ผู้เขียน หัวข้อ: *รวม* คติธรรม - พระมหาวรพรต กิตฺติวโร  (อ่าน 6015 ครั้ง)

ยาใจ

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 14170
    • ดูรายละเอียด
*รวม* คติธรรม - พระมหาวรพรต กิตฺติวโร
« ตอบ #15 เมื่อ: เมษายน 12, 2022, 07:14:24 am »



คุณธรรมอิทธิบาท 4
ฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา
เป็นสิ่งที่เราใช้ได้
ในทุก ๆ เรื่องในชีวิตเลย
ทั้งทางโลก และทางธรรม

ผู้ที่ประกอบด้วยอิทธิบาท 4
จะทำอะไรก็ประสบความสำเร็จ
เพราะว่า ถึงแม้จะยังไม่สำเร็จ
ก็จะไม่ย่อท้อ ยังบากบั่น
ยังเพียรพยายาม ยังมีความพอใจที่จะทำ
สุดท้าย ก็ย่อมสำเร็จเป็นธรรมดา


การปฏิบัติธรรม
มรรค ผล นิพพาน จะเกิดได้
ก็ต้องประกอบด้วยอิทธิบาท 4 เช่นกัน


ถ้าเราไม่มีฉันทะ
ความพอใจในการที่จะฝึกอบรมตนเอง
ปฏิบัติเจริญสมณธรรม
มันอยู่ไม่ได้หรอก
เดี๋ยวก็ต้องหาทางออกไป

แต่ถ้าเราเกิดฉันทะ
แล้วเรามีวิริยะ คือ ความพากเพียร
ฝึกปฏิบัติไป ใหม่ ๆ สภาวะอาจจะติดขัดบ้าง
ไม่ค่อยดีบ้าง ฟุ้งซ่านบ้าง หงุดหงิดบ้าง
เราก็เพียรทำไป ไม่ท้อถอย

ทำไปเรื่อย ๆ ทำต่อเนื่องกันไป
เดี๋ยวก็ค่อย ๆ ดีขึ้น
ค่อย ๆ ตั้งมั่น จนมีจิตตั้งมั่น
พอจิตตั้งมั่น ก็จะเริ่มไต่ระดับ
เข้าสู่สภาวธรรมต่าง ๆ

มีวิมังสา พิจารณาทบทวน
สิ่งใดที่เราต้องควรทำ
สิ่งใดที่เราต้องควรละ
ควรพิจารณาธรรมให้ยิ่ง ๆ ขึ้นไป

ก็จะเป็นการพัฒนา อิทธิบาท 4
ใช้ได้กับทุกคน และก็กับทุกเรื่องนะ


พระมหาวรพรต กิตฺติวโร

22 พฤษภาคม 2564
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: เมษายน 12, 2022, 07:20:09 am โดย ยาใจ »

ยาใจ

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 14170
    • ดูรายละเอียด
*รวม* คติธรรม - พระมหาวรพรต กิตฺติวโร
« ตอบ #16 เมื่อ: เมษายน 12, 2022, 07:22:03 am »




ครั้งหนึ่ง ก็มีพราหมณ์ได้ทูลถามว่า
นิพพานเป็นอย่างไร ?
มีที่อยู่ที่ตั้งไหม ?


พระพุทธเจ้าอุปมาให้ฟังว่า
เปรียบเหมือนมีไฟอยู่ จุดไฟขึ้นมา
แล้วไฟมันดับพรึ่บ !

เข้าใจไหม ?
โลกธาตุทั้งหมด ก็คือจิตนั่นแหละ
ก้อนอวิชชาทั้งก้อน
ทุกอย่างเกิดที่ใจ แล้วก็จบที่ใจ

ถ้าจะดับที่เรียกว่า ดับด้วยนิพพาน
มันก็คือการดับสิ่งนี้แหละ ก้อนอวิชชา
สลายวิญญาณขันธ์ทั้งหมดเลย

เมื่อสิ่งนี้ถูกสลายตัวออกไป
มันเหมือนไฟที่ดับ
จะเข้าถึงความบริสุทธิ์ของธรรมชาติ
โดยธรรมชาติเลย

เพราะฉะนั้น เราจะนิพพาน
เอาอะไรไปได้บ้างไหม ?
ขนบ้านเข้าไปได้ไหม ?
เอาทรัพย์สมบัติได้ไหม ?


แม้กระทั่งบุญบาป
ยังเอาไปไม่ได้เลย
สิ่งนี้เหนือบุญ เหนือบาป
พ้นดี พ้นชั่ว

สิ่งนี้ คือ ความบริสุทธิ์ของธรรมชาติ
ซึ่งมีอยู่แล้วตลอดกาล
ไม่ต้องไปสร้างสิ่งอะไรเพิ่ม
แต่จะเข้าถึงได้ ต้องสละออก

การสละออก
ก็ไม่ได้ไปขายบ้านขายรถ
ไปนั่งเหมือนฤาษีชีเปลือยอยู่
อย่างนี้จะสละออกไหม ?


แต่จิตยังยึดอยู่เป็นยังไง ?
มันสละที่ใจ ก็คือ..
ต้องสามารถสลายอัตตาตัวตน
สิ่งนี้จะทำได้ ต้องอบรมสติปัฏฐาน 4
จนเกิดจิตตั้งมั่นก่อน
ต้องรวมมาเป็นตัวรู้ก่อน

จากจิตที่ส่งออก
มันจะไปสลายได้อย่างไร ?


