ผู้เขียน หัวข้อ: รวมเรื่องของ "ฟัน" กินแบบไหน ลดเสี่ยง ไม่ต้องหาหมอฟัน  (อ่าน 18726 ครั้ง)

ยาใจ

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 14143
    • ดูรายละเอียด
3 กลุ่มโรคประจำตัวต้องบอกก่อนทำฟัน
« ตอบ #15 เมื่อ: สิงหาคม 07, 2020, 08:46:31 am »



บอกหมอ (ฟัน) รึยัง?

  โรคประจำตัว หยูกยาต่างๆ เป็นกะละมังแทบจะเป็นเพื่อนซี้ของคนสูงวัย 

  ซึ่งแน่นอนว่า โรคและยาเหล่านี้มักจะส่งผลต่อร่างกายของเรา
เมื่อต้องทำฟัน หมอฟันจึงจำเป็นต้องรู้ว่าเรามีโรคประจำตัวอะไร กินยาอะไรเป็นประจำบ้าง เพื่อจะได้เตรียมการรับมือ การดูแลต่างๆ เป็นพิเศษในระหว่างทำฟันได้

  สำคัญขนาดนี้ ฟันยังดี จึงไม่พลาดที่จะสรุป



  กลุ่มโรคประจำตัวที่ควรต้องบอกหมอก่อนทำฟันมาให้ โดยแบ่งเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้

❇️ กลุ่ม 1
ต้องบอกเพราะ: เลือดออกง่าย/หยุดไหลยาก
เช่น
- โรคไต
- การกินยาละลายลิ่มเลือดหรือยาต้านการแข็งตัวของเลือด จากการเป็นโรคบางชนิด เช่น โรคหลอดเลือดสมองและหัวใจ

❇️ กลุ่ม 2
ต้องบอกเพราะ: อาจมีอาการ​ผิดปกติระหว่างทำฟัน
เช่น
- โรคหัวใจ
- โรคหอบหืด
- โรคลมชัก
- โรคความดันโลหิตสูง

❇️ กลุ่ม 3

ต้องบอกเพราะ: เมื่อเกิดแผลจะหายช้าและติดเชื้อได้ง่าย
เช่น   โรคเบาหวาน โดยเฉพาะกลุ่ม​ที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลได้ดี

ดังนั้น ถ้าจะไปพบหมอฟันและมีโรคประจำตัวเหล่านี้ ต้องรีบอ่าน! แล้วแจ้งคุณหมอไว้แต่เนิ่น ๆ เพื่อที่จะได้เตรียมรับมือได้ทันท่วงทีนะ

พบกับ ฟันยังดี เกร็ดความรู้เรื่องสุขภาพช่องปากและฟันสำหรับ ‘คนวัยเก๋า’ โดย กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข

  ติดตามฟันยังดี ได้ที่
1. LINE: @funyoungdee และ 2. กดไลค์กดติดตาม Facebook ฟันยังดี

แหล่งข้อมูล:
- phyathai









ขอบคุณข้อมูลจาก : Facebook  ฟันยังดี
https://www.facebook.com/funyoungdee/
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กันยายน 29, 2020, 12:04:36 pm โดย ยาใจ »

ยาใจ

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 14143
    • ดูรายละเอียด




   ยาสีฟัน ‘ฟลูออไรด์’ กับ ‘สมุนไพร’
สูตรไหนใช้ยังไง?

เวลาดูโฆษณายาสีฟัน
มักจะได้ยินว่ามี
‘ฟลูออไรด์’ ไม่ก็ ‘สมุนไพร’
เป็นส่วนประกอบ
อ้าว! แล้วยังงี้จะใช้สูตรไหนดี?

   ฟันยังดี สรุปข้อดีของยาสีฟันสองสูตรมาให้ดูครับ 

ยาสีฟันฟลูออไรด์ 

ยับยั้งการผุของผิวเคลือบฟันในระยะแรก

ทำให้ฟันทนต่อกรดมากขึ้น

   ยาสีฟันสมุนไพร

  ช่วยลดการอักเสบของเหงือกและฟัน เช่น ใบฝรั่ง กานพลู เกลือ
ช่วยดับกลิ่นปาก ให้ความสดชื่น เช่น สะระแหน่ ตะไคร้ ใบพลู


  เราแนะนำว่า ยาสีฟันฟลูออไรด์ควรใช้ทุกวันอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง (เช้า-ก่อนนอน)
ส่วนถ้าอยากใช้ยาสีฟันสมุนไพรด้วย ก็สามารถใช้สลับหรือร่วมกับยาสีฟันฟลูออไรด์ได้ครับ

  พบกับ ฟันยังดี เกร็ดความรู้เรื่องสุขภาพช่องปากและฟันสำหรับ ‘คนวัยเก๋า’
โดย กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข

  สามารถติดตามฟันยังดี ได้ที่
1. LINE: @funyoungdee และ 2. กดไลค์กดติดตาม Facebook ฟันยังดี








ขอบคุณข้อมูลจาก : Facebook  ฟันยังดี
https://www.facebook.com/funyoungdee/

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มีนาคม 23, 2023, 06:23:17 am โดย ยาใจ »

ยาใจ

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 14143
    • ดูรายละเอียด



   ช่วงอยู่บ้าน ตรวจช่องปากด้วยตัวเอง ง่ายนิดเดียว!

  อยู่บ้านว่างๆ แบบนี้ มา ‘ตรวจช่องปาก’ ด้วยตัวเองกันดีกว่า!

