขอบคุณข้อมูลจาก : Facebook  ฟันดีดี
https://www.facebook.com/betterteeththailand/


    เว็บไซต์ ฟัน ดี ดี  ===> http://betterteeththailand.com/

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 11, 2020, 07:19:08 pm โดย ยาใจ »

ยาใจ

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 14143
    • ดูรายละเอียด
ปัญหาแบบไหน ต้องใส่ฟันทดแทน?
« ตอบ #8 เมื่อ: กรกฎาคม 22, 2020, 03:06:28 pm »




  ปัญหาแบบไหน ต้องใส่ฟันทดแทน? 

เมื่อเราสูญเสียฟัน หรือมีการถอนฟันแท้ออกไป
ฟันยังดี ที่เหลืออยู่ อาจจะไม่สามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพดังเดิม

แต่ก็มีตัวช่วยอย่าง ฟันเทียม หรือ ฟันทดแทน อยู่
แต่จะรู้ได้อย่างไร ว่าแบบไหนที่จำเป็นต้องใส่ฟันทดแทนบ้าง?


1. กินอาหารแข็งๆ ไม่ได้
พอฟันขาดหายไปหนึ่งซี่ โดยเฉพาะในฟันกราม ก็อาจทำให้เรากัด/เคี้ยวอาหารแข็งๆ เช่น ถั่ว น้ำแข็ง ขนมขาไก่ ไม่ถนัดเหมือนเดิมทำให้ต้องกินแต่อาหารอ่อนๆ เท่านั้น

2. เคี้ยวไม่ละเอียด
ฟันที่หายไป อาจส่งผลถึงการบดเคี้ยวของเรา ทำให้ท้องอืดประจำเพราะเคี้ยวอาหารไม่ละเอียดดีพอ

3. กัดอาหารไม่ขาด
หากฟันที่สูญเสียไป เป็นฟันที่ใช้สำหรับกัดหรือฉีกอาหาร ก็อาจจะกลายเป็นกัดอาหารไม่ขาด เหลือเป็นชิ้นใหญ่ๆ กลืนลำบาก

4. ป้องกันฟันล้ม
ถ้
าหากต้องถอนฟันซี่ใดซี่หนึ่งออกไป ก็จะเหลือช่องว่างเหงือกทิ้งไว้ ทำให้ฟันซี่ที่เหลืออาจล้มเอียงไปยังช่องว่างได้

5. ไม่มั่นใจในรอยยิ้ม
เมื่อฟันหายไป โดยเฉพาะในฟันหน้า อาจทำให้เรารู้สึกไม่มั่นใจเวลาพูดคุยกับคนอื่น หรือไม่อยากยิ้มกว้าง การใส่ฟันทดแทนจะช่วยเติมเต็มความมั่นใจให้กับเราได้

6. มีปัญหาในการพูด ร้องเพลง ฯลฯ
อวัยวะในช่องปาก ฟันและลิ้น มีส่วนสำคัญต่อการพูด การออกเสียง รวมไปถึงการร้องเพลง ดังนั้นหากสูญเสียฟัน ก็อาจจะส่งผลกระทบต่อการออกเสียงได้เช่นกัน

พบกับ ฟันยังดี เกร็ดความรู้เรื่องสุขภาพช่องปากและฟันสำหรับ ‘คนวัยเก๋า’ โดย กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข









ขอบคุณข้อมูลจาก : Facebook  ฟันยังดี
https://www.facebook.com/funyoungdee/

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มีนาคม 23, 2023, 06:20:39 am โดย ยาใจ »

ยาใจ

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 14143
    • ดูรายละเอียด



ฟันทดแทนคู่ใจ ที่เราใส่ๆ ถอดๆ อยู่ทุกวัน
ดูแลยังไงให้ใช้ยาวๆ​ ? 