พอจิตตั้งมั่น แล้วเปลื้องออกได้
เห็นการแตกดับของวิญญาณขันธ์ได้
จึงจะสามารถเพิกออก สลัดคืนได้

แล้วจึงจะเข้าถึงความบริสุทธิ์ของธรรมชาติ
ภาษาพระท่านเรียกว่า "วิมุตติญาณทัศนะ"

การรับรู้ในระดับโลกุตตระ
ไม่ต้องใช้วิญญานขันธ์ รู้สักแต่ว่ารู้
การรับรู้ตรงนี้จะไม่มีการยึดติด
กับสิ่งใดๆ ทั้งสิ้น

สภาวะประดุจหยดน้ำบนใบบัว
ผู้ที่ดับรอบเท่านั้น
ถึงจะอยู่กับสภาวะนี้ได้โดยสมบูรณ์


ธรรมบรรยาย โดย พระมหาวรพรต กิตฺติวโร
12 สิงหาคม 2563
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: เมษายน 12, 2022, 07:25:54 am โดย ยาใจ »

ยาใจ

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 14170
    • ดูรายละเอียด
*รวม* คติธรรม - พระมหาวรพรต กิตฺติวโร
« ตอบ #17 เมื่อ: เมษายน 12, 2022, 07:29:45 am »



ปุจฉา :
เมื่อนอนสมาธิพอเริ่มเข้าสภาวะ
จะมีเสียงก๊อกแก๊กข้าง ๆ หู
ตอนแรกก็คิดว่าเป็นเสียงอื่น ๆ ทั่ว ๆ ไป
ก็เลยนั่งฟังเสียงดูสักพักนึง ก็ไม่ได้มีเสียงอะไร
แล้วลองนั่งสมาธิ พอกำลังจะเข้าสภาวะ
ก็มีเสียงข้างๆ หูเจ้าค่ะ

ตอนนี้ขวัญอ่อนมาก ๆ เจ้าค่ะ
เวลาจะเข้าสภาวะ ก็จะรีบถอยออกทันทีเลย
จัดการกับความกลัวอย่างไรดีเจ้าคะ ?

วิสัชนา :
วิธีจัดการกับความกลัว
ก็คือ การเรียนรู้และยอมรับนั่นเอง
ความรู้สึกกลัว เป็นสัญชาตญาณอย่างหนึ่ง
ที่เกิดขึ้นอยู่แล้ว

การที่เราประสบกับสิ่งที่เราไม่เข้าใจ
สิ่งที่เราไม่คุ้นเคย สิ่งที่เราไม่รู้ต่าง ๆ
จะเกิดความรู้สึกกลัวขึ้นมาโดยธรรมชาติ
เป็นกลไกของธรรมชาติ

ความรู้สึกกลัว เป็นสัญชาตญาณมนุษย์
หลายคนรอดจากภัย รอดจากอันตราย
ก็เพราะมีความรู้สึกกลัว

แม้กระทั่งในเรื่องของการปฏิบัติ
เข้าถึงสภาวธรรม ก็เช่นกัน
บางทีเราเข้าถึงสภาวะ
ปฏิบัติไปตัวหาย พอตัวหายนี่
เราคุ้นเคยกับการมีตัวตนมานาน
พอตัวหาย ก็กลัว

หรือบางที เกิดสภาวะอะไรที่เราไม่คุ้นเคย
เราก็เกิดความรู้สึกกลัว
เพราะฉะนั้น สิ่งที่จะรับมือกับความรู้สึกกลัว
ก็คือ การเรียนรู้และยอมรับ
ว่าเป็นอารมณ์ความรู้สึกที่เกิดขึ้น
ก็ให้ตั้งสติ เรียนรู้ ยอมรับ

การปฏิบัติและได้สัมผัสเสียงสิ่งต่าง ๆ
ก็เป็นเพียงแค่สิ่งหนึ่งที่เกิด
และก็สลายตัวไปอยู่แล้ว

“เส้นทางแห่งการหลุดพ้น
ไม่ใช่เส้นทางที่โรยด้วยกลีบกุหลาบ”


เพราะฉะนั้นเวลาเราฝึกปฏิบัติไป
เจออุปสรรคปัญหาเกิดขึ้น
อย่าไปกลัว อย่าไปรังเกียจ
ให้เตรียมใจยอมรับ เรียนรู้

เพราะว่า..
เมื่อใดที่เราเรียนรู้ปัญหาอุปสรรคที่เข้ามา
เราจะก้าวข้ามไปอีกระดับหนึ่งนั่นเอง


ธรรมบรรยาย โดย พระมหาวรพรต กิตฺติวโร
2 สิงหาคม 2564


ยาใจ

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 14170
    • ดูรายละเอียด
*รวม* คติธรรม - พระมหาวรพรต กิตฺติวโร
« ตอบ #18 เมื่อ: เมษายน 12, 2022, 07:31:28 am »




อะไรก็ตาม..
ก็แค่รู้ แค่รู้สึก

สิ่งสำคัญ คือ การรักษาใจ
รู้ สักแต่ว่ารู้

เห็น สักแต่ว่าเห็น
ได้ยิน สักแต่ว่าได้ยิน
ทราบ สักแต่ว่าทราบ


อันนี้ คือ แก่นของการฝึกปฏิบัติ
ความจางคลายออก

ให้เข้าใจตรงนี้
แล้วเราจะไม่ติดข้องกับสิ่งใด ๆ
ที่มันปรากฏ..ไม่ว่าอะไรก็ตาม


ธรรมบรรยาย โดย พระมหาวรพรต กิต​ฺ​ติ​วโร​
พระวิปัสสนาจารย์
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: เมษายน 12, 2022, 07:34:29 am โดย ยาใจ »

ยาใจ

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 14170
    • ดูรายละเอียด
*รวม* คติธรรม - พระมหาวรพรต กิตฺติวโร
« ตอบ #19 เมื่อ: เมษายน 12, 2022, 07:36:11 am »



ปุจฉา :
ตาใน หมายความว่าอะไร ?
เหมือนดวงตาธรรมไหมเจ้าคะ ?