ช่วง โควิด19 ยังระบาด
เลยต้อง ห่ า ง จากหมอฟัน

  ดังนั้น เพื่อให้ ฟันยังดี เราเลยมีวิธีง่ายๆ ในการตรวจเช็คสุขภาพช่องปากด้วยตัวเองมาฝากทุกๆ ท่านกัน

  หลังจากแปรงฟันเสร็จ อย่าเพิ่งเดินไปไหน ทำตามขั้นตอนเหล่านี้ก่อน!
  วิธีตรวจเช็คช่องปากด้วยตนเอง อุปกรณ์ไม่มีอะไรแค่กระจก1 บาน

1. ตรวจฟันหน้า บน-ล่าง :
ยืนยิงฟัน หน้ากระจก

2. ตรวจฟันกรามด้านติดแก้ม :
ยิ้มกว้างๆ จนมองเห็นถึงฟันกราม และใช้นิ้วมือดึงมุมปากเพื่อให้เห็นชัดขึ้น

3. ตรวจด้านใน และด้านบดเคี้ยวของฟันล่าง :
ก้มหน้า อ้าปากกว้าง กระดกลิ้นขึ้น

4. ตรวจด้านเพดาน และด้านบดเคี้ยวของฟันบน :
เงยหน้า อ้าปากดูฟันด้านบน ใช้กระจกบานเล็กช่วยดูด้านเพดาน และอย่าลืมดูกระพุ้งแก้มซ้ายขวาด้วย

ฝึกดึงกันให้คล่อง แล้วตอนต่อไปพบกับ ตัวอย่าง ‘ช่องปากที่ผิดปกติ’ ที่เราอาจพบได้ เมื่อตรวจช่องปากด้วยตัวเอง

  พบกับ ฟันยังดี เกร็ดความรู้เรื่องสุขภาพช่องปากและฟันสำหรับ ‘คนวัยเก๋า’ โดย กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข

โดยสามารถติดตามฟันยังดี ได้ที่
1. LINE: @funyoungdee และ 2. กดไลค์กดติดตาม Facebook ฟันยังดี








ขอบคุณข้อมูลจาก : Facebook  ฟันยังดี
https://www.facebook.com/funyoungdee/
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มีนาคม 23, 2023, 06:25:18 am โดย ยาใจ »

ยาใจ

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 14143
    • ดูรายละเอียด
รวมที่มา 'กลิ่นปาก' ที่คุณอาจยังไม่รู้ ! ? !
« ตอบ #18 เมื่อ: สิงหาคม 08, 2020, 04:37:51 am »




รวมที่มา 'กลิ่นปาก' ที่คุณอาจยังไม่รู้ ! ? !

ช่วงนี้ใส่ หน้ากากอนามัย บ่อย จนบางคนอาจได้กลิ่นเหม็นจากปากมาเตะจมูกอย่างจัง

ถ้ากลิ่นนิด ๆ หน่อย ๆ คงไม่น่ากังวล แต่ถ้ามัน เหม็นหนักมาก
ก็ควรรีบสำรวจด่วนว่า ‘กลิ่นปาก’ ของเรามาจากอะไร?

ฟันยังดี รวมสาเหตุของ 'กลิ่นปาก' ที่คุณอาจยังไม่รู้มาให้ลองสำรวจตัวเองดูแล้วครับ

สาเหตุจาก
  ‘ภายใน’ ช่องปาก

1. เศษอาหารตกค้างตามซอกฟัน/คราบเชื้อโรคที่ลิ้น/ฟันผุ

2. หินปูน/เหงือกอักเสบ/โรคปริทันต์

3. ภาวะปากแห้ง/น้ำลายน้อย

4. แผลในช่องปาก

5. การดูแลฟันทดแทนไม่ดี ปล่อยให้สกปรก

สาเหตุจาก
ภายนอก’ ช่องปาก

1. การกินอาหารที่มีกลิ่นแรง

2. การสูบบุหรี่

3. ไซนัสอักเสบ/น้ำเมือกที่โคนลิ้น

4. นิ่วทอนซิล/ทอนซิลอักเสบ

5. กรดไหลย้อน ท้องอืด ท้องผูก

  แล้วเราจะทำอย่างไร? ให้กลิ่นปากที่กวนใจหมดไป...
ติดตาม ‘วิธีกำจัดกลิ่นปาก’ ในตอนต่อไป ได้ที่ ฟันยังดี เกร็ดความรู้เรื่องสุขภาพช่องปากและฟันสำหรับ ‘คนวัยเก๋า’ โดย กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข


  โดยสามารถติดตามฟันยังดี ได้ที่
1. LINE: @funyoungdee และ 2. กดไลค์กดติดตาม Facebook ฟันยังดี






ขอบคุณข้อมูลจาก : Facebook  ฟันยังดี
https://www.facebook.com/funyoungdee/
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กันยายน 29, 2020, 12:06:40 pm โดย ยาใจ »

ยาใจ

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 14143
    • ดูรายละเอียด



    ‘ปากแห้ง/น้ำลายน้อย’ เป็นปัญหาที่มักพบในวัยเก๋า 
โดยมีอาการที่สังเกตได้เอง เช่น

  รู้สึกปากแห้ง คอแห้ง กระหายน้ำบ่อย
  น้ำลายเหนียว ข้น
  เจ็บภายในปาก แสบลิ้น ลิ้นแห้ง แดง ไม่รู้รส
  มุมปากแตก ริมฝีปากแห้งบ่อย ๆ
  พูด เคี้ยว กลืนลำบาก

และถ้าอยาก ฟันยังดี ต่อไปนาน ๆ เราก็ต้องดูแลและแก้ไขปัญหานี้โดยด่วน!
เพราะภาวะปากแห้งมักนำไปสู่ปัญหาในช่องปากอื่น ๆ มากมาย
โดยเฉพาะอย่างยิ่งฟันผุ จากการที่มีน้ำลายซึ่งเป็นพระเอกในการสร้างสมดุลในช่องปากน้อยเกินไป

  สาเหตุที่ทำให้ปากแห้ง/น้ำลายน้อย 
ภาวะปากแห้ง/น้ำลายน้อยเกิดได้จากหลายสาเหตุ แต่ที่มักพบบ่อย ๆ ได้แก่

ผลข้างเคียงจากโรคประจำตัว/การใช้ยาบางชนิด
ไม่ว่าจะเป็นโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรควิตกกังวล ฯลฯ
รวมทั้งการใช้ยาแก้แพ้ ยาลดน้ำมูก ยาผ่อนคลายกล้ามเนื้อ ยาแก้ปวด ฯลฯ

อายุที่เพิ่มขึ้น
เมื่ออายุเพิ่มขึ้น ต่อมน้ำลายจะมีประสิทธิภาพในการทำงานลดลง ทั้งนี้ เมื่อร่วมกับการกินยาเพื่อรักษาโรคประจำตัวบางชนิด จะยิ่งทำให้ภาวะปากแห้ง/น้ำลายน้อยมีความรุนแรงมากขึ้น

การรักษาโรคมะเร็ง
การฉายรังสีหรือทำเคมีบำบัดอาจส่งผลต่อการทำงานของต่อมน้ำลาย โดยเฉพาะการฉายรังสีที่บริเวณศีรษะและลำคอ

การสูบบุหรี่/ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
ผู้ที่สูบบุหรี่หรือดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำมักมีอาการปากแห้งได้บ่อยและรุนแรงกว่าผู้ที่ไม่มีพฤติกรรมดังกล่าว

  ภาวะขาดน้ำ
ทั้งที่เกิดจากการเจ็บป่วย เช่น อาเจียน ท้องเสีย เป็นไข้ ฯลฯ
หรือสไตล์การใช้ชีวิต เช่น การดื่มน้ำไม่เพียงพอ หรือเสียเหงื่อมาก ๆ เป็นต้น

อย่าลืมติดตาม ‘วิธีป้องกันและดูแลตนเองเบื้องต้นเมื่อมีอาการปากแห้ง’ ในตอนต่อ ๆ ไป ได้ที่ #ฟันยังดี เกร็ดความรู้เรื่องสุขภาพช่องปากและฟันสำหรับ ‘คนวัยเก๋า’ โดย กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข

1. LINE: @funyoungdee และ 2. กดไลค์กดติดตาม Facebook ฟันยังดี






ขอบคุณข้อมูลจาก : Facebook  ฟันยังดี
https://www.facebook.com/funyoungdee/
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มีนาคม 23, 2023, 06:36:50 am โดย ยาใจ »

ยาใจ

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 14143
    • ดูรายละเอียด
แปรงสีฟัน’ ดี เลือกได้อย่างไร ?
« ตอบ #20 เมื่อ: สิงหาคม 11, 2020, 06:55:25 pm »



แปรงสีฟัน’ ดี เลือกได้! 

  เมื่อเราต้องใช้ ‘แปรงสีฟัน’ ทุกวัน จะซื้อใหม่ทั้งที ควรจะเลือกยังไงดี ?? 
ให้เหมาะกับ   คนวัยเก๋า   อย่างเราๆ

ฟันยังดี มีคำตอบมาให้แล้วครับ

☁️ 1.ขนแปรง “นุ่ม เรียว ปลายมน” :

ขนแปรง “นุ่ม” “เรียว” และ ‘ปลายมน’ เพื่อจะเข้าไปในร่องเหงือกได้ง่าย
สังเกตความนุ่มได้ง่าย ๆ จากคำว่า ‘ขนนุ่ม’ หรือ ‘soft’ ที่ระบุบนบรรจุภัณฑ์
ส่วนความเรียวและมน สังเกตได้ที่ ‘ปลายขนแปรง’

ทั้งนี้ การแปรงฟันด้วยแปรงขนแข็งไม่ได้ช่วยให้ฟันสะอาดขึ้น!
แต่ทำให้ฟันสึก รวมถึงเป็นอันตรายต่อเหงือกและเนื้อเยื่อในช่องปาก ⚡
หากขนแปรงมีขนาดใหญ่จะไม่สามารถเข้าไปในร่องเหงือกได้ และ
หากแหลมคมก็อาจทำอันตรายเหงือก



  2.หัวแปรง: “ขนาดพอดี”
หัวแปรงไม่ควรมีขนาดใหญ่เกินไป
ควรมีขนาดขนแปรงคลุมฟันไม่เกิน 2-3 ซี่

หัวแปรงขนาดใหญ่จะไม่สามารถแปรงถึงฟันซี่ในได้


  3.ด้ามแปรง: “จับถนัดมือ”
เพื่อให้สามารถเคลื่อนแปรงไปมาได้ถนัดและไม่ลื่นหลุดมือไปชนเหงือก
หรือทำให้ต้องออกแรงบีบมือมากเกินไป

อาจเลือกแปรงที่มีด้ามจับเป็นยาง แปรงที่มีด้ามจับขนาดใหญ่
หรืออาจดัดแปลงด้ามแปรงให้จับถนัดมือยิ่งขึ้นด้วยการทำเชือกรัดให้กระชับมือ
หรือใช้วัสดุที่ไม่อมน้ำสวมทับด้ามแปรงให้มีขนาดใหญ่ขึ้น

หากเลือกไม่ถูก ...
ฟันยังดี แนะนำให้ลองมองหา ‘สัญลักษณ์รูปดาว’ ⭐️ บนบรรจุภัณฑ์แปรงสีฟัน
ซึ่งแสดงว่าแปรงสีฟันนั้นๆ คือ ‘แปรงสีฟันติดดาว’ ที่ได้รับการตรวจสอบและรับรองว่าดีโดย สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย

อ้อ! อย่าลืมลองจับ ‘แปรงสีฟันติดดาว’ ดูด้วยนะว่าจับได้ถนัดมือหรือเปล่า

พบกับ ฟันยังดี เกร็ดความรู้เรื่องสุขภาพช่องปากและฟันสำหรับ ‘คนวัยเก๋า’ โดย กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข

โดยสามารถติดตามฟันยังดี ได้ที่
1. LINE: @funyoungdee และ 2. กดไลค์กดติดตาม Facebook ฟันยังดี







ขอบคุณข้อมูลจาก : Facebook  ฟันยังดี
https://www.facebook.com/funyoungdee/

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กันยายน 29, 2020, 12:08:10 pm โดย ยาใจ »

ยาใจ

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 14143
    • ดูรายละเอียด
นอนติดเตียง ดูแลไม่ดี เสี่ยงเจอหนอน
« ตอบ #21 เมื่อ: สิงหาคม 11, 2020, 07:03:38 pm »




เร็วๆ นี้ เพิ่งมีข่าวสยอง ว่าพบ 
 หนอนในเหงือก ของผู้ป่วยนอนติดเตียงถึง 12 ตัว !

โดยญาติผู้ดูแลพบว่า ผู้ป่วยติดเตียงมีอาการเหงือกบวมผิดปกติ
ก่อนหมอฟันจะเข้าไปตรวจดูและพบว่ามีรังหนอนแมลงวันอยู่ในเหงือก!

ทำให้มีคำถามและข้อสงสัยมายัง ฟันยังดี มากมาย
ว่ากรณีนี้เกิดขึ้นได้อย่างไร
และเราจะป้องกัน/ดูแลผู้ป่วยได้ยังไงบ้าง


สาเหตุเกิดจาก…

1. นอนปิดปากไม่สนิทและไม่ได้ทำความสะอาดช่องปากเป็นเวลานาน โดยเฉพาะในผู้ป่วยหรือผู้สูงอายุ​ที่ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้​ ต้องนอน
ติดเตียง​ และอาจมีการคาสายอาหารทางจมูก​ ทำให้ต้องหายใจทางปากช่วย จึงหุบปากได้ไม่สนิท

2. แมลงวันบินมาไข่ในร่องฟัน
เมื่อมีสาเหตุในข้อแรก ช่องปากที่ไม่ได้ทำความสะอาด​ ร่วมกับมีเศษอาหารตกค้าง​ ทำให้แมลงวันมาเยือนช่องปาก และเห็นว่าเหมาะที่จะวางไข่ เลยถือโอกาสฝากลูกฝากหลานเอาไว้

วิธีป้องกัน

1. นอนในมุ้ง
ควรกางมุ้งให้ผู้ป่วย เพื่อป้องกันแมลงต่างๆ ในเบื้องต้น

2. ติดมุ้งลวดเพื่อป้องกันแมลง
ติดมุ้งลวดที่หน้าต่างห้อง/ประตู เพื่อป้องกันแมลงรบกวนภายในห้อง

3. แปรงฟันให้ช่องปากสะอาด
หมั่นทำความสะอาดช่องปากให้ผู้ป่วย เพื่อสุขอนามัยที่ดี และลดการสะสมของเศษอาหาร

4. หมั่นสังเกต
หมั่นสังเกตช่องปากของผู้ป่วย ถ้าพบความเปลี่ยนแปลงที่ผิดปกติ ควรปรึกษาแพทย์ หรือจะปรึกษาทีมงาน ฟันยังดี ในเบื้องต้นก่อนก็ได้นะครับ

พบกับ ฟันยังดี เกร็ดความรู้เรื่องสุขภาพช่องปากและฟันสำหรับ ‘คนวัยเก๋า’ โดย กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข

โดยสามารถติดตามฟันยังดี ได้ที่
1. LINE: @funyoungdee และ 2. กดไลค์กดติดตาม Facebook ฟันยังดี








ขอบคุณข้อมูลจาก : Facebook  ฟันยังดี
https://www.facebook.com/funyoungdee/

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กันยายน 29, 2020, 12:08:51 pm โดย ยาใจ »

ยาใจ

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 14143
    • ดูรายละเอียด
แปรงฟันแบบ 2-2-2 คืออะไร?
« ตอบ #22 เมื่อ: สิงหาคม 11, 2020, 07:28:03 pm »




ในระหว่างนี้ หากคุณลุงคุณป้าคุณตาคุณยายอยากให้ ฟันยังดี
เราขอแนะนำให้ดูแลสุขภาพช่องปากและฟันด้วยตนเอง โดยแปรงฟันแบบ 2-2-2 !


แปรงฟันแบบ 2-2-2 คืออะไร?

  2 แรก คือ แปรงฟันด้วยยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ (อย่างน้อย) วันละ 2 ครั้ง
โดยแปรง 1 รอบตอนเช้า และอีก 1 รอบก่อนนอน เพื่อลดการสะสมของคราบจุลินทรีย์ในช่องปากทั้งตอนกลางวันและกลางคืน นอกจากนี้ฟลูออไรด์ยังช่วยให้ฟันแข็งแรงอีกด้วย
ทั้งนี้ ที่บอกว่า ‘อย่างน้อย’ ก็เพราะว่าหากอยากแปรงมากกว่าวันละ 2 ครั้ง เช่น เพิ่มการแปรงหลังมื้อกลางวันด้วยก็ย่อมได้ และแนะนำให้ทำเป็นอย่างยิ่งครับ

  2 ต่อมา คือระยะเวลาในการแปรงฟัน โดยควรแปรงฟันนานครั้งละ 2 นาทีขึ้นไป
เพื่อให้มั่นใจว่าแปรงฟันได้สะอาดทั่วทั้งปาก ทุกซี่ และทุกด้าน

2 สุดท้าย คืออดทน!
โดยควรงดกินหลังแปรงฟัน (อย่างน้อย) 2 ชั่วโมง
เพราะการกินจุบจิบนอกจากจะทำให้อ้วนแล้ว ยังทำให้จุลินทรีย์ผลิตกรดกัดกร่อนฟันได้บ่อยขึ้นด้วย
การงดอาหารหลังแปรงฟัน (อย่างน้อย) 2 ชั่วโมง จะช่วยให้ช่องปากสะอาดได้ยาวนาน และลดการเกิดกรดในช่องปากได้

พบกับ ฟันยังดี เกร็ดความรู้เรื่องสุขภาพช่องปากและฟันสำหรับ ‘คนวัยเก๋า’ โดย กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข

โดยสามารถติดตามฟันยังดี ได้ที่
1. LINE: @funyoungdee และ 2. กดไลค์กดติดตาม Facebook ฟันยังดี







ขอบคุณข้อมูลจาก : Facebook  ฟันยังดี
https://www.facebook.com/funyoungdee/
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มีนาคม 23, 2023, 06:27:29 am โดย ยาใจ »

ยาใจ

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 14143
    • ดูรายละเอียด
5 อาหารเพื่อฟันขาวกระจ่าง
« ตอบ #23 เมื่อ: สิงหาคม 14, 2020, 05:40:21 am »
5 อาหารเพื่อฟันขาวกระจ่าง


        คลิกอ่าน ===> http://www.namjaidham.net/forum/index.php?topic=1705.0

ยาใจ

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 14143
    • ดูรายละเอียด




  กรมการแพทย์เตือนฟันผุอย่านิ่งนอนใจ ปล่อยทิ้งไว้ เสี่ยงติดเชื้อ อันตรายถึงชีวิต 

กรมการแพทย์ โดยสถาบันทันตกรรม เตือนปล่อยให้ฟันผุไม่รักษา อาจติดเชื้อรุนแรง อักเสบ เป็นหนอง ส่งผลกระทบต่ออวัยวะสำคัญ เช่น ตา ลำคอ โพรงไซนัส และสมอง เสี่ยงติดเชื้อลุกลามไปยังระบบทางเดินหายใจ

นายแพทย์สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวว่า ปัจจุบันมีรายงานข่าวชายฟันผุเรื้อรัง ลุกลามจนกระทั่งติดเชื้อรุนแรง เกิดหนองในช่องพังผืดใต้คางและใต้ลิ้นจนปิดช่องปาก และส่งผลกระทบต่อระบบการหายใจของผู้ป่วย

เป็นประเด็นสำคัญที่ทุกคนควรใส่ใจสุขภาพช่องปากและฟันของตนเอง เนื่องจากฟันผุ เกิดได้จากหลายสาเหตุ หากปล่อยทิ้งไว้ไม่รีบรักษา อาจลุกลามไปถึงโพรงประสาทฟันทำให้เกิดการอักเสบ และติดเชื้อปลายรากฟัน เกิดเป็นหนองและทะลุออกสู่เนื้อเยื่อข้างเคียง แล้วลามไปส่งผลต่อระบบการกลืนอาหาร การหายใจ หรือการมองเห็น ดังนั้น การป้องกันฟันผุ จึงมีความสำคัญเป็นอย่างมาก ควรหมั่นสังเกตฟันของตนเอง ลดอาหารและเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลสูง เลือกอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย กินอาหารให้เป็นเวลา ไม่ควรกินจุกจิก

ทันตแพทย์อำนาจ ลิขิตกุลธนพร ผู้อำนวยการสถาบันทันตกรรม กรมการแพทย์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ฟันผุเกิดจากการ
มีเศษอาหารไปค้างอยู่ตามซอกฟัน หรือมีน้ำตาลจากอาหารที่เรารับประทานสัมผัสกับฟันอย่างต่อเนื่อง จึงทำให้เชื้อแบคทีเรียที่อยู่บนแผ่นคราบจุลินทรีย์สร้างกรดที่มีฤทธิ์ทำลายผิวฟัน จนกระทั่งทำให้ฟันถูกกัดกร่อนทำลายเป็นรูผุ จากชั้นเคลือบฟันภายนอกเข้าไปในเนื้อฟัน ก็จะทำให้เกิดอาการเสียวฟันเมื่อรับประทานอาหารร้อนหรือเย็น เมื่อฟันผุลุกลามจนทะลุถึงชั้นโพรงประสาทฟัน ทำให้เกิดอาการปวดฟัน หรือรากฟันอักเสบเป็นหนอง และหากปล่อยทิ้งไว้อาจเป็นช่องทางให้เชื้อโรคแพร่กระจายไปสู่ส่วนต่าง ๆของร่างกายได้ ทั้งนี้ควรพบทันตแพทย์เพื่อทำการตรวจสุขภาพช่องปากและฟันเป็นประจำทุก 6-12 เดือน เพื่อทำการรักษาตั้งแต่ในระยะแรก ๆ ที่ยังไม่มีอาการและสามารถรักษาให้หายก่อนที่โรคจะลุกลามมากขึ้น รวมไปถึงการตรวจช่องปาก ขูดหินปูน และทำความสะอาดฟัน ซึ่งจะช่วยลดการเกิดโรคฟันผุ ช่วยป้องกันและยับยั้งปัญหา ในช่องปากและโรคฟันอื่นๆ นอกจากนี้ควรแปรงฟันอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง ในตอนเช้าและก่อนนอน และใช้ไหมขัดฟันเพื่อช่วยทำความสะอาดซอกฟันที่ขนของแปรงสีฟันเข้าไปไม่ถึง
******************************************
กรมการแพทย์ สถาบันทันตกรรม ฟันผุ ฟันผุติดเชื้อ ฟันผุติดเชื้อทางเดินหายใจ
-ขอขอบคุณ-
7 สิงหาคม 2563








ขอบคุณข้อมูลจาก Facebook กรมการแพทย์
https://www.facebook.com/%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%81%E0%B8%9E%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B9%8C-643148052494633/
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กันยายน 29, 2020, 12:10:29 pm โดย ยาใจ »

ยาใจ

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 14143
    • ดูรายละเอียด
‘หินปูน’ ตัวร้าย … ทำลายเหงือกและฟัน!
« ตอบ #25 เมื่อ: สิงหาคม 18, 2020, 05:10:12 am »




‘หินปูน’
ตัวร้าย … ทำลายเหงือกและฟัน!


  ‘หินปูน’ คืออะไร?

หินปูน คือ คราบจุลินทรีย์หรือคราบอาหารที่มาเกาะบริเวณผิวฟันซึ่งแปรงออกไม่หมด จนเกิดเป็นคราบแข็งจากการตกตะกอนของแร่ธาตุในน้ำลายหรืออาหาร ทั้งนี้ หากปล่อยไว้จะเป็นอันตรายทั้งต่อสุขภาพเหงือก ฟัน และอาจทำให้เกิดโรคร้ายแรงตามมาได้

‘หินปูน’ ทำให้เกิดผลเสียอะไร?

⚠️ ฟันโยก
⚠️ มีกลิ่นปาก
⚠️ ทำให้ฟันเหลือง
⚠️ เหงือกร่น
⚠️ โรครำมะนาด (ปริทันต์อักเสบ)

  ‘ขูดหินปูน’ ดีอย่างไร? 

 ฟันอยู่ในปากได้นานขึ้น ฟันแน่น ไม่โยก จึงไม่สูญเสียฟันไปก่อนวัยอันควร
   เคี้ยวอาหารได้ดีขึ้น
   เหงือกดี กระดูกรอบ ๆ ฟันแข็งแรง รับประทานอาหารได้หลากหลาย
   ช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ในกรณีที่เป็นโรคเบาหวาน

  คำแนะนำในการป้องกัน ‘หินปูน’ 

1. แปรงฟันอย่างถูกวิธี
2. ใช้ไหมขัดฟันทำความสะอาดบริเวณซอกฟัน
3. ไปพบทันตแพทย์อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง

พบกับ ฟันยังดี เกร็ดความรู้เรื่องสุขภาพช่องปากและฟันสำหรับ ‘คนวัยเก๋า’
โดย กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข


สามารถติดตามฟันยังดี ได้ที่
1. LINE: @funyoungdee และ 2. กดไลค์กดติดตาม Facebook ฟันยังดี







ขอบคุณข้อมูลจาก : Facebook  ฟันยังดี
https://www.facebook.com/funyoungdee/
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กันยายน 29, 2020, 12:11:22 pm โดย ยาใจ »

ยาใจ

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 14143
    • ดูรายละเอียด
หลังอุดฟัน อะไรควรทำ อะไรไม่ควรทำ?
« ตอบ #26 เมื่อ: สิงหาคม 19, 2020, 09:54:42 pm »



หลังอุดฟัน
อะไรควรทำ อะไรไม่ควรทำ? 


  ใครเพิ่งไปอุดฟันมาบ้าง?

ฟันดีดี มาแนะสิ่งที่ควรทำและไม่ควรทำหลังอุดฟัน


-- สิ่งที่ควรทำ --

1. การเคี้ยวอาหารด้วยฟันที่เพิ่งอุด
ถ้าอุดด้วยวัสดุสีเหมือนฟันชนิด ‘เรซินคอมโพสิต’
จะเริ่มใช้ฟันซี่ดังกล่าวเคี้ยวอาหารได้ ‘ทันที’ เนื่องจากวัสดุแข็งตัวเต็มที่แล้ว
แต่ถ้าอุดด้วยวัสดุสีเงินชนิด ‘อมัลกัม’
ควรหลีกเลี่ยงการใช้งานอย่างน้อย 24 ชั่วโมง เพื่อรอให้วัสดุแข็งตัวเต็มที่ก่อน
ในช่วงนี้ก็แนะนำให้เลี่ยงไปเคี้ยวอาหารในด้านที่ไม่ได้อุดไปก่อนนะ

^^ ถ้าไม่แน่ใจว่าคุณหมออุดฟันให้เราด้วยวัสดุอะไร ก็สอบถามคุณหมอได้โดยตรงเลยนะ ^^

2
. แปรงฟัน 2-2-2 ร่วมกับทำความสะอาดซอกฟัน
ควรแปรงฟันสูตร 2-2-2 ร่วมกับทำความสะอาดซอกฟันด้วยไหมขัดฟันหรือแปรงซอกฟันทุกวัน
เพื่อรักษาความสะอาดภายในช่องปาก
รวมถึงป้องกัน ‘ฟันผุซ้ำ’ ในบริเวณที่อุดฟันมา

3. รีบกลับไปพบหมอฟันถ้าพบความผิดปกติ
หากมีความผิดปกติเกิดขึ้นภายหลังอุดฟัน
เช่น เสียวฟันเวลาเคี้ยวอาหาร ปวดฟันซี่ที่อุด หรือวัสดุอุดแตก/หลุด
ควรรีบกลับไปพบหมอฟันเพื่อตรวจและแก้ไขโดยเร็ว

4. พบหมอฟันอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
เพื่อตรวจเช็คสุขภาพช่องปาก รวมถึงสภาพวัสดุอุดฟันที่อุดไป
ว่ายังอยู่ในสภาพดี หรือต้องแก้ไขอะไรหรือไม่


-- สิ่งที่ไม่ควรทำ --

X 1. กินอาหารแข็ง/กรอบ หรือเหนียวจัด X
เพราะอาจทำให้วัสดุอุดฟันหลุดหรือแตกหักเสียหายได้

X 2. สูบบุหรี่ ดื่มชา/กาแฟ X
เพราะอาจทำให้วัสดุสีเหมือนฟันเปลี่ยนสี เนื่องจากเกิดคราบบนวัสดุได้

X 3. กัดหรือแทะอาหารด้วยฟันหน้าที่ผ่านการอุด X
การใช้ฟันหน้าที่ผ่านการอุดกัดหรือแทะอาหาร
รวมถึงใช้เปิดฝาขวด ฉีกสิ่งของ หรือกัดเล็บ
อาจทำให้วัสดุอุดฟันแตกหรือบิ่นได้

X 4. ใช้ฟันที่เพิ่งอุดด้วยวัสดุอมัลกัมเคี้ยวอาหารทันที X
เพราะจะทำให้วัสดุแตก/สึกจากการที่ยังไม่แข็งตัวเต็มที่ได้


อย่าลืมกดติดตามเพจ 'ฟันดีดี' เอาไว้ เพื่อล้วงความลับใหม่ ๆ สนุกสุดฟันไปด้วยกันกับทีมแพทย์และทีมงานฟันดีดีนะจ๊ะ

แหล่งข้อมูล:
- สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย
- สถาบันทันตกรรม กรมการแพทย์








ขอบคุณข้อมูลจาก : Facebook ฟันดีดี
https://www.facebook.com/betterteeththailand/

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มีนาคม 23, 2023, 06:28:57 am โดย ยาใจ »

ยาใจ

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 14143
    • ดูรายละเอียด
สาเหตุที่ทำให้เสียว (ฟัน)
« ตอบ #27 เมื่อ: สิงหาคม 22, 2020, 04:50:51 am »



  อยากหยุดเสียว
เลี้ยวมาอ่าน 


คราวที่แล้ว ฟันดีดี ได้เล่าถึงสาเหตุที่ทำให้เสียว (ฟัน) ได้ง่าย
ซึ่งจะเห็นได้ว่า ส่วนใหญ่นั้นมาจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่ไม่เหมาะสม
ร่วมกับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากที่ไม่ถูกต้อง


คำถามต่อมาคือ แล้วถ้าอยากหยุดเสียว (ฟัน) ล่ะ จะทำยังไงได้บ้าง?

คำตอบก็คือ ถ้าใครอยากหยุดเสียว (ฟัน) 'แบบยาว ๆ'
ก็ต้องไปพบหมอฟันเพื่อหาสาเหตุและรับการรักษาอย่างตรงจุด

แต่ ฟันดีดี ไม่หยุดแค่นี้หรอกนะ!
เพราะเรามีวิธีช่วยลดอาการเสียวฟันด้วยตัวเองมาฝากกันด้วย
จะมีอะไรบ้างมาดูกัน

⭐️ แก้ด้วยอุปกรณ์

  ใช้แปรงสีฟันขนนุ่ม
โดยแปรงเบา ๆ เพื่อป้องกัน ‘คอฟันสึก’

  ใช้ไหมขัดฟันร่วมกับการแปรงฟันทุกวัน
เพื่อป้องกันฟันผุและโรคปริทันต์อักเสบ
ซึ่งมักทำให้มีอาการเสียวฟัน

  ใช้ยาสีฟันที่ช่วยลดอาการเสียวฟันเป็นประจำ
เพื่อบรรเทาอาการ ‘เสียว’ เฉพาะหน้า
(และไปพบหมอฟันเพื่อตรวจหาสาเหตุ
และรับการรักษาที่ตรงจุดต่อไป)

⭐️ แก้ด้วยการเปลี่ยนพฤติกรรม
ควรหลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่จะทำให้ ‘เคลือบฟันสึก’ เช่น


  การแปรงฟันแรง
เพราะจะทำให้ ‘คอฟัน’ สึกได้ง่าย

  การบริโภค ‘อาหาร/เครื่องดื่ม’ ที่เป็นกรดบ่อย ๆ
รวมถึงอาหารที่แข็งมาก ๆ ด้วย

   การใช้ฟันผิดหน้าที่
เช่น ใช้ฟันฝาขวด กัดเล็บ ฯลฯ


จบบทเรียนสาเหตุและวิธีแก้การเสียวฟันแล้วนะ
ในตอนถัดไปของเรื่องเสียวๆ ฟันดีดี จะชวนทุกคนมาไขปริศนา หาที่มาของความเสียว (ฟัน) กัน
ว่าระหว่างที่เรามีอาการเสียวฟันจี๊ดจ๊าด ในช่องปากเราเกิดอะไรขึ้นกันแน่!?








ขอบคุณข้อมูลจาก : Facebook ฟันดีดี
https://www.facebook.com/betterteeththailand/
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กันยายน 29, 2020, 12:13:00 pm โดย ยาใจ »

ยาใจ

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 14143
    • ดูรายละเอียด
ทำไมเราต้องแปรงลิ้น?
« ตอบ #28 เมื่อ: สิงหาคม 28, 2020, 05:38:33 pm »




  ทำไมเราต้องแปรงลิ้น? 

ทำไมลิ้นมีสีขาว ๆ ติดอยู่?
แปรงฟันสะอาดแล้ว ทำไมยังมีกลิ่นปาก?
ปัญหาเหล่านี้จะเกิดได้ ถ้าเราลืม ‘แปรงลิ้น’!


ที่ที่เศษอาหารและเชื้อโรคชอบเกาะติด
นอกจากตามผิวฟันซอกฟันแล้ว
ก็ลิ้นเรานี่แหละครับ
โดยเฉพาะบริเวณโคนลิ้น
ซึ่งมีร่องลึก และเรามักทำความสะอาดไม่ค่อยถึง

ฟันดีดี จะบอกให้ฟังครับว่าทำไมเราต้องแปรงลิ้น

  สิ่งที่เกิดขึ้นถ้าเราไม่แปรงลิ้น

- มีคราบเชื้อโรคสีขาวสะสมบนลิ้น
ซึ่งพร้อมเข้าสู่ร่างกายได้ตลอดเวลา
- มีเศษอาหารหมักหมม
ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งของกลิ่นปาก
- ปุ่มรับรสที่ลิ้นรับรู้รสชาติได้น้อยลง

  แปรงลิ้นอย่างไร?

แปรงเบา ๆ ด้วย ‘แปรงขนนุ่ม’ หรือ ‘ที่แปรงลิ้น’
อาจทำความสะอาดลิ้นด้วยแปรงสีฟันขนนุ่มที่ใช้แปรงฟันปกติ
หรือใช้ที่แปรงลิ้น ซึ่งมีหลากหลายรูปแบบก็ได้
ทั้งนี้ ถ้าไม่แน่ใจว่าจะเลือกใช้แบบไหนดี
ก็สามารถปรึกษาทันตแพทย์ได้นะครับ

แปรงจากโคนลิ้นมาปลายลิ้น
จำง่าย ๆ ว่าแลบลิ้นออกมาให้ยาวที่สุด
วางแปรงในแนวขวาง แล้วแปรงจากด้านในมาด้านนอก
จากนั้นล้างแปรงให้สะอาด
แล้วจึงแปรงลิ้นในบริเวณถัดไป

แปรงอย่างน้อยวันละ 1 ครั้ง ก่อนนอน
แต่ถ้าจะให้ดี ก็ควรแปรงลิ้นทุกครั้งหลังแปรงฟัน

  ผลดีจากการแปรงลิ้น

- ช่วยให้กลิ่นปากลดลง
- ช่องปากสะอาดอย่างทั่วถึง
- ช่วยให้รับรสอาหารได้ดีขึ้น

ต่อไปนี้ แปรงฟันแล้วอย่าลืมแปรงลิ้นกันด้วยนะครับ








ขอบคุณข้อมูลจาก : Facebook ฟันดีดี
https://www.facebook.com/betterteeththailand/
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กันยายน 29, 2020, 06:48:21 am โดย ยาใจ »

ยาใจ

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 14143
    • ดูรายละเอียด
ไขปริศนา ?!? ที่มาของความเสียว (ฟัน)
« ตอบ #29 เมื่อ: กันยายน 29, 2020, 06:46:19 am »



      ไขปริศนา ?!? ที่มาของความเสียว (ฟัน)       


  กลไกการ เสียวฟัน 

1. เกิดการเปิดของ ‘ท่อเนื้อฟัน’
เมื่อผิวนอกของฟันที่เรียกว่า ‘เคลือบฟัน (enamel)’
หรือ ‘เคลือบรากฟัน (cementum)’ ถูกทำลาย
ไม่ว่าจะจากฟันสึก/กร่อน ฟันผุ ฯลฯ
จะทำให้ชั้นเนื้อฟัน (dentin) เผยออกมาในช่องปาก
‘ท่อเนื้อฟัน’ ซึ่งอยู่ในเนื้อฟัน และมองด้วยตาเปล่าไม่เห็น
จึงสัมผัสกับสภาวะในช่องปากโดยตรง

  ทั้งนี้ สาเหตุที่ทำให้ ‘ฟันสึก’ หลัก ๆ คือ
การแปรงฟันแรง และการกินของแข็งเป็นประจำ
ในขณะที่ ‘ฟันกร่อน’ มักเกิดจากการกินอาหารเปรี้ยว
ส่วน ‘ฟันผุ’ ก็มาจากการกินอาหารหวาน
ร่วมกับการไม่ดูแลช่องปากให้สะอาดเพียงพอ


(ดู EP.1 ‘8 เหตุผลที่เป็นคนเสียว (ฟัน) ง่าย’ ได้ที่นี่จ้า
https://bit.ly/2CUE6M4



2. มีสิ่งมากระตุ้น
สิ่งกระตุ้นดังกล่าวอาจเป็นได้ทั้งของเย็น เช่น น้ำเย็น
ของร้อน ของหวาน รวมถึงอาหารที่เป็นกรด ฯลฯ

3. ของเหลวในท่อเนื้อฟันเกิดการเคลื่อนไหว
สิ่งกระตุ้นเหล่านี้จะสัมผัสกับเนื้อฟัน
ทำให้ของเหลวในท่อเนื้อฟันเกิดการเคลื่อนไหว

4. เกิดกระแสประสาทกระตุ้นให้เสียวฟัน
การเคลื่อนไหวดังกล่าวจะไปกระตุ้นปลายประสาท
ภายในท่อเนื้อฟัน (ที่อยู่ติดกับโพรงประสาทฟัน)
ทำให้เกิดการส่งกระแสประสาทกระตุ้นให้เกิดอาการเสียวฟัน

  ถ้าไม่อยากเสียวฟันต้องหมั่นดูแล
และตรวจสุขภาพฟันอย่างสม่ำเสมอนะคะ
(ดู EP.2 ‘อยากหยุดเสียว เลี้ยวมาอ่าน’ ได้ที่นี่จ้า
https://bit.ly/3hs80X1


เรื่องเสียวฟันจะเป็นซีรี่ย์ไตรภาค หรือมีมากกว่านั้น รอชมกันนะคะ

  อย่าลืมกดติดตามเพจ 'ฟันดีดี' เอาไว้ เพื่อล้วงความลับใหม่ ๆ สนุกสุดฟันไปด้วยกันกับทีมแพทย์และทีมงานฟันดีดีนะจ๊ะ

  แหล่งข้อมูล: dent.cmu, dentalcare







ขอบคุณข้อมูลจาก : Facebook ฟันดีดี
https://www.facebook.com/betterteeththailand/

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กันยายน 29, 2020, 07:09:48 am โดย ยาใจ »