ผู้เขียน หัวข้อ: * รวม * คติธรรม - คำกลอน โดย อาจารย์ธีรยุทธ เวชเจริญยิ่ง  (อ่าน 98407 ครั้ง)

ยาใจ

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 14143
    • ดูรายละเอียด





ที่มา : Facebook ธีรยุทธ เวชเจริญยิ่ง
https://www.facebook.com/theerayuth.praft
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 23, 2020, 03:59:20 pm โดย ยาใจ »

ยาใจ

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 14143
    • ดูรายละเอียด
ภัยพิบัติ โดย อาจารย์ธีรยุทธ เวชเจริญยิ่ง
« ตอบ #136 เมื่อ: มกราคม 19, 2019, 05:54:18 am »



ภัยพิบัติ

ภัยพิบัติ...ผลัดกันมา...เป็นระลอก
สัญญาณบอก...เตือนภัย...ให้ท่านรู้
แผ่นดินไหว...ฝนกระหน่ำ...ท่วมคลองคู
เขื่อนประตู...พังทลาย...น้ำไหลนอง

เมืองทั้งเมือง..จมไป...อยู่ใต้น้ำ
ฟ้ามืดดำ...ดินทรุดแยก...แตกเป็นสอง
ตึกสูงใหญ่...พังพินาศ...เลือดไหลนอง
บ้านข้าวของ...จมหาย...อยู่ใต้ดิน


ดินกระเพื่อม...ต้นไม้ใหญ่...ก็ไหวสั่น
เสียงดังลั่น...สายฟ้าฟาด...สาดแผ่นหิน
แตกกระจาย...ชิ้นเล็กใหญ่...ทั่วแผ่นดิน
มลายสิ้น...สิ้นชีวิน...เหลือคณา

ญาติพี่น้อง...เพื่อนพ้อง...ทุกแห่งหน
หนีผ่านพ้น...หรือไม่...ใช่ปัญหา
หากหมั่นฝึก...อบรม...ภาวนา
เกิดปัญญา...พาพ้นภัย...วัฏฏะเอย


ธีรยุทธ เวชเจริญยิ่ง



ที่มา : Facebook ธีรยุทธ เวชเจริญยิ่ง
https://www.facebook.com/theerayuth.praft
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 19, 2019, 05:56:36 am โดย ยาใจ »

ยาใจ

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 14143
    • ดูรายละเอียด
ที่สุด...ของที่สุด

คมใดใด...ไม่บาดใจ...เท่าคมลิ้น
เลวร้ายสิ้น...ลิ้นพูดจา...ว่าเสียหาย
ดวงอาทิตย์...ที่เขาว่า...อยู่แสนไกล
นั้นยังใกล้...กว่าอดีต...ที่ผ่านมา

อะไรเอ่ย...ใหญ่ที่สุด...ในโลกนี้
คิดให้ดี...เป็นแม่น้ำ...หรือภูผา
สิ่งใหญ่สุด...ยังไม่ใช่...ท้องนภา
คือตัณหา...ความอยาก...ไม่รู้พอ

อะไรที่...ท่านว่าหนัก...มากกว่าใคร
คิดไวไว...หนักกว่าใคร...อะไรหนอ
ตึกสูงใหญ่...หรือเหล็กหิน...หรือหลักตอ
ไม่หนักพอ...เท่าสัญญา...รับปากกัน

อะไรหนอ...อยู่ใกล้เรา...มากที่สุด
ท่านลองหยุด...คิดสักนิด...ใครใกล้ฉัน
พ่อแม่ลูก...ญาติพี่น้อง...สายสัมพันธ์
สิ่งเหล่านั้น...ยังไม่ใกล้...เท่าความตาย

ให้อะไร...ให้กันได้...ง่ายนิดเดียว
กินดื่มเที่ยว...เล่นเฮฮา...หรือไฉน
สิ่งให้ง่าย...ไม่ต้องเสีย...สิ่งใดใด
ให้น้ำใจ...ให้อภัย...สุขใจเอย

ลุงยุทธ...สะดุดคิด
๒๔ มกราคม ๒๕๖๒



ที่มา : Facebook ธีรยุทธ เวชเจริญยิ่ง
https://www.facebook.com/theerayuth.praft
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: เมษายน 10, 2019, 08:57:46 pm โดย ยาใจ »

ยาใจ

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 14143
    • ดูรายละเอียด
" วาง " โดยอาจารย์ธีรยุทธ เวชเจริญยิ่ง
« ตอบ #138 เมื่อ: มกราคม 31, 2019, 01:22:05 pm »

ยาใจ

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 14143
    • ดูรายละเอียด



  ไม่เพียร...ไม่พัก 

ปฏิบัติธรรม...ทำไป...เหมือนชาร์จแบต
มรรคองค์แปด...เร่งไวไว...ก็ไม่ได้
หากปฏิบัติ...ก็ยังชาร์จ...เข้าแบตไป
ช้าเร็วไว...เต็มเมื่อไหร่...ใจรู้เอง

