ผู้เขียน หัวข้อ: รวมเรื่องของ "ฟัน" กินแบบไหน ลดเสี่ยง ไม่ต้องหาหมอฟัน  (อ่าน 18716 ครั้ง)

ยาใจ

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 14143
    • ดูรายละเอียด
รู้หรือไม่ ยาสีฟัน ก็มีหมดอายุได้
« ตอบ #30 เมื่อ: กันยายน 29, 2020, 07:05:38 am »



      ยาสีฟันก็มี ‘หมดอายุ’ ได้!?!

รู้ไหมว่า แม้แต่ยาสีฟันก็มีหมดอายุกับเค้าได้นะ!

การหมดอายุของยาสีฟันก็ไม่ต่างจากเครื่องสำอางอื่น ๆ
คือ เกิดจากส่วนประกอบในยาสีฟันเสื่อมสภาพ
ประสิทธิภาพในการทำความสะอาดช่องปากจึงลดลง


   อายุของยาสีฟัน
หากไม่มีวันหมดอายุระบุไว้
ส่วนใหญ่แล้ว ยาสีฟันจะมีอายุ 2 ปี นับจากวันที่ผลิต
ดังนั้น หากมียาสีฟันเก่าเก็บ ก่อนจะใช้ ให้รีบเช็ควันหมดอายุหรือวันผลิตก่อนเลย

ลักษณะของยาสีฟันที่เสื่อมสภาพ 
1. เนื้อยาสีฟันแห้ง/หนืดผิดปกติ
2. เนื้อยาสีฟันแยกชั้น/ไม่เป็นเนื้อเดียวกัน
3. เนื้อยาสีฟันเปลี่ยนสี/พบสิ่งแปลกปลอมในยาสีฟัน
ซึ่งอาจเกิดจากการเจริญเติบโตของเชื้อราหรือเชื้อแบคทีเรียในเนื้อยาสีฟัน

ทั้งนี้ หากยาสีฟันที่ใช้มีลักษณะเสื่อมสภาพดังกล่าว
แม้จะยังไม่หมดอายุ ฟันดีดี ก็ไม่แนะนำให้ใช้นะ

ในทางกลับกัน แม้ยาสีฟันจะเพิ่งหมดอายุ
แต่ถ้าไม่มีลักษณะการเสื่อมสภาพใด ๆ
เราก็อาจพอใช้ต่อไปได้จร้า

อย่าลืมกดติดตามเพจ 'ฟันดีดี' เอาไว้ เพื่อล้วงความลับใหม่ ๆ สนุกสุดฟันไปด้วยกันกับทีมแพทย์และทีมงานฟันดีดีนะจ๊ะ

  แหล่งข้อมูล:
สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย








ขอบคุณข้อมูลจาก : Facebook ฟันดีดี
https://www.facebook.com/betterteeththailand/
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ตุลาคม 08, 2020, 05:21:27 am โดย ยาใจ »

ยาใจ

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 14143
    • ดูรายละเอียด
เลือดออกตามไรฟัน 4 สาเหตุพบบ่อย และวิธีแก้
« ตอบ #31 เมื่อ: ตุลาคม 08, 2020, 05:17:57 am »





 
     เลือดออกตามไรฟัน
4 สาเหตุพบบ่อย และวิธีแก้  




    สาเหตุ   

1. เหงือกอักเสบ

   เกิดจาก: การดูแลสุขอนามัยในช่องปากไม่ดี ทำให้มีคราบเชื้อโรคสะสมบริเวณขอบเหงือก
หรือมีปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เหงือกอักเสบ เช่น คุณแม่ตั้งครรภ์ สูบบุหรี่ เป็นต้น

   การป้องกัน: แปรงฟันให้สะอาดแบบ 2-2-2 ร่วมกับใช้ไหมขัดฟันทุกวัน
และไปพบหมอฟันทุก 6 เดือน หรืออย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง

----------

2. โรคลักปิดลักเปิด

   เกิดจาก: การขาดวิตามินซีเป็นเวลานาน

   การป้องกัน: รับประทานอาหารที่อุดมไปด้วยวิตามินซี เช่น ส้ม ฝรั่ง มะเขือเทศ ผักสีเขียวเข้ม กะหล่ำปลี ดอกกะหล่ำ ฯลฯ ให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย

----------

3. แปรงฟันแรง หรือใช้ไหมขัดฟันผิดวิธี

   เกิดจาก: การแปรงฟันแรงเกินไป การแปรงฟันด้วยแปรงสีฟันขนแข็ง
หรือการใช้ไหมขัดฟันไม่ถูกวิธี

   การป้องกัน: แปรงฟันแบบขยับปัดเบา ๆ ด้วยแปรงสีฟันขนนุ่ม
ถ้ากลัวไม่สะอาดก็ปัดซ้ำหลาย ๆ ครั้งได้นะ
การใช้ไหมขัดฟันก็เช่นกัน ควรใช้ทุกวันและค่อย ๆ ฝึกให้ทำได้อย่างถูกวิธี

----------

4. การติดเครื่องมือจัดฟัน

   เกิดจาก: เครื่องมือจัดฟันจะทำให้ทำความสะอาดช่องปากได้ยากขึ้น จึงอาจมีเหงือกอักเสบและเลือดออกตามไรฟันได้ง่ายขึ้น

   การป้องกัน: แปรงฟันให้สะอาดและใช้ไหมขัดฟันทุกวัน








ขอบคุณข้อมูลจาก : Facebook ฟันดีดี
https://www.facebook.com/betterteeththailand/
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ตุลาคม 09, 2020, 03:04:45 pm โดย ยาใจ »

ยาใจ

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 14143
    • ดูรายละเอียด
‘ฟันผุ’ ติดต่อได้ !
« ตอบ #32 เมื่อ: ตุลาคม 09, 2020, 03:03:13 pm »



  ‘ฟันผุ’ ติดต่อได้ ! 
ถ้ารักหนู คุณปู่คุณย่าดูแลฟันตัวเองด้วยนะ

ปู่ย่าตายายหลาย ๆ ท่าน คงมีบทบาทสำคัญในการเลี้ยงดูหลาน ๆ
และแน่นอนว่าถ้าเราป่วย ก็คงไม่มีใครอยากให้หลานรักติดโรคจากเราอย่างแน่นอน

แล้วรู้หรือไม่ว่า โรคฟันผุ สามารถติดต่อไปยังหลาน ๆ รวมถึงคนอื่นในครอบครัวได้!
จะเป็นยังไง ฟันยังดี จะเล่าให้ฟัง

รู้จักกับ ‘เชื้อฟันผุ’
ฟันผุเกิดจากการทำความสะอาดช่องปากและฟันที่ไม่ดีเพียงพอ
ไม่ว่าจะเป็นการแปรงฟันไม่สะอาด มีเศษอาหารตกค้างตามซอกฟัน รวมถึงการใส่ฟันทดแทนที่สกปรก ฯลฯ

พฤติกรรมเหล่านี้จะทำให้ ‘เชื้อฟันผุ’ ขยายเผ่าพันธุ์ในช่องปากอย่างสนุกสนาน และปล่อยกรดออกมาทำลายฟันจนเกิดฟันผุขึ้น