วิสัชนา :
คำว่า ตา มันก็คือการมองเห็นใช่ไหม
ปกติ มนุษย์เราก็จะมีสิ่งที่เรียกว่า ตาเนื้อ
ที่สามารถมองเห็นรูป แสง สี ต่าง ๆ ได้
ซึ่งก็มองเท่าที่เราเห็นได้
ที่เรียกว่า ตาเนื้อ

ถ้าว่าโดยสภาวธรรม
กระบวนการการเห็น ที่เรียกว่า
ตาเห็นรูป ก็จะเกิดจักขุวิญญาณขึ้นมา
ทางอายตนะทางตา

เมื่อเกิดจักขุวิญญาณขึ้นมา
ก็จะเกิดสิ่งที่เรียกว่า
จักขุสัมผัส เกิดการเห็น
แล้วก็เกิดความรู้สึกต่าง ๆ ขึ้นมา

ถ้าว่าโดยเป็นวิทยาศาสตร์
ก็คือ มนุษย์เรามีประสาทสัมผัส
ที่รับรู้ได้ในระดับคลื่นความถี่
ระดับหนึ่งถึงระดับหนึ่งเท่านั้น
ย่านความถี่ระดับหนึ่ง

ถ้าละเอียดกว่านี้
คลื่นความถี่ที่สูงกว่า หรือต่ำกว่านี้
ก็สัมผัสรับรู้ไม่ได้ มองเห็นไม่ได้นั่นเอง

แต่ในความเป็นจริงของธรรมชาติ
มันมีคลื่นความถี่ที่สูงกว่า และก็ต่ำกว่า
ที่ประสาทสัมผัสของมนุษย์
สามารถมองเห็น รับรู้ได้

แต่เมื่อใดที่เราฝึกปฏิบัติ
จนสติมีความตั้งมั่น เกิดสมาธิ
สงัดจากกามและอกุศลธรรม

พอเข้าถึงจิตเป็นสมาธิ
จิตมันจะมีความละเอียดขึ้น
ก็จะเข้าถึงคลื่นความถี่
ที่ละเอียดขึ้นนั่นเอง

โดยเฉพาะถ้าเราฝึก
จนกำลังสติสัมปชัญญะทรงตัว
จิตจะเกิดสิ่งที่เรียกว่า ความเป็นทิพย์

คือ การรับรู้คลื่นความถี่ที่ละเอียด
ที่สูงขึ้นไป หรือต่ำกว่า ที่ประสาทสัมผัส
ของมนุษย์ปกติจะรับรู้ได้นั่นเอง
ที่เรียกว่า หูทิพย์ ตาทิพย์น่ะ

จริง ๆ มันไม่ได้มีตาเป็นทิพย์
หรือมีหูเป็นทิพย์หรอก
แต่จิตมันมีสภาพเป็นทิพย์ มันรับรู้ได้

ซึ่งตรงนี้มันต้องเกิดจากการที่เรา
ฝึกระดับของสมาธิ เป็นต้นไป
จึงเกิดสิ่งที่เรียกว่า ตาใน

ตาใน ก็คือเป็นเรื่องของ
จิตที่เป็นทิพย์ แต่จิตที่เป็นทิพย์
มันก็ยังเป็นระดับของโลกียธรรม
ที่เรียกว่า ในระดับของสมาธิ ฌานสมาบัติ

แต่มันมีการรับรู้ระดับโลกุตรธรรม
ที่เรียกว่า ธรรมจักษุ

ธรรมจักษุ เป็นระดับโลกุตรธรรม
คำว่า ดวงตาธรรม
มันก็ไม่ได้มีดวงตาขึ้นมา
แต่ว่าเมื่อใดที่อบรมตนเอง
จนสามารถเพิกอวิชชาออกไปจากใจ


เกิดกระบวนการรู้อริยสัจ 4
รู้ทุกข์ ละเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์
เข้าถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์
แล้วสามารถชำระตัวตนในส่วนแรกได้หมด
ที่เรียกว่า “เกิดดวงตาเห็นธรรม”
เป็นพระอริยบุคคลขั้นต้น
พระโสดาบันเป็นต้นไป

ก็จะเรียกว่า..
เป็นผู้ที่มีธรรมจักษุ
ก็คือ ญาณหยั่งรู้
ที่เห็นสภาวธรรม
ตามความเป็นจริง

ที่เราเห็นเป็นรูป เป็นร่าง เป็นแสง เป็นสี
เขาเรียกว่า เห็นแบบสมมติอยู่
เป็นการเห็นภายใต้เมฆหมอกแห่งอวิชชาอยู่

สรุปตามี 3 อย่าง
ตาเนื้อ ที่มนุษย์มองเห็น
ตาจิต หรือตาใน
ที่เรียกว่า เป็นจิตเป็นทิพย์
รับรู้ด้วยจิตที่เป็นทิพย์


ทั้ง 2 นี้ก็ยังเป็นระดับโลก ๆ อยู่
โลกียธรรมอยู่นั่นเอง
จริง ๆ แล้ว ตาเนื้อกับตาจิต
ก็เกิดมาจากอย่างเดียวกันนั่นแหละ

คือ เกิดมาจากวิญญาณขันธ์
เพียงแต่ว่า จิตที่มันมาติดอยู่ในมนุษย์แล้ว
ความเป็นทิพย์มันหายไป

เพราะว่า เราไปติดสิ่งที่เรียกว่า
อารมณ์ทางโลกที่มันครอบงำจิต
ถูกนิวรณ์หุ้มอยู่นั่นเอง

แต่เมื่อเราฝึกปฏิบัติ
จนเพิกนิวรณ์ออกไปจากใจได้
จิตเข้าถึงสมาธิ ความเป็นทิพย์
ก็คืนสภาพเดิมโดยธรรมชาติ

แต่เมื่อใดที่สามารถเพิกอวิชชาออกไป
เข้าสู่ภูมิของอริยะ ถึงจะเป็นเรื่องของ
ระดับโลกุตรธรรม ที่เรียกว่า
ธรรมจักษุ นั่นเองนะ



ธรรมบรรยาย โดย พระมหาวรพรต กิตฺติวโร
18 มิถุนายน 2564
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: เมษายน 12, 2022, 07:39:47 am โดย ยาใจ »

ยาใจ

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 14170
    • ดูรายละเอียด
*รวม* คติธรรม - พระมหาวรพรต กิตฺติวโร
« ตอบ #20 เมื่อ: เมษายน 12, 2022, 07:43:39 am »



ครั้งหนึ่ง มีพราหมณ์ได้ทูลถาม
พระผู้มีพระภาคเจ้า ว่า..
ที่พระพุทธองค์ทรงแสดงธรรมไว้มาก
พระองค์แสดงธรรมไว้ที่ต่าง ๆ

มีธรรมบทหนึ่งไหม
ที่รวมทุกสิ่งทุกอย่างในพระพุทธศาสนา ?