ปฏิบัติธรรม...ต้องไม่เพียร...และไม่พัก
จึงถูกหลัก...ความพอดี...ไม่รีบเร่ง
หากหลงพัก...ก็หย่อนไป...ไหลครื้นเครง
หากหลงเร่ง...ก็เพียรไป...ไม่พอดี

ปฏิบัติเพื่อ...ละทิฏฐิ...และตัณหา
ตามมรรคา...ดำเนินไป...ในวิถี
ศีลสมาธิ...ปัญญา...ให้พอดี
สติมี...ปัญญาเกิด...ประเสริฐจริง

ธรรมทั้งหลาย...เป็นเครื่องพิง...อิงอาศัย
เมื่อเข้าใจ...ต้องปล่อยวาง...ในทุกสิ่ง
เมื่อหมดยึด...หมดอยาก...เข้าแอบอิง
สรรพสิ่ง...รู้แล้ววาง...ว่างทุกข์เอย


ธีรยุทธ เวชเจริญยิ่ง



ที่มา : Facebook ธีรยุทธ เวชเจริญยิ่ง
https://www.facebook.com/theerayuth.praft
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กุมภาพันธ์ 13, 2019, 01:07:02 pm โดย ยาใจ »

ยาใจ

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 14143
    • ดูรายละเอียด
ปลีกวิเวก โดย อาจารย์ธีรยุทธ เวชเจริญยิ่ง
« ตอบ #140 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 13, 2019, 01:06:40 pm »



  ปลีกวิเวก 

ปลีกวิเวก...ตัวห่างไกล...จากผู้คน

จิตยังวน...คิดถึงใคร...ทั้งไกลใกล้

วิเวกกาย...แต่ยังไม่...วิเวกใจ

จึงไม่ใช่...ปลีกวิเวก...ที่แท้จริง

วิเวกใจ...แม้อยู่ใกล้...คนมากมาย

จิตไม่ส่าย...ไม่คลุกคลี...ไม่สุงสิง

ไม่ยินดี...ไม่ยินร้าย...รู้ตามจริง

เห็นทุกสิ่ง...แปรเปลี่ยนไป...ใจวิเวกเอย



ลุงยุทธ...สะดุดคิด
๑๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๒




ที่มา : Facebook ธีรยุทธ เวชเจริญยิ่ง
https://www.facebook.com/theerayuth.praft
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กุมภาพันธ์ 17, 2020, 02:37:12 pm โดย ยาใจ »

ยาใจ

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 14143
    • ดูรายละเอียด




  การปฏิบัติธรรมเบื้องต้นที่ควรฝึก


1. ให้หมั่นไหว้พระสวดมนต์ และรักษาศีล 5 ทุกวัน ฝึกทำประจำสม่ำเสมอ ศีลเป็นรากฐานที่สำคัญ ที่จะทำให้ธรรมะอื่นๆ เจริญงอกงามได้ง่ายขึ้น ถ้าขาดศีลเสียอย่างเดียว หรือไม่มีศีล สมาธิที่จะทำให้จิตสงบ ก็เกิดขึ้นได้ยาก สมาธิที่จะทำให้จิตตั้งมั่นรู้สภาวธรรม ก็ยิ่งเกิดขึ้นได้ยาก เมื่อไม่มีศีล ไม่มีสมาธิ ปัญญาก็ย่อมเกิดขึ้นไม่ได้เช่นกัน เพราะเหตุใกล้ที่ทำให้เกิดปัญญา นั่นคือ สัมมาสมาธิ ฉะนั้นจะขาดศีล สมาธิ ปัญญา ทั้งสามสิ่งนี้ไม่ได้เลย

2. ฝึกสติความรู้สึกตัวให้เป็นก่อน ให้รู้ว่า อย่างไรเรียกว่า เผลอ อย่างไร เรียกว่า เพ่ง อย่างไรเรียกว่า รู้สึกตัว สามอย่างนี้แตกต่างกันอย่างไร

3. ต้องมีวิหารธรรม หรือต้องมีเครื่องอยู่ให้กับจิต เช่น มีลมหายใจเป็นเครื่องอยู่ มีลมหายใจเป็นเครื่องให้สติระลึกรู้ เมื่อจิตเผลอออกจากลมหายใจ ให้รู้ทัน เมื่อจิตเพ่งลมหายใจ ให้รู้ทัน เมื่อจิตเกิด สุข ทุกข์ เฉยๆ ให้รู้ทัน เมื่อจิตเกิดโลภ โกรธ หลง ให้รู้ทัน ให้รู้ตามความเป็นจริงในสิ่งที่ปรากฎ ทั้งที่กาย และที่ใจ เป็นต้น

