ผู้เขียน หัวข้อ: โรคกระจกตาโก่ง  (อ่าน 2665 ครั้ง)

ยาใจ

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 14170
    • ดูรายละเอียด
โรคกระจกตาโก่ง
« เมื่อ: มิถุนายน 14, 2018, 02:37:18 pm »



« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 09, 2020, 10:54:50 am โดย ยาใจ »

ยาใจ

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 14170
    • ดูรายละเอียด
โรคกระจกตาโก่ง
« ตอบ #1 เมื่อ: มิถุนายน 14, 2018, 02:37:46 pm »



« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 09, 2020, 10:56:20 am โดย ยาใจ »

ยาใจ

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 14170
    • ดูรายละเอียด
โรคกระจกตาโก่ง
« ตอบ #2 เมื่อ: มิถุนายน 14, 2018, 02:38:21 pm »




« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 09, 2020, 10:57:12 am โดย ยาใจ »

ยาใจ

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 14170
    • ดูรายละเอียด
โรคกระจกตาโก่ง
« ตอบ #3 เมื่อ: มิถุนายน 14, 2018, 02:39:00 pm »




« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 09, 2020, 10:57:44 am โดย ยาใจ »

ยาใจ

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 14170
    • ดูรายละเอียด
โรคกระจกตาโก่ง
« ตอบ #4 เมื่อ: มิถุนายน 14, 2018, 02:39:37 pm »




« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 09, 2020, 10:58:18 am โดย ยาใจ »

ยาใจ

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 14170
    • ดูรายละเอียด
โรคกระจกตาโก่ง
« ตอบ #5 เมื่อ: มิถุนายน 14, 2018, 02:40:02 pm »









   ขอบคุณข้อมูลจาก  :  แผ่นพับศูนย์เลเซอร์สายตาจุฬาฯ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 09, 2020, 10:58:55 am โดย ยาใจ »

ยาใจ

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 14170
    • ดูรายละเอียด
โรคกระจกตาโก่ง เป็นอย่างไร?
« ตอบ #6 เมื่อ: มิถุนายน 23, 2018, 05:47:50 am »



กระจกตาปกติจะกลม หรือรีเล็กน้อย....
แต่บางคนกระจกตามีรูปร่างพิเศษป่องแหลมออกมา หมอตาจึงเรียกภาวะนี้ว่า Keratoconus มารู้จักภาวะนี้กันครับ

Keratoconus
ศ.พ.ญ.สกาวรัตน์ คุณาวิศรุต

มีรากศัพท์มาจาก "kerato" แปลว่า กระจกตา และ "conus" หมายถึงเป็นรูปทรงกรวย เป็นสภาวะที่มีความผิดปกติของกระจกตา มีลักษณะบางลง บริเวณตรงกลางหรือค่อนมาข้างล่างเล็กน้อย ทำให้กระจกตาตรงกลางยื่นมาข้างหน้าเป็นรูปกรวย อันเป็นที่มาของชื่อ โดยที่ไม่พบว่าเกิดจากการอักเสบหรือติดเชื้ออะไรทั้งสิ้น

พบได้ 4 – 600 คน ในประชากร 100,000 คน
มักจะเริ่มมีอาการในวัยรุ่นอายุ 13 – 14 ปี และมีการดำเนินของโรคไปเรื่อยๆ 10 – 20 ปี พบในหญิงมากกว่าชาย ในอัตราส่วน 2:1 ในหญิงระหว่างตั้งครรภ์ จะมีการดำเนินของโรครุนแรงชัดเจนมาก จึงเชื่อว่าฮอร์โมนน่าจะมีส่วนเกี่ยวข้อง
กรรมพันธุ์ยังไม่แน่ชัด บ้างก็ว่าเป็นกรรมพันธุ์ได้ 20%
มักจะเป็นทั้ง 2 ตา โดยที่ตาหนึ่งเป็นมากกว่าอีกข้าง หรือระยะแรกเป็นข้างเดียว ต่อมาจะลามไปอีกข้างก็ได้