ติดต่อได้อย่างไร?
เชื้อที่อยู่ในน้ำลายคุณปู่คุณย่าสามารถแพร่กระจายไปยังหลาน ๆ ได้ผ่านการเคี้ยวหรือเป่าอาหารให้ การใช้ช้อนหรือหลอดดูดน้ำร่วมกัน รวมถึงการหอมหรือจุ๊บปากเด็ก

หลายคนอาจจะบอกว่าไม่เห็นเป็นไรเลย ฟันแท้ยังไม่ขึ้น ฟันน้ำนมจะผุก็ปล่อยไป
ฟันยังดี ขอบอกว่า นั่นเป็นความเชื่อที่ผิด! เพราะจริง ๆ แล้วฟันน้ำนมที่ผุ
นอกจากจะลุกลามไปยังซี่อื่น ๆ ได้แล้ว ยังทำให้เด็กรู้สึกปวดฟัน ทานอาหารได้น้อยลง จึงส่งผลกับการเจริญเติบโต อีกทั้งในกรณีที่ฟันน้ำนมผุจนต้องถอนไปก่อนเวลาอันควร ก็อาจทำให้ฟันแท้ที่จะขึ้นตามมาซ้อนเกได้ในอนาคตด้วย

ดังนั้น ปู่ย่าตายายอย่างเรา ๆ จึงควรดูแลสุขภาพช่องปากและฟันให้ดี ไม่ปล่อยให้มีฟันผุ จะได้ช่วยลดโอกาสการแพร่เชื้อฟันผุไปสู่หลานรักนะคะ

พบกับ ฟันยังดี เกร็ดความรู้เรื่องสุขภาพช่องปากและฟันสำหรับ ‘คนวัยเก๋า’
โดย กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข

สามารถติดตามฟันยังดี ได้ที่
1. LINE: @funyoungdee และ 2. กดไลค์กดติดตาม Facebook ฟันยังดี








ขอบคุณข้อมูลจาก : Facebook ฟันดีดี
https://www.facebook.com/betterteeththailand/
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ตุลาคม 20, 2020, 07:17:44 am โดย ยาใจ »

ยาใจ

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 14143
    • ดูรายละเอียด
รู้ได้อย่างไรว่า ‘เหงือกอักเสบ’
« ตอบ #33 เมื่อ: ตุลาคม 20, 2020, 07:10:25 am »




  แดง/บวมหนัก 
น่ากลัวนัก ‘เหงือกอักเสบ’

เหงือกอักเสบ มีโอกาสเกิดได้กับทุกคน
และถ้าปล่อยไว้ ก็อาจถึงขั้นต้องบ๊ายบาย ฟันดีดี ได้นะ!

  รู้ได้อย่างไรว่า ‘เหงือกอักเสบ’ 

ในขณะที่เหงือกซึ่งมีสุขภาพดีจะมีสีชมพูอ่อน
ขอบเหงือกแน่นกระชับรับกับฟันของเรา
เหงือกที่อักเสบจะมีลักษณะดังนี้

  - เหงือก/ขอบเหงือกแดงเข้ม
  - เหงือกบวม
  - มีเลือดออกตอนแปรงฟันหรือใช้ไหมขัดฟัน


ทั้งนี้ ถ้าปล่อยเอาไว้จนเหงือกอักเสบเรื้อรัง ก็อาจเป็น 'สาเหตุหนึ่ง'
ที่ทำให้เกิดโรคปริทันต์อักเสบ อวัยวะรอบๆ ฟันถูกทำลาย
ฟันโยก จนต้องบ๊ายบายฟันไปในที่สุด

พฤติกรรมทำเสี่ยง ‘เหงือกอักเสบ’
จริง ๆ แล้ว สาเหตุหลักของการเกิดเหงือกอักเสบ ก็คือ
'เชื้อแบคทีเรีย' ที่อยู่ตามขอบเหงือกและซอกฟัน
โดยอยู่รวมกันและเรียกว่า คราบจุลินทรีย์ คราบพลัค หรือขี้ฟัน
ถ้าเราแปรงฟันได้สะอาดหมดจดทุกวัน
เชื้อโรคเหล่านี้ก็จะถูกกำจัดออกไปก่อนที่จะปล่อยสารพิษ
และทำให้เหงือกอักเสบ


ดังนั้น การดูแลความสะอาดของช่องปากและฟันไม่ดี
ปล่อยให้มีเชื้อโรคสะสมเป็นเวลานาน
จึงเป็น ปัจจัยเสี่ยงหลัก ที่ทำให้เหงือกอักเสบ

อย่างไรก็ตาม ปัจจัยบางอย่างก็อาจทำให้เหงือกอักเสบรุนแรงขึ้นได้
ปัจจัยเหล่านั้น เช่น
มีปากแห้ง/น้ำลายน้อย
มีฮอร์โมนเปลี่ยนแปลง เช่น ผู้หญิงที่ตั้งครรภ์ มีประจำเดือน หรือใช้ยาคุมกำเนิด
กินยาบางชนิด เช่น ยารักษาอาการชัก ฯลฯ
มีภูมิคุ้มกันต่ำลง เช่น เป็นลูคีเมีย โรคเอชไอวี ฯลฯ

เพื่อป้องกันเหงือกอักเสบ
ฟันดีดี แนะนำให้ทำความสะอาดช่องปากให้สะอาดหมดจด
ด้วยการแปรงฟัน 2-2-2 ร่วมกับใช้ไหมขัดฟันอย่างน้อยวันละ 1 ครั้ง
ยิ่งถ้ามีปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ ด้วยแล้ว
ยิ่งต้องดูแลความสะอาดของช่องปากและฟันให้ดีสุด ๆ ไปเลยนะ

แหล่งข้อมูล:
สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย








ขอบคุณข้อมูลจาก : Facebook ฟันดีดี
https://www.facebook.com/betterteeththailand/
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มีนาคม 23, 2023, 06:30:23 am โดย ยาใจ »

ยาใจ

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 14143
    • ดูรายละเอียด
กินอย่างไรให้ฟันยังดี
« ตอบ #34 เมื่อ: พฤศจิกายน 13, 2020, 05:57:46 pm »






5 อาหาร กินแล้ว ‘ฟันยังดี  แถมมีสิริมงคล

‘อาหาร’ เป็นหนึ่งในศัตรูตัวร้าย
ที่อาจทำลายสุขภาพช่องปากและฟันได้
แต่ก็ไม่เสมอไปหรอกนะ!
เพราะถ้าเราเลือกกินอาหารที่ดีต่อฟัน
ก็จะเป็นอีกหนทางหนึ่งที่ช่วยส่งเสริมให้ ฟันยังดี ได้เช่นกัน

ครั้งนี้เราจึงอยากแนะนำอาหาร 5 อย่างที่ดีต่อฟัน
และยังเอาใจ วัยเก๋า ด้วยการเลือกอาหารที่เป็นมงคลมาทั้งนั้นเลย

------------

1. กวางตุ้ง
กวางตุ้งเป็นผักใบเขียวที่อุดมด้วยแคลเซียม
ซึ่งจะช่วยเสริมสร้างกระดูกและฟัน
ป้องกันการเกิดโรคกระดูกพรุน