4. ฝึกแยกรูป-นาม เช่น เห็นกายก็ส่วนหนึ่ง ใจก็ส่วนหนึ่ง ลมหายใจเป็นสิ่งที่ถูกรู้ ใจเป็นผู้รู้ลมหายใจ กายยืน เดิน นั่ง นอน เป็นสิ่งที่ถูกรู้ ใจเป็นผู้รู้กาย ยืน เดิน นั่ง นอน, ความสุข ทุกข์ เฉยๆ เป็นสิ่งที่ถูกรู้ ใจเป็นผู้รู้ สุข ทุกข์ เฉยๆ, โลภ โกรธ หลง ฟุ้ง สงบ เป็นสิ่งที่ถูกรู้ ใจเป็นผู้รู้ โลภ โกรธ หลง ฟุ้ง สงบ เป็นต้น

5. มีสัมมาสมาธิ คือ มีความตั้งมั่น ไม่หลงเผลอ ไม่หลงเพ่ง ไม่หลงบังคับ ไม่หลงแทรกแซง ดัดแปลงแก้ไข เพียงแค่รู้ โดยไม่หลงเข้าไปยินดี-ยินร้าย ในทุกๆสภาวธรรม ไม่ว่าสภาวธรรมนั้นๆ จะดี หรือไม่ดี มากน้อยแค่ไหนอย่างไรก็ตาม ให้รู้ด้วยใจที่เป็นกลางๆ ใจที่ไม่หลงรัก หลงชัง นั่นแหละ จึงจะเกื้อกูลให้ปัญญาเห็นสภาวธรรมตามความเป็นจริงได้

6. ฝึกสังเกตความไม่เที่ยง ความเป็นไตรลักษณ์ของสภาวธรรมที่กำลังปรากฎขึ้นตามที่มันเป็น คือ เห็นสภาวธรรมนั้น เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา (ไม่เที่ยง ไม่ทน ไม่ใช่ตัวตน บังคับไม่ได้) อันเป็นแนวทางการเจริญวิปัสสนาปัญญา ที่จะพาให้พ้นทุกข์ได้

7. ควรฝึกการเจริญสมถะ เพื่อให้จิตได้พักผ่อนบ้าง โดยฝึกให้สมาธิตั้งมั่นรู้อยู่ในอารมณ์เดียว และเป็นอารมณ์ที่ทำให้จิตมีความสุข เป็นอารมณ์ที่เป็นกุศล เช่น ลมหายใจเข้า-ออก คำบริกรรม พุทโธๆๆ เป็นต้น ถ้าอารมณ์ใดที่ทำให้จิตมีความสุข จิตก็พร้อมที่จะมารู้ในอารมณ์นั้นเนืองๆ หรือรู้ได้บ่อยๆ เมื่อจิตรู้อยู่กับอารมณ์นั้นได้บ่อยๆ จิตจะรวมเป็นหนึ่ง ทำให้จิตไม่คิดฟุ้งซ่าน เมื่อใดที่จิตไม่คิดฟุ้งซ่าน ความสงบก็จะปรากฎขึ้น นี่แหละคือ แนวทางในการเจริญสมถะ เพื่อทำให้จิตได้พักผ่อน ทำให้จิตได้รับความสงบ ทำให้จิตมีกำลัง ทำให้จิตมีเรี่ยวมีแรง อันเป็นประโยชน์ หรือเป็นบาทฐานเกื้อกูลในการเจริญวิปัสสนาต่อไป

8. การปฏิบัติธรรม ควรทำทั้งในรูปแบบ และในชีวิตประจำวัน การทำในรูปแบบ เช่น นั่งสมาธิ เดินจงกรม วันละอย่างน้อย 10-15 นาที ทุกวัน ฝึกในชีวิตประจำวัน ก็ให้หมั่นรู้สึกตัวบ่อย ๆจะยืน เดิน นั่ง กิน ดื่ม ขับถ่าย หรือมีสิ่งใดมากระทบทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ก็ให้มีสติรู้ทันอาการที่ปรากฎนั้น พอใจ หรือไม่พอใจ ก็ให้รู้ทัน รู้เท่าที่พอจะรู้ได้ ไม่บังคับว่า จะต้องรู้ทุกขณะ เมื่อใดก็ตามที่มีความเพียร และมีวินัยในการฝึกทำประจำสม่ำเสมอ ย่อมทำให้เกิดความชำนิชำนาญเชี่ยวชาญในสิ่งนั้น ไม่ว่าจะทางโลก และทางธรรม ก็เช่นเดียวกัน