อาการ
เด็กวัยรุ่นที่มีสายตามัวลงๆ ร่วมกับเห็นภาพบิดเบี้ยว
บางรายมีอาการเคืองตา แสบตา สู้แสงไม่ได้
มีสายตาสั้นและเอียงค่อนข้างมาก ใส่แว่นก็ไม่ค่อยชัด ต้องเปลี่ยนแว่นบ่อย หลายๆคนจะวินิจฉัยได้ตอนไปตรวจตาที่ศูนย์เลสิก

สิ่งตรวจพบ
พบความผิดปกติของกระจกตา บางตรงกลางและโค้งมากบริเวณตรงกลาง เห็นได้ชัดในการตรวจด้วยเครื่อง Corneal topography ซึ่งจะตรวจดูแผนที่ความโค้งนูนของกระจกตาอย่างละเอียด
ควรสงสัยภาวะนี้หากพบตาเอียงแบบไม่เป็นระเบียบ (irregular astigmatism) ร่วมกับกระจกตาตรงกลางค่อนมาด้านล่างมีความโค้งผิดปกติ

พยาธิกำเนิด
เชื่อว่าเริ่มจากมีการเปลี่ยนแปลงของเซลล์ชั้น basal ของ epithelium ของกระจกตาตามด้วยการขาดของชั้น Bowman และตัว epithelium จะบางลงตัว collagen ในชั้นกลางของกระจกตามีการเรียงตัวที่ผิดไป ไม่สม่ำเสมอ นานเข้าชั้นลึกคือ Descemet อาจมีการฉีกขาด ตามด้วยแผลเป็นที่เห็นได้ชัดเป็นฝ้าขาว ระหว่างการเปลี่ยนแปลงของเนื้อกระจกตา ทำให้กระจกตาบางลงจึงยื่นปูดออกมาข้างหน้า ทำให้เกิดภาวะตาสั้น – เอียง มากขึ้น บางรายถ้ามีการฉีกขาดของชั้น Descemet กระจกตาจะบวมน้ำทันที เรียกกันว่า acute hydrop ซึ่งลักษณะกระจกตาบวมจะคล้ายผู้ป่วยโรคต้อหินเฉียบพลัน แต่ในภาวะนี้พบในคนอายุน้อยและความดันตาไม่สูง

มีข้อสังเกตพบว่า ภาวะนี้มักพบร่วมกับ
1. ผู้ป่วยโรคภูมิแพ้ โดยเฉพาะคนที่แพ้มีอาการคันตา ชอบขยี้ตาบ่อยๆ จนหมอบางท่านเชื่อว่า การขยี้ตาก่อให้กระจกตามีการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว
2. ผู้เป็นโรค Down syndrome พบภาวะนี้มากกว่าคนทั่วไป
3. ผู้ป่วยโรค connective tissue ทั้งหลาย เชื่อว่าโรคเหล่านี้และภาวะ keratoconus มีความผิดปกติ
ของการเรียงตัวของสาร collagen เช่นเดียวกัน
4. ยังมีอีกหลายโรคที่พบแต่กำเนิดที่มีภาวะนี้ร่วมด้วยมากกว่าคนทั่วไป ได้แก่ Ehlers Danlos ,
Osteogenic imperfecta , Crouzon , Leber’ s เป็นต้น

การแก้ไข
1. แว่นตาแก้ไขสายตาสั้น – เอียง โดยทั่วไปมักใช้ได้ในระยะแรก
2. คอนแทคเลนส์ เมื่อสายตาเอียงมากเข้า ใส่แว่นไม่ได้ การใช้คอนแทคเลนส์ชนิดแข็ง (Rigid Gase-permeable contact lens, RGP CL) ถ้าใส่คอนแทคเลนส์ได้ จะช่วยให้เห็นได้มาก แต่การใส่เลนส์ในกระจกตาที่มุรูปร่างพิเศษต้องอาศัยความเชี่ยวชาญมาก และยากกว่าในกระจกตาทั่วไป

3. ในกรณีที่ใส่เลนส์ไม่ได้ หรือใส่ได้แต่ก็ยังไม่เห็นดีพอจะใช้ชีวิตประจำวันได้ คนไข้อาจต้องได้รับการผ่าตัดรักษา เช่น การทำ Intracorneal ring segments implantation (ICRS) โดยการสอด ring นี้เข้าไปในเนื้อกระจกตาเป็นการบังคับไม่ให้กระจกตาโป่งออก ลดความโค้งของกระจกตาลง และกลับมาใส่คอนเทคเลนส์ได้ ทำให้ยืดเวลา หรือลดความจำเป็นในการเปลี่ยนกระจกตาลง

