ผู้เขียน หัวข้อ: ❁ การปฏิบัติตามลำดับ - พระภาวนาเขมคุณ วิ. (พระอาจารย์สุรศักดิ์ เขมรังสี)  (อ่าน 679 ครั้ง)

ยาใจ

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 14170
    • ดูรายละเอียด




ขั้นแรก อยู่กับลมใช้ลมเป็นหลัก
ให้จิตมันเกาะอยู่กับกาย พิจารณากายเบื้องแรก
ขั้นตอนที่ ๑ คือพิจารณาแบบบัญญัติไปก่อน
ดูลมหายใจเข้าออกจะภาวนาพุทโธ
หรือจะนับลมหายใจ
ถ้าจิตเราไม่สงบตั้งสติไม่อยู่การนับลมหายใจ
จะเป็นส่วนทำให้จิตอยู่กับลมหายใจ
นับเป็นคู่ๆ ก่อน
หายใจเข้านับ ๑ หายใจออกนับ ๑
หายใจเข้านับ ๒ หายใจออกนับ ๒
หายใจเข้านับ ๓ หายใจออกนับ ๓
หายใจเข้านับ ๔ หายใจออกนับ ๔
หายใจเข้านับ ๕ หายใจออกนับ ๕


พอครบ ๕ ก็มาขึ้น ๑..๑ ไปถึง ๖..๖
/ ๑..๑ ไปถึง ๗..๗ / ๑..๑ ไปถึง ๘..๘
/๑..๑ ไปถึง ๙..๙ / ๑..๑ ไปถึง ๑๐..๑๐
/พอ ๑๐..๑๐ ก็วนมา ๑..๑
ไปถึง ๕..๕ โดยไม่ให้ผิดพลาด



ถ้าผิดก็เริ่มใหม่
เริ่ม ๑..๑ ถึง ๕..๕
ใครที่ไม่มีสมาธิ
แล้วจะต้องการจะฝึกสมาธิก่อน
นับลมหายใจจิตมันจะเกาะ
ก็ว่าถ้าไม่เกาะมันก็นับผิด
เลยไปบ้าง ขาดไปบ้าง


เป็นวิธีหนึ่งที่จะทำให้จิตมันเกาะกับลมหายใจ
พอจิตมันเกาะมากขึ้น ต่อไปก็นับเรียง
หายใจเข้านับ ๑ หายใจออกนับ ๒
หายใจเข้านับ ๓ หายใจออกนับ ๔
หายใจเข้านับ ๕ หายใจออกนับ ๖
แล้วมา ๑..๒..๓..๔..๕..๖..๗
/๑..๒..๓..๔..๕..๖..๗..๘
/ ๑..๒..๓..๔..๕..๖..๗..๘..๙
/ ๑..๒..๓..๔..๕..๖..๗..๘..๙..๑๐
แต่ไม่ใช่นับไวอย่างนี้นะ



นับตามลมหายใจ
ลมหายใจช้าก็นับช้า
ตามลมหายใจอย่าไปเร่งลมหายใจ
เราเร่งก็เหนื่อย หายใจช้าๆ ไว้
อย่างนี้นับเรียงเรียกว่า
จิตมันก็จะแลบออกไปไม่ได้
เพราะว่านับเร็ว นับไว นับเรียงกัน
จิตต้องคอยระวังไม่งั้นก็นับผิด
ถ้าผิดก็เริ่ม ๑ ถึง ๕ ใหม่
ถ้านับไปไม่กี่รอบจิตก็จะเริ่มสงบ รวมตัว
หรือว่าบริกรรมหายใจเข้าพุท ออกโธ นี้ก็ง่ายขึ้น


แต่เวลามันง่ายไปจิตมันก็แรบออกไปง่าย
หรือถ้าเราจิตอยู่ดีก็ดูเฉยๆ ดูลมว่าเข้า
หายใจเข้าก็รู้ว่าเข้า หายใจออกก็รู้ว่าออก
หายใจเข้ายาวก็รู้ว่ายาวหายใจเข้า - ออก ยาว
หายใจเข้าสั้นก็ให้รู้ว่า ก็รู้อยู่
รู้อยู่ตลอดลมหายใจเข้า ออก
ปรับผ่อนระงับให้ดี ปรับให้ดีว่าหายใจอย่างไร
ที่มันนุ่มนวลสละสลวย เรียกว่าปฏิบัติอยู่
กับเรื่องลมหายใจเป็นเบื้องแรก ขั้นที่ ๑
เรียกว่ายังมีบัญญัติ หรือว่าทำสมาธิก่อน