ท่านทั้งหลายว่า ในพระไตรปิฎก
84,000 พระธรรมขันธ์ มีไหม ?
บทเดียวที่รวมทั้งหมด
ของพระพุทธศาสนา

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า มี ก็คือ
“ธรรมทั้งปวง ใคร ๆ ไม่ควรยึดมั่นถือมั่น"


การไม่ยึดมั่นถือมั่น
หรือการปล่อยวางนั่นเอง

พระพุทธองค์ตรัสว่า..
ผู้ที่ได้ยินได้ฟังธรรมบทนี้
"ธรรมทั้งปวง ใคร ๆ ไม่ควรยึดมั่นถือมั่น"
ชื่อว่า ได้ยิน ได้ฟังทั้งหมดของพระพุทธศาสนา

เป็นหลักธรรมเดียว
ที่รวมเนื้อหาแท้ ๆ ของพระพุทธศาสนา

ความไม่ยึดติด ความไม่ยึดมั่นถือมั่น
ผู้ที่ได้ยินได้ฟัง ธรรมบทนี้
แล้วปฏิบัติตาม ธรรมบทนี้
คือ ความไม่ยึดมั่นถือมั่น

ชื่อว่า ได้ปฏิบัติตามธรรมทั้งหมด
ของพระพุทธศาสนา

เป็นทั้งปริยัติ หลักธรรม
เป็นทั้งภาคของการปฏิบัติ วิธีการปฏิบัติ
แล้วเป็นทั้งปฏิเวธ ผลของการปฏิบัติ

ก็คือ ความไม่ยึดมั่นถือมั่น
หรือ การปล่อยวางนั่นเอง


นี่คือ หัวใจของพระพุทธศาสนา



ธรรมบรรยาย โดย พระมหาวรพรต กิตฺติวโร
6 กันยายน 2563
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: เมษายน 12, 2022, 07:47:06 am โดย ยาใจ »

ยาใจ

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 14170
    • ดูรายละเอียด
*รวม* คติธรรม - พระมหาวรพรต กิตฺติวโร
« ตอบ #21 เมื่อ: เมษายน 12, 2022, 07:49:19 am »



ให้สังเกต ยิ่งถ้าเราทำความเพียร
เจริญสติสะสมกำลังสติในระหว่างวันได้ดี
พอถึงรอบการนำฝึกปฏิบัติ
เราก็จะมีกำลังที่ดี มีความลึกซึ้งนั่นเอง

เพราะฉะนั้นอย่าประมาท !
ไม่ใช่ว่าจะรอเฉพาะฝึกรอบที่นำฝึกเท่านั้น
การปฏิบัติในชีวิตประจำวันของเรา
เป็นปัจจัยสำคัญ

ถ้าเราฝึกสะสมกำลังสติ ในระหว่างวันได้ดี
ในรอบการฝึก เราจะทำได้
อย่างมีประสิทธิภาพที่สูงขึ้นไปนั่นเอง

เพราะฉะนั้น การฝึกในรอบการฝึก
กับ การฝึกในชีวิตประจำวัน
จะเป็นสิ่งที่เกื้อกูลกันและกัน

ถ้าเราฝึกในรอบการฝึกได้ดี ก็จะส่งผล
ให้เรามีสติในชีวิตประจำวันได้มากขึ้น

เมื่อเราเจริญสติในชีวิตประจำวันได้มากขึ้น
ก็จะส่งผลให้เมื่อถึงรอบการฝึก
ก็จะปฏิบัติได้ดี มีประสิทธิภาพยิ่ง ๆ ขึ้นไป

เมื่อประสิทธิภาพได้ดี
เราก็จะสามารถหลุดจากอารมณ์
จิตคลายจากอารมณ์ต่าง ๆ ได้ดี
สลัดคืนสู่ความบริสุทธิ์ได้มีประสิทธิภาพ

เมื่อคืนสู่ความบริสุทธิ์ได้มีประสิทธิภาพ
การชำระตนเอง ก็จะมีประสิทธิภาพ
ยิ่ง ๆ ขึ้นไปเช่นกัน

เคล็ดลับที่สำคัญ คือ
ก็ให้รักษาความเพียร
ฝึกซ้อมเป็นประจำสม่ำเสมอนั่นเอง



ธรรมบรรยาย โดย พระมหาวรพรต กิตฺติวโร
11 กรกฎาคม 2564
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: เมษายน 12, 2022, 07:51:04 am โดย ยาใจ »

ยาใจ

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 14170
    • ดูรายละเอียด
*รวม* คติธรรม - พระมหาวรพรต กิตฺติวโร
« ตอบ #22 เมื่อ: เมษายน 12, 2022, 07:53:16 am »



บุคคลในโลกนี้...
ฆ่าสัตว์ เบียดเบียนสัตว์
ลักทรัพย์ ทุจริตฉ้อโกง
ประพฤติผิดในกาม

พูดปดมดเท็จ พูดจาส่อเสียด
ยุยง ให้แตกแยกกัน
พูดจาเพ้อเจ้อ พูดคำหยาบคาย

เป็นผู้ละโมบ เพ่งเล็ง
อยากได้ของคนอื่นเขา
หรือ มีจิตพยาบาท มีความเห็นผิด

ถึงแม้ว่าชนทั้งหลาย จะมาประชุมกัน
กล่าวสรรเสริญก็ดี สวดวิงวอนก็ดี
ทำประทักษิณ เวียนรอบบุคคลผู้นั้นก็ดี

กล่าวว่า..
ขอท่านจงไปเกิดในสุคติภูมิเถิด
ขอท่านจงบังเกิดในสุคติภูมิเถิด

แต่บรุษคนนั้น ก็ย่อมตกอบาย
ทุคติวินิบาต ตกนรกอย่างแน่นอน

ไม่ได้เป็นไปตาม...
การสวดมนต์อ้อนวอนของผู้อื่น
แต่เป็นไปตาม...
การกระทำของตนเองนั่นเอง

เปรียบเหมือนบุคคล
ยกหินก้อนใหญ่ ๆ
โยนลงไปในห้วงน้ำลึก

แล้วชนทั้งหลายมาประชุมกัน
มาสวดอ้อนวอนก็ดี กล่าวสรรเสริญก็ดี
มาไหว้ทำประทักษิณ รอบหินก้อนนั้นก็ดี