อีกทั้งยังมีวิตามินเอที่ช่วยบำรุงสายตา
และวิตามินซีที่ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้ร่างกายด้วย

เมนูตัวอย่าง: ผัดกวางตุ้งใส่เห็ดหอมทรงเครื่อง
ความหมายมงคล: ความเจริญก้าวหน้า ความเจริญรุ่งเรือง

2. เห็ดหอม
เห็ดหอมมีสาร ‘เล็นทิแนน (Lentinan)’
ซึ่งมีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรียในช่องปาก
อันเป็นสาเหตุของฟันผุและเหงือกอักเสบ

อีกทั้งยังมีวิตามินบี 1 ที่ช่วยป้องกันโรคเหน็บชา
รวมถึงวิตามินบี 2 ที่ช่วยป้องกันโรคปากนกกระจอกด้วย

เมนูตัวอย่าง: ต้มจืดหน่อไม้ใส่เห็ดหอม, ไก่ตุ๋นเห็ดหอมยาจีน
ความหมายมงคล: การสมหวัง

3. ผลไม้
ฟันยังดี แนะนำให้เลือกกินผลไม้ที่มีใยอาหารสูงและหวานน้อย
โดยใยอาหารจะช่วยขัดฟัน จึงช่วยกำจัดแบคทีเรียรวมถึงคราบบนผิวฟันไปในตัว
อีกทั้งยังช่วยให้ต่อมน้ำลายผลิตน้ำลายมากขึ้น (จากการที่เคี้ยวอาหารนานขึ้น)
จึงช่วยชะล้างเชื้อโรคและสิ่งสกปรกในช่องปากได้ดีขึ้น

ทั้งนี้ หากเลือกกินผลไม้ที่มีวิตามินซีสูง
ก็จะช่วยลดการเกิดเลือดออกตามไรฟันได้อีกด้วย

เมนูตัวอย่าง: ฝรั่ง แอปเปิ้ล
ความหมายมงคล:
- แอปเปิ้ล: การมีสุขภาพแข็งแรง ปราศจากโรคภัย
- ฝรั่ง: ความเจริญก้าวหน้า วาสนา

4. เต้าหู้
เต้าหู้อุดมไปด้วยแคลเซียม จึงช่วยเสริมสร้างกระดูกและฟัน
ป้องกันการเกิดโรคกระดูกพรุน และยังเป็นแหล่งโปรตีนชั้นดีอีกด้วย

เมนูตัวอย่าง: ผัดถั่วงอกใส่เต้าหู้, เต้าหู้สอดไส้
ความหมายมงคล: ความสุขและความร่ำรวย

5. ปลา
นอกจากปลาจะเป็นแหล่งโปรตีนที่ย่อยง่ายแล้ว
ยังมีไขมันชั้นดี และกรดอะมิโนที่จำเป็นต่อร่างกาย
จึงเหมาะกับวัยเก๋าเป็นอย่างยิ่ง
อีกทั้งการกินปลาตัวเล็ก (แบบกินทั้งตัว) ยังช่วยเพิ่มแคลเซียม
ที่ดีต่อกระดูกและฟันอีกด้วย

เมนูตัวอย่าง: ปลานึ่ง ปลากรอบ
ความหมายมงคล: ความอุดมสมบูรณ์ ความมั่งคั่ง

นอกจากอาหาร 5 อย่างนี้ หลักในการเลือกกินง่ายๆ ให้ ฟันยังดี ก็คือ
ควรลดการกินแป้ง น้ำตาล และอาหารหวาน ๆ
เพราะเป็นแหล่งพลังงานชั้นดีของเชื้อโรคในช่องปาก และทำให้ฟันผุ


ควรเน้นกินอาหารที่มีประโยชน์
โดยเน้นโปรตีนที่ย่อยง่าย ไขมันต่ำ
รวมถึงผักและผลไม้ที่ไม่หวานจัด และมีเส้นใยสูง
ซึ่งจะช่วยขัดฟัน อีกทั้งยังมีวิตามินและเกลือแร่ที่ดีต่อร่างกาย

ถ้าทำได้แบบนี้ ควบคู่กับสารพัดเคล็ดลับการดูแลฟันจากเรา
ไม่ว่าจะเป็นวัยไหนก็จะ ฟันยังดี อย่างแน่นอน

พบกับ ฟันยังดี เกร็ดความรู้เรื่องสุขภาพช่องปากและฟันสำหรับ ‘คนวัยเก๋า’
โดย กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข


สามารถติดตามฟันยังดี ได้ที่
1. LINE: @funyoungdee และ 2. กดไลค์กดติดตาม Facebook ฟันยังดี








ขอบคุณข้อมูลจาก : Facebook ฟันดีดี
https://www.facebook.com/betterteeththailand/
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มีนาคม 23, 2023, 06:30:51 am โดย ยาใจ »

ยาใจ

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 14143
    • ดูรายละเอียด
เครื่องมือจัดฟัน ‘หลุด’ จะเป็นไรไหม?!
« ตอบ #35 เมื่อ: ธันวาคม 01, 2020, 03:47:30 pm »





   เครื่องมือจัดฟัน ‘หลุด’ จะเป็นไรไหม?!   

  หนึ่งในปัญหาที่คน ‘จัดฟัน’ มักเคยเจอ
คืออุปกรณ์จัดฟัน เช่น แบร็คเก็ต ยางดึงฟัน ฯลฯ 'หลุด'


ถ้าเกิดปัญหานี้ เราควรทำอย่างไร?
ฟันดีดี มีคำตอบมาให้ค่ะ!

  ทำไมเครื่องมือจัดฟัน ‘หลุด’ ?   

- เคี้ยวอาหารแข็ง/เหนียว
เช่น กระดูกอ่อน หมากฝรั่ง
- แปรงฟันแรง
- มีฟันซ้อน/เกมาก ๆ
ทำให้มุม/ทิศทางการออกแรงเคลื่อนฟันผิดปกติ
- ได้รับแรงกระแทก เช่น หกล้ม อุบัติเหตุตอนเล่นกีฬา ฯลฯ

  ‘หลุด’ แล้วเกิดผลเสียอย่างไร? 

- ฟันไม่เคลื่อนตามที่วางแผน จึงอาจต้องจัดฟันนานขึ้น
- เสียค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น

   ‘กลืน’ ไป เป็นไรไหม?   

- ส่วนใหญ่เครื่องมือมักหลุดเวลากินอาหาร
จึงมักเข้าสู่ร่างกายผ่านระบบทางเดินอาหาร
และถูกกำจัดออกพร้อมการขับถ่าย

- ถ้าจัดฟันกับทันตแพทย์และคลินิกที่ได้มาตรฐาน
ก็มั่นใจได้ว่า อุปกรณ์ที่ใช้จะทำด้วยวัสดุที่ไม่เป็นอันตราย
และไม่ก่อให้เกิดสารพิษสะสมในร่างกาย

  ‘หลุด’ แล้วทำอย่างไร?   