ฟันยังดี สรุปเคล็ดลับวิธีทำความสะอาดและเก็บรักษาฟันทดแทนง่ายๆ มาให้แล้วครับ

1. เตรียมอุปกรณ์
- ภาชนะ เช่น ขันน้ำ ใส่น้ำไว้
- แปรงสีฟันขนนุ่ม
- น้ำสบู่ หรือน้ำยาล้างจาน หรือยาสีฟันชนิดครีมที่ไม่ผสมผงขัดหยาบ

2. ทำความสะอาด
- ใช้แปรงสีฟันขนนุ่มชุบน้ำสบู่หรือน้ำยาล้างจานแปรงให้ทั่วทุกด้าน
โดยให้ทำความสะอาดเหนือภาชนะที่ใส่น้ำไว้ เพื่อที่หากหลุดมือ ฟันทดแทนก็จะตกลงไปในน้ำ
ช่วยลดโอกาสที่ฟันทดแทนจะแตก/หัก

- หากจะทำความสะอาดด้วยยาสีฟัน
ให้เลือก “ยาสีฟันชนิดครีมที่ไม่ผสมผงขัดหยาบ” เท่านั้น
เพราะการใช้ยาสีฟันชนิดผงหรือชนิดครีมที่ผสมผงขัดหยาบ จะทำให้ฟันทดแทนเป็นรอยและสึกได้ (โดยเฉพาะฟันทดแทนชนิดพลาสติก)

3. เก็บฟันทดแทน
- เมื่อจะเข้านอน (ไม่ว่ากลางวันหรือกลางคืน) ให้แช่ฟันทดแทนไว้ในภาชนะที่ใส่น้ำสะอาดแล้วปิดฝาไว้ เพื่อไม่ให้ฟันทดแทนแห้งและเสียรูปจนใส่ในช่องปากไม่พอดี ตลอดจนป้องกันสิ่งสกปรก หรือแม้กระทั่งสัตว์บางชนิด เช่น หนู เข้าไปทำลายฟันทดแทน

☀️ข้อควรจำ ☀️

  ต้องถอดฟันทดแทนออกมาทำความสะอาดนอกปาก
ห้ามทำความสะอาดโดยใส่ไว้ในปากแล้วแปรงพร้อมฟันธรรมชาติ!

  ทำความสะอาดฟันทดแทนหลังรับประทานอาหารทุกมื้อ
รวมถึงก่อนเข้านอนทุกครั้ง

  ห้ามใส่ฟันทดแทนขณะนอน แต่ให้ถอดแช่น้ำไว้
เพื่อให้สันเหงือกและเนื้อเยื่อในช่องปากไม่ถูกกดทับ รวมทั้งลดโอกาสการเกิดแผล กลิ่น และฟันผุ เนื่องจากการตกค้างของเศษอาหารใต้ฟันทดแทน

  กรณีฟันทดแทนติดสีน้ำตาล/ดำ หรือมีคราบอาหาร/บุหรี่ ที่ล้างและแปรงด้วยวิธีปกติไม่ออก
อาจใช้ ‘เม็ดฟู่สำหรับแช่ฟันทดแทน’ ช่วยทำความสะอาดได้เป็นครั้งคราว

พบกับ ฟันยังดี เกร็ดความรู้เรื่องสุขภาพช่องปากและฟันสำหรับ ‘คนวัยเก๋า’ โดย กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข






ขอบคุณข้อมูลจาก : Facebook  ฟันยังดี
https://www.facebook.com/funyoungdee/
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กันยายน 29, 2020, 11:59:42 am โดย ยาใจ »

ยาใจ

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 14143
    • ดูรายละเอียด
วิธีดูแล 'ฟันทดแทน' แบบไหนถูก แบบไหนผิด?
« ตอบ #10 เมื่อ: กรกฎาคม 22, 2020, 03:22:34 pm »




  วิธีดูแล 'ฟันทดแทน' แบบไหนถูก แบบไหนผิด?