กล่าวว่า.. ขอท่านก้อนหินจงลอยขึ้นเถิด
จงลอยขึ้นเถิด จงขึ้นมาเหนือผิวน้ำเถิด

ข้อนั้นเธอจะสำคัญว่าอย่างไร ?
เป็นไปไม่ได้เลยพระพุทธเจ้าข้า

ก็เรียกว่า สร้างความหนักให้แก่ตัวเอง
กรรมที่เราสร้าง มันหนัก
ก็จะดึงเราตกต่ำ จมสู่อบายภูมิ

แล้วความทุกข์ในอบายภูมิ
ช่างโหดร้ายทารุณอย่างยิ่งยวด
ทุกข์ใด ๆ ในโลกที่ชาวโลกเราได้ประสบ
ที่ว่าโหดร้าย มันทารุณเจ็บปวด มันทุกข์ทรมาน
ที่ว่ามันที่สุดแล้วนะ

จะกลายเป็นเรื่องเล็กน้อยไปเลย
เมื่อเทียบกับความทุกข์ความทรมาน
ความโหดร้ายทารุณในอบายภูมิ

มันเจ็บปวด มันทุกข์ทรมานกว่ากันมาก
แล้วกาลเวลาที่ต้องเสวย
ก็ยาวนานกว่ากันมากนะ



ธรรมบรรยาย โดย พระมหาวรพรต กิตฺติวโร
28 พฤศจิกายน 2564
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: เมษายน 12, 2022, 07:55:56 am โดย ยาใจ »

ยาใจ

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 14170
    • ดูรายละเอียด
*รวม* คติธรรม - พระมหาวรพรต กิตฺติวโร
« ตอบ #23 เมื่อ: เมษายน 12, 2022, 08:00:24 am »



อิสรภาพที่แท้จริง คือ ใจเป็นอิสระ
ใจเป็นอิสระ ก็คือ ใจที่มันหลุดพ้น


หลุดพ้นจากสิ่งเหล่านี้ คือ..
หลุดพ้นจาก ความโลภ
หลุดพ้นจาก ความโกรธ
หลุดพ้นจาก ความหลง
หลุดพ้นจาก ความยึดมั่นถือมั่นทั้งปวง


"กรงขัง" ที่แท้จริง
มันก็ไม่ได้อยู่ภายนอกที่ไหนหรอก
มันก็คือ "ใจ" ของเรานี่แหละ

หลงยึดมั่นถือมั่นมาก หลงปรุงหลงแต่ง
สร้างภพสร้างโลกต่าง ๆ ขึ้นมา
แล้วก็ขังตัวเองไว้ให้ติดอยู่กับวัฏสงสาร
จมอยู่กับความเจ็บปวด
จมอยู่กับความทุกข์อยู่ร่ำไป

เพราะฉะนั้น การปฏิบัติธรรม
จนสามารถละอัตตาตัวตน
หลุดพ้นจากการยึดมั่นถือมั่นทั้งปวงได้
จึงจะพบกับอิสรภาพที่แท้จริงได้นั่นเอง



ธรรมบรรยาย โดย พระมหาวรพรต กิตฺติวโร
22 กรกฎาคม 2564
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: เมษายน 12, 2022, 08:14:14 am โดย ยาใจ »

ยาใจ

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 14170
    • ดูรายละเอียด
*รวม* คติธรรม - พระมหาวรพรต กิตฺติวโร
« ตอบ #24 เมื่อ: เมษายน 12, 2022, 08:05:16 am »



ที่เราเกิดขึ้นมาในยุคสมัยนี้
เราเกิดขึ้นมาในยุคที่
ผู้คนผิดศีลผิดธรรมกันเป็นเรื่องปกติเลย
เรียกว่า ทำกันจนกลายเป็นเรื่องปกติแล้ว

การฆ่าสัตว์ การตบยุง ฆ่ามด
สัตว์เล็กสัตว์น้อย จนสัตว์ใหญ่ต่าง ๆ
การตกปลา ยิงนก ฆ่าวัว ฆ่าควาย
เป็นเรื่องปกติไปในยุคสมัยนี้


การลักทรัพย์ การฉ้อโกง
ก็ทำกันมาก

ยิ่งการประพฤติผิดในกาม
ผ่านกันมามากไหมล่ะ?
การล่วงละเมิดผู้อื่นเนี่ย
ไม่ได้หมายความว่า
เฉพาะการล่วงละเมิด
ผู้ที่เขามีคู่ครองเท่านั้น

อย่างถ้าเราหนุ่ม ๆ
ไปล่วงเกินหญิงสาว
ที่เขามีผู้ปกครอง
มีพ่อมีแม่ มีพี่ชาย น้องชาย
มีพี่สาว น้องสาว ดูแลอยู่

ไปล่วงละเมิดเข้า
โดยที่ผู้ปกครองเขาไม่ยินยอม
ก็ผิดข้อกาเมเช่นกัน
เพราะฉะนั้นก็พลาดกันได้มากทีเดียว

โอกาสการพูดปดนี่ ไม่ต้องพูดถึงเลย
ยุคนี้กลายเป็นเรื่องปกติไปแล้ว
การตั้งสัจจะ คำไหนคำนั้น กล่าวคำจริง
เป็นสิ่งที่ยากมากเลย

แต่ยุคสมัยนี้ท่ามกลาง
การพูดจาหลอกลวงซึ่งกันและกัน
เป็นยุคที่เราเพิ่มความหนัก
ให้กับตัวเองได้มาก

ถ้าเราไม่ได้มีโอกาสพบพระพุทธศาสนา
ได้ฟังคำสั่งสอน ได้รู้วิถีหนทางปฏิบัติที่ถูกต้อง
ได้เห็นโทษภัยของการปฏิบัติที่ไม่ถูกต้อง
ยากมากเลยที่เราจะรอดจากอบายภูมิ

เพราะฉะนั้นเมื่อเราได้มีโอกาส
พบพระพุทธศาสนาแล้ว
ก็เป็นสิ่งที่จะได้เรียนรู้
ถึงวิถีของธรรมชาติที่ถูกต้อง
เพราะว่าหมู่สัตว์ในวัฏสงสาร
อยู่ภายใต้กฎเดียวกัน
คือ กฎของกรรม

