ผู้เขียน หัวข้อ: ลดหวาน ลดเสี่ยงโรค ลดวิกฤต COVID-19 และสุขภาพ  (อ่าน 1321 ครั้ง)

ยาใจ

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 14143
    • ดูรายละเอียด



ลดหวาน ลดเสี่ยงโรค
ลดวิกฤต COVID-19 และสุขภาพ


การกินอาหารที่มีน้ำตาลสูงเป็นเวลานานเป็นปัจจัยส่งเสริมให้เป็นเบาหวานได้ และยังส่งผลกระทบไม่ดีต่อร่างกายหลายด้าน เช่น เป็นโรคอ้วน ไขมันสูง โรคความดัน เป็นต้น

ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นโรคที่คนเป็น จะเสี่ยงติดเชื้อ โควิด19 รุนแรงทั้งนั้น

ดังนั้น เชื่อน้อยหน่อย ว่าแค่ลดหวาน ก็ห่างไกลจากการเป็นกลุ่มเสี่ยงโควิด-19 และโรคอื่นๆ อีกมากมายเลย

มาดูวิธีลดหวาน แบบค่อยเป็นค่อยไป ฝึกตัวเองและเด็กๆ ให้ชิน ไม่ทรมานกัน!
กับ เด็กไทยไม่กินหวาน


1. ลดปรุงในมื้อหลัก
ปกติใครชอบปรุงก๋วยเตี๋ยวเติมน้ำตาลเยอะๆ ให้คิดไว้ก่อนว่า แม่ค้ามักจะเติมน้ำตาลมาในอาหารมากอยู่แล้ว ดังนั้นให้ค่อยๆ ลดความเคยชินของเรา เช่นจากเดิมเติม 3 ช้อน ให้ลดเหลือ 2 ช้อน ทำแบบนี้ไปช่วงหนึ่งจนเริ่มชินกับความหวานที่น้อยลง แล้วก็ลดจาก 2 ช้อน เป็น 1 ช้อน จนในที่สุดก็ไม่เติมเลย


2. ลดเติมในเครื่องดื่ม
กาแฟชง และชานมต่างๆ มักจะมีปริมาณน้ำตาลสูง เพื่อให้ได้รสชาติหวานมัน แต่หลายๆร้าน ก็ยินดีเพิ่มตัวเลือกระดับความหวานได้ถึงหวานศูนย์เปอร์เซ็นเพื่อสุขภาพของลูกค้า แบบนี้ลูกค้าอย่างเราก็ต้องอุดหนุนแล้วล่ะ!
ใครกินหวานระดับปกติ (ซึ่งมักจะหวานม๊ากเพราะน้ำตาลเยอะ) ก็ค่อยๆ ลดตามระดับที่ร้านมีให้เลือก เอาให้ชินกับรสหวานที่น้อยลง จนสุดท้ายไม่เติมเลย


3. ของว่างทางเลือก หวานน้อย ไฟเบอร์สูง

- ตุนผลไม้
อยู่บ้านทั้งที อย่าตุนแต่ขนมขบเคี้ยวที่เต็มไปด้วยผงชูรส น้ำตาล โซเดียม
โชคดีที่เป็นหน้าร้อน หน้าแห่งผลไม้ ดังนั้นมาตุนผลไม้กันดีกว่า
หั่นไว้ แช่เย็นๆ อย่าลืมกินแยกจานกับคนในบ้านนะ!

- ผักก็เป็นของว่างได้!
รู้ไหมว่าผักก็กินเป็นของว่างได้! ไม่ว่าจะเป็น
- แตงกวา แครอท หั่นแท่ง แช่เย็นๆ จิ้มน้ำสลัดหรือโยเกิร์ต หวาน กรอบ สดชื่น อย่าบอกใครเลย
- แบบนึ่ง/ลวก แล้วแช่เย็นก็อร่อย เช่น หน่อไม้ฝรั่ง มันฝรั่ง ฟักทอง ข้าวโพด ถั่วแระญี่ปุ่น

- อยากของหวาน ให้แบ่งหลายครั้ง
ถ้าอยากกินของว่างอื่นๆ ที่ไม่ใช่ผักผลไม้
เป็นไปได้ควรเลือกขนมที่ไม่หวานมากก่อน เช่น ขนมปังจืด ขนมปังที่ทำจากแป้งโฮลวีท ขนมปังกรอบไม่โรยน้ำตาล