พระภาวนาเขมคุณ วิ.
(พระอาจารย์สุรศักดิ์ เขมรังสี)


---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ขอบคุณข้อมูลและรูปภาพจาก  : Facebook Kanlayanatam
https://web.facebook.com/Kanlayanatam-174670492571704
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 19, 2023, 07:41:14 am โดย ยาใจ »

ยาใจ

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 14170
    • ดูรายละเอียด



ขั้นที่ ๒
อยู่กับปรมัตถ์เฉพาะที่และทั่วๆ
ทีนี้เมื่อเราจะเลื่อนชั้นขึ้นไปขั้นที่ ๒
ก็ฝึกจนรู้สึกจิตมันอยู่กับเนื้อกับตัวดี
ก็เลื่อนชั้นเป็นขั้นที่สองก็คือ
การกำหนดปรมัตถ์เฉพาะที่ เจาะจง

เริ่มสังเกตความรู้สึก
จากการที่เราหายใจเข้า – ออก
แล้วก็เริ่มสังเกตความรู้สึกว่า
ที่หายใจ เข้า - ออก
มีความรู้สึกอยู่ มีความไหว
มีความกระเพื่อม
มีความรู้สึกสบาย รู้สึกไม่สบาย
ตึงๆ หย่อนๆ ไหวๆ กระเพื่อม
ที่ทรวงอก ที่หน้าท้อง หรือที่โพรงจมูก
มีความรู้สึก หน้าอกมีความรู้สึกกระเพื่อม
ท้องมีความรู้สึก การรู้ที่ความรู้สึกกระเพื่อม
หรือสะเทือน หรือไหวๆ หรือตึง หย่อน
เย็น ร้อน หรือสบาย ไม่สบาย

เท่ากับเป็นการรู้สภาวะ หรือรู้ปรมัตถธรรม
แต่ว่าดูเฉพาะแคบๆ เฉพาะบริเวณตรงจมูก
ทรวงอก หน้าท้อง เพื่อให้มันง่ายก่อน
น่าจะดูคู่ๆ กัน ระหว่างลมหายใจเข้า – ออก
กับความรู้สึก เรียกว่ายังไม่ทิ้งบัญญัติ
ดูลมเข้า ลมออก ไปดูความรู้สึก ดูลมเข้า
ดูความรู้สึก เริ่มมารู้จักสภาวะ
ความรู้สึกว่าเป็นสภาวะ
ความตึง ความหย่อน
ความเย็นร้อนอ่อนแข็ง
ความรู้สึกสบายไม่สบาย

  ทีนี้เมื่อเราคุ้นเคย
กับความรู้สึกและดูความรู้สึกเป็น
ต่อไปเราก็เลื่อนขึ้นมาขั้นที่ ๓
ดูคือกำหนดให้มันทั่วๆ ตัว ดูปรมัตถ์ทั่วไป
เลื่อนมาดูส่วนอื่นของกายบ้าง
ว่ามีความรู้สึกอยู่ทั่วๆ ตัว
แม้แต่ตามผิวหนังมีลมมากระทบรู้สึกเย็น
รู้สึกสบาย หรือว่าส่วนก้น ขากระทบพื้นรู้สึกแข็ง
รู้สึกตึง รู้สึกเมื่อย ในส่วนบนที่ศีรษะก็มีความรู้สึก
ในสมองก็มีความรู้สึก ที่หน้า ที่ตา ที่ปาก ที่คอ
ที่มือ ที่เท้า ทรวงอก ลำตัว
ทุกส่วนและมีความรู้สึก
ความเย็นบ้าง ร้อนบ้าง ตึงบ้าง หย่อนบ้าง
ไหวบ้าง สบายบ้าง ไม่สบายบ้าง
เป็นตัวปรมัตถธรรม และเป็นสภาวธรรม
ซึ่งเป็นเป้าหมายที่จะต้องกำหนดเข้ามาถึงสภาวะ
เพื่อจะได้ความจริงว่าสิ่งเหล่านี้มันเปลี่ยนแปลง
เกิด ดับ บังคับไม่ได้ ไม่ใช่ตัวตน


พระภาวนาเขมคุณ วิ.
(พระอาจารย์สุรศักดิ์ เขมรังสี)
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กรกฎาคม 28, 2022, 09:11:04 am โดย ยาใจ »

