น้ำใจธรรม.เนต
Please
login
or
register
.
1 ชั่วโมง
1 วัน
1 สัปดาห์
1 เดือน
ตลอดกาล
เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว:
เพียงแค่ติดตั้ง - SMF!
หน้าแรก
ช่วยเหลือ
ค้นหา
เข้าสู่ระบบ
สมัครสมาชิก
น้ำใจธรรม.เนต
»
สาระธรรม,ความรู้ที่เป็นประโยชน์
»
น้ำใจธรรม-สุขภาพ
(ผู้ดูแล:
ยาใจ
) »
รวมเรื่องของ "ฟัน" กินแบบไหน ลดเสี่ยง ไม่ต้องหาหมอฟัน
« หน้าที่แล้ว
ต่อไป »
พิมพ์
หน้า:
1
2
[
3
]
ผู้เขียน
หัวข้อ: รวมเรื่องของ "ฟัน" กินแบบไหน ลดเสี่ยง ไม่ต้องหาหมอฟัน (อ่าน 1754 ครั้ง)
ยาใจ
Administrator
Hero Member
กระทู้: 11227
รู้หรือไม่ ยาสีฟัน ก็มีหมดอายุได้
«
ตอบ #30 เมื่อ:
?Ѹ??¹ 29, 2020, 07:05:38 AM »
ยาสีฟันก็มี ‘หมดอายุ’ ได้!?!
รู้ไหมว่า แม้แต่ยาสีฟันก็มีหมดอายุกับเค้าได้นะ!
การหมดอายุของยาสีฟันก็ไม่ต่างจากเครื่องสำอางอื่น ๆ
คือ เกิดจากส่วนประกอบในยาสีฟันเสื่อมสภาพ
ประสิทธิภาพในการทำความสะอาดช่องปากจึงลดลง
อายุของยาสีฟัน
หากไม่มีวันหมดอายุระบุไว้
ส่วนใหญ่แล้ว ยาสีฟันจะมีอายุ
2
ปี นับจากวันที่ผลิต
ดังนั้น หากมียาสีฟันเก่าเก็บ ก่อนจะใช้ ให้รีบเช็ควันหมดอายุหรือวันผลิตก่อนเลย
ลักษณะของยาสีฟันที่เสื่อมสภาพ
1.
เนื้อยาสีฟันแห้ง/หนืดผิดปกติ
2.
เนื้อยาสีฟันแยกชั้น/ไม่เป็นเนื้อเดียวกัน
3.
เนื้อยาสีฟันเปลี่ยนสี/พบสิ่งแปลกปลอมในยาสีฟัน
ซึ่งอาจเกิดจากการเจริญเติบโตของเชื้อราหรือเชื้อแบคทีเรียในเนื้อยาสีฟัน
ทั้งนี้ หากยาสีฟันที่ใช้มีลักษณะเสื่อมสภาพดังกล่าว
แม้จะยังไม่หมดอายุ ฟันดีดี ก็ไม่แนะนำให้ใช้นะ
ในทางกลับกัน แม้ยาสีฟันจะเพิ่งหมดอายุ
แต่ถ้าไม่มีลักษณะการเสื่อมสภาพใด ๆ
เราก็อาจพอใช้ต่อไปได้จร้า
อย่าลืมกดติดตามเพจ 'ฟันดีดี' เอาไว้ เพื่อล้วงความลับใหม่ ๆ สนุกสุดฟันไปด้วยกันกับทีมแพทย์และทีมงานฟันดีดีนะจ๊ะ
แหล่งข้อมูล:
สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย
ขอบคุณข้อมูลจาก :
Facebook ฟันดีดี
https://www.facebook.com/betterteeththailand/
«
แก้ไขครั้งสุดท้าย: ???Ҥ? 08, 2020, 05:21:27 AM โดย ยาใจ
»
เข้าสู่ระบบ
ยาใจ
Administrator
Hero Member
กระทู้: 11227
เลือดออกตามไรฟัน 4 สาเหตุพบบ่อย และวิธีแก้
«
ตอบ #31 เมื่อ:
???Ҥ? 08, 2020, 05:17:57 AM »
เลือดออกตามไรฟัน
4
สาเหตุพบบ่อย และวิธีแก้
สาเหตุ
1. เหงือกอักเสบ
เกิดจาก:
การดูแลสุขอนามัยในช่องปากไม่ดี ทำให้มีคราบเชื้อโรคสะสมบริเวณขอบเหงือก
หรือมีปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เหงือกอักเสบ เช่น คุณแม่ตั้งครรภ์ สูบบุหรี่ เป็นต้น
การป้องกัน:
แปรงฟันให้สะอาดแบบ
2-2-2
ร่วมกับใช้ไหมขัดฟันทุกวัน
และไปพบหมอฟันทุก
6
เดือน หรืออย่างน้อยปีละ
1
ครั้ง
----------
2. โรคลักปิดลักเปิด
เกิดจาก:
การขาดวิตามินซีเป็นเวลานาน
การป้องกัน:
รับประทานอาหารที่อุดมไปด้วยวิตามินซี เช่น ส้ม ฝรั่ง มะเขือเทศ ผักสีเขียวเข้ม กะหล่ำปลี ดอกกะหล่ำ ฯลฯ ให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย
----------
3. แปรงฟันแรง หรือใช้ไหมขัดฟันผิดวิธี
เกิดจาก:
การแปรงฟันแรงเกินไป การแปรงฟันด้วยแปรงสีฟันขนแข็ง
หรือการใช้ไหมขัดฟันไม่ถูกวิธี
การป้องกัน:
แปรงฟันแบบขยับปัดเบา ๆ ด้วยแปรงสีฟันขนนุ่ม
ถ้ากลัวไม่สะอาดก็ปัดซ้ำหลาย ๆ ครั้งได้นะ
การใช้ไหมขัดฟันก็เช่นกัน ควรใช้ทุกวันและค่อย ๆ ฝึกให้ทำได้อย่างถูกวิธี
----------
4. การติดเครื่องมือจัดฟัน
เกิดจาก:
เครื่องมือจัดฟันจะทำให้ทำความสะอาดช่องปากได้ยากขึ้น จึงอาจมีเหงือกอักเสบและเลือดออกตามไรฟันได้ง่ายขึ้น
การป้องกัน:
แปรงฟันให้สะอาดและใช้ไหมขัดฟันทุกวัน
ขอบคุณข้อมูลจาก :
Facebook ฟันดีดี
https://www.facebook.com/betterteeththailand/
«
แก้ไขครั้งสุดท้าย: ???Ҥ? 09, 2020, 03:04:45 PM โดย ยาใจ
»
เข้าสู่ระบบ
ยาใจ
Administrator
Hero Member
กระทู้: 11227
‘ฟันผุ’ ติดต่อได้ !