เมื่อใดที่หมู่สัตว์ก่อการเบียดเบียน
เกิดโทษภัยทั้งต่อตนเองและผู้อื่น
แม้การกระทำนั้นจบลงไปแล้ว
แต่สิ่งที่ไม่ยอมจบ คือ ผลของการกระทำ
ก็คือ สิ่งที่เรียกว่า... วิบากกรรม

แล้ววิบากกรรมที่เกิดขึ้น
เวลามันให้ผล
ไม่ได้ให้ผลหนึ่ง : หนึ่งนะ
เช่น เราทำไป 1 ครั้ง
เราก็รับผล 1 ครั้ง
ไม่ได้เป็นแบบนั้น

แต่ให้ผลเป็นทวีคูณเลย
คูณด้วยร้อย คูณด้วยพัน
คูณด้วยหมื่น คูณด้วยแสน
คูณด้วยล้านเท่า คูณด้วยแสนล้านเท่า
คูณด้วยล้าน ๆ เท่า
จนไม่สามารถนับประมาณได้เลย

โทษภัยเวลาต้องรับเนี่ย
สาหัสสากรรจ์เลยทีเดียว
เพราะฉะนั้นถ้าเราได้รู้
เราก็จะไม่กล้าทำความชั่วเลย

ยิ่งถ้าเราระลึกชาติตัวเองได้
ว่าเราเคยผ่านความเจ็บปวด
ในอบายภูมิมาขนาดไหน
พวกเราจะไม่กล้าทำความชั่วเลย

แต่เพราะว่าเกิดแล้ว ก็ลืมไง
ก็เลยหลงอยู่กับโลกเหมือนเดิม
เข้าสู่วังวนเดิมนั่นเอง

แต่ในด้านอ่อนโยนเนี่ย
ก็ให้ผลเป็นทวีคูณเช่นกัน

เพราะฉะนั้นคำสอนของ
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทุก ๆ พระองค์
จึงงดเว้นจากความชั่วทั้งปวง
ทำแต่ความดี ทำกุศลให้ถึงพร้อม
แล้วก็ชำระจิตให้หมดจด
จากเครื่องเศร้าหมองต่าง ๆ


อริยมรรคมีองค์ 8 นี่แหละ
คือ ปฏิปทาเพื่อความดับไม่เหลือแห่งกรรม

ทางกุศลธรรม 10
ทำให้เราบังเกิดในสุคติภูมิได้ก็จริง
แต่ยังไม่สามารถทำให้เรา
พ้นออกมาจากวังวนตรงนี้ได้

แต่ทางที่จะทำให้เราหลุดพ้น
จากวังวนตรงนี้ได้ ก็คือ
อริยมรรคมีองค์ 8 นั่นเอง

เพราะฉะนั้นจึงเป็นสิ่งที่ทุกคน
ควรให้ความสำคัญ
ก้าวเดินบนเส้นทางที่ถูกต้อง

จะได้จบทุกเรื่องราว
หลุดพ้นจากเภทภัยในวัฏสงสารทั้งปวง
ไม่ต้องกลับมาพบกับ
ความเจ็บปวดทุกข์ทรมานอีกต่อไป

สามารถกลับคืน
สู่ความบริสุทธิ์ของธรรมชาติ
พบกับความสงบสุขที่แท้จริง
คือ พระนิพพานได้



ธรรมบรรยาย โดย พระมหาวรพรต กิตฺติวโร
28 พฤศจิกายน 2564






ติดตาม Live ถ่ายทอดธรรม  ===> https://www.facebook.com/duenjitpage/






ขอบคุณข้อมูลและรูปภาพจาก Facebook  เดินจิต-ตื่นรู้ สู่ อมตธรรม
https://www.facebook.com/duenjitpage/

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 24, 2022, 07:13:35 pm โดย ยาใจ »

ยาใจ

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 14170
    • ดูรายละเอียด
*รวม* คติธรรม - พระมหาวรพรต กิตฺติวโร
« ตอบ #25 เมื่อ: พฤษภาคม 24, 2022, 07:11:19 pm »
\


สิ่งที่เป็นของแท้ เป็นสัจธรรม คือ
ความสงบสงัด ความบริสุทธิ์ของธรรมชาตินั่นเอง

ผู้ที่มีปัญญาเล็งเห็นสิ่งที่เป็นแก่นแท้
จึงหลีกออกจากความวุ่นวายทั้งปวง
วิถีการเข้าถึงพระพุทธศาสนา
จึงเป็นวิถีที่สงบระงับ เงียบกริบ
จึงจะเข้าถึงความสงบสงัดได้นั่นเองนะ

มันไม่ได้ไปด้วยกัน
มันจะต้องแยกออกแบบนี้
ธรรมชาติอันบริสุทธิ์จึงอยู่ด้านนอกวัฏฏะ
หลีกเร้นออกทั้งหมด

เพราะฉะนั้นถ้าท่านทั้งหลายปรารถนา
สิ่งที่มันเป็นความสงบสุข
สิ่งที่เป็นความเที่ยงแท้ถาวร

วิถีก็คือ หลีกออกจากความวุ่นวายทั้งปวง
เข้าสู่ความสงบระงับนั่นเอง


แต่ถ้ายังอยากเรียนรู้ ความดังในทางโลก
ก็จะต้องไปเรียนรู้ เรื่องของความวุ่นวายก่อน

มันเป็นเรื่องธรรมดา
แต่ละคนมันก็มีวาระของแต่ละคน
ทุกอย่างมันคือการเรียนรู้นั่นล่ะ

เห็นไหม บางคนที่มันผ่านร้อนผ่านหนาวมามาก
สุดท้ายก็หาความสงบระงับของจิตใจ
คนที่ผ่านอะไรในช่วงชีวิตมาเยอะ
สุดท้ายก็มีคำโบราณได้กล่าวไว้
สูงสุดย่อมกลับคืนสู่สามัญนั่นเอง

คืนสู่ความเป็นธรรมชาติ มันคือการเรียนรู้
เรียนรู้ความวุ่นวาย เรียนรู้กระแสของโลก
สุดท้ายก็พบแล้วว่า...