ยาใจ

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 14170
    • ดูรายละเอียด



ขั้นที่ ๓ ดูใจไปด้วย
เมื่อเราฝึกดูกำหนดดูความรู้สึก
ไปทั่วกายได้เก่งขึ้น
ต่อไปก็เพิ่มบทเรียน คือเพิ่มดูใจขึ้นมาอีก
เพิ่มดูจิตใจเข้ามา ทางกายก็ยังดูอยู่
ก็ยังดูความรู้สึกกระเพื่อม อ่อนไหว
แต่เพิ่มดูใจ ว่าจิตใจนี้เป็นอย่างไร
ขณะนี้มีความคิดนึก รู้ความคิดนึก
เดี๋ยวมันคิดอีก ก็รู้ความคิดอีก
ก็ไปรู้ความรู้สึกที่กายคู่ๆ กันไป
พิจารณาดูจิตว่า
เอ้อ ขณะนี้มันรู้สึกสบายใจ
ก็รู้ว่าความสบายใจเกิดขึ้น
บางขณะมันก็ไม่สบายใจก็รู้


จิตมันก็จะมี ๑ ความนึกคิด
๒ ความรู้สึก หรืออาการ
ปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นกับจิต
เป็นความสบาย ไม่สบาย
ดีใจ เสียใจ เฉยๆ
เป็นอาการที่สงบบ้าง ไม่สงบบ้าง
ขุ่นมัว ผ่องใส ชอบใจ ไม่ชอบใจ
ระลึกไปตามที่มันเกิดขึ้น อ่านใจตัวเอง
ว่ามีปฏิกิริยา มีอาการ มีความรู้สึกอย่างไร
แต่ทางกายก็ยังดูอยู่ ยังรู้



ก็เท่ากับรู้ทั้งกายบ้าง รู้ทั้งใจบ้าง
รู้สึกกายบ้าง รู้สึกใจบ้าง คู่ๆ กันไป
เรียกว่ารู้สภาวะปรมัตถ์ได้ทั่ว
ทั่วกาย ทั่วจิตใจ


ตลอดทั้งต่อไปก็รู้แม้ทางหู ทางตา
ทางจมูก ทางลิ้น ต่างๆ ที่มันจะมีเข้ามา
มีเสียง มีได้ยิน มีเห็น มีสลับเข้ามา
ส่วนใหญ่ก็มีความรู้สึก
ทางกาย กับทางใจ
ว่าทางหูก็มี
ทางตาถ้าไม่ลืมตาก็ไม่มี
ถ้าลืมตาก็ปรากฏ
ทางจมูกมีกลิ่นบางคราว
มีรสทางลิ้นก็มีบางคราว



เวลาเราสัมผัส แต่ทางกายมีอยู่เรื่อย
เย็นบ้าง ร้อน ตึง หย่อน ไหว
โดยเฉพาะทางใจมีคิดอยู่เรื่อย มีรู้สึก
มีตรึก มีความรู้สึก พิจารณาตามรู้อยู่
เวลารู้ก็รู้ไปเฉยๆ หัดรู้เฉยๆ
คือรู้แบบไม่ไปจัดการเขา อย่าไปบีบบังคับ
อย่าไปเคี่ยวเข็ญ ให้มันสงบ
ให้มันเป็นอย่างนั้น อย่างนี้ ดูมันไปเฉยๆ
จะสงบก็ช่างมัน ไม่สงบก็ช่างมัน
ไม่สงบก็ดูความไม่สงบอย่างไม่ว่าอะไร


พระภาวนาเขมคุณ วิ.
(พระอาจารย์สุรศักดิ์ เขมรังสี)
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กรกฎาคม 28, 2022, 09:11:14 am โดย ยาใจ »

ยาใจ

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 14170
    • ดูรายละเอียด



ขั้นที่ ๔ รู้อย่างปล่อยวาง
ดูเฉยๆ เรียกว่ารู้สักแต่ว่ารู้
หรือว่ารู้แบบไม่ยินดียินร้าย
รู้อย่างปล่อยวาง
รู้ด้วยใจเป็นกลาง
รู้ด้วยความเป็นปกติ
บางทีเราก็อาจจะสอนใจตัวเอง
หรือปล่อยวางนะ

เพราะว่าบางทีมันเผลอไป
เพ่งเอา ยึดเอา อยู่อย่างนั้น
ก็สอนใจตัวเอง หรือปล่อยวางนะ ปล่อยวางๆ
มันจะเตือนให้จิตคลายออก คลายออก วางลง
ก็คือขั้นที่ ๔ นี่คือการปล่อยวาง การรู้ ละวาง