«
ตอบ #32 เมื่อ:
???Ҥ? 09, 2020, 03:03:13 PM »
‘
ฟันผุ’
ติดต่อได้ !
ถ้ารักหนู คุณปู่คุณย่าดูแลฟันตัวเองด้วยนะ
ปู่ย่าตายายหลาย ๆ ท่าน คงมีบทบาทสำคัญในการเลี้ยงดูหลาน ๆ
และแน่นอนว่าถ้าเราป่วย ก็คงไม่มีใครอยากให้หลานรักติดโรคจากเราอย่างแน่นอน
แล้วรู้หรือไม่ว่า
โรคฟันผุ สามารถติดต่อไปยังหลาน ๆ รวมถึงคนอื่นในครอบครัวได้!
จะเป็นยังไง
ฟันยังดี จะเล่าให้ฟัง
รู้จักกับ ‘เชื้อฟันผุ’
ฟันผุเกิดจากการทำความสะอาดช่องปากและฟันที่ไม่ดีเพียงพอ
ไม่ว่าจะเป็นการแปรงฟันไม่สะอาด มีเศษอาหารตกค้างตามซอกฟัน รวมถึงการใส่ฟันทดแทนที่สกปรก ฯลฯ
พฤติกรรมเหล่านี้จะทำให้ ‘เชื้อฟันผุ’ ขยายเผ่าพันธุ์ในช่องปากอย่างสนุกสนาน และปล่อยกรดออกมาทำลายฟันจนเกิดฟันผุขึ้น
ติดต่อได้อย่างไร?
เชื้อที่อยู่ในน้ำลายคุณปู่คุณย่าสามารถแพร่กระจายไปยังหลาน ๆ ได้ผ่านการเคี้ยวหรือเป่าอาหารให้ การใช้ช้อนหรือหลอดดูดน้ำร่วมกัน รวมถึงการหอมหรือจุ๊บปากเด็ก
หลายคนอาจจะบอกว่าไม่เห็นเป็นไรเลย ฟันแท้ยังไม่ขึ้น ฟันน้ำนมจะผุก็ปล่อยไป
ฟันยังดี ขอบอกว่า นั่นเป็นความเชื่อที่ผิด! เพราะจริง ๆ แล้วฟันน้ำนมที่ผุ
นอกจากจะลุกลามไปยังซี่อื่น ๆ ได้แล้ว ยังทำให้เด็กรู้สึกปวดฟัน ทานอาหารได้น้อยลง จึงส่งผลกับการเจริญเติบโต อีกทั้งในกรณีที่ฟันน้ำนมผุจนต้องถอนไปก่อนเวลาอันควร ก็อาจทำให้ฟันแท้ที่จะขึ้นตามมาซ้อนเกได้ในอนาคตด้วย
ดังนั้น ปู่ย่าตายายอย่างเรา ๆ จึงควรดูแลสุขภาพช่องปากและฟันให้ดี ไม่ปล่อยให้มีฟันผุ จะได้ช่วยลดโอกาสการแพร่เชื้อฟันผุไปสู่หลานรักนะคะ
พบกับ ฟันยังดี เกร็ดความรู้เรื่องสุขภาพช่องปากและฟันสำหรับ ‘คนวัยเก๋า’
โดย กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข
สามารถติดตามฟันยังดี ได้ที่
1. LINE: @funyoungdee และ 2. กดไลค์กดติดตาม Facebook ฟันยังดี
ขอบคุณข้อมูลจาก :
Facebook ฟันดีดี
https://www.facebook.com/betterteeththailand/
«
แก้ไขครั้งสุดท้าย: ???Ҥ? 20, 2020, 07:17:44 AM โดย ยาใจ
»
เข้าสู่ระบบ
ยาใจ
Administrator
Hero Member
กระทู้: 11227
รู้ได้อย่างไรว่า ‘เหงือกอักเสบ’
«
ตอบ #33 เมื่อ:
???Ҥ? 20, 2020, 07:10:25 AM »
แดง/บวมหนัก
น่ากลัวนัก ‘เหงือกอักเสบ’
เหงือกอักเสบ มีโอกาสเกิดได้กับทุกคน
และถ้าปล่อยไว้ ก็อาจถึงขั้นต้องบ๊ายบาย ฟันดีดี ได้นะ!