9. การปฏิบัติธรรม อย่าคาดหวัง อย่าหวังทางลัด อย่าเร่ง อย่าอยากให้บรรลุธรรมเร็วๆ เพราะเร่งไม่ได้ ยิ่งเร่ง ยิ่งอยาก ยิ่งยากที่จะเข้าถึงธรรม ให้วางใจว่า เราปฏิบัติธรรม เพื่อบูชาพระพุทธเจ้า ส่วนผลจะปรากฎเกิดขึ้นเมื่อใด ขึ้นอยู่กับเหตุปัจจัยที่แต่ละท่านได้สั่งสมมา เมื่อใดที่สติเกิดขึ้นเองเป็นอัตโนมัติ สมาธิเป็นอัตโนมัติ ปัญญาเป็นอัตโนมัติ บุญบารมีที่สั่งสมครบถ้วนบริบูรณ์เต็มที่ ธรรมะย่อมปรากฏขึ้นเอง

10. จงอย่าปฏิบัติธรรมด้วย ตัณหา (ความอยาก) ทิฏฐิ (ความเห็นผิด) มานะ (ความถือตน สำคัญตน ทนงตน) จงปฏิบัติธรรมเพื่อลด เพื่อละ ตัณหา ทิฏฐิ มานะ จึงจะเป็นหนทางที่ถูกต้องตรงทาง

ลุงยุทธ...สะดุดคิด



ที่มา : Facebook ธีรยุทธ เวชเจริญยิ่ง
https://www.facebook.com/theerayuth.praft

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กรกฎาคม 22, 2020, 09:30:01 am โดย ยาใจ »

ยาใจ

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 14143
    • ดูรายละเอียด





ที่มา : Facebook ธีรยุทธ เวชเจริญยิ่ง
https://www.facebook.com/theerayuth.praft
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: เมษายน 25, 2019, 06:50:19 pm โดย ยาใจ »

ยาใจ

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 14143
    • ดูรายละเอียด



  บุญมากหรือน้อย มิได้อยู่ที่เงินตรา 

บุญอันเกิดจากจิตที่มีศรัทธา
คิดที่จะทำประโยชน์
บุญเกิดจากจิตที่คิดเสียสละ
บุญอันเกิดจากการหาทรัพย์
ที่ได้มาด้วยความบริสุทธิ์
ได้ทรัพย์มาด้วยความวิริยะ อุตสาหะ
และความอดทน ได้มาด้วยความทุ่มเท
และความมุ่งมั่นตั้งใจจริง

แม้ทรัพย์นั้น จะมีปริมาณน้อย
แต่ก็มากด้วยคุณค่า มากด้วยความเสียสละ
และมากด้วยความเพียรที่กระทำด้วยตนเอง
อานิสงส์ผลบุญ จึงมีมาก
มากด้วยกุศลเจตนา มากด้วยปัญญาที่คิดทำประโยชน์ต่อผู้อื่น และส่วนรวม นั่นเอง

ฉะนั้น สิ่งที่พวกเราชาวพุทธทุกคน ควรเว้น และควรทำ นั่นคือ

- บาปน้อยนิด...อย่าคิดทำ
- บุญน้อยนิด...ให้คิดทำ
- บุญมากน้อย มิได้อยู่ที่เงินตรา
- บุญเกิดจากศรัทธา อันประกอบด้วยปัญญา
- บุญได้มาด้วยจิตที่บริสุทธิ์
- ทำบุญไป โดยไม่ได้หวังสิ่งตอบแทนใดๆ
- ทำเพราะเห็นว่า สิ่งนั้นดีมีประโยชน์ จึงทำ
- ทำเพื่อเป็นการเสียสละ และเป็นการลดละความตระหนี่ถี่เหนียวของตนเองให้ลดน้อยลง

จิตที่คิดจะให้...นั้นมันเบา
จิตที่คิดจะเอา...นั้นมันหนัก
จงมีเมตตา...เป็นยาทา
จงมีวิปัสสนา...เป็นยากิน

ลุงยุทธ...สะดุดคิด




ที่มา : Facebook ธีรยุทธ เวชเจริญยิ่ง
https://www.facebook.com/theerayuth.praft

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 22, 2019, 06:56:01 pm โดย ยาใจ »

ยาใจ

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 14143
    • ดูรายละเอียด



ที่มา : Facebook ธีรยุทธ เวชเจริญยิ่ง
https://www.facebook.com/theerayuth.praft
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มิถุนายน 11, 2019, 12:24:51 pm โดย ยาใจ »

ยาใจ

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 14143
    • ดูรายละเอียด












ที่มา : Facebook ธีรยุทธ เวชเจริญยิ่ง
https://www.facebook.com/theerayuth.praft

ยาใจ

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 14143
    • ดูรายละเอียด

ยาใจ

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 14143
    • ดูรายละเอียด

ยาใจ

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 14143
    • ดูรายละเอียด

ยาใจ

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 14143
    • ดูรายละเอียด