ฟันยังดี

แบบนี้ถึงถูก

✅ แช่น้ำเมื่อถอดฟันปลอม
✅ ต้องใช้แปรงสีฟันถูเบาๆ
✅ ถอดออกตอนก่อนนอน

  ห้ามทำกับฟันปลอมเด็ดขาด 

❌ ไม่ห่อทิชชู่ —-> ฟันปลอมจะแห้ง เสียรูป ใส่ไม่เข้า!
❌ แปรงด้วยแปรงขนแข็ง —-> ฟันปลอมจะเป็นรอยขูดขีด
❌ วางลืม หรือวางไว้จุดที่เสี่ยงหล่น —-> เสี่ยงหาย หรือตกแตก

พบกับ ฟันยังดี เกร็ดความรู้เรื่องสุขภาพช่องปากและฟันสำหรับ ‘คนวัยเก๋า’ โดย กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข







ขอบคุณข้อมูลจาก : Facebook  ฟันยังดี
https://www.facebook.com/funyoungdee/
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มีนาคม 23, 2023, 06:22:24 am โดย ยาใจ »

ยาใจ

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 14143
    • ดูรายละเอียด



  เก็บ ‘แปรงสีฟัน’ ให้ถูกวิธี เชื้อไม่มีแพร่กระจาย

เพราะ ‘แปรงสีฟัน’ คืออุปกรณ์ที่เราต้องใช้ทำความสะอาดฟันทุกๆ วัน
นอกจากไม่ควรใช้แปรงสีฟันร่วมกับผู้อื่นแล้ว ต้องเก็บแปรงให้ดีด้วย
โดยเฉพาะช่วงนี้ ที่เราต้องระวังการแพร่ระบาดของ โควิด19

แล้วเก็บให้ดีคือเก็บยังไง? ฟันยังดี มีมาบอก!

เก็บแบบนี้สิดี ‘เชื้อโรค’ หนีหาย

  ล้างแปรงให้สะอาดก่อนเก็บ
  เก็บแปรงแนวตั้ง ในที่แห้ง อากาศถ่ายเท
  เก็บแปรงห่างจากแปรงคนอื่น อย่างน้อย 1 นิ้ว
วางให้ไกลจากโถส้วม

  อย่าเก็บแบบนี้ ‘เชื้อโรค’ แพร่กระจาย 

  เก็บแปรงแนวนอน หัวแปรงสัมผัสกับพื้นที่สกปรก
  วางหัวแปรงทิ่มลง ทำให้ ความชื้นไหลลงหัวแปรง
  เก็บในที่ชื้น หรืออับ เช่น กล่อง ที่ครอบหัวแปรงแบบมีฝาปิด ตู้ที่อับชื้น
วางชิดกับแปรงคนอื่น ทำให้เชื้อโรคติดต่อถึงกันได้

พบกับ ฟันยังดี เกร็ดความรู้เรื่องสุขภาพช่องปากและฟันสำหรับ ‘คนวัยเก๋า’ โดย กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข






ขอบคุณข้อมูลจาก : Facebook  ฟันยังดี
https://www.facebook.com/funyoungdee/
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มีนาคม 23, 2023, 06:21:39 am โดย ยาใจ »

ยาใจ

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 14143
    • ดูรายละเอียด



  แบบไหนใช่กว่า?
แปรงสีฟันธรรมดา หรือล้ำ ๆ ด้วยแปรงสีฟันไฟฟ้า


สำหรับคนทั่วไป จะแปรงไฟฟ้าล้ำ ๆ หรือแปรงธรรมดาก็มีประสิทธิภาพไม่ต่างกัน
เพียงแค่แปรงให้ถูกวิธีก็พอ

แต่สำหรับผู้สูงวัยที่มีข้อจำกัดในการเคลื่อนไหวข้อมือ
การใช้แปรงสีฟันไฟฟ้าก็อาจช่วยให้การดูแลช่องปากและฟันง่ายขึ้นมาก

ฟันยังดี เลยจะมาเปรียบเทียบความแตกต่างของแปรงทั้งสองแบบนี้ให้ดูชัด ๆ
เพื่อเป็นประโยชน์ในการตัดสินใจเลือกใช้นะครับ