รู้ได้อย่างไรว่า ‘เหงือกอักเสบ’
ในขณะที่เหงือกซึ่งมีสุขภาพดีจะมีสีชมพูอ่อน
ขอบเหงือกแน่นกระชับรับกับฟันของเรา
เหงือกที่อักเสบจะมีลักษณะดังนี้
- เหงือก/ขอบเหงือกแดงเข้ม
- เหงือกบวม
- มีเลือดออกตอนแปรงฟันหรือใช้ไหมขัดฟัน
ทั้งนี้ ถ้าปล่อยเอาไว้จนเหงือกอักเสบเรื้อรัง ก็อาจเป็น 'สาเหตุหนึ่ง'
ที่ทำให้เกิดโรคปริทันต์อักเสบ อวัยวะรอบๆ ฟันถูกทำลาย
ฟันโยก จนต้องบ๊ายบายฟันไปในที่สุด
พฤติกรรมทำเสี่ยง ‘เหงือกอักเสบ’
จริง ๆ แล้ว สาเหตุหลักของการเกิดเหงือกอักเสบ ก็คือ
'เชื้อแบคทีเรีย' ที่อยู่ตามขอบเหงือกและซอกฟัน
โดยอยู่รวมกันและเรียกว่า คราบจุลินทรีย์ คราบพลัค หรือขี้ฟัน
ถ้าเราแปรงฟันได้สะอาดหมดจดทุกวัน
เชื้อโรคเหล่านี้ก็จะถูกกำจัดออกไปก่อนที่จะปล่อยสารพิษ
และทำให้เหงือกอักเสบ
ดังนั้น การดูแลความสะอาดของช่องปากและฟันไม่ดี
ปล่อยให้มีเชื้อโรคสะสมเป็นเวลานาน
จึงเป็น ปัจจัยเสี่ยงหลัก ที่ทำให้เหงือกอักเสบ
อย่างไรก็ตาม ปัจจัยบางอย่างก็อาจทำให้เหงือกอักเสบรุนแรงขึ้นได้
ปัจจัยเหล่านั้น เช่น
มีปากแห้ง/น้ำลายน้อย
มีฮอร์โมนเปลี่ยนแปลง เช่น ผู้หญิงที่ตั้งครรภ์ มีประจำเดือน หรือใช้ยาคุมกำเนิด
กินยาบางชนิด เช่น ยารักษาอาการชัก ฯลฯ
มีภูมิคุ้มกันต่ำลง เช่น เป็นลูคีเมีย โรคเอชไอวี ฯลฯ
เพื่อป้องกันเหงือกอักเสบ
ฟันดีดี แนะนำให้ทำความสะอาดช่องปากให้สะอาดหมดจด
ด้วยการแปรงฟัน
2-2-2
ร่วมกับใช้ไหมขัดฟันอย่างน้อยวันละ
1
ครั้ง
ยิ่งถ้ามีปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ ด้วยแล้ว
ยิ่งต้องดูแลความสะอาดของช่องปากและฟันให้ดีสุด ๆ ไปเลยนะ
แหล่งข้อมูล:
สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย
ขอบคุณข้อมูลจาก :
Facebook ฟันดีดี
https://www.facebook.com/betterteeththailand/
«
แก้ไขครั้งสุดท้าย: ??ȨԠ?¹ 13, 2020, 05:59:28 PM โดย ยาใจ
»
เข้าสู่ระบบ
ยาใจ
Administrator
Hero Member
กระทู้: 11227
กินอย่างไรให้ฟันยังดี
«
ตอบ #34 เมื่อ:
??ȨԠ?¹ 13, 2020, 05:57:46 PM »
5
อาหาร กินแล้ว ‘ฟันยังดี
แถมมีสิริมงคล
‘อาหาร’
เป็นหนึ่งในศัตรูตัวร้าย
ที่อาจทำลายสุขภาพช่องปากและฟันได้
แต่ก็ไม่เสมอไปหรอกนะ!
เพราะถ้าเราเลือกกินอาหารที่ดีต่อฟัน
ก็จะเป็นอีกหนทางหนึ่งที่ช่วยส่งเสริมให้ ฟันยังดี ได้เช่นกัน
ครั้งนี้เราจึงอยากแนะนำอาหาร
5
อย่างที่ดีต่อฟัน
และยังเอาใจ
วัยเก๋า
ด้วยการเลือกอาหารที่เป็นมงคลมาทั้งนั้นเลย
------------
1.
กวางตุ้ง
กวางตุ้งเป็นผักใบเขียวที่อุดมด้วยแคลเซียม
ซึ่งจะช่วยเสริมสร้างกระดูกและฟัน
ป้องกันการเกิดโรคกระดูกพรุน
อีกทั้งยังมีวิตามินเอที่ช่วยบำรุงสายตา
และวิตามินซีที่ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้ร่างกายด้วย
เมนูตัวอย่าง: ผัดกวางตุ้งใส่เห็ดหอมทรงเครื่อง
ความหมายมงคล: ความเจริญก้าวหน้า ความเจริญรุ่งเรือง
2.
เห็ดหอม
เห็ดหอมมีสาร
‘เล็นทิแนน (Lentinan)’
ซึ่งมีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรียในช่องปาก
อันเป็นสาเหตุของฟันผุและเหงือกอักเสบ
อีกทั้งยังมี
วิตามินบี 1
ที่ช่วยป้องกันโรคเหน็บชา
รวมถึง
วิตามินบี 2
ที่ช่วยป้องกันโรคปากนกกระจอกด้วย
เมนูตัวอย่าง:
ต้มจืดหน่อไม้ใส่เห็ดหอม, ไก่ตุ๋นเห็ดหอมยาจีน
ความหมายมงคล: การสมหวัง
3.
ผลไม้
ฟันยังดี แนะนำให้เลือกกินผลไม้ที่มีใยอาหารสูงและหวานน้อย
โดยใยอาหารจะช่วยขัดฟัน จึงช่วยกำจัดแบคทีเรียรวมถึงคราบบนผิวฟันไปในตัว
อีกทั้งยังช่วยให้ต่อมน้ำลายผลิตน้ำลายมากขึ้น (จากการที่เคี้ยวอาหารนานขึ้น)
จึงช่วยชะล้างเชื้อโรคและสิ่งสกปรกในช่องปากได้ดีขึ้น
ทั้งนี้ หากเลือกกินผลไม้ที่มีวิตามินซีสูง
ก็จะช่วยลดการเกิดเลือดออกตามไรฟันได้อีกด้วย
เมนูตัวอย่าง:
ฝรั่ง แอปเปิ้ล
ความหมายมงคล:
- แอปเปิ้ล: การมีสุขภาพแข็งแรง ปราศจากโรคภัย
- ฝรั่ง: ความเจริญก้าวหน้า วาสนา
4.