มันหาสิ่งที่มันเป็นแก่น เป็นสาระ
เป็นความสุขที่แท้จริงจากสิ่งเหล่านี้ไม่ได้เลย
มันเป็นแค่มายา
มันโลดโผนชั่วครู่ชั่วคราวเท่านั้น

สุดท้ายก็ต้องกลับสู่ความสงบของธรรมชาตินั่นเอง
มันเป็นสัจธรรม
อยู่ที่ว่าผู้ใดจะเข้าถึงก่อน ก็ปลดภาระได้ก่อน
ทุกอย่างมันก็เป็นไปตามเหตุ ตามปัจจัย
ตามวาระนั่นเอง


โดย พระมหาวรพรต กิตฺติวโร

เช้าวันที่ 16 เมษายน 2565








ขอบคุณข้อมูลและรูปภาพจาก Facebook  เดินจิต-ตื่นรู้ สู่ อมตธรรม
https://www.facebook.com/duenjitpage/
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 24, 2022, 07:17:42 pm โดย ยาใจ »

ยาใจ

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 14170
    • ดูรายละเอียด



◍ ถ้าเรามองเห็นว่าสิ่งต่าง ๆ มีสองด้าน
เราก็จะไม่ติดข้องอยู่กับสิ่งเหล่านั้น

◍ ส่วนใหญ่ที่เราติดข้อง เราจมปลัก
ก็เพราะว่าเรามองด้านเดียวนั่นเอง


◍ พอเจอสิ่งดี ๆ ก็ทำให้ใจสบาย มีความสุข
แต่ด้านที่เป็นโทษ ก็คือ ทำให้เกิดการติดใจ
เกิดความประมาทในการใช้ชีวิต
เพลินไปกับสิ่งดี ๆ เกิดการติดข้องอยู่ นั่นเอง


◍ พอเจอสิ่งไม่ดี ก็ติดข้องอีก
จมกับความเจ็บปวดทุกข์ทรมาน
ความบีบคั้น ทั้งหลายทั้งปวง
แต่ในอีกด้านหนึ่ง ก็เป็นสิ่งที่ให้คุณค่ากับเราเช่นกัน
ทำให้เกิดการเรียนรู้ ได้ก้าวข้ามบางสิ่งบางอย่าง


◍ เพราะฉะนั้น..
จริง ๆ แล้วทั้งสองอย่างก็มีสองด้านอยู่เสมอเหมือนกันนั่นเอง
ทั้งด้านที่มีคุณประโยชน์
และด้านที่มีโทษ นั่นเอง


◍ ถ้าเรามองเห็นทั้งสองด้านเราก็จะไม่ไปติดข้องกับสิ่งเหล่านี้
เรียนรู้ ยอมรับ วางใจได้ นั่นเอง

◍...........................◍

◍ มูลนิธิเดินจิต
ธรรมบรรยายโดย พระมหาวรพรต กิตฺติวโร









  ขอบคุณข้อมูลและรูปภาพจาก Facebook มูลนิธิเดินจิต
https://web.facebook.com/duenjitfoundation
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ตุลาคม 05, 2022, 04:46:10 pm โดย ยาใจ »

ยาใจ

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 14170
    • ดูรายละเอียด



ขาขึ้น ​ กับ ขาลง มีความสำคัญ *:・゚✧
.. ไม่แพ้กันเลยทีเดียว

ส่วนใหญ่เรามองเห็นด้านเดียว
เราก็จะมุ่งแต่จะขึ้นอย่างเดียวเลย
ให้สงบไว้.. ให้ทรงไว้


แต่จริง ๆ แล้วทุกอย่างมีสองด้านเสมอ
ก็ฝึกทั้งขาขึ้น​ และขาลงนั่นแหละ
มันจะทำให้เราไม่ติดกับดัก

จากปกติก็ติดไปกับโลก
พอมาถึงสภาวะประณีตแล้ว
ก็ติดสมาธิอีก​ ก็ยังติดข้องอยู่
พอติดข้องอยู่​ ก็จะเกิดผลกระทบตามมา
หลังจากละชั่วได้แล้ว ก็ไปติดดีอีกแล้ว
ติดดีนี่ละยากกว่าไปติดชั่วนะ

ก็เป็นสิ่งที่เราจะต้องเรียนรู้กัน
ต่อให้ติดดี​ ก็ยังมีผลกระทบตามมาอยู่
บางอย่างมากทีเดียวเลย ติดดีนี่

การจะพ้นออกไป...
จะต้องไม่ติดทั้งชั่ว แล้วก็ไม่ติดทั้งดี
เรียกว่า เดินอยู่ในทางสายกลาง นั่นเอง
รู้ธรรมเฉพาะหน้า​ อยู่กับปัจจุบัน
... ให้ต่อเนื่องกันไป


ถึงแม้เราเข้าถึง​
เราทรงอยู่กับสภาวธรรมที่เข้าถึงได้เแล้ว​
ตามสมควร​ เราก็ลดระดับถอยลงมา
ไปทำงาน​ ไปใช้ชีวิต
ถึงแม้เราจะถอยลงมาแล้ว
ผลจากการที่เราเข้าถึงสภาวธรรมที่ลึกซึ้ง
มันไม่ได้หายไปไหนหรอก


แม้เราถอยออกมาแล้ว
มันก็จะหล่อเลี้ยงอยู่เป็นวิหารธรรม
ภายในใจของเรานั่นเอง

เหมือนเราทานข้าวนั่นแหละ
ทานอิ่มแล้ว เราก็ไม่ทานทั้งวัน
ทานเสร็จแล้วเราก็ไปทำกิจการงานต่าง ๆ
อาหารที่ทาน​ มันก็ยังหล่อเลี้ยงธาตุขันธ์อยู่

ร่างกายมันต้องการอาหาร
ต้องการหล่อเลี้ยงธาตุขันธ์
...จิตใจเราล่ะ? เราร้อนรุ่ม เราขาดแคลน
เติมเท่าไหร่ก็ไม่เต็มหรอก เรื่องกายภาพ
เพราะว่า​ จิตใจมันยังขาดแคลนอยู่