- รีบนัดทันตแพทย์โดยเร็วที่สุด ไม่ต้องรอให้ถึงเวลานัด
- ถ้าสามารถเก็บชิ้นส่วนที่หลุดไว้ได้ ให้นำไปให้ทันตแพทย์ด้วย
- ถ้าเครื่องมือทิ่มในช่องปาก ให้ปั้นขี้ผึ้งเป็นก้อนเล็ก ๆ
แล้วแปะปิดเครื่องมือจุดที่แหลมคม







ขอบคุณข้อมูลจาก : Facebook ฟันดีดี
https://www.facebook.com/betterteeththailand/
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ธันวาคม 01, 2020, 03:57:26 pm โดย ยาใจ »

ยาใจ

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 14143
    • ดูรายละเอียด
จับตัวร้าย ทำฟันตาย
« ตอบ #36 เมื่อ: ธันวาคม 01, 2020, 03:52:58 pm »




  ‘ฟันตาย’ รีบรักษา ก่อนติดเชื้อ 

   รู้ไหมว่าฟันก็มีชีวิต! 

ในฟันของเรา ชั้นที่อยู่ถัดจากเนื้อฟันเข้าไป
จะมีเส้นเลือด เส้นประสาท รวมถึงเนื้อเยื่อฟัน
ซึ่งมีชีวิตอยู่ได้จากกระแสเลือดที่นำอาหารและออกซิเจนมาเลี้ยง
ดังนั้น ฟันจึงเป็นโครงสร้างที่มีชีวิตเช่นเดียวกับอวัยวะอื่น ๆ ในร่างกาย

ใครทำน้อง
   ‘ฟันตาย’ สาเหตุมาจากอะไร?


‘ฟันตาย’ เกิดได้จากหลายสาเหตุ แต่สาเหตุที่มักพบบ่อย ได้แก่

1. การกระแทก/อุบัติเหตุที่ฟัน
เช่น เล่นกีฬาแล้วโดนแรงกระแทกที่ฟัน ฟันแตก ฟันร้าว ฯลฯ

2. เนื้อเยื่อฟันได้รับอันตรายรุนแรง
เช่น มีฟันผุลึกจนทะลุโพรงประสาทฟัน ฯลฯ

จุดสังเกต ‘ฟันตาย’
เป็นแบบนี้ ไปตรวจกับหมอฟันด่วน

- ฟันเปลี่ยนสี
โดยมักมีสีเข้มขึ้น อาจเป็นสีเหลืองเข้ม เทา น้ำตาล หรือดำ ที่ไม่เหมือนกับฟันซี่อื่นในปาก

- มีหนองที่เหงือก
เหงือกบวม มีหนองที่ปลายรากฟัน อาจมีอาการปวดร่วมด้วยหรือไม่ก็ได้

ถ้าพบลักษณะผิดปกติเหล่านี้ ควรรีบไปพบหมอฟันเพื่อตรวจและรับการรักษาที่เหมาะสม
เพราะหากปล่อยไว้อาจติดเชื้อ และลามไปยังส่วนอื่น ๆ ของร่างกายได้

อย่าลืมกดติดตามเพจ 'ฟันดีดี' เอาไว้ เพื่อล้วงความลับใหม่ ๆ สนุกสุดฟันไปด้วยกันกับทีมแพทย์และทีมงานฟันดีดีนะจ๊ะ

แหล่งข้อมูล:
- pobpad







ขอบคุณข้อมูลจาก : Facebook ฟันดีดี
https://www.facebook.com/betterteeththailand/
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ตุลาคม 01, 2021, 09:40:29 pm โดย ยาใจ »

ยาใจ

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 14143
    • ดูรายละเอียด
ฟันดีดี vs ฟันแย่แย่
« ตอบ #37 เมื่อ: ธันวาคม 01, 2020, 04:00:12 pm »




  ฟันดีดี vs ฟันแย่แย่ 

ทำไมต้อง ‘ฟันดีดี’ ?
‘สุขภาพฟัน’ มีผลต่อชีวิตเรายังไง?
เราจะเปรียบเทียบให้เห็นภาพง่ายๆกันนะคะ
ระหว่าง ‘คนสุขภาพฟันดี’ กับ ‘คนที่ไม่ดูแลฟัน’
จะมีข้อดีข้อเสียอย่างไรบ้าง ลองไปดูกันค่ะ!

1. คน ‘ฟันดีดี’

พฤติกรรม
- แปรงฟันสูตร 2-2-2
- ใช้ไหมขัดฟันทุกวัน
- พบทันตแพทย์เพื่อตรวจช่องปากทุก 6 เดือน
หรืออย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง

ข้อดี
- ช่องปากสะอาด มั่นใจเวลายิ้ม
- ห่างไกลโรคแทรกซ้อน
- เก็บรักษาฟันได้ยาวนาน
- ประหยัดค่าใช้จ่าย

2. คน ‘ฟันแย่แย่’

พฤติกรรม
- ลืมแปรงฟัน แปรงไม่ทั่วถึง
- ไม่ใช้ไหมขัดฟันเป็นประจำทุกวัน
- ไม่พบทันตแพทย์เพื่อตรวจช่องปากนานเกิน 1 ปี

ข้อเสีย
- ขาดความมั่นใจในการเข้าสังคม
- เสี่ยงเป็นโรคต่างๆ เพิ่มขึ้น
- สูญเสียฟันเร็ว ต้องใส่ฟันทดแทน
- เสียค่าดูแลรักษาไม่จบไม่สิ้น








ขอบคุณข้อมูลจาก : Facebook ฟันดีดี
https://www.facebook.com/betterteeththailand/

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ธันวาคม 01, 2020, 04:10:59 pm โดย ยาใจ »

ยาใจ

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 14143
    • ดูรายละเอียด
"แปรง" แต่ละอัน ต่างกันอย่างไร?
« ตอบ #38 เมื่อ: ธันวาคม 01, 2020, 04:06:53 pm »




แปรง’ แต่ละอัน ต่างกันอย่างไร?

‘แปรงสีฟัน’ เป็นอุปกรณ์ดูแลช่องปากสำคัญที่ขาดไม่ได้
ว่าแต่ … นอกจากแปรงที่ใช้ประจำแล้ว
เรารู้จักแปรงชนิดอื่นๆ กันบ้างไหมเอ่ย?