เต้าหู้
เต้าหู้อุดมไปด้วยแคลเซียม จึงช่วยเสริมสร้างกระดูกและฟัน
ป้องกันการเกิดโรคกระดูกพรุน และยังเป็นแหล่งโปรตีนชั้นดีอีกด้วย
เมนูตัวอย่าง: ผัดถั่วงอกใส่เต้าหู้, เต้าหู้สอดไส้
ความหมายมงคล: ความสุขและความร่ำรวย
5.
ปลา
นอกจากปลาจะเป็นแหล่งโปรตีนที่ย่อยง่ายแล้ว
ยังมีไขมันชั้นดี และกรดอะมิโนที่จำเป็นต่อร่างกาย
จึงเหมาะกับวัยเก๋าเป็นอย่างยิ่ง
อีกทั้งการกินปลาตัวเล็ก (แบบกินทั้งตัว) ยังช่วยเพิ่มแคลเซียม
ที่ดีต่อกระดูกและฟันอีกด้วย
เมนูตัวอย่าง:
ปลานึ่ง ปลากรอบ
ความหมายมงคล: ความอุดมสมบูรณ์ ความมั่งคั่ง
นอกจากอาหาร 5 อย่างนี้ หลักในการเลือกกินง่ายๆ ให้ ฟันยังดี ก็คือ
ควรลดการกินแป้ง น้ำตาล และอาหารหวาน ๆ
เพราะเป็นแหล่งพลังงานชั้นดีของเชื้อโรคในช่องปาก และทำให้ฟันผุ
ควรเน้นกินอาหารที่มีประโยชน์
โดยเน้นโปรตีนที่ย่อยง่าย ไขมันต่ำ
รวมถึงผักและผลไม้ที่ไม่หวานจัด และมีเส้นใยสูง
ซึ่งจะช่วยขัดฟัน อีกทั้งยังมีวิตามินและเกลือแร่ที่ดีต่อร่างกาย
ถ้าทำได้แบบนี้ ควบคู่กับสารพัดเคล็ดลับการดูแลฟันจากเรา
ไม่ว่าจะเป็นวัยไหนก็จะ ฟันยังดี อย่างแน่นอน
พบกับ ฟันยังดี เกร็ดความรู้เรื่องสุขภาพช่องปากและฟันสำหรับ ‘คนวัยเก๋า’
โดย กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข
สามารถติดตามฟันยังดี ได้ที่
1. LINE: @funyoungdee และ 2. กดไลค์กดติดตาม Facebook ฟันยังดี
ขอบคุณข้อมูลจาก :
Facebook ฟันดีดี
https://www.facebook.com/betterteeththailand/
«
แก้ไขครั้งสุดท้าย: ?Ѹ?Ҥ? 01, 2020, 03:49:54 PM โดย ยาใจ
»
เข้าสู่ระบบ
ยาใจ
Administrator
Hero Member
กระทู้: 11227
เครื่องมือจัดฟัน ‘หลุด’ จะเป็นไรไหม?!
«
ตอบ #35 เมื่อ:
?Ѹ?Ҥ? 01, 2020, 03:47:30 PM »
เครื่องมือจัดฟัน ‘หลุด’ จะเป็นไรไหม?!
หนึ่งในปัญหาที่คน ‘จัดฟัน’ มักเคยเจอ
คืออุปกรณ์จัดฟัน เช่น แบร็คเก็ต ยางดึงฟัน ฯลฯ 'หลุด'
ถ้าเกิดปัญหานี้ เราควรทำอย่างไร?
ฟันดีดี มีคำตอบมาให้ค่ะ!
ทำไมเครื่องมือจัดฟัน
‘หลุด’
?
- เคี้ยวอาหารแข็ง/เหนียว
เช่น กระดูกอ่อน หมากฝรั่ง
- แปรงฟันแรง
- มีฟันซ้อน/เกมาก ๆ
ทำให้มุม/ทิศทางการออกแรงเคลื่อนฟันผิดปกติ
- ได้รับแรงกระแทก เช่น หกล้ม อุบัติเหตุตอนเล่นกีฬา ฯลฯ
‘หลุด’ แล้วเกิดผลเสียอย่างไร?
- ฟันไม่เคลื่อนตามที่วางแผน จึงอาจต้องจัดฟันนานขึ้น
- เสียค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น
‘กลืน’ ไป เป็นไรไหม?
- ส่วนใหญ่เครื่องมือมักหลุดเวลากินอาหาร
จึงมักเข้าสู่ร่างกายผ่านระบบทางเดินอาหาร
และถูกกำจัดออกพร้อมการขับถ่าย
- ถ้าจัดฟันกับทันตแพทย์และคลินิกที่ได้มาตรฐาน
ก็มั่นใจได้ว่า อุปกรณ์ที่ใช้จะทำด้วยวัสดุที่ไม่เป็นอันตราย
และไม่ก่อให้เกิดสารพิษสะสมในร่างกาย
‘หลุด’ แล้วทำอย่างไร?