สิ่งที่จะเติมเต็มจิตวิญญาณได้
ก็คือ ความชุ่มเย็นของธรรมชาติ​ นั่นเอง
เหมือนน้ำอันบริสุทธิ์ เติมทุกวัน เช้า กลางวัน เย็น
ให้จิตใจมีความชุ่มเย็น
…ดับไฟในใจ
…ดับความเร่าร้อน
…ดับความหิวกระหาย
…ดับความเจ็บปวด​ทุกข์ทรมานทั้งปวงได้


พอทรงพอสมควรแล้ว
ก็ลดระดับ Landing ถอยลงมา
ก็ไปใช้ชีวิตต่อไป

ผลจากการเข้าถึงมันจะหล่อเลี้ยงภายในใจ
ให้ใจเรามีความชุ่มเย็นภายใน
ในระหว่างวันก็มีสติรู้ตัวไป
ก็เรียกว่า มันจะมีเครื่องอยู่ภายในใจ

ฝึก ๆ ไปเราจะพบว่า...
ใจเราจะนิ่งขึ้นมามากเลย แม้ในระหว่างวัน
เป็นผลจากการที่เราเข้าถึงอยู่เนืองๆ นั่นเอง
ก็พยายาม Balance ให้ดีนะ
ถ้าเราไม่ฝึกถอยออกมา
จะกลายเป็นไปติดอีกด้านหนึ่ง
ติดสุขในสมาธิมันก็ Balance การใช้ชีวิต
... ไม่ได้เช่นกัน

แต่ถ้าเราเข้าถึง ทรงอยู่​ แล้วถอยออกมาเป็น
จะทำให้เราเดินอยู่ในทางสายกลาง นั่นเอง
คือ ความพอดี ความเป็นปกติ
ความเป็นธรรมดา

การจะพ้นจากทุกข์ที่แท้
การคืนสู่ความเป็นธรรมชาติ
ความเป็นธรรมชาตินั้นคือ ความเป็นกลาง นั่นเอง
จะคืนได้ก็ต้องเดินอยู่ในทางสายกลาง
จนคืนสู่ความเป็นกลางของธรรมชาติได้


ถ้ายังติดฝั่งใดฝั่งหนึ่ง มันก็ยังไม่พ้นหรอกนะ
ก็เดินอยู่ในทางสายกลาง
รู้ธรรมเฉพาะหน้า
อยู่กับปัจจุบันธรรมให้ต่อเนื่องกันไป

แค่รู้ แค่รู้สึก
สักแต่ว่ารู้ สักแต่ว่ารู้สึก
ไม่ติดข้องอยู่ ไม่ยึดถืออะไร ๆ ทั้งปวงในโลกด้วย



ธรรมบรรยาย โดย พระมหาวรพรต กิตฺติวโร
เช้าวันที่ 4 สิงหาคม 2565








  ขอบคุณข้อมูลและรูปภาพจาก Facebook เดินจิต-ตื่นรู้ สู่ อมตธรรม
https://web.facebook.com/duenjitpage/
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ตุลาคม 05, 2022, 05:06:38 pm โดย ยาใจ »

ยาใจ

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 14170
    • ดูรายละเอียด
* รวม * คติธรรม - พระมหาวรพรต กิตฺติวโร
« ตอบ #28 เมื่อ: ตุลาคม 05, 2022, 05:02:55 pm »




เมื่อใดที่เราสละวางสิ่งที่ยึดที่หลง
ปล่อยวางทุกสิ่งทุกอย่างได้
ก็จะหลุดเข้าสู่ธรรมชาติที่บริสุทธิ์
เข้าถึงความว่างที่บริสุทธิ์ได้


>>>>>>>>>>>>>>><<<<<<<<<<<<<<<<

สภาวะของสุญญตา
ภายในจะเป็นมิติที่ว่างบริสุทธิ์
เหลือแต่สติที่บริสุทธิ์
เหลือแต่ธาตุรู้ที่บริสุทธิ์

ส่วนมิติภายนอกสภาวธรรม
จะเกิดการรู้เห็นตามความเป็นจริง เป็นคนละมิติกัน
ภายในจะว่างบริสุทธิ์เป็นวิสังขาร ไร้การปรุงแต่ง
ก็คือขีดความสามารถที่จะเข้าถึงสภาวะที่มันพ้นจากทุกข์ได้

ภายในที่มันบริสุทธิ์เนี่ยมันมีอยู่แล้วตามธรรมชาติ
เป็นมิติที่บริสุทธิ์ แต่เพราะว่าจิตใจเราหลงวังวนของโลก จึงหลงวกวนอยู่กับสมมุติต่างๆ

เมื่อใดที่เราสามารถสละวางทุกสิ่งทุกอย่างได้
จากสิ่งที่ยึดที่หลงอยู่
ปล่อยวางทุกสิ่งทุกอย่างได้
ก็จะหลุดเข้าสู่ธรรมชาติที่บริสุทธิ์
เข้าถึงความว่างที่บริสุทธิ์ได้


ผู้ปฏิบัติก็จะพบกับความสุขที่ลึกซึ้งที่สุด
ไม่มีสิ่งใดเทียบได้เลย
ทุกคนก็มีความสามารถที่จะเข้าถึงเนื้อธรรมนี้ได้ ถ้าเราเจริญสติปัฏฐานสี่อยู่เสมอๆ
จึงจะสมกับที่เราเกิดมาพบพระพุทธศาสนา

เราก็เป็นคนหนึ่งที่มีขีดความสามารถ
ที่จะเข้าถึงธรรมชาติที่บริสุทธิ์ได้
ถ้าเราได้ฝึกหัดพัฒนาสติอยู่เสมอ
ก็จะเป็นโอกาสอันดีของชีวิตเรา
ที่จะปลดเปลื้องตนจากวังวนแห่งกองทุกข์
พบกับความสงบสุขที่แท้จริง คือพระนิพพานได้


ธรรมบรรยาย โดย พระมหาวรพรต กิตฺติวโร







  ขอบคุณข้อมูลและรูปภาพจาก Facebook เดินจิต-ตื่นรู้ สู่ อมตธรรม
https://web.facebook.com/duenjitpage/
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ตุลาคม 05, 2022, 05:16:23 pm โดย ยาใจ »