⚡️แปรงสีฟันไฟฟ้า
o การใช้งาน:
กดปุ่มเปิด วางที่ฟัน แล้วเลื่อนตำแหน่งไปเรื่อยๆ จนครบทุกซี่ โดยไม่ต้องขยับข้อมือ

o เหมาะกับใคร:
ผู้ที่มีปัญหาหรือข้อจำกัดในการควบคุมข้อมือ
เช่น ปวดเมื่อยตามข้อ ข้ออักเสบ กล้ามเนื้ออ่อนแรง ฯลฯ
รวมถึงผู้พิการทางสมองที่มีภาวะกล้ามเนื้อแข็งเกร็ง
หรือผู้ที่ไม่สามารถแปรงฟันด้วยวิธีปกติได้
เช่น ประสบอุบัติเหตุทางสมองหรือไขสันหลัง กำลังใส่เฝือกที่มือ/แขน เป็นต้น

o ราคา:
ค่อนข้างสูง เมื่อเทียบกับแปรงสีฟันแบบปกติ

o ข้อควรระวัง:
- ไม่กดแปรงแรงเกินไป เพราะจะทำให้ฟันสึกได้
- ระวังแปรงตกหล่นเสียหาย
- เลือกใช้ชนิดที่ได้มาตรฐาน เพื่อป้องกันอันตราย

แปรงสีฟันธรรมดา
o การใช้งาน:
ขยับข้อมือ แปรงเบา ๆ ให้ครบทุกซี่

o เหมาะกับใคร:
คนทั่วไป ทุกเพศ ทุกวัย

o ราคา:
ตั้งแต่หลักสิบ - หลักร้อยบาท ซึ่งถูกกว่าแปรงสีฟันไฟฟ้า

o ข้อควรระวัง:
ควรเลือกชนิดที่มีขนนุ่ม และไม่แปรงแรงเกินไป เพราะจะทำให้ฟันสึกได้







ขอบคุณข้อมูลจาก : Facebook  ฟันยังดี
https://www.facebook.com/funyoungdee/
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กันยายน 29, 2020, 12:02:20 pm โดย ยาใจ »

ยาใจ

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 14143
    • ดูรายละเอียด
วิธีดูแล ‘ปากแห้ง/น้ำลายน้อย’ ด้วยตัวเอง
« ตอบ #13 เมื่อ: กรกฎาคม 22, 2020, 04:01:41 pm »



  ชุ่ม ๆ ฉ่ำ ๆ
วิธีดูแล ‘ปากแห้ง/น้ำลายน้อย’ ด้วยตัวเอง 



  ปากแห้ง/น้ำลายน้อย’ ปัญหาที่มักพบในวัยเก๋า 

จากคราวก่อนที่เรารู้กันแล้วว่าอาการนี้เกิดจากอะไร (https://bit.ly/2NQiGS1)
คราวนี้ ฟันยังดี จะแนะนำวิธีดูแลให้ช่องปาก ‘ชุ่มฉ่ำ’ เหมือนวัยหนุ่มสาวอีกครั้งนึง

  ปรับพฤติกรรม

- ดูแลรักษาความสะอาดของช่องปาก
ด้วยการแปรงฟัน 2-2-2 และใช้ไหมขัดฟัน/แปรงซอกฟันอย่างน้อยวันละ 1 ครั้ง

- ลด ละ เลิกการสูบบุหรี่/ดื่มแอลกอฮอล์
เพราะจะยิ่งส่งผลให้ปากแห้งกว่าเดิม

กระตุ้นการสร้างน้ำลาย
- เคี้ยวหมากฝรั่งที่ ‘ไม่มีน้ำตาล’
จะช่วยเพิ่มการไหลเวียนของน้ำลาย

ข้อควรระวัง: อาจปวดกราม/ปวดหัวจากการเคี้ยว หรือแพ้ส่วนผสมบางชนิดในหมากฝรั่ง

- กินของเปรี้ยว
รสเปรี้ยวจะช่วยกระตุ้นการทำงานของต่อมน้ำลาย ทำให้มีน้ำลายมากขึ้น

ข้อควรระวัง: หากกินมาก ๆ ฟันอาจสึก/กร่อนได้

ทดแทนน้ำลาย
- จิบน้ำบ่อย ๆ
ข้อควรระวัง: ทำให้ปัสสาวะบ่อยขึ้น จึงอาจรบกวนการนอนได้

- ใช้น้ำลายเทียม
มีหลายรูปแบบ ทั้งสเปรย์ เจล สารหล่อลื่น ฯลฯ
ข้อควรระวัง: อาจรู้สึกระคายเคืองในช่องปาก การรับรสเปลี่ยนไป คลื่นไส้ ท้องเสีย ฯลฯ แต่มักพบได้น้อย






ขอบคุณข้อมูลจาก : Facebook  ฟันยังดี
https://www.facebook.com/funyoungdee/

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กันยายน 29, 2020, 12:03:02 pm โดย ยาใจ »

ยาใจ

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 14143
    • ดูรายละเอียด
รากฟันผุ เรื่องร้ายๆ ที่วัยเก๋าต้องรู้
« ตอบ #14 เมื่อ: สิงหาคม 05, 2020, 08:17:39 pm »



  รากฟันผุ
เรื่องร้ายๆ ที่วัยเก๋าต้องรู้


ฟันผุปกติก็ว่าลำบากแล้ว
ถ้าผุถึงรากนี่เป็นมากแค่ไหนกัน?


  ฟันผุที่รากฟัน เกิดได้อย่างไร 
- อาการเหงือกร่นที่เกิดเมื่อเข้าสู่วัยสูงอายุ​ ทำให้รากฟันโผล่ซึ่งจะ​ไม่มีเคลือบฟันปกคลุม
- ปากแห้ง น้ำลายน้อย ทำให้ช่องปากขาดตัวช่วยปรับสมดุล

  ลักษณะการเกิดฟันผุที่รากฟัน 
ฟันผุที่รากฟัน มักเกิดบริเวณคอฟัน​ และซอกฟันที่มีเหงือกร่นหรือบริเวณที่เศษอาหารสะสมมาก ทำความสะอาดไม่ค่อยทั่วถึง
เช่น ฟันกรามซี่ท้ายๆ ฟันด้านกระพุ้งแก้ม บริเวณรอยต่อฟันเทียมกับฟันธรรมชาติ​ ได้แก่​ ตำแหน่งตะขอที่เกาะตัวฟัน

ส่วนมากมักจะละเลยการตรวจฟันบริเวณนี้
กว่าจะทราบว่ารากฟันผุก็เป็นมากแล้ว
จนมีอาการเสียวหรือปวดแล้ว

  การป้องกันการเกิดฟันผุที่รากฟัน 
- แปรงฟันเน้นบริเวณคอฟันให้สะอาด
- คอยทำความสะอาดซอกฟันด้วยแปรงขนาดเล็กหรือเส้นใยไนลอน
- ตรวจสุขภาพในช่องปากเป็นประจำ
- ตรวจฟันปลอมให้อยู่ในสภาพที่สามารถใช้งานได้ดี ไม่หลวมมากเกินไป
- ถอนฟันกรามซี่สุดท้ายที่ไม่จำเป็นในการใช้งาน
และจะกลายเป็นแหล่งสะสมเศษอาหาร​ โดยให้ปรึกษาทันตแพทย์​เพื่อแนะนำทางเลือกที่เหมาะสม

อย่าได้ปล่อยปละละเลยว่า “แก่แล้ว ไม่เป็นไร”
เพราะฟันถาวรเก็บไว้ใช้ได้ตลอดชีวิต
ควรดูแลรักษาอย่างถูกวิธี เพื่อให้ปลอดภัยจากโรคช่องปากและฟัน

พบกับ ฟันยังดี เกร็ดความรู้เรื่องสุขภาพช่องปากและฟันสำหรับ ‘คนวัยเก๋า’
โดย กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข

สามารถติดตามฟันยังดี ได้ที่
1. LINE: @funyoungdee และ 2. กดไลค์กดติดตาม Facebook ฟันยังดี







ขอบคุณข้อมูลจาก : Facebook  ฟันยังดี
https://www.facebook.com/funyoungdee/
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ธันวาคม 18, 2020, 02:00:11 pm โดย ยาใจ »