- รีบนัดทันตแพทย์โดยเร็วที่สุด ไม่ต้องรอให้ถึงเวลานัด
- ถ้าสามารถเก็บชิ้นส่วนที่หลุดไว้ได้ ให้นำไปให้ทันตแพทย์ด้วย
- ถ้าเครื่องมือทิ่มในช่องปาก ให้ปั้นขี้ผึ้งเป็นก้อนเล็ก ๆ
แล้วแปะปิดเครื่องมือจุดที่แหลมคม
ขอบคุณข้อมูลจาก :
Facebook ฟันดีดี
https://www.facebook.com/betterteeththailand/
«
แก้ไขครั้งสุดท้าย: ?Ѹ?Ҥ? 01, 2020, 03:57:26 PM โดย ยาใจ
»
เข้าสู่ระบบ
ยาใจ
Administrator
Hero Member
กระทู้: 11227
จับตัวร้าย ทำฟันตาย
«
ตอบ #36 เมื่อ:
?Ѹ?Ҥ? 01, 2020, 03:52:58 PM »
‘ฟันตาย’ รีบรักษา ก่อนติดเชื้อ
รู้ไหมว่าฟันก็มีชีวิต!
ในฟันของเรา ชั้นที่อยู่ถัดจากเนื้อฟันเข้าไป
จะมีเส้นเลือด เส้นประสาท รวมถึงเนื้อเยื่อฟัน
ซึ่งมีชีวิตอยู่ได้จากกระแสเลือดที่นำอาหารและออกซิเจนมาเลี้ยง
ดังนั้น ฟันจึงเป็นโครงสร้างที่มีชีวิตเช่นเดียวกับอวัยวะอื่น ๆ ในร่างกาย
ใครทำน้อง
‘ฟันตาย’ สาเหตุมาจากอะไร?
‘ฟันตาย’
เกิดได้จากหลายสาเหตุ แต่สาเหตุที่มักพบบ่อย ได้แก่
1.
การกระแทก/อุบัติเหตุที่ฟัน
เช่น เล่นกีฬาแล้วโดนแรงกระแทกที่ฟัน ฟันแตก ฟันร้าว ฯลฯ
2.
เนื้อเยื่อฟันได้รับอันตรายรุนแรง
เช่น มีฟันผุลึกจนทะลุโพรงประสาทฟัน ฯลฯ
จุดสังเกต ‘ฟันตาย’
เป็นแบบนี้ ไปตรวจกับหมอฟันด่วน
- ฟันเปลี่ยนสี
โดยมักมีสีเข้มขึ้น อาจเป็นสีเหลืองเข้ม เทา น้ำตาล หรือดำ ที่ไม่เหมือนกับฟันซี่อื่นในปาก
- มีหนองที่เหงือก
เหงือกบวม มีหนองที่ปลายรากฟัน อาจมีอาการปวดร่วมด้วยหรือไม่ก็ได้
ถ้าพบลักษณะผิดปกติเหล่านี้ ควรรีบไปพบหมอฟันเพื่อตรวจและรับการรักษาที่เหมาะสม
เพราะหากปล่อยไว้อาจติดเชื้อ และลามไปยังส่วนอื่น ๆ ของร่างกายได้
อย่าลืมกดติดตามเพจ 'ฟันดีดี' เอาไว้ เพื่อล้วงความลับใหม่ ๆ สนุกสุดฟันไปด้วยกันกับทีมแพทย์และทีมงานฟันดีดีนะจ๊ะ
แหล่งข้อมูล:
- pobpad
ขอบคุณข้อมูลจาก :
Facebook ฟันดีดี
https://www.facebook.com/betterteeththailand/
«
แก้ไขครั้งสุดท้าย: ?Ѹ?Ҥ? 01, 2020, 04:03:29 PM โดย ยาใจ
»
เข้าสู่ระบบ
ยาใจ
Administrator
Hero Member
กระทู้: 11227
ฟันดีดี vs ฟันแย่แย่
«
ตอบ #37 เมื่อ:
?Ѹ?Ҥ? 01, 2020, 04:00:12 PM »
ฟันดีดี vs ฟันแย่แย่
ทำไมต้อง ‘ฟันดีดี’ ?
‘สุขภาพฟัน’ มีผลต่อชีวิตเรายังไง?
เราจะเปรียบเทียบให้เห็นภาพง่ายๆกันนะคะ
ระหว่าง ‘คนสุขภาพฟันดี’ กับ ‘คนที่ไม่ดูแลฟัน’
จะมีข้อดีข้อเสียอย่างไรบ้าง ลองไปดูกันค่ะ!
1. คน ‘ฟันดีดี’
พฤติกรรม
- แปรงฟันสูตร
2-2-2
- ใช้ไหมขัดฟันทุกวัน
- พบทันตแพทย์เพื่อตรวจช่องปากทุก
6
เดือน
หรืออย่างน้อยปีละ
1
ครั้ง
ข้อดี
- ช่องปากสะอาด มั่นใจเวลายิ้ม
- ห่างไกลโรคแทรกซ้อน
- เก็บรักษาฟันได้ยาวนาน
- ประหยัดค่าใช้จ่าย
2. คน ‘ฟันแย่แย่’
พฤติกรรม
- ลืมแปรงฟัน แปรงไม่ทั่วถึง
- ไม่ใช้ไหมขัดฟันเป็นประจำทุกวัน
- ไม่พบทันตแพทย์เพื่อตรวจช่องปากนานเกิน 1 ปี
ข้อเสีย
- ขาดความมั่นใจในการเข้าสังคม
- เสี่ยงเป็นโรคต่างๆ เพิ่มขึ้น
- สูญเสียฟันเร็ว ต้องใส่ฟันทดแทน
- เสียค่าดูแลรักษาไม่จบไม่สิ้น
ขอบคุณข้อมูลจาก :
Facebook ฟันดีดี
https://www.facebook.com/betterteeththailand/
«
แก้ไขครั้งสุดท้าย: ?Ѹ?Ҥ? 01, 2020, 04:10:59 PM โดย ยาใจ
»
เข้าสู่ระบบ
ยาใจ
Administrator
Hero Member
กระทู้: 11227
"แปรง" แต่ละอัน ต่างกันอย่างไร?