เราจะรู้สภาวะได้ต้องมีการปล่อยวาง
การวางใจเป็นกลาง
วางใจพอดี ไม่เพ่ง ไม่เผลอ
ไม่ดึง ไม่ดัน ไม่เอา ไม่อยาก ไม่ยึด
แต่ก็รับรู้อยู่ เป็นความรู้ที่เป็นกลาง
รู้สักแต่ว่ารู้ ฝึกหัดไป
ฝึกการรู้อย่างปล่อย อย่างวาง
ถ้าเราฝึกมาถึงตอนนี้
ก็ไม่ว่าสติมันจับไปทั่วรู้ตัวทั่ว
รู้ตัวทั่วกาย ทั่วใจ คือความรู้ตัวทั่วพร้อม

แม้การเดินจงกรม
ถ้าถึงขั้นนี้มันก็รู้สึกตัวทั่วพร้อม
คือรู้ทั่วกาย และจิตใจ
แต่ใหม่ๆ ก็ฝึกดูเป็นอย่างเดียวไปก่อน
ดูการเคลื่อนไหวที่เท้า
ขั้นที่ ๑ ดูขวา ดูซ้าย  ยก ย่าง เหยียบ
ต่อมาก็มาดูความรู้สึกด้วย
ต่อๆ มาก็ดูความรู้สึกทั่วกาย
ทั้งตัวเวลามันเดิน เดินเคลื่อนไหวทั้งตัว
ต่อมาก็รู้ใจไปด้วย กายเคลื่อนไหวใจรับรู้
กำหนดดูทั้งรู้ ทั้งรู้ ทั้งไหว

รู้กายเคลื่อนไหว รู้ใจที่รับรู้
เรียกว่าทำให้รู้ตัวทั่วพร้อม
นั่งอยู่ก็รู้สึกตัวทั่วพร้อม เดินอยู่ก็รู้ตัวทั่วพร้อม
การใช้อิริยาบถย่อยก็ต้องรู้สึกตัวทั่วพร้อม
การก้ม การเงย การเหลียวซ้ายแลขวา การยก
การจับการเคี้ยว การดื่ม การลิ้ม
ทำความรู้สึกตัวหมด เราฝึกไปอย่างนี้


พระภาวนาเขมคุณ วิ.
(พระอาจารย์สุรศักดิ์ เขมรังสี)
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กรกฎาคม 28, 2022, 09:11:26 am โดย ยาใจ »

ยาใจ

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 14170
    • ดูรายละเอียด




สรุปขั้นตอนปฏิบัติตามลำดับ

นี้ก็เป็นขั้นตอน จากขั้นแรกแรกดูบัญญัติ
ต่อมาก็ดูปรมัตถ์เฉพาะที่
ต่อมาก็ดูปรมัตถ์ ดูสภาวะทั่วไป
ทั้งทางกาย ทางใจ ต่อมาก็ฝึกให้ละวาง ปล่อยวาง
ให้เป็นกลางยิ่งขึ้นก็จะทำให้ญาณเกิดขึ้นมา
หรือปัญญาเกิดขึ้นมาวิปัสสนาญาณเกิดขึ้นมา
เมื่อสติสัมปชัญญะมีกำลังขึ้นจากสภาวะได้เท่าทัน
เป็นปัจจุบันได้ดีในต่อเนื่อง มันจะเกิดญาณ


วิปัสสนาญาณทำให้เห็น
ความความเปลี่ยนแปลงของสภาวะ
คือว่าเห็นรูป เห็นนาม ตั้งแต่แยกรูปแยกนาม
เห็นมันเป็นคนละอย่าง ระหว่างกายกับใจ
หรือเคลื่อนไหวอย่างหนึ่ง ใจที่รู้อย่างนี้เป็นต้น
เห็นเป็นธรรมชาติ แต่ละอย่างๆ
ก็จะเห็นความเสื่อมไป ความดับไป
ความไม่ยั่งยืนของสภาวะ
ความไม่เที่ยง ความเป็นทุกข์
ทนอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้ เห็นความเป็นอนัตตา
คือความบังคับบัญชาไม่ได้ ไม่ใช่ตัวตน

เจริญธรรมอย่างนี้
ก็เรียกว่าตัวเราเข้าถึงวิปัสสนา
วิปัสสนาก็คือการต้องมีปัญญารู้เห็นสภาวะ
แห่งความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา



พระภาวนาเขมคุณ วิ.
(พระอาจารย์สุรศักดิ์ เขมรังสี)
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กรกฎาคม 28, 2022, 09:11:41 am โดย ยาใจ »