แต่ถ้าอยากกินของหวานจริงๆ เช่น ขนมเค้ก ชีสเค้ก ช็อคโกแลตแท่ง ให้แบ่งชิ้นกินหลายครั้ง หรือเก็บไว้กินวันอื่นด้วย เพื่อลดปริมาณน้ำตาลที่จะได้รับในแต่ละวัน







ขอบคุณข้อมูลจาก สสส.  และ Facebook  เด็กไทยไม่กินหวาน
https://www.facebook.com/sweetenoughthailand/
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: เมษายน 23, 2020, 03:24:31 pm โดย ยาใจ »

ยาใจ

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 14143
    • ดูรายละเอียด
ขนมที่สั่ง Delivery มีน้ำตาลเท่าไหร่
« ตอบ #1 เมื่อ: เมษายน 22, 2020, 12:21:17 pm »
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: เมษายน 22, 2020, 12:22:52 pm โดย ยาใจ »

ยาใจ

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 14143
    • ดูรายละเอียด
สรุปชาแต่ละแบบ ต่างกันยังไง?
« ตอบ #2 เมื่อ: เมษายน 23, 2020, 03:19:48 pm »




  สรุปชาแต่ละแบบ ต่างกันยังไง? 


‘ชา’ เครื่องดื่มที่นิยมกันทั่วโลกจนเกิดเป็นวัฒนธรรมการดื่มชาและอุตสาหกรรมชาหลากหลายรูปแบบ

เครื่องดื่มชานั้น จริงๆ มีประโยชน์ต่อร่างกาย ทั้งช่วยลดความดันเลือด ลดไขมันในเลือด และอุดมด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ แต่ดื่มมากไปก็อาจส่งผลเสียต่อร่างกายได้

นอกจากนี้ ‘วิธีการดื่มชา’ ก็สำคัญ เพราะเครื่องดื่มชาที่ปัจจุบันเรานิยมและหาซื้อได้ง่ายทุกมุมถนนนั้น มักถูกปรุงแต่งด้วยความหวาน ความมัน ทอปปิ้งที่ทำจากแป้งและน้ำตาล

เด็กไทยไม่กินหวาน จึงนำข้อมูลส่วนประกอบ พลังงาน และผลต่อสุขภาพที่อาจเกิดขึ้นถ้าเราดื่มชาแต่ละเมนูมากจนเกินพอดี

ชานมไข่มุก

เมนูสุดรัก จนเกิดวลี ชานมข้นกว่าเลือด
แต่ๆๆ แน่นอนว่าปล่อยให้ข้นกว่าเลือดจริงๆ คงจะไม่ดีต่อสุขภาพ
ใครที่ติดมากรักมาก ควรลด ละ เลิก ให้ได้ นานน๊าน กินทีก็พอนะ

ส่วนประกอบหลัก:
น้ำตาลทราย ครีมเทียม ไข่มุก (แป้งมันสำปะหลัง) นมข้นหวาน

ให้พลังงาน:
1 แก้ว ให้พลังงาน 240-360 กิโลแคลอรี่

เพิ่มความเสี่ยงต่อ:
- โรคอ้วน
- โรคเบาหวาน
- โรคหัวใจและหลอดเลือด

ชาไทย

ส่วนประกอบหลัก:
น้ำตาลทราย ครีมเทียม นมข้นหวาน

ให้พลังงาน:
1 แก้ว ให้พลังงาน 319 กิโลแคลอรี่

เพิ่มความเสี่ยงต่อ:
- โรคอ้วน
- โรคเบาหวาน
- โรคหัวใจและหลอดเลือด

ชาจีน/ชาเขียว

ส่วนประกอบหลัก:
ใบชา
น้ำตาล (ถ้าเติม)

ให้พลังงาน:
- 0 กิโลแคลอรี่ (ไม่เติมน้ำตาล)
- 280 กิโลแคลอรี่ (เติมน้ำตาล)

เพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็น:
- นอนไม่หลับ
- ท้องผูก
- โรคอ้วน (ถ้ากินหวานเติมน้ำตาล)





ขอบคุณข้อมูลจาก สสส.  และ Facebook  เด็กไทยไม่กินหวาน
https://www.facebook.com/sweetenoughthailand/
และ  เจาะลึกเบื้องหลังชานมไข่มุก: คุณหรือโทษ
โดย ทิวาพร มณีรัตนศุภร สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล
- lovefitt.com
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: เมษายน 23, 2020, 03:26:48 pm โดย ยาใจ »