«
ตอบ #38 เมื่อ:
?Ѹ?Ҥ? 01, 2020, 04:06:53 PM »
แปรง’ แต่ละอัน ต่างกันอย่างไร?
‘แปรงสีฟัน’ เป็นอุปกรณ์ดูแลช่องปากสำคัญที่ขาดไม่ได้
ว่าแต่ … นอกจากแปรงที่ใช้ประจำแล้ว
เรารู้จักแปรงชนิดอื่นๆ กันบ้างไหมเอ่ย?
ฟันดีดี จะพาไปรู้จักแปรงชนิดต่างๆ
เพื่อเป็นข้อมูลในการเลือกอุปกรณ์ทำความสะอาดช่องปาก
ตามความจำเป็นเฉพาะบุคคลมากขึ้น
1. แปรงสีฟันธรรมดา
ควรเลือกชนิดที่มีขนนุ่ม ไม่คม
และมีขนาดพอเหมาะกับช่องปาก ไม่ใหญ่เกินไป
ทั้งนี้ แนะนำให้ใช้แปรงฟันทุกวัน อย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง
ร่วมกับยาสีฟันฟลูออไรด์
และเปลี่ยนอันใหม่ทุก
3
เดือน หรือเมื่อขนแปรงเริ่มบาน
----------
2. แปรงสีฟันไฟฟ้า
มีประสิทธิภาพในการทำความสะอาดฟัน
‘ไม่แตกต่าง’ จากแปรงสีฟันธรรมดา
(ถ้าแปรงได้ถูกวิธี)
แนะนำให้ใช้ในคนที่มีข้อจำกัดในการเคลื่อนไหวข้อมือ
เช่น ข้ออักเสบ กำลังใส่เฝือกที่มือ/แขน เป็นต้น
ทั้งนี้ ควรระวังขณะใช้งาน โดยไม่กดแปรงบนฟันแรงเกินไป
เพราะจะทำให้ฟันสึกได้
----------
3. แปรงซอกฟัน
หัวแปรงมีขนเล็กๆ ยื่นรอบแกน
คล้ายแปรงล้างขวดขนาดจิ๋ว
อาจมีด้ามจับเพื่อให้ใช้งานได้สะดวกขึ้น
ใช้ทำความสะอาดบริเวณซอกฟัน
สำหรับคนที่มีช่องว่างระหว่างฟันจากปัญหาเหงือกร่น
หรือผิวฟันบริเวณซอกฟันมีส่วนคอด
นอกจากนั้น ยังใช้ทำความสะอาดใต้เครื่องมือจัดฟันได้ด้วย
ควรเลือกแปรงซอกฟันที่มีขนาดใหญ่สุดที่สามารถผ่านซอกฟันได้
โดยไม่ทำอันตรายเหงือก
----------
4. แปรงกระจุก
ที่หัวแปรงมีขนเป็นกระจุกเพียงกลุ่มเดียว
ใช้ทำความสะอาดบริเวณที่แปรงสีฟันปกติเข้าไม่ถึง
เช่น ด้านในของฟันซี่สุดท้าย
รอบฟันซี่เดี่ยว (ไม่มีฟันข้างเคียง)
ฟันที่เรียงตัวผิดปกติ เช่น ฟันซ้อน ฟันเก
ฟันที่มักจะอาเจียนถ้าแปรงด้วยแปรงขนาดปกติ
ฟันกรามล่างด้านลิ้น และแบร็กเก็ตจัดฟัน ฯลฯ
----------
5. แปรงลิ้น
การแปรงลิ้นมีวัตถุประสงค์เพื่อกำจัดเชื้อโรค
และเศษอาหารที่ติดอยู่บนลิ้น ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งของกลิ่นปาก
ทั้งนี้ แบบที่เราเห็นบ่อยๆ จะมีหัวแปรงเป็นช่องรูปสามเหลี่ยมคว่ำ
มีส่วนนูนตรงขอบ ใช้ลากตามแนวลิ้นจากด้านในออกมา
การแปรงลิ้น นอกจากจะใช้แปรงลักษณะดังกล่าวแล้ว
ยังอาจแปรงด้วยแปรงสีฟันปกติ
หรือแปรงที่มีขนซึ่งออกแบบมาเฉพาะสำหรับแปรงลิ้นก็ได้
ขอบคุณข้อมูลจาก :
Facebook ฟันดีดี
https://www.facebook.com/betterteeththailand/
«
แก้ไขครั้งสุดท้าย: ?Ѹ?Ҥ? 01, 2020, 04:19:06 PM โดย ยาใจ
»
เข้าสู่ระบบ
ยาใจ
Administrator
Hero Member
กระทู้: 11227
สีฟันบอกอะไร?
«
ตอบ #39 เมื่อ:
?Ѹ?Ҥ? 01, 2020, 04:15:55 PM »
เพราะอะไร ‘ฟัน’ จึงเป็น ‘สี’ นี้ ?
ทุกคนสังเกต
‘สีฟัน’
ตัวเองกันบ้างหรือเปล่า?
เพราะสีของฟันก็สะท้อน
‘สภาวะฟัน’
ของเราได้
ถ้าสีเปลี่ยนไปจากเดิม ฟันของเราอาจกำลังมีปัญหา!
ฟันดีดี จะพาไปดูว่า ฟันสีนี้ มีสาเหตุมาจากอะไร?
1. ฟันขาวจั๊วะ
วิธีทำให้ฟันขาวที่นิยมกันมี 2 วิธีหลักๆ คือ
การฟอกสีฟัน ซึ่งเป็นการใช้สารเคมีเข้าไปจัดการเม็ดสีในฟันให้จางลง
และการทำวีเนียร์ ซึ่งมักต้องกรอเคลือบฟันออกบางส่วน
แล้วจึงแปะทับด้วยแผ่นวีเนียร์สีขาว
2. ฟันขาวขุ่น
อาจแสดงถึงฟันผุในระยะเริ่มต้น
ซึ่งยังสามารถหายได้ หากทำความสะอาด
(แปรงฟัน/ใช้ไหมขัดฟัน) ให้ดี
ร่วมกับใช้ยาสีฟันผสมฟลูออไรด์
นอกจากนั้นแล้ว ฟันลักษณะนี้ก็อาจแสดงถึงภาวะฟันตกกระอย่างอ่อน
ซึ่งเกิดจากการได้รับฟลูออไรด์ทางระบบมากเกินไป
เช่น การบริโภคน้ำที่มีฟลูออไรด์สูง
ในช่วงที่ฟันกำลังสร้าง ซึ่งก็คือตอนเด็กนั่นเอง
3. ฟันเหลือง
ส่วนใหญ่มักเกิดจากการที่ฟันไม่สะอาด
มีคราบฟัน/คราบนิโคตินจากบุหรี่ หรือหินปูนเกาะ
ทั้งนี้ เมื่อกำจัดสิ่งสกปรกเหล่านี้ออกไป
ก็มักทำให้ฟันดูขาวขึ้นได้ในระดับหนึ่ง
นอกจากนั้นแล้ว ฟันเหลืองยังอาจเป็นไปตามอายุที่มากขึ้น
โดยเมื่อชั้นเคลือบฟันสึกจากการบดเคี้ยวและบางลง
ก็จะทำให้เห็นสีเหลืองของชั้นเนื้อฟันได้ชัดเจนขึ้น
4. ฟันดำ
ส่วนมากเกิดจากฟันผุ โดยเฉพาะกรณีที่ผุเป็นโพรงใหญ่
ซึ่งเงาดำจะสะท้อนออกมาทำให้ฟันดูคล้ำลง
อีกสาเหตุที่พบบ่อย คือ ฟันตาย
โดยอาจเกิดจากการได้รับแรงกระแทกรุนแรงที่ฟัน
หรือฟันผุที่ปล่อยไว้นานจนทะลุโพรงประสาทฟัน
5. ฟันแดง
มักเกิดจากการที่ฟันได้รับแรงกระแทก
แล้วมีเลือดคั่งในโพรงประสาทฟัน
ฟันจึงมีสีชมพู/แดง
เมื่อเวลาผ่านไป ฟันอาจเปลี่ยนเป็นสีเทา/ดำ
อย่างไรก็ตาม ยังมีสีฟันและสาเหตุที่ทำให้ฟันมีสีต่าง ๆ อีกมากมาย
หากใครมีข้อสงสัยหรือไม่แน่ใจในสีฟันของตนเอง
แนะนำปรึกษาทันตแพทย์ใกล้บ้านได้เลยนะ
ขอบคุณข้อมูลจาก :
Facebook ฟันดีดี
https://www.facebook.com/betterteeththailand/
«
แก้ไขครั้งสุดท้าย: ?Ѹ?Ҥ? 18, 2020, 02:04:26 PM โดย ยาใจ
»
เข้าสู่ระบบ
ยาใจ
Administrator
Hero Member
กระทู้: 11227
"แต่ละวัย" ดูแลฟันอย่างไร ?
«
ตอบ #40 เมื่อ:
?Ѹ?Ҥ? 18, 2020, 01:59:34 PM »
อยากมี ‘ฟันดีดี’ ก็ต้องดูแลฟันให้ดีทุกช่วงวัย
ซึ่งแต่ละวัย ก็มีจุดเน้นแตกต่างกันไป
จะเป็นอย่างไรมาดูกันเล้ย
เริ่มตั้งแต่ทารกซึ่งฟันซี่แรกมักเริ่มขึ้นตอนอายุประมาณ
6
เดือน
ผู้ปกครองควรพาน้องๆ มาพบหมอฟันตั้งแต่ก่อน
1
ขวบ
เพื่อให้เด็กมีความคุ้นเคยกับหมอฟัน
และถือโอกาสตรวจสุขภาพช่องปากไปในตัว
การดูแลฟันให้ลูกรักในแต่ละช่วงวัย มี ‘จุดเน้น’ ที่แตกต่างกันดังนี้
เด็กวัยเตาะแตะ
(อายุต่ำกว่า 3 ปี)
ควรเริ่มแปรงฟันด้วยยาสีฟันผสมฟลูออไรด์
1000-1500 ppm*
ตั้งแต่ฟันน้ำนมซี่แรกขึ้น
โดยใช้แปรงสีฟันเด็กแตะยาสีฟันแค่พอเปียก
แล้วผู้ปกครองเป็นผู้แปรงให้
เมื่อแปรงเสร็จให้ใช้ผ้าชุบน้ำหมาดๆ เช็ดยาสีฟันออก
เด็กเล็ก
(อายุ 3-6 ปี)
ควรแปรงฟันด้วยยาสีฟันผสมฟลูออไรด์
1000-1500 ppm*
โดยบีบเท่า ‘ความกว้าง’ ของหน้าตัดแปรง
ทั้งนี้ ผู้ปกครองควรเป็นผู้บีบยาสีฟัน
แล้วให้เด็กแปรงเอง
จากนั้นจึงคอยดูแลให้เด็กบ้วนยาสีฟันออกเมื่อแปรงเสร็จ
แล้วจึงแปรงซ้ำอีกครั้ง
(*ขึ้นกับความเสี่ยงในการเกิดฟันผุที่ทันตแพทย์เป็นผู้ประเมิน)
เด็กวัยเรียน
(อายุ 6 ปีขึ้นไป)
ควรแปรงฟันด้วยยาสีฟันผสมฟลูออไรด์
1500 ppm
โดยบีบเท่า
‘ความยาว’
ของหน้าตัดแปรง
ให้เด็กแปรงเอง เมื่อแปรงเสร็จให้บ้วนยาสีฟันออก
แล้วผู้ปกครองจึงตรวจความสะอาดอีกครั้ง
-----------------
วัยรุ่น
ควรแปรงฟันด้วยยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ ตามสูตร
2-2-2
โดยแปรงอย่างน้อยวันละ
2
ครั้ง
ครั้งละอย่างน้อย
2
นาที
และงดกินหลังแปรงอย่างน้อย
2
ชั่วโมง
ร่วมกับใช้ไหมขัดฟันเป็นประจำทุกวัน
ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีปริมาณน้ำตาลสูง
เช่น ชานมไข่มุก ลูกอม ขนมเหนียว ฯลฯ
เพราะนอกจากจะทำให้อ้วน สูญเสียความมั่นใจแล้ว
ยังเพิ่มโอกาสที่ฟันจะผุอีกด้วยนะ
ถ้าจำเป็นต้องจัดฟัน ควรเลือกหน่วยบริการ/คลินิกทันตกรรมที่ได้มาตรฐาน
และต้องทำความสะอาดช่องปาก รวมถึงอุปกรณ์จัดฟันให้ดีเป็นพิเศษ
ไม่งั้นจากฟันจะสวย จะกลายเป็นฟันเสียแน่นอน
-----------------
วัยทำงาน
วัยนี้เป็นอีกช่วงวัยสำคัญ
ถ้าดูแล ฟันดีดี เราก็มี #ฟันยังดี ไปจนถึงวัยเก๋า
ดังนั้น การ์ดอย่าตก!
ยังคงต้องแปรงฟันด้วยยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ ตามสูตร
2-2-2
โดยแปรงฟันอย่างน้อยวันละ
2
ครั้ง
ครั้งละอย่างน้อย
2
นาที
และงดกินหลังแปรงอย่างน้อย
2
ชั่วโมง
เพื่อขจัดแผ่นคราบจุลินทรีย์
ลดโอกาสการเกิดฟันผุและโรคเหงือกอักเสบ
ร่วมกับใช้ไหมขัดฟันเป็นประจำทุกวัน
เพื่อกำจัดคราบจุลินทรีย์และเศษอาหารตามซอกฟัน
ที่ขนแปรงเข้าไม่ถึง
วัยเก๋า
‘โรคประจำตัว’ มักเป็นเพื่อนคู่กายวัยเก๋า
และสุขภาพช่องปากก็มีความเชื่อมโยงกับโรคประจำตัวหลายโรค
เช่น โรคเบาหวาน โรคหัวใจ เป็นต้น
ดังนั้น วัยเก๋าจึงควรดูแลสุขภาพช่องปากให้ดี
อีกทั้งพบหมอฟันเป็นประจำ
แม้จะไม่มีฟันแล้วก็ตาม!
สำหรับการดูแลช่องปากเบื้องต้นก็คล้ายเดิมเลยจร้า
คือ แปรงฟันด้วยยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ ตามสูตร
2-2-2
ร่วมกับทำความสะอาดซอกฟันทุกวัน
แต่เนื่องจากวัยนี้มักมีปัญหาเหงือกร่น
จึงควรแปรงฟันโดยเน้นให้ขนแปรงสัมผัสคอฟันทุกซี่
ทั้งด้านกระพุ้งแก้มและลิ้น (แต่ไม่แปรงแรงจนคอฟันสึกนะ)
อีกทั้งทำความสะอาดซอกฟันด้วยไหมขัดฟัน
ร่วมกับใช้แปรงซอกฟันในบริเวณซอกฟันที่มีเหงือกร่น
ซึ่งไหมขัดฟันที่มีลักษณะเป็นเส้นขนาดเล็ก
จะไม่สามารถทำความสะอาดได้อย่างมีประสิทธิภาพเพียงพอ
อีกหนึ่งปัญหาที่มักเจอในวัยเก๋าก็คือ
‘ภาวะปากแห้ง/น้ำลายน้อย!’
ซึ่งมักทำให้กลืนอาหารลำบาก ช่องปากเสียสมดุล
เสี่ยงฟันผุและเป็นแผลในช่องปากง่ายขึ้น
วัยเก๋าที่มีปัญหานี้ ฟันดีดี แนะนำให้พยายามทำช่องปากให้ชุ่มชื้น
โดยวิธีง่ายๆ ที่สามารถทำได้เองก็เช่น จิบน้ำบ่อยๆ
เคี้ยวหมากฝรั่งที่ไม่มีน้ำตาลเพื่อกระตุ้นการหลั่งของน้ำลาย
หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่/ดื่มแอลกอฮอล์ ฯลฯ
ทั้งนี้ อาจปรึกษาหมอฟันในกรณีที่รู้สึกปากแห้งมากๆ
เพื่อรับการรักษาที่เหมาะสมเพิ่มเติมต่อไป
แหล่งข้อมูล:
- ราชวิทยาลัยทันตแพทย์แห่งประเทศไทย
- สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ดูน้อยลง
ขอบคุณข้อมูลจาก :
Facebook ฟันดีดี
https://www.facebook.com/betterteeththailand/
«
แก้ไขครั้งสุดท้าย: ?Ѹ?Ҥ? 18, 2020, 02:09:52 PM โดย ยาใจ
»
เข้าสู่ระบบ
พิมพ์
หน้า:
1
2
[
3
]
« หน้าที่แล้ว
ต่อไป »
น้ำใจธรรม.เนต
»
สาระธรรม,ความรู้ที่เป็นประโยชน์
»
น้ำใจธรรม-สุขภาพ
(ผู้ดูแล:
ยาใจ
) »
รวมเรื่องของ "ฟัน" กินแบบไหน ลดเสี่ยง ไม่ต้องหาหมอฟัน