อีกวิธีที่กำลังฮือฮาในปัจจุบันของโรคนี้ในต่างประเทศ คือ วิธี Corneal collagen crosslink (เรียกกันว่า CXL) เป็นการหยอดแช่กระจกตาด้วย ribroflavin ตามด้วยการฉายด้วยแสง UV เพื่อเพิ่มความแข็งแรงของเนื้อเยื่อกระจกตา แนะนำให้ทำในคนที่ตัวโรคดำเนินมากขึ้นเรื่อยๆ ไม่คงที่

ล่าสุดมีการรักษาโดยวิธีผสมผสานด้วย ICRS และ CXL คงต้องรอผลการรักษาในระยะยาวต่อไป

4. เป็นที่ทราบกันดีว่า หากโรคเป็นรุนแรงขึ้นอาจต้องลงเอยด้วยการผ่าตัดเปลี่ยนกระจกตา (keratoplasty) โดยบางรายงานพบว่าประมาณ 21% ของผู้ป่วยต้องลงเอยด้วยการเปลี่ยนตา ซึ่งในโรคนี้มีพยากรณ์โรคหลังการผ่าตัดเปลียนกระจกตาดีที่สุดโรคหนึ่ง เมื่อเทียบกับโรคตาอื่นๆ

Picture from http://www.drbrendancronin.com.au




   ขอขอบคุณข้อมูล  : จาก Facebook ศูนย์เลเซอร์สายตาจุฬาฯ    Chula Refractive Surgery Center
https://www.facebook.com/chulaeyelasercenter/
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มิถุนายน 23, 2018, 06:13:21 am โดย ยาใจ »

ยาใจ

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 14170
    • ดูรายละเอียด
"ดูแลตนเองอย่างไร ไม่ให้เป็นโรคกระจกตาโก่ง"
« ตอบ #7 เมื่อ: มิถุนายน 23, 2018, 05:55:33 am »








ที่มา : จาก Facebook ศูนย์เลเซอร์สายตาจุฬาฯ    Chula Refractive Surgery Center
https://www.facebook.com/chulaeyelasercenter/
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 09, 2020, 10:59:52 am โดย ยาใจ »

ยาใจ

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 14170
    • ดูรายละเอียด


ตัวช่วยสำคัญสำหรับคุณผู้ชมที่มีปัญหาสายตาสั้น หรือ สายตาเอียง คงหนีไม้พ้นการใช้แว่นสายตา หรือ คอนแทคเลนส์ เพื่อช่วยให้การมองเห็นชัดขึ้น แต่ถ้าปีนึง คุณต้องเปลี่ยนแว่นหลายๆครั้ง ใช้ไปซักพักต้องเปลี่ยนเลนส์ใหม่ ตั้งข้อสังเกตได้ว่านี่อาจเป็นสัญญาณอย่างหนึ่งของปัญหากระจกตาโก่ง หรือย้วยได้





   ขอขอบคุณข้อมูล จาก Youtube  ThaiPBS
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มิถุนายน 23, 2018, 06:17:39 am โดย ยาใจ »

ยาใจ

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 14170
    • ดูรายละเอียด
ค่าสายตาเปลี่ยนไวอาจเป็นโรคกระจกตาโก่ง
« ตอบ #9 เมื่อ: มิถุนายน 23, 2018, 06:16:06 am »




ค่าสายตาเปลี่ยนไวอาจเป็นโรคกระจกตาโก่ง : พบหมอรามา ช่วง Rama Update 20 มี.ค.61

Rama Update

ทำความรู้จัก “โรคกระจกตาโก่ง”

จากกรณีข่าว จักษุแพทย์!! ชี้ ค่าสายตาเปลี่ยนไว

อาจเป็นโรคกระจกตาโก่ง

อ. พญ.อรวี  ฉินทกานันท์

ภาควิชาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา




   ขอขอบคุณข้อมูล จาก Youtube  RAMA CHANNEL
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มิถุนายน 23, 2018, 06:20:14 am โดย ยาใจ »