ฟันดีดี จะพาไปรู้จักแปรงชนิดต่างๆ
เพื่อเป็นข้อมูลในการเลือกอุปกรณ์ทำความสะอาดช่องปาก
ตามความจำเป็นเฉพาะบุคคลมากขึ้น

1. แปรงสีฟันธรรมดา
ควรเลือกชนิดที่มีขนนุ่ม ไม่คม
และมีขนาดพอเหมาะกับช่องปาก ไม่ใหญ่เกินไป

ทั้งนี้ แนะนำให้ใช้แปรงฟันทุกวัน อย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง
ร่วมกับยาสีฟันฟลูออไรด์

และเปลี่ยนอันใหม่ทุก 3 เดือน หรือเมื่อขนแปรงเริ่มบาน

----------

2. แปรงสีฟันไฟฟ้า

มีประสิทธิภาพในการทำความสะอาดฟัน
‘ไม่แตกต่าง’ จากแปรงสีฟันธรรมดา
(ถ้าแปรงได้ถูกวิธี)


แนะนำให้ใช้ในคนที่มีข้อจำกัดในการเคลื่อนไหวข้อมือ
เช่น ข้ออักเสบ กำลังใส่เฝือกที่มือ/แขน เป็นต้น

ทั้งนี้ ควรระวังขณะใช้งาน โดยไม่กดแปรงบนฟันแรงเกินไป
เพราะจะทำให้ฟันสึกได้


----------

3. แปรงซอกฟัน
หัวแปรงมีขนเล็กๆ ยื่นรอบแกน
คล้ายแปรงล้างขวดขนาดจิ๋ว
อาจมีด้ามจับเพื่อให้ใช้งานได้สะดวกขึ้น

ใช้ทำความสะอาดบริเวณซอกฟัน
สำหรับคนที่มีช่องว่างระหว่างฟันจากปัญหาเหงือกร่น
หรือผิวฟันบริเวณซอกฟันมีส่วนคอด
นอกจากนั้น ยังใช้ทำความสะอาดใต้เครื่องมือจัดฟันได้ด้วย

ควรเลือกแปรงซอกฟันที่มีขนาดใหญ่สุดที่สามารถผ่านซอกฟันได้
โดยไม่ทำอันตรายเหงือก

----------

4. แปรงกระจุก
ที่หัวแปรงมีขนเป็นกระจุกเพียงกลุ่มเดียว
ใช้ทำความสะอาดบริเวณที่แปรงสีฟันปกติเข้าไม่ถึง
เช่น ด้านในของฟันซี่สุดท้าย
รอบฟันซี่เดี่ยว (ไม่มีฟันข้างเคียง)
ฟันที่เรียงตัวผิดปกติ เช่น ฟันซ้อน ฟันเก
ฟันที่มักจะอาเจียนถ้าแปรงด้วยแปรงขนาดปกติ
ฟันกรามล่างด้านลิ้น และแบร็กเก็ตจัดฟัน ฯลฯ

----------

5. แปรงลิ้น
การแปรงลิ้นมีวัตถุประสงค์เพื่อกำจัดเชื้อโรค
และเศษอาหารที่ติดอยู่บนลิ้น ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งของกลิ่นปาก

ทั้งนี้ แบบที่เราเห็นบ่อยๆ จะมีหัวแปรงเป็นช่องรูปสามเหลี่ยมคว่ำ
มีส่วนนูนตรงขอบ ใช้ลากตามแนวลิ้นจากด้านในออกมา

การแปรงลิ้น นอกจากจะใช้แปรงลักษณะดังกล่าวแล้ว
ยังอาจแปรงด้วยแปรงสีฟันปกติ
หรือแปรงที่มีขนซึ่งออกแบบมาเฉพาะสำหรับแปรงลิ้นก็ได้









ขอบคุณข้อมูลจาก : Facebook ฟันดีดี
https://www.facebook.com/betterteeththailand/
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ธันวาคม 01, 2020, 04:19:06 pm โดย ยาใจ »

ยาใจ

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 14143
    • ดูรายละเอียด
สีฟันบอกอะไร?
« ตอบ #39 เมื่อ: ธันวาคม 01, 2020, 04:15:55 pm »




   เพราะอะไร ‘ฟัน’ จึงเป็น ‘สี’ นี้ ? 

  ทุกคนสังเกต ‘สีฟัน’ ตัวเองกันบ้างหรือเปล่า?
เพราะสีของฟันก็สะท้อน ‘สภาวะฟัน’ ของเราได้
ถ้าสีเปลี่ยนไปจากเดิม ฟันของเราอาจกำลังมีปัญหา!


  ฟันดีดี จะพาไปดูว่า ฟันสีนี้ มีสาเหตุมาจากอะไร? 

  1. ฟันขาวจั๊วะ
วิธีทำให้ฟันขาวที่นิยมกันมี 2 วิธีหลักๆ คือ
การฟอกสีฟัน ซึ่งเป็นการใช้สารเคมีเข้าไปจัดการเม็ดสีในฟันให้จางลง
และการทำวีเนียร์ ซึ่งมักต้องกรอเคลือบฟันออกบางส่วน
แล้วจึงแปะทับด้วยแผ่นวีเนียร์สีขาว

  2. ฟันขาวขุ่น
อาจแสดงถึงฟันผุในระยะเริ่มต้น
ซึ่งยังสามารถหายได้ หากทำความสะอาด
(แปรงฟัน/ใช้ไหมขัดฟัน) ให้ดี
ร่วมกับใช้ยาสีฟันผสมฟลูออไรด์

  นอกจากนั้นแล้ว ฟันลักษณะนี้ก็อาจแสดงถึงภาวะฟันตกกระอย่างอ่อน
ซึ่งเกิดจากการได้รับฟลูออไรด์ทางระบบมากเกินไป
เช่น การบริโภคน้ำที่มีฟลูออไรด์สูง
ในช่วงที่ฟันกำลังสร้าง ซึ่งก็คือตอนเด็กนั่นเอง


  3. ฟันเหลือง
ส่วนใหญ่มักเกิดจากการที่ฟันไม่สะอาด
มีคราบฟัน/คราบนิโคตินจากบุหรี่ หรือหินปูนเกาะ
ทั้งนี้ เมื่อกำจัดสิ่งสกปรกเหล่านี้ออกไป
ก็มักทำให้ฟันดูขาวขึ้นได้ในระดับหนึ่ง

นอกจากนั้นแล้ว ฟันเหลืองยังอาจเป็นไปตามอายุที่มากขึ้น
โดยเมื่อชั้นเคลือบฟันสึกจากการบดเคี้ยวและบางลง
ก็จะทำให้เห็นสีเหลืองของชั้นเนื้อฟันได้ชัดเจนขึ้น

  4. ฟันดำ
ส่วนมากเกิดจากฟันผุ โดยเฉพาะกรณีที่ผุเป็นโพรงใหญ่
ซึ่งเงาดำจะสะท้อนออกมาทำให้ฟันดูคล้ำลง

  อีกสาเหตุที่พบบ่อย คือ ฟันตาย
โดยอาจเกิดจากการได้รับแรงกระแทกรุนแรงที่ฟัน
หรือฟันผุที่ปล่อยไว้นานจนทะลุโพรงประสาทฟัน


  5. ฟันแดง
มักเกิดจากการที่ฟันได้รับแรงกระแทก
แล้วมีเลือดคั่งในโพรงประสาทฟัน
ฟันจึงมีสีชมพู/แดง
เมื่อเวลาผ่านไป ฟันอาจเปลี่ยนเป็นสีเทา/ดำ

อย่างไรก็ตาม ยังมีสีฟันและสาเหตุที่ทำให้ฟันมีสีต่าง ๆ อีกมากมาย
หากใครมีข้อสงสัยหรือไม่แน่ใจในสีฟันของตนเอง
แนะนำปรึกษาทันตแพทย์ใกล้บ้านได้เลยนะ







ขอบคุณข้อมูลจาก : Facebook ฟันดีดี
https://www.facebook.com/betterteeththailand/

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มีนาคม 23, 2023, 06:31:15 am โดย ยาใจ »

ยาใจ

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 14143
    • ดูรายละเอียด
"แต่ละวัย" ดูแลฟันอย่างไร ?
« ตอบ #40 เมื่อ: ธันวาคม 18, 2020, 01:59:34 pm »



อยากมี ‘ฟันดีดี’ ก็ต้องดูแลฟันให้ดีทุกช่วงวัย 
ซึ่งแต่ละวัย ก็มีจุดเน้นแตกต่างกันไป
จะเป็นอย่างไรมาดูกันเล้ย

เริ่มตั้งแต่ทารกซึ่งฟันซี่แรกมักเริ่มขึ้นตอนอายุประมาณ 6 เดือน
ผู้ปกครองควรพาน้องๆ มาพบหมอฟันตั้งแต่ก่อน 1 ขวบ
เพื่อให้เด็กมีความคุ้นเคยกับหมอฟัน
และถือโอกาสตรวจสุขภาพช่องปากไปในตัว

การดูแลฟันให้ลูกรักในแต่ละช่วงวัย มี ‘จุดเน้น’ ที่แตกต่างกันดังนี้

เด็กวัยเตาะแตะ (อายุต่ำกว่า 3 ปี)
ควรเริ่มแปรงฟันด้วยยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ 1000-1500 ppm*
ตั้งแต่ฟันน้ำนมซี่แรกขึ้น
โดยใช้แปรงสีฟันเด็กแตะยาสีฟันแค่พอเปียก
แล้วผู้ปกครองเป็นผู้แปรงให้
เมื่อแปรงเสร็จให้ใช้ผ้าชุบน้ำหมาดๆ เช็ดยาสีฟันออก

เด็กเล็ก (อายุ 3-6 ปี)
ควรแปรงฟันด้วยยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ 1000-1500 ppm*
โดยบีบเท่า ‘ความกว้าง’ ของหน้าตัดแปรง
ทั้งนี้ ผู้ปกครองควรเป็นผู้บีบยาสีฟัน
แล้วให้เด็กแปรงเอง
จากนั้นจึงคอยดูแลให้เด็กบ้วนยาสีฟันออกเมื่อแปรงเสร็จ
แล้วจึงแปรงซ้ำอีกครั้ง

(*ขึ้นกับความเสี่ยงในการเกิดฟันผุที่ทันตแพทย์เป็นผู้ประเมิน)

  เด็กวัยเรียน (อายุ 6 ปีขึ้นไป)
ควรแปรงฟันด้วยยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ 1500 ppm
โดยบีบเท่า ‘ความยาว’ ของหน้าตัดแปรง
ให้เด็กแปรงเอง เมื่อแปรงเสร็จให้บ้วนยาสีฟันออก
แล้วผู้ปกครองจึงตรวจความสะอาดอีกครั้ง

-----------------

วัยรุ่น
ควรแปรงฟันด้วยยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ ตามสูตร 2-2-2
โดยแปรงอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง
ครั้งละอย่างน้อย 2 นาที
และงดกินหลังแปรงอย่างน้อย 2 ชั่วโมง
ร่วมกับใช้ไหมขัดฟันเป็นประจำทุกวัน

ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีปริมาณน้ำตาลสูง
เช่น ชานมไข่มุก ลูกอม ขนมเหนียว ฯลฯ
เพราะนอกจากจะทำให้อ้วน สูญเสียความมั่นใจแล้ว
ยังเพิ่มโอกาสที่ฟันจะผุอีกด้วยนะ


ถ้าจำเป็นต้องจัดฟัน ควรเลือกหน่วยบริการ/คลินิกทันตกรรมที่ได้มาตรฐาน
และต้องทำความสะอาดช่องปาก รวมถึงอุปกรณ์จัดฟันให้ดีเป็นพิเศษ
ไม่งั้นจากฟันจะสวย จะกลายเป็นฟันเสียแน่นอน

-----------------

วัยทำงาน 
วัยนี้เป็นอีกช่วงวัยสำคัญ
ถ้าดูแล ฟันดีดี เราก็มี #ฟันยังดี ไปจนถึงวัยเก๋า

ดังนั้น การ์ดอย่าตก!

ยังคงต้องแปรงฟันด้วยยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ ตามสูตร 2-2-2
โดยแปรงฟันอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง
ครั้งละอย่างน้อย 2 นาที
และงดกินหลังแปรงอย่างน้อย 2 ชั่วโมง
เพื่อขจัดแผ่นคราบจุลินทรีย์
ลดโอกาสการเกิดฟันผุและโรคเหงือกอักเสบ

ร่วมกับใช้ไหมขัดฟันเป็นประจำทุกวัน
เพื่อกำจัดคราบจุลินทรีย์และเศษอาหารตามซอกฟัน
ที่ขนแปรงเข้าไม่ถึง

  วัยเก๋า 
‘โรคประจำตัว’ มักเป็นเพื่อนคู่กายวัยเก๋า
และสุขภาพช่องปากก็มีความเชื่อมโยงกับโรคประจำตัวหลายโรค
เช่น โรคเบาหวาน โรคหัวใจ เป็นต้น


ดังนั้น วัยเก๋าจึงควรดูแลสุขภาพช่องปากให้ดี
อีกทั้งพบหมอฟันเป็นประจำ
แม้จะไม่มีฟันแล้วก็ตาม!

สำหรับการดูแลช่องปากเบื้องต้นก็คล้ายเดิมเลยจร้า
คือ แปรงฟันด้วยยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ ตามสูตร 2-2-2
ร่วมกับทำความสะอาดซอกฟันทุกวัน

แต่เนื่องจากวัยนี้มักมีปัญหาเหงือกร่น
จึงควรแปรงฟันโดยเน้นให้ขนแปรงสัมผัสคอฟันทุกซี่
ทั้งด้านกระพุ้งแก้มและลิ้น (แต่ไม่แปรงแรงจนคอฟันสึกนะ)
อีกทั้งทำความสะอาดซอกฟันด้วยไหมขัดฟัน
ร่วมกับใช้แปรงซอกฟันในบริเวณซอกฟันที่มีเหงือกร่น
ซึ่งไหมขัดฟันที่มีลักษณะเป็นเส้นขนาดเล็ก
จะไม่สามารถทำความสะอาดได้อย่างมีประสิทธิภาพเพียงพอ

อีกหนึ่งปัญหาที่มักเจอในวัยเก๋าก็คือ
‘ภาวะปากแห้ง/น้ำลายน้อย!’
ซึ่งมักทำให้กลืนอาหารลำบาก ช่องปากเสียสมดุล
เสี่ยงฟันผุและเป็นแผลในช่องปากง่ายขึ้น

วัยเก๋าที่มีปัญหานี้ ฟันดีดี แนะนำให้พยายามทำช่องปากให้ชุ่มชื้น
โดยวิธีง่ายๆ ที่สามารถทำได้เองก็เช่น จิบน้ำบ่อยๆ
เคี้ยวหมากฝรั่งที่ไม่มีน้ำตาลเพื่อกระตุ้นการหลั่งของน้ำลาย
หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่/ดื่มแอลกอฮอล์ ฯลฯ
ทั้งนี้ อาจปรึกษาหมอฟันในกรณีที่รู้สึกปากแห้งมากๆ
เพื่อรับการรักษาที่เหมาะสมเพิ่มเติมต่อไป

แหล่งข้อมูล:
- ราชวิทยาลัยทันตแพทย์แห่งประเทศไทย
- สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ดูน้อยลง







ขอบคุณข้อมูลจาก : Facebook ฟันดีดี
https://www.facebook.com/betterteeththailand/
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มีนาคม 23, 2023, 06:31:24 am โดย ยาใจ »

ยาใจ

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 14143
    • ดูรายละเอียด
รวมข้อสงสัย ไป ‘ทำฟัน’ ช่วงโควิด
« ตอบ #41 เมื่อ: มกราคม 19, 2021, 01:40:44 pm »



รวมข้อสงสัย ไป ‘ทำฟัน’ ช่วงโควิด

เชื่อว่าตอนนี้หลายคนลังเลใจ ไม่ชัวร์ว่าควรไป ‘ทำฟัน’ หรือไม่
เพราะเป็นห่วงเรื่องการระบาดของโควิด-19 รอบใหม่

ฟันดีดี จึงรวมคำถามที่ทุกคนน่าจะสงสัย มาตอบให้กระจ่างกันครับ!

1. ช่วงโควิดไป 'ทำฟัน' ได้ไหม?
ตอบ: ได้ โดยในพื้นที่ระบาดรุนแรง ควรเป็นเฉพาะกรณีฉุกเฉิน/เร่งด่วน
เช่น อุบัติเหตุ เลือดออกในช่องปากไม่หยุด
ติดเชื้อในช่องปาก/ใบหน้า ปวด บวม เป็นต้น

2. ไปทำฟันช่วงโควิด 'ปลอดภัย' ไหม?
ตอบ: ปลอดภัย คลินิกทันตกรรมมีอุปกรณ์
และมาตรการป้องกันที่มีประสิทธิภาพตามแนวทางวิชาชีพ

3. คลินิกทันตกรรมมีวิธี 'คัดกรอง' คนไข้ยังไง?
ตอบ: คนไข้จะได้รับการวัดอุณหภูมิ ซักประวัติอย่างละเอียด
รวมถึงตอบแบบสอบถาม เพื่อประเมินความเสี่ยงก่อนทำฟัน

4. หมอฟัน' ป้องกันตัวเองยังไง?
ตอบ: หมอฟันจะสวมอุปกรณ์และชุดป้องกัน
รวมถึงลด/ควบคุมการฟุ้งกระจายของน้ำลาย
และทำความสะอาด/ฆ่าเชื้อภายในห้องทำฟัน
ตามมาตรฐานอย่างเคร่งครัด

5. สามารถพาผู้ติดตามไปได้ไหม?
ตอบ: ควรมาคนเดียว แต่กรณีจำเป็น เช่น ต้องมีผู้ดูแลหรือผู้ปกครอง
ก็ไม่ควรมาเกิน 1-2 คน เพื่อลดความเสี่ยงการแพร่เชื้อโควิด-19







ขอบคุณข้อมูลจาก : Facebook ฟันดีดี
https://www.facebook.com/betterteeththailand/

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มีนาคม 23, 2023, 06:31:51 am โดย ยาใจ »

ยาใจ

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 14143
    • ดูรายละเอียด
อ้วนลงพุง ร้ายลงฟัน!
« ตอบ #42 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 04, 2021, 08:32:33 am »




อ้วนลงพุง ร้ายลงฟัน!

ปัจจุบันพบว่า ความอ้วน โดยเฉพาะ ‘อ้วนลงพุง’
ไม่ได้มีผลเสียแค่ทำให้เกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดเท่า นั้น
แต่ยังมีผลกระทบต่อสุขภาพร่างกายโดยทั่วไป
รวมถึงเหงือก ฟัน และสุขภาพช่องปากของเราด้วย!

‘ภาวะอ้วนลงพุง’ ส่งผลต่อช่องปากยังไง? ตาม ฟันดีดี ไปดูกันค่ะ!

เมื่อไหร่ถึง ‘อ้วน’?
เราอ้วนหรือไม่นะ? ลองคำนวณค่า BMI ดูสิ!
ให้นำน้ำหนักที่เป็นกิโลกรัม หารด้วยความสูงเป็นเมตร
โดยหารความสูง 2 ครั้ง เช่น
หากน้ำหนัก 80 กก. และสูง 160 ซม.
จะมีค่า BMI เท่ากับ 80 ➗ 1.6 ➗ 1.6 = 31.25
ทั้งนี้ หากค่า BMI ที่ได้อยู่ในช่วง 25.0-29.9 จะจัดว่าอ้วน
และ BMI ตั้งแต่ 30.0 ขึ้นไป จะถือว่าอ้วนมาก

แล้ว ‘อ้วนลงพุง’ ล่ะ?
เนื่องจาก ‘อ้วน’ มีหลายแบบ
โดยแบบที่อันตรายต่อสุขภาพมาก ๆ คือ ‘อ้วนลงพุง’
ดังนั้น เรามาดูกันว่า ‘อ้วนลงพุง’ หน้าตาเป็นยังไง

รอบพุง (หน่วยเป็น ซม.) มากกว่าครึ่งหนึ่งของความสูง (หน่วยเป็น ซม.)
เช่น หากสูง 160 ซม. ถ้ามีรอบพุงมากกว่า 80 ซม.
ก็จัดว่าอ้วนลงพุง


ร่างกายทรงแอปเปิล
คืออ้วนที่ส่วนกลางของร่างกาย โดยเฉพาะบริเวณหน้าท้อง
ช่วงบนจะดูใหญ่ และมีรูปร่างท้วม

‘อ้วนลงพุง’ ส่งผลยังไงกับ ‘ช่องปาก’?
โรคปริทันต์อักเสบ (รำมะนาด)
ไขมันในช่องท้องจะก่อกวนระบบภูมิคุ้มกัน
ทำให้เนื้อเยื่อปริทันต์ถูกทำลายอย่างรวดเร็วและรุนแรง
แม้จะดูแลทำความสะอาดช่องปากเป็นอย่างดีแล้วก็ตาม

กระดูกขากรรไกรพรุน
ภาวะอ้วนลงพุงจะทำให้กระดูกละลายตัวมากขึ้น

มวลและความหนาแน่นของกระดูกลดลง
กระดูกทุกส่วน รวมถึงกระดูกขากรรไกร จึงพรุน
และมีโอกาสแตก/หักได้ง่ายขึ้น

ฟันผุ
การอักเสบ (ระดับต่ำ ๆ) ที่เกิดขึ้นในร่างกายตลอดเวลา

จากภาวะอ้วนลงพุง
จะส่งเสริมให้เชื้อโรคในช่องปากเจริญเติบโตได้ดี
และเกิดฟันผุง่ายขึ้น

ต่อมน้ำลายทำงานผิดปกติ
ภาวะอ้วนลงพุงจะรบกวนการทำงานของต่อมน้ำลาย
ทำให้ปริมาณและคุณภาพของน้ำลายแย่ลง
ความสามารถในการย่อยอาหารจึงลดลง
และมีโอกาสเกิดฟันผุได้มากขึ้นด้วย

เห็นอย่างนี้แล้ว เปลี่ยนมาเลือกกินอาหารที่ดี มีประโยชน์
ร่วมกับออกกำลังกาย และควบคุมน้ำหนักตัวให้ดี
จะได้ไม่เสี่ยงปัญหาช่องปากกันนะคะ

แหล่งข้อมูล: ศ.ทพญ.ดร.สิริพร ฉัตรทิพากร
ในการบรรยาย เรื่อง ‘เรื่องอ้วน ๆ ที่หมอฟันต้องรู้’
การประชุมทันตแพทยสมาคมแห่งประเทศไทย
ในพระบรมราชูปถัมภ์ ครั้งที่ 111 (2/2563)
วันที่ 17 ธันวาคม 2563






ขอบคุณข้อมูลและรูปภาพจาก : Facebook ฟันดีดี
https://www.facebook.com/betterteeththailand/
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤศจิกายน 17, 2021, 05:00:54 am โดย ยาใจ »

ยาใจ

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 14143
    • ดูรายละเอียด
คอฟันสึก ส่งผลอย่างไรกับปากและฟัน
« ตอบ #43 เมื่อ: มีนาคม 18, 2021, 12:47:55 pm »
คอฟันสึก ส่งผลอย่างไรกับปากและฟัน, เอ็นร้อยหวายอักเสบ ป้องกันได้ : คนสู้โรค (10 มี.ค. 64)





รู้สู้โรค : คอฟันสึก ส่งผลอย่างไรกับปากและฟัน
ใครที่ชอบแปรงฟันแรง ๆ ต้องระวัง เพราะอาจทำให้คอฟันสึกได้ การแปรงฟันแรงสามารถขจัดคราบเหลืองและหินปูนบนผิวฟันได้หรือไม่ ร่วมพูดคุยกับ ทพ.กฤษณะ พลอยบุษย์ แอดมินเพจใกล้หมอฟัน

บำบัดง่าย ๆ ด้วยกายภาพ : เอ็นร้อยหวายอักเสบ ป้องกันได้

อาการเอ็นร้อยหวายอักเสบ สามารถป้องกันได้ด้วยตัวเอง เพียงแค่เราต้องรู้หลักการป้องกันที่ถูกต้อง จะมีท่าบำบัดใดบ้างที่ช่วยป้องกันและคลายปวดกล้ามเนื้อบริเวณนี้ได้ เรียนรู้ไปพร้อมกับ กภ.เดชวิน หลายศิริเรืองไร คณะกายภาพบำบัด มหาวิทยาลัยมหิดล

โยคะบำบัด : ฝึกโยคะคลายปวดจากการขับรถนาน
เวลาที่เราต้องขับรถเป็นเวลานาน มักจะมีอาการปวดเมื่อยบริเวณกล้ามเนื้อส่วนหลังและสะโพก มาฝึกโยคะคลายปวดกับครูเก๋ - สุพัชรา สงฆ์เจริญ

ติดตามชมในรายการคนสู้โรค วันพุธที่ 10 มีนาคม 2564 เวลา 15.05 - 15.30 น.

ทางไทยพีบีเอส หรือรับชมย้อนหลังได้ทาง http://www.thaipbs.or.th/KonSuRoak









ขอบคุณข้อมูลจาก Youtube  ThaiPBS
https://www.youtube.com/watch?v=Wpm8uzF4FRU&t=17s
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤศจิกายน 17, 2021, 05:01:43 am โดย ยาใจ »

ยาใจ

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 14143
    • ดูรายละเอียด
เราควร ‘แปรงฟัน’ กี่นาที?
« ตอบ #44 เมื่อ: พฤศจิกายน 17, 2021, 04:54:21 am »



เราควร ‘แปรงฟัน’ กี่นาที?

ปกติเพื่อนๆ แปรงฟันกันนานแค่ไหนเอ่ย?

ทุกคนน่าจะจำหลักการแปรงฟันแบบ 2-2-2
ที่แนะนำให้แปรงฟันอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง
ครั้งละอย่างน้อย 2 นาที
ด้วยยาสีฟันผสมฟลูออไรด์
และงดกินหลังแปรงอย่างน้อย 2 ชั่วโมงได้

แต่ถ้าเราแปรงฟันไม่ถึง หรือนานกว่า 2 นาทีล่ะ จะเป็นอย่างไร?

ฟันดีดี มีคำตอบให้!

แปรงฟันนานไม่ถึง 2 นาที
ทำความสะอาดได้ไม่ทั่วถึง โดยมักพลาดไปหลายจุด
จึงยังคงมีคราบจุลินทรีย์หลงเหลือเป็นจำนวนมาก

แปรงฟันนาน 2 นาที
เป็นระยะเวลามาตรฐานที่ทันตแพทย์แนะนำ
เนื่องจากมีประสิทธิภาพในการกำจัดคราบจุลินทรีย์บนผิวฟันได้ดี

ทั้งนี้ มีการศึกษามากมายที่แสดงถึงประสิทธิภาพของการแปรงฟันนาน 2 นาที
โดยการทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ (systematic review) ในปี 2012 พบว่า
การแปรงฟันนาน 2 นาทีสามารถกำจัดคราบจุลินทรีย์บนผิวฟัน
ได้มากกว่าการแปรงฟันเพียง 1 นาทีถึงเกือบเท่าตัว!

  แปรงฟันนานกว่า 2 นาที
ในคนทั่วไป การแปรงฟันนานครั้งละ 2 นาทีก็ถือว่าเพียงพอแล้ว
แต่สำหรับคนบางกลุ่ม เช่น คนที่มีฟันซ้อนเก
คนที่ชอบกินของหวาน คนที่มีปัญหาโรคเหงือก ฯลฯ
ก็อาจจำเป็นต้องแปรงฟันแต่ละครั้งให้นานขึ้น
รวมถึงแปรงบ่อยกว่าวันละ 2 ครั้งด้วย

ทั้งนี้ ระยะเวลาในการแปรงเป็นเพียงปัจจัยหนึ่ง
ที่ช่วยให้แปรงฟันได้สะอาดทั่วถึง
แต่สิ่งสำคัญที่ละเลยไม่ได้เลย คือ
‘การแปรงฟันอย่างถูกวิธี’
เพราะแม้จะแปรงฟันนาน แต่ถ้าแปรงไม่ถูกวิธี
ก็ไม่สามารถกำจัดคราบจุลินทรีย์ได้อย่างหมดจด
ซ้ำยังอาจส่งผลเสียต่อฟัน ทำให้คอฟันสึก ฟันบาง
เหงือกร่น เหงือกอักเสบ ฯลฯ ได้


แหล่งข้อมูล:
- Healthline
- SELF






ขอบคุณข้อมูลและรูปภาพจาก : Facebook ฟันดีดี
https://www.facebook.com/betterteeththailand/
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤศจิกายน 17, 2021, 05:01:15 am โดย